1.5k likes | 2.91k Views
วิศวกรรมพื้นฐานสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 54101. 19 กันยายน 2553 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1, 2, 3, 13, 14. Basic Engineering for Occupational Health and Safety 54101. ภูมิมินทร์(นิพล) นามวงศ์. ปริญญาตรี รป.บ.(รัฐประศาสนศาสตร์) มสธ. รุ่นที่ 17
E N D
วิศวกรรมพื้นฐานสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย54101วิศวกรรมพื้นฐานสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย54101 19 กันยายน 2553 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1, 2, 3, 13, 14 Basic Engineering for Occupational Health and Safety 54101
ภูมิมินทร์(นิพล) นามวงศ์ ปริญญาตรี • รป.บ.(รัฐประศาสนศาสตร์) มสธ. รุ่นที่17 • บธ.บ.(การจัดการทั่วไป) มสธ. รุ่นที่22 • ป.อป.(อาชีวอนามัยฯ) มสธ. Cert. • ส.บ. (อาชีวอนามัยฯ) มสธ. รุ่นที่27 ปริญญาโท • รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันรัชต์ภาคย์ *เดิมชื่อ วิทยาลัยรัชต์ภาคย์
ประวัติการทำงาน • บจก.เอเชีย อินเตอร์เนชั่นแนล • บจก.เวิร์คแมน คอร์ปอเรชั่น • กลุ่ม ร.พ.เกษมราษฎร์(sub-contract) • ร.พ.แม่น้ำ(ร.พ.ปากเกร็ดเวชการเดิม) อ.ปากเกร็ด • บจก.ไซมีสไทร์(ธุรกิจผลิตยางรถต่างๆ) • บจก.เคแอลเค อินดัสตรี(ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์) • สถาบันรัชต์ภาคย์*(สถาบันอุดมศึกษา) ๒๕๕๐ –ปัจจุบัน *ชื่อเดิม วิทยาลัยรัชต์ภาคย์
หน่วยที่๑ พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์และอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ๑.วิศวกรรมศาสตร์ ? ................... ๒.Engineering = ..................... ๓.Engineering ? ..................... ศาสตร์หรือวิชาเกี่ยวกับการนำความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้พัฒนาหาคำตอบที่ประหยัดและเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาความต้องการของมนุษย์ ๑-๕
ความเหมือนและความแตกต่าง ความเหมือนและความแตกต่าง Engineer วิศวกร ประยุกต์ความรู้ในการออกแบบ พัฒนาอุปกรณ์ โครงสร้าง กระบวนการต่างๆ (มุ่งที่จะทำงาน) Scientist นักวิทยาศาสตร์ จะใช้ความรู้พื้นฐานดังกล่าวในการแสวงหาหรือค้นหาความรู้ใหม่ๆ (มุ่งแสวงหาความรู้) Scientist จะสำรวจว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร Engineer จะสร้างสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ๑-๕
สิ่งที่เหมือนกัน Engineer วิศวกร ต้องความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ Scientist นักวิทยาศาสตร์ ต้องมีความพื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (เวกเตอร์, พีชคณิต, แคลคูลัส) วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี)
ความสำคัญวิศวกรรมศาสตร์ • คิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงาน พัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน • เทคโนโลยีทางการเกษตร คิดค้นพัฒนาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร • พัฒนาโครงสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทนทานต่อภัยธรรมชาติ • พัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม **มนุษย์อาศัยวิศวกรรมศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตและอยู่รอด ของเผ่าพันธุ์ พัฒนามาตรฐานการครองชีพของมนุษย์** ๑-๖
วิศวกรรมศาสตร์สาขาหลัก ๕ สาขา(อธิบายรายละเอียดวิศวกรรมศาสตร์สาขาหลักได้) • วิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมเครื่องกล • วิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมเคมี • วิศวกรรมอุตสาหการ ๑-๗-๑๓
วิศวกรรมโยธา civil eng (เก่าแก่ที่สุด) • สิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น บ้าน อาคาร ถนน โรงงานอุตสาหกรรม สะพาน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ นาย ก. เป็นเจ้าของบ้านไปหาชื่ออุปกรณ์มาทำที่อยู่ให้สุนัขนอนอย่างสบาย? (นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, วิศวกรรมโยธา) ๑-๗
วิศวกรรมเครื่องกล mechanical eng • เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลและกระบวนการทางเครื่องกล เช่น การผลิตและการเปลี่ยนรูปพลังงาน การเขียนแบบ กลศาสตร์ของไหล กลศาสตร์ของเครื่องจักรกล การเปลี่ยนรูปพลังงาน อุณหพลศาสตร์ ถ่ายเทความร้อน การทำความเย็นการปรับอากาศ การเผาไหม้ การออกแบบเครื่องจักร ระบบควบคุม ฯลฯ ๑-๘
วิศวกรรมไฟฟ้า electrical eng • เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ วงจร และระบบไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า วิเคราะห์การทำงาน อิเล็กทรอนิคส์ สื่อสารโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ การออกแบบระบบต่างๆ การประยุกต์เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อใช้(อุตสาหรรม ธุรกิจ การแพทย์ การเกษตร) ฯลฯ ๑-๙
วิศวกรรมเคมี chemical eng • เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตต่างๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงส่วนผสม สถานะทางเคมี ลักษณะวัตถุดิบ การควบคุมปฏิกรณ์เคมีและกระบวนการต่างๆ การเดินหน่วยปฏิบัติการ การคำนวณดุลมวลและพลังงาน ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ฯลฯ ๑-๑๐
วิศวกรรมอุตสาหการ industrial eng • เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในอุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางแผน การควบคุม การผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีต้นทุนต่ำ วัสดุวิศวกรรม กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวางผังโรงงาน วิศวกรรมความปลอดภัย วิศวกรรมซ่อมบำรุง เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม วิจัยและการดำเนินงาน ฯลฯ ๑-๑๑
วิศวกรรมเครื่องกล และ วิศวกรรมอุตสาหการแตกต่างกันอย่างไร • ขอบข่ายการศึกษาเนื้อหาวิชา (หลักสูตร) • ความยากง่ายของเนื้อหาวิชา • ความต้องการของตลาดแรงงาน • ความสามารถของคน* • อัตราค่าตอบแทน • การประกอบธุรกิจของบริษัทนั้นๆ • วิศวกรรมเครื่องกล มุ่งที่จะศึกษา............................. • วิศวกรรมอุตสาหการ มุ่งที่จะศึกษา...........................
วิศวกรรมศาสตร์ที่แตกแขนงจากวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมศาสตร์ที่แตกแขนงจากวิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมโครงสร้าง(โครงสร้างเหล็ก ไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก) • วิศวกรรมสำรวจ(ระบบฉายแผนที่ สำรวจงานระนาบ) • วิศวกรรมปฐพี(ดิน หิน แร่) • วิศวกรรมการขนส่ง • วิศวกรรมการบริหารการก่อสร้าง • วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ • วิศวกรรมชลประทาน**(เขื่อน ฝาย ) (ระบบสูบน้ำ) • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม**ระบบการประปา? (ระบบสูบน้ำ) ๑-๑๓-๑๔
วิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่นๆวิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่นๆ • วิศวกรรมการเกษตร • วิศวกรรมอากาศยาน • วิศวกรรมยานยนต์ • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ • วิศวกรรมซอฟแวร์ • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์ • วิศวกรรมอาหาร • วิศวกรรมการผลิตอุตสาหกรรม • วิศวกรรมความปลอดภัย • วิศวกรรมวัสดุ • วิศวกรรมเหมืองแร่ ๑-๑๔-๑๕
วิศวกรรมศาสตร์สาขาหลักวิศวกรรมศาสตร์สาขาหลัก วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม • วิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมเหมืองแร่* • วิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมเครื่องกล • วิศวกรรมอุตสาหการ • วิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมเคมี* • วิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมเครื่องกล • วิศวกรรมอุตสาหการ ๑-๑๖ ๑-๑๓
ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแบ่งเป็น 4ระดับ • ภาคีวิศวกร • ภาคีวิศวกรพิเศษ • สามัญวิศวกร • วุฒิวิศวกร ๑-๑๖
Occupational Health and Safety(ความหมาย) • ศาสตร์หรือระบบวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจและสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งดูแลให้ผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีความปลอดภัยปราศจากภัยคุกคาม อันตราย บาดเจ็บ สูญเสีย รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ • องค์การอนามัยโลก (WHO) Healthว่าสภาวะที่สมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย(physical health) ทางจิตใจ(mental health) และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี(social well-being) ๑-๑๘
ความสำคัญของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความสำคัญของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • ความสำคัญต่อฝ่ายลูกจ้าง • ความสำคัญต่อฝ่ายนายจ้าง • ความสำคัญต่อภาครัฐ ๑-๑๙
พนักงานประสบอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ขาดรายได้, ครอบครัว (ลูกจ้าง) ยอดการผลิตลดลง ค่าสวัสดิการ จ้างคนมาแทน (นายจ้าง) สูญเสียค่าพื้นฟู/ค่ายา (ภาครัฐ)
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • สุขศาสตร์อุตสาหกรรม/อาชีวสุขศาสตร์(Industrial Hygiene or Occupational Hygiene) • อาชีวนิรภัย(Occupational Safety) • การยศาสตร์/จิตวิทยาในการทำงาน(Ergonomics and Work Psychology) • อาชีวเวชศาสตร์/เวชศาสตร์อุตสาหกรรม(Occupational Medicine or Industrial Medicine) ๑-๒๑-๒๒-๒๓
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • สุขศาสตร์อุตสาหกรรม/อาชีวสุขศาสตร์ (ตระหนัก ประเมิน ควบคุม ฝุ่น แสง เสียง) • อาชีวนิรภัย (ป้องกันอุบัติเหตุ) • การยศาสตร์/จิตวิทยาในการทำงาน (สรีรวิทยา ร่างกาย ) • อาชีวเวชศาสตร์/เวชศาสตร์อุตสาหกรรม (แพทย์ พยาบาล ตรวจวินิจฉัย) ๑-๒๒-๒๓
ความจำเป็นวิศวกรรมศาสตร์ในการศึกษาอาชีวอนามัยฯความจำเป็นวิศวกรรมศาสตร์ในการศึกษาอาชีวอนามัยฯ ♠การนำความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ฯ 1.พื้นฐานการศึกษาศาสตร์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2. วิเคราะห์ประยุกต์ใช้ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ♠♠ประโยชน์ในการประสานงานกับวิศวกรสาขาต่างๆ 1.พิจารณาปรึกษาวิศวกรสาขาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 2.สื่อสารกับวิศวกรสาขาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๑-๒๖-๒๗
มิติ(dimension)๒ ประเภท • มิติพื้นฐาน(fundamental dimensions) คือกลุ่มมิติที่ง่ายในการแปลง หรือกล่าวได้ว่าเป็นมิติที่มีหน่วยเดี่ยวๆ ได้แก่ ความยาว มวล เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิ ปริมาณสาร ความเข้มแสง • มิติอนุพันธ์(derived dimensions)คือมิติที่เกิดจากมิติพื้นฐานรวมกัน ตำราบางเล่มจึงเรียกว่ามิติประกอบ ได้แก่ พื้นที่ ปริมาตร ความเร็ว ความเร่ง ความหนาแน่นมวล แรง พลังงาน ๑-๓๒-๓๓
ตัวอุปสรรค (prefix) ? เอซะ E 1018 เพตะ P 1015 เทรา T 1012 จิกะ G 109 เมกะ M 106 กิโล k 103 เฮกโต h 102 เดกะda 101=10 เดชิ d 10-1 เซนติ c 10-2 มิลลิ m 10-3 ? ๑-๓๘
หน่วยที่ ๒ แบบพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา • แบบก่อสร้าง (construction drawing) รูปภาพแสดงขนาด รูปร่างและรายละเอียดขององค์อาคาร โดยมีการกำหนดค่าระดับและมิติที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อให้ผู้อ่านแบบมีความเข้าใจในรายละเอียดขององค์อาคาร และสามารถก่อสร้างได้ตรงตามรายละเอียดที่สถาปนิกและวิศวกรได้ออกแบบไว้ ๒-๕
ที่มาและความจำเป็นของแบบก่อสร้างที่มาและความจำเป็นของแบบก่อสร้าง • การออกแบบ • ขออนุญาตปลูกสร้างและดัดแปลงอาคาร • การเสนอราคาและประมูลงาน • การทำสัญญาว่าจ้าง • การก่อสร้างและการตรวจรับงาน • ขั้นตอนการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร* • ขั้นตอนการบำรุงรักษาอาคาร • ในกรณีฉุกเฉิน ๒-๕,๖,๗
ประเภทของแบบก่อสร้าง ๓ ประเภท • 1.แบบสถาปัตยกรรม(architectural drawing) แสดงรูปลักษณ์ ขนาด ตำแหน่ง รูปทรง และรายละเอียดต่างๆ ของอาคาร แบบสถาปัตยกรรมเป็นหัวใจสำคัญของโครงการก่อสร้างทุกประเภท (สถาปนิก) • 2.แบบโครงสร้าง(structural drawing)หรือบางครั้งเรียกว่า แบบวิศวกร แสดงรายละเอียดโครงสร้างอาคารที่ได้รับการออกแบบโดยวิศวกร แบบโดยทั่วไปจะแสดงฐานราก เสา คาน พื้น บันได หลังคาฯลฯ (วิศวกร) ๒-๘,๑๖
แบบสถาปัตยกรรมจะแสดงรายละเอียดแบบสถาปัตยกรรมจะแสดงรายละเอียด • แบบรูปด้านหน้า(front view) • แบบรูปด้านหลัง(back view) • แบบรูปด้านข้าง(side view) • แบบรูปด้านบน(top view) • รูปแบบแปลนหรือผังพื้น • แบบรูปตัด(section view) • แบบขยาย • ผังที่ตั้งโครงการและผังบริเวณ ๒-๙-๑๓
แบบโครงสร้างจะแสดงรายละเอียด (ดูหน้า๒-๑๖,๑๗) 3.แบบงานระบบ (system drawing) แสดงระบบต่างๆ ที่ติดตั้งในอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องกล ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบสุขาภิบาลฯลฯ (ดู๒-๑๘) ๒-๑๘
แบบสถาปัตยกรรม ลักษณะการออกข้อสอบในหน่วยนี้จะให้รูปมาแล้วตอบ (ให้ฝึกดูรูปว่าเป็น ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง หรือด้านบน) (หน่วยที่ 2หน้า 9-10) ๒-๙-๑๓
แบบสถาปัตยกรรมภายนอก แบบสถาปัตยกรรมภายใน
มาตราส่วน(scale) อธิบายรายละเอียด • มาตราส่วน(scale)คืออัตราส่วนที่วัดได้จากรูปในแบบก่อสร้างเทียบกับขนาดจริงขององค์อาคาร เช่น มาตราส่วน 1 : 10, 1 : 20, 1 : 5 เป็นต้น ถ้าใช้มาตราส่วน 2 : 1จะได้หรือไม่? • กรณีที่ผู้เขียนแบบต้องการเขียนภาพขยายขนาด อาทิ การใช้มาตราส่วน 2 : 1ในกรณีเขียนภาพขยายขนาดเป็นสองเท่าของขนาดจริงเพื่อเพิ่มความชัดเจน ๒-๒๕
แบบรูปด้าน แบบแปลน แบบรูปตัด ประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมเขียนด้วยมาตราส่วน? • ประเทศไทยนิยมใช้มาตราส่วน 1 : 100 • แบบขยายเขียนด้วยมาตราส่วน 1 : 20 • ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของรูปและความเหมาะสมของรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอ จากแบบก่อสร้าง 2, 3, 5เซนติเมตร ระยะจริง? กำหนดให้มาตราส่วน 1 : 100 ๒-๒๕
สัญลักษณ์ ๓ ประเภทใหญ่ๆ • สัญลักษณ์(symbol)คือองค์ประกอบของรูป เส้น และตัวหนังสือที่ใช้อธิบายรายละเอียดใบแบบก่อสร้าง • ๑. สัญลักษณ์อ้างอิง(reference symbol) • ๒. สัญลักษณ์ของวัสดุ(material symbol)กรวด คอนกรีต ทราย ก่ออิฐ • ๓. สัญลักษณ์วัตถุ(object symbol) วาล์ว มาตรวัดน้ำ ช่องอากาศ สวิตซ์ โคมไฟ หัวฉีดดับเพลิง แผงควบคุม ☺ให้นักศึกษาฝึกดูรูปในหน่วยนี้☺ ๒-๒๖-๒๗
ความแตกต่างวัสดุและวัตถุความแตกต่างวัสดุและวัตถุ • วัสดุ(material symbol)ใช้ในการแสดงประเภทของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง • วัตถุ(object symbol) ใช้ในการแสดงประเภท ตำแหน่งและจำนวนของวัตถุที่จะติดตั้งภายในอาคาร ๒-๓๐
เส้น (line) 3ประเภท (ให้ดูรูป ๒-๓๑) • เส้นหนามาก นิยมใช้การเขียนเส้นรอบรูป ขอบเขตของพื้นที่ หรือกรณีที่ต้องการเน้นความสำคัญขององค์ประกอบ • เส้นหนา นิยมใช้ในการเขียนรายละเอียดทั่วไปภายในอาคาร • เส้นบาง นิยมใช้ในการเขียนบอกขนาด เขียนเส้นฉาย และการเขียนเส้นลงเงา ๒-๓๐,๓๒
การกำหนดขนาด หรือ มิติ • เส้นฉาย เป็นเส้นที่ลากออกจากวัตถุเป็นแนวเส้นตรงมายังเส้นมิติ ๒-๓๑ • เส้นมิติ เป็นเส้นที่ใช้กำหนดความยาวของวัตถุในแต่ละช่วง ๒-๓๓ • ตัวเลขบอกขนาด เป็นตัวเลขที่บอกระยะจริงที่เขียนกำกับไว้บนเส้นมิติเพื่อความชัดเจนและความสะดวกในการอ่านแบบ ๒-๓๑
กระดาษเขียนแบบ(ใหญ่สุด/เล็กสุด)กระดาษเขียนแบบ(ใหญ่สุด/เล็กสุด) 1,189x841 841x594 594x420 420x297 297x210 • A0 • A1 • A2 • A3 • A4 การเลือกกระดาษขึ้นอยู่กับขนาดอาคารที่ได้รับการออกแบบและมาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบ ความเหมาะสม ความสมบูรณ์ อ่านได้ชัดเจน ๒-๓๖
หน้าที่ของเหล็กเส้นในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าที่ของเหล็กเส้นในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก • ช่วยต้านทานแรงดึง • ช่วยต้านทานแรงอัด • ช่วยต้านทานแรงเฉือน • ช่วยป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต ๒-๓๙-๔๐
ชนิดของเหล็กเส้น ๒ แบบ • เหล็กเส้นกลม (round bar)RB • เหล็กเส้นข้ออ้อย (deformed bar)DB RB25? DB25? เหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๒ มิลลิเมตร? เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๔ มิลลิเมตร? ๒-๔๐,๔๑
ป RB 9 มม@ 0.18ม. (กลม) • ป DB 6 มม@ 0.15ม. (ข้ออ้อย) เหล็กเส้นที่มีชั้นคุณภาพ SR24, SD30 • SR 24เหล็กเส้นกลมที่มีความแข็งแรงที่จุดครากอย่างต่ำ ๒,๔๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร • SD 30เหล็กข้ออ้อยที่มีความแข็งแรงที่จุดครากอย่างต่ำ ๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ๒-๔๗
3DB16MM RB9MM@0.20M 3DB16MM round bar(กลม) & deformed bar(ข้ออ้อย)
ข้อพึงระวังในการอ่านแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (๒) • รูปหน้าตัด ขนาดและชั้นคุณภาพเหล็กรูปพรรณที่ใช้ • ตำแหน่งและทิศทางการวางเหล็กรูปพรรณ • การอ่านแบบรูปบันไดเหล็กรูปพรรณ (ให้ดูรูป p 2-59) ๒-๔๘-๕๓
ข้อพึงระวังในการอ่านแบบโครงสร้างไม้ (๓) • ขนาดและชนิดของไม้ที่ใช้ • ตำแหน่งและทิศทางการวางไม้ • รอยต่อระหว่างชิ้นส่วนของไม้ • อุปกรณ์ที่นิยมใช้ ๔ ชนิด • ตะปู ตะปูควง • สลักเกลียว ตะปูเกลียว ๒-๖๑,๖๒,๖๓
หน่วยที่ ๓ วิศวกรรมโครงสร้างงานอาคาร • หลังคา • แป รับน้ำหนักจากหลังคา • จันทัน รับน้ำหนักจาก แป จันทันมี ๒ ประเภท 1.จันทันเอกที่วางตามแนวเสา 2.จันทันพรางที่วางไม่ตรงแนวเสา • อกไก่ รับน้ำหนักจากจันทันเอกและจันทันพราง • ดั้ง รับน้ำหนักจากอกไก่ที่อยู่ตามแนวจันทันเอกและส่งผลให้ หลังคามีทรงสูงขึ้นหรือแบนราบ • อะเส รับน้ำหนักจากจันทันเอกและจันทันพราง ยึดหัวเสาไห้มั่นคง • ขื่อ รับน้ำหนักจากดั้งและยึดหัวเสาให้มั่นคง • เชิงชาย ปิดซ้ายโครงหลังคาให้ดูสวยงามและป้องกันนกเข้าไปทำรัง ในหลังคา ๓-๙,๑๐,๑๑
การถ่ายน้ำหนัก น้ำหนักหลังคา แป จันทัน (จันทันเอกและจันทันพราง) อกไก่ อะเส ดั้ง ขื่อ ๓-๘ เสา