1 / 51

บทที่ 5 สารผสมเพิ่ม (Admixtures )

บทที่ 5 สารผสมเพิ่ม (Admixtures ). รายชื่อสมาชิกภายในกลุ่ม 1.นาย ธนัช ชุติมาชโลทร 5310110226 2.นาย กิตติภพ บุญญวัฒน์ วณิชย์ 5310110048 3.นาย นพ กาญจน์ ชูอินทร์ 5310110267. สารผสมเพิ่ม ( Admixtures ). คำจำกัดความ

jered
Download Presentation

บทที่ 5 สารผสมเพิ่ม (Admixtures )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 สารผสมเพิ่ม (Admixtures) รายชื่อสมาชิกภายในกลุ่ม 1.นาย ธนัช ชุติมาชโลทร 5310110226 2.นาย กิตติภพ บุญญวัฒน์วณิชย์ 5310110048 3.นาย นพกาญจน์ ชูอินทร์ 5310110267

  2. สารผสมเพิ่ม ( Admixtures ) คำจำกัดความ สารที่ใส่ลงไปในส่วนผสมของคอนกรีต ไม่ว่าจะก่อนหรือในขณะผสม เพื่อช่วยปรับปรุงให้คอนกรีตสดหรือคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ให้มีคุณสมบัติหรือคุณภาพตามที่วัสดุต้องการ อ้างอิง : http://www.civilclub.net/

  3. คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆที่สามารถปรับปรุงได้คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆที่สามารถปรับปรุงได้ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตให้น้อยลง เร่งการแข็งตัว คอนกรีตรับแรงได้เร็วกว่าปกติ หน่วงการแข็งตัว ทำให้คอนกรีตแข็งกว่าปกติ คอนกรีตสดมีความเหลว ไหลลื่นดี เทลงแบบหล่อได้ง่าย อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0141

  4. คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆที่สามารถปรับปรุงได้คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆที่สามารถปรับปรุงได้ เพิ่มปริมาณฟองอากาศในคอนกรีต ลดการเยิ้มหรือคายน้ำของคอนกรีตสด ช่วยขับน้ำ ป้องกันการไหลซึมของน้ำผ่านคอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีความคงทนต่อซัลเฟตมากขึ้น อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0141

  5. ประเภทของสารผสมเพิ่ม 1. Air-Entraining Agent(ASTM C 260) สารกักกระจายฟองอากาศ ใช้เพื่อเพิ่มความทนทาน กรณีที่คอนกรีตต้องสัมผัสกับสภาพที่เย็นจัด เช่น ในพื้นห้องเย็นหรือ ในบริเวณที่มีหิมะปกคลุมบางช่วงเวลา 2. Chemical Admixture (ASTM C 494) สารเคมีผสมคอนกรีตเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำที่เติมลงไปในส่วนผสมคอนกรีต เช่น เพื่อลดปริมาณน้ำในผสม

  6. 3. Mineral Admixture (ASTM C 618) สารประกอบแร่ธาตุผสมเพิ่ม มีลักษณะเป็นผงละเอียด ใช้ปรับปรุงความสามารถในการใช้งาน เพิ่มความคงทน ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติในการเกาะตัวดีขึ้น และยังสามารถใช้ทดแทนปริมาณปูนซีเมนต์ได้บางส่วน 4.สารผสมเพิ่มอื่นๆ ได้แก่ สารผสมเพิ่มอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ใน 3 ประเภทแรก ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะอย่างเท่านั้น อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0141

  7. ตารางการแบ่งประเภท ของสารผสมเพิ่ม

  8. สารกักกระจายฟองอากาศ( Air-Entraining Agent ) สารผสมเพิ่มประเภทนี้ใช่กันมานานแล้วประมาณกว่า 60 ปี โดยใช้กันอย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร สารผสมเพิ่มชนิดนี้ในคอนกรีต จะทำให้เกิดฟองอากาศ(Entrained air) ขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.05 มม. กระจายไปในเนื้อคอนกรีตมีความเหลวและไหลลื่นเพิ่มขึ้นเทลงแบบหล่อได้ง่ายช่วยให้คอนกรีตไม่เป็นโพรง

  9. สารกักกระจายฟองอากาศ( Air-Entraining Agent )(ต่อ) นอกจากนี้คอนกรีตจะมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง เช่น พื้นห้องเย็น( Cold storage) หรือคอนกรีตในประเทศหนาวโดยฟองอากาศเล็กๆ เหล่านี้ทำให้น้ำในคอนกรีตสามารถขยายตัวได้ไม่เกิดแรงดันจนคอนกรีตแตกร้าวเสียหาย

  10. สารกักกระจายฟองอากาศ( Air-Entraining Agent )(ต่อ) ปริมาณฟองอากาศที่ให้ผลดี คือ 3 - 6% โดยปริมาตร แต่ปริมาณคอนกรีตจะมีผลทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง 3 - 4% ต่อฟองอากาศที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1% กำลังคอนกรีตที่ลดลง อาจชดเชยด้วยการลด w/c ratio ซึ่งจะทำให้คอนกรีตกำลังตามที่ต้องการ

  11. สารกักกระจายฟองอากาศ( Air-Entraining Agent )(ต่อ) การทำให้เกิดฟองอากาศใช้หลักการลดแรงตึงผิวของน้ำโดยใส่สารที่ลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ ( Surface Active Agent ) และทำให้เกิดฟอง เวลาผสมคล้ายสบู่ แต่ฟองอากาศที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กกว่ามาก และมีความคงตัวโดยไม่สลายตัวทั้งเวลาผสมคอนกรีตและเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว วัสดุที่ใช้เป็นสารกักกระจายฟองอากาศมีหลายชนิดและอยู่ในรูปของของเหลวหรือผงที่ละลายน้ำ

  12. ประสิทธิภาพของสารกักกระจายฟองอากาศประสิทธิภาพของสารกักกระจายฟองอากาศ สารกระจายกักฟองอากาศทำให้คอนกรีตสดมีความสามารถเทได้ดีขึ้น การเพิ่มฟองอากาศร้อยละ 5 ทำให้ค่าการยุบตัวของคอนกรีตเพิ่มขึ้น 20 ถึง 50 มิลลิเมตร หรือสามารถลดปริมาณน้ำได้ 20 ถึง 30 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยที่ค่าการยุบตัวของคอนกรีตสดเท่าเดิม นอกจากนี้การเยิ้มน้ำและการแยกตัวก็จะลดลงด้วย

  13. อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0141

  14. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำงานปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำงาน 1.วัสดุผสมคอนกรีตและสัดส่วนผสม - ส่วนละเอียด เช่น ทรายละเอียด หรือ ปริมาณซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ - ปริมาณฟองอากาศจะเพิ่มขึ้น โดยลดขนาดของหิน - สัดส่วนของทรายมีความสำคัญต่อปริมาณฟองอากาศ การเพิ่มทรายขนาด 300-600 ไมโครเมตร จะก่อให้เกิดปริมาณฟอง อากาศมากขึ้น - น้ำที่เหมาะสำหรับคอนกรีตไม่มีผลต่อปริมาณฟองอากาศที่เกิดขึ้น แต่น้ำกระด้างจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ

  15. 2.การผสมและการจี้เขย่า2.การผสมและการจี้เขย่า -การจี้เขย่าคอนกรีตมากเกินไปจะส่งผลให้ปริมาณฟองอากาศลดลง -คอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำมาก จะก่อให้เกิดฟองอากาศได้ยาก 3.สภาพแวดล้อม -ปริมาณฟองอากาศในคอนกรีตจะเป็นปฏิภาคผกผันกับอุณหภูมิ

  16. Chemical Admixture ( ASTM C 494) Chemical Admixture ( ASTM C 494) สารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน เป็นสารผสมเพิ่มประเภทสารเคมีเป็นของเหลวละลายน้ำได้จำแนกได้ 7 ชนิด ดังต่อไปนี้ 1. Type A Water Reducing Admixtures 2. Type B Retarding Admixtures 3. Type C Accelerating Admixtures 4. Type D Water-Reducing and Retarding Admixtures 5. Type E Water Reducing and Accelerating Admixtures 6. Type F High Range Water Reducing Admixtures 7. Type G High Range Water Reducing and Retarding Admixtures

  17. Chemical Admixture ( ASTM C 494) 1. Type A Water Reducing Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มที่ใช้สำหรับลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีตโดยที่ความข้นเหลวยังคงเดิมมีผลให้คอนกรีตแข็งแรงเพิ่มขึ้นในทางกลับกันถ้าให้ปริมาณน้ำคงเดิม จะมีผลให้คอนกรีตสดมีความข้นเหลวเพิ่มขึ้น ทำให้การเทคอนกรีตลงแบบได้ดีขึ้น

  18. Type A Water Reducing Admixtures จุดประสงค์ของการใช้สารผสมเพิ่มประเภทนี้มี 3 ประการ คือ 1.เพื่อให้ได้กำลังคอนกรีตเพิ่มขึ้นจากการลด w/c ratio 2.เพิ่มความข้นเหลวแก่คอนกรีตสดทำให้การเทการหล่อคอนกรีตง่ายขี้น 3. ลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากเราสามารถเพิ่มปริมาณ หิน-ทราย ได้ โดยความข้นเหลวยังคงเดิม ผลจากการลดปริมาณปูนซีเมนต์ ทำให้ความร้อนจากปฏิกิริยา Hydrationลดลง

  19. Type A Water Reducing Admixtures สารผสมเพิ่มนี้ทำให้ลดการใช้น้ำลง ประมาณ 5% - 15% กำลังคอนกรีตเพิ่มขึ้น ประมาณ 10% - 20% สารผสมเพิ่มนี้เป็นสารอินทรีย์ส่วนใหญ่ผลิตจากกรดหรือเกลือLignosulphonic (LSN) ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมทำเยื่อไม้ หรือ เป็นเกลือของกรด Hydroxylated carboxylic acid (HCA)

  20. สารลดปริมาณน้ำ (plasticizer) วัตถุดิบ สารลดปริมาณน้ำได้มาจากสารประกอบหลัก 3 ชนิด 1. เกลือและสารประกอบของ Lignosulphonate 2. เกลือและสารประกอบ Hydroxycarboxylic Acid 3. Polymer

  21. สารลดปริมาณน้ำ (plasticizer) สารลดน้ำจำพวกเกลือและกรดHydroxycarboxylic ทำให้คอนกรีตเกิดการเยิ้มน้ำมากขึ้นโดยเฉพาะส่วนผสมที่มีความสามารถทำงานได้สูง สารลดน้ำจำพวกเกลือและกรดLignosulphonicจะใช้งานได้ง่ายกว่าโดยการทำให้คอนกรีตสดมีการเกาะตัวที่ดีและยังมีคุณสมบัติในการเพิ่มฟองอากาศด้วย

  22. ทำไมถึงต้องลดปริมาณน้ำ ? การลดปริมาณน้ำในส่วนผสม เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับงานคอนกรีตโดยจะพบว่าสารเคมี 5 ใน 7 ชนิดข้างต้นล้วนทั้งมีคุณสมบัติ ในการลดปริมาณน้ำ

  23. หน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีตหน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีต น้ำเป็นส่วนผสมสำคัญส่วนหนึ่งในการผลิตคอนกรีตโดยจะ ทำหน้าที่ 3 อย่าง 1.เข้าทำปฏิกิริยาเคมีกับปูนซีเมนต์ หรือ ปฏิกิริยา Hydration 2. ทำหน้าที่เคลือบหินและทรายให้เปียก เพื่อซีเมนต์จะเข้าเกาะและยึดแข็งติดกัน 3.ทำหน้าที่หล่อลื่นให้หิน ทราย ซีเมนต์ อยู่ในสภาพเหลวสามารถไหลเข้าแบบง่าย

  24. หน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีตหน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีต น้ำจำนวนพอดีที่จะทำปฎิกิริยาไฮเดรชั่น คือ ประมาณ 28% ± 1% ของน้ำหนักซีเมนต์ หรืออัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ เท่ากับ 0.28 ± 0.01 แต่คอนกรีตทั่วไปใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อ ซีเมนต์มากกว่า 0.35 น้ำเกินนี้จะเข้าไปทำให้คอนกรีตเหลว ทำงานได้สะดวกขึ้น น้ำส่วนนี้ถูกเรียกว่า น้ำส่วนเกิน

  25. หน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีตหน้าที่ของน้ำต่อคอนกรีต น้ำส่วนเกิน ถ้ามีมากเกินไปจะมีผลเสียต่อคอนกรีต คือ 1. เกิดการเยิ้มของน้ำขึ้นมาที่ผิวหน้ามาก 2. เกิดการแยกตัว 3. กำลังอัดต่ำลง 4. เกิดการหดตัว 5. ทำให้เกิดรูพรุน มีผลทำให้คอนกรีตขาดความทนทาน

  26. ในรูปด้านล่าง แสดงลักษณะคอนกรีตที่ใช้น้ำมากเกินไป น้ำส่วนหนึ่งจะอยู่ในลักษณะที่เป็นแอ่งใต้ดินและบางส่วนจะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งคือการเยิ้ม เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแอ่งน้ำดังกล่าวจะกลายเป็นโพรงอากาศทำให้ความทนทานและกำลังอัดคอนกรีตต่ำลง อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0063

  27. อนุภาคของซีเมนต์จะจับตัวอยู่เป็นกลุ่มก่อนการใส่สารผสมเพิ่มประเภทลดน้ำอนุภาคของซีเมนต์จะจับตัวอยู่เป็นกลุ่มก่อนการใส่สารผสมเพิ่มประเภทลดน้ำ อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0063 การกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอของอนุภาคซีเมนต์หลังการใส่สารผสมเพิ่มประเภทลดน้ำ อ้างอิง : http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0063

  28. วัตถุประสงค์หลักในงานคอนกรีต  ใช้ลดน้ำในส่วนผสมคอนกรีต โดยที่ยังได้ค่ายุบตัวที่เท่าเดิม ทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดเพิ่มขึ้น  ได้รับค่ายุบตัวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงส่วนผสมและไม่ต้องเพิ่มน้ำอีก

  29. 2. Type B Retarding Admixtures ( สารหน่วงการก่อตัว) เป็นสารผสมเพิ่มสำหรับใช้หน่วงปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้าลง จุดประสงค์ของการให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้าลง เพื่อ 1. สำหรับงานเทคอนกรีตในสภาพอากาศร้อน 2. กรณีที่ต้องส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปยังงานก่อสร้างที่อยู่ไกลหรือต้องใช่เวลานานในการขนส่ง 3. กรณีที่เทคอนกรีตปริมาณมากๆซึ่งจะช่วยลดความร้อนจากปฏิกิริยาเพื่อให้ความร้อนมีเวลาระบายออกก่อนคอนกรีตแข็งตัวหรือต้องการให้การเทคอนกรีตต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน 4. สำหรับกรณีลำเลียงคอนกรีตด้วยเครื่องปัมพ์

  30. 2. Type B Retarding Admixtures ( สารหน่วงการก่อตัว) สารหน่วงการก่อตัวมีคุณสมบัติยืดเวลาการก่อตัวของปูนซีเมนต์และลดปริมาณความร้อนจากปฏิกิริยา ใช้ลดความร้อนของคอนกรีตที่เทที่อุณหภูมิสูง ใช้ยืดเวลาในการทำงานเมื่อเกิดเหตุเสียเวลาในการลำเลียงและขนส่งในการเทคอนกรีต

  31. คุณสมบัติของสารหน่วงการก่อตัวคุณสมบัติของสารหน่วงการก่อตัว เป็นสารผสมเพิ่มที่มีการใช้งานแพร่หลายที่สุดในประเทศ สารหน่วงการก่อตัวเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับหน่วงเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ในงานคอนกรีตที่ต้องเทในสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิที่สูงจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาไฮเดรชั่นให้เกิดอย่างรวดเร็ว สารหน่วงการก่อตัวจึงถูกนำมาใช้เพื่อหน่วงระยะเวลาการก่อตัวที่เร็วเกินไป สำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น การเทคอนกรีตในสภาพอากาศที่ร้อนจัด ล้วนจำเป็นต้องผสมสารหน่วงการก่อตัวในคอนกรีตเพื่อยืดระยะเวลาการเทและการแต่งผิวหน้าคอนกรีตออกไป

  32. สารหน่วงเวลาการก่อตัวสารหน่วงเวลาการก่อตัว สารหน่วงการก่อตัวจัดอยู่ในประเภท B มาตรฐาน ASTM C494 สารผสมเพิ่มชนิดหน่วงเวลาการก่อตัวแบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามส่วนประกอบทางเคมี ดังนี้ 1. น้ำตาลสารและประกอบของน้ำตาล 2.เกลืออนินทรีย์ 3. Hydroxycaboxylic Acid และเกลือของมัน 4. Lignosulphoic Acid และเกลือของมัน

  33. สารหน่วงเวลาการก่อตัวสารหน่วงเวลาการก่อตัว สารผสมเพิ่มชนิดยืดเวลาการก่อตัวนี้จะถูกดูดซึมไว้บนผิวของอนุภาคซีเมนต์ ส่งผลให้อัตราการซึมผ่านของน้ำเข้าไปทำปฏิกิริยา ไฮเดรชั่น กับอนุภาคซีเมนต์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำงาน ชนิดและปริมาณการใช้ปริมาณสารยืดเวลาการก่อตัว  ชนิดของซีเมนต์และสารประกอบ  เวลาที่เติมสารยืดเวลาการก่อตัว  อุณหภูมิ

  34. 3. Type C Accelerating Admixtures ( สารเร่งการก่อตัว ) เป็นสารผสมเพิ่มสำหรับเร่งปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสดแข็งตัวเร็วขึ้น จุดประสงค์ของการให้คอนกรีตแข็งตัวเร็วขึ้น เพื่อ 1.สำหรับงานเร่งด่วนเพื่อสามารถเปิดใช้งานได้ทันเวลา 2.สำหรับคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบเร็ว 3.สำหรับงานหล่อคอนกรีตในประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำซึ่งปฏิกิริยา Hydration จะช้ามาก

  35. 3. Type C Accelerating Admixtures ( สารเร่งการก่อตัว ) (ต่อ) สารผสมเพิ่มประเภทนี้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ อลูมิเนียมคลอไรด์โปแตสเซียมคาร์บอนเนต โซเดียมฟลูออไรด์ โซเดียมอลูมิเนตและโซเดียมซิลิเกต

  36. 3. Type C Accelerating Admixtures ( สารเร่งการก่อตัว ) (ต่อ) สารผสมเพิ่มประเภทคลอไรด์ เป็นสารผสมเพิ่มที่หาง่ายและราคาถูก ทำให้คอนกรีตแข็งตัวเร็ว ความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น สูงขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการขัดสี ส่วนของเสีย คือ ลดความต้านทานต่อการกัดกร่อนของสารซัลเฟต ทำให้คอนกรีตมีการหดตัวเพิ่มขึ้นและอาจทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ ดังนั้น ในกรณีของงานคอนกรีตอัดแรงให้ใช้สารผสมเพิ่มประเภทอื่นที่ไม่มีคลอไรด์

  37. 3. Type C Accelerating Admixtures ( สารเร่งการก่อตัว ) (ต่อ) สารเร่งเวลาการก่อตัวและแข็งตัว เป็นสารที่เร่งปฏิกิริยา ไฮเดรชั่น ส่งผลเร่งการก่อตัว และการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตในช่วงต้น โดยทั่วไปจะใช้สำหรับงานดังต่อไปนี้ งานก่อสร้างเร่งด่วน เช่น งานที่ต้องการถอดไม้แบบเร็ว งานซ่อมแซมต่างๆ ใงานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตในโรงงาน เพื่อจะให้การหมุนเวียน แบบหล่อทำได้อย่างรวดเร็ว ..งานคอนกรีตในฤดูหนาว สำหรับในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นจัด

  38. สารเร่งการก่อตัว (Accelerators) สารผสมเพิ่มชนิดนี้จะแตกต่างจากสารที่ทำให้เกิดการก่อตัวอย่างกะทันหัน ( Set Accelerating Admixture )ซึ่งจะก่อตัวภายใน 2 – 3 นาที และเหมาะในงาน Shotcreteสำหรับอุดรูรั่วภายใต้ความดันของน้ำ หรือการซ่อมแซมอย่างกะทันหัน

  39. สารเร่งการก่อตัว (Accelerators) สารเร่งเวลาการก่อตัวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสารเคมีดังนี้ Calcium Chloride Calcium Formate Calcium Nitrate แคลเซียมคลอไรด์เป็นสารเคมีที่ถูกนำมาใช้เร่งการก่อตัวของคอนกรีตอย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลที่สำคัญ 2ประการ คือ ราคาไม่แพง และ หาได้ง่าย แต่ปัจจุบันได้พบว่าแคลเซียมคลอไรด์จะก่อให้เกิดกัดกร่อนเหล็กเสริมคอนกรีต

  40. สารเร่งการก่อตัว (Accelerators) สารเร่งเวลาการก่อตัวของคอนกรีตทำหน้าที่เสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ( Catalyst ) ระหว่างซีเมนต์กับน้ำ ผลก็คือ จะเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นก่อให้เกิดความร้อนขึ้นและกำลังอัดจะเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว

  41. 4.Type D Water-Reducing and Retarding Admixtures สารผสมเพิ่มประเภทนี้ มีคุณสมบัติลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย สารผสมเพิ่มเหล่านี้ได้แก่ เกลือของกรด LSN หรือเกลือของกรด HCA ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดน้ำและหน่วงปฏิกิริยาด้วย สารผสมเพิ่มประเภทนี้มีคุณสมบัติในการลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะเร่งปฏิกิริยา Hydration ด้วย • 5.Type E Water Reducing and Accelerating Admixtures

  42. 6.Type F High Range Water Reducing Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มชนิดลดน้ำปริมาณมาก โดยสามารถลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีตลงได้ ~15% - 30% ทำให้คอนกรีตมีกำลังเพิ่มขึ้น ~20% - 40% แต่ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวเร็วมาก (30 - 60 นาที) ดังนั้นจะต้องวางแผนงานในการเทและแต่งผิวให้ทันเวลา เป็นสารผสมเพิ่มเช่นเดียวกับ Type F แต่มีคุณสมบัติในการหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย เป็นสารเคมีประเภท naphthalene sulphonate 7.Type G High Range Water Reducing and Retarding Admixtures

  43. สารประกอบแร่ธาตุผสมเพิ่ม (Mineral Admixture) ASTM C 618 สารผสมเพิ่มชนิดนี้มักจะเป็นผงละเอียด ซึ่งใส่รวมในคอนกรีต เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้งานคอนกรีต เหลวและเพิ่มความทนทานของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว มีดังนี้ 1.วัสดุที่มีความไวต่อปฏิกิริยาต่ำหรือวัสดุเฉื่อย สารผสมเพิ่มชนิดนี้ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตเหลว โดยเฉพาะในคอนกรีตที่ขาดอนุภาคขนาดเล็ก เช่น คอนกรีตที่ทำจากทรายหยาบ หรือที่มีปริมาณซีเมนต์อยู่น้อย

  44. 2.วัสดุชนิดPozzolana Pozzolana คือ วัสดุประเภทซิลิก้า ซึ่งสามารถทำปฎิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ และเกิดตัวเชื่อมประสานหรือ Calcium Silicate-Hydrate เพิ่มขึ้น การใช้สาร Pozzolanaมักจะมีผลทำให้กำลังอัดของคอนกรีตต่ำในระยะแรก แต่กำลังจะสูงขึ้นเมื่อคอนกรีตมีอายุมากขึ้นและจะสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาที่อายุมากกว่า 28 วัน อ้างอิง : http://www.thaicivil.tht.in/pagetemplateHTM24.html

  45. สารผสมเพิ่มอื่นๆ  สารป้องกันซึม (Waterproofing)  สารช่วยปั้มง่ายขึ้น (Pumping Aids)  สารอุดประสานสารลดปฏิกิริยาเคมีของปูนกับหิน (Grouting Material)  สารเพิ่มการขยายตัว (Alkali Aggregate Reducing)  สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)  สารป้องกันการเกิดเชื้อรา  สารทำให้เกิดฟองอากาศ (Gas Formers)  สารเชื่อมประสาน(Bonding Agents)

  46. สารผสมเพิ่มอื่นๆ สารผสมเพิ่มประเภทนี้ ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในงานจำเพาะเจาะจงบางอย่าง เช่น - สารป้องกันซึม (Waterproofing) ใช้ป้องกันการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตที่มีรูพรุนมากส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุประเภทสบู่หรือน้ำมัน - สารกันชื้น เป็นพวกกรดไขมันหรือผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อาจจะทำให้น้ำไม่จับที่ผิวคอนกรีต แต่จะไม่สามารถทนน้ำที่มีแรงดันมากได้

  47. สารผสมเพิ่มอื่นๆ (ต่อ) - สารเพิ่มการขยายตัว (Alkali Aggregate Reducing) มีสารเคมีหลัก คือ Calcium Sulpho-Aluminate จะทำให้ซีเมนต์ธรรมดาเป็นแบบขยายตัว เพื่อใช้ทดแทนการหดตัวของคอนกรีตในการก่อสร้างทั่วๆไป - สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor) เป็นเกลือของสารเคมีที่มีประจุที่เกิดออกไซด์ได้ - สารเชื่อมประสาน (Bonding Agents) ส่วนใหญ่ทำมาจาก Polymer Latex ใช้เพิ่มเสริมาการยึดเกาะตัวระหว่างคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่หรือระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริม

  48. สารผสมเพิ่มอื่นๆ (ต่อ) - สารอุดประสานหรือสารกรอกฉีด (Grouting Material) ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อการฉีดเข้าไปในซอกหรือบริเวณแคบๆ โดยป้องกันการแยกตัว การเยิ้ม รวมทั้งเพิ่มการยึดเกาะ เพื่อให้ปั๊มได้สะดวกเหมาะที่จะนำไปใช้กับงาน Stabilize ฐานราก อุดรอยร้าว อุดช่องว่างในงานคอนกรีตอัดแรงระบบ Bonding เป็นต้น - สารช่วยให้ปั๊มง่าย (Pumping Aids) ช่วยให้คอนกรีตยึดเกาะตัวกัน เคลื่อนผ่านท่อปั๊มไปได้ถึง แม้ว่าคอนกรีตนั้นจะมีปริมาณซีเมนต์ต่ำ

  49. ข้อควรระวังในการใช้งานข้อควรระวังในการใช้งาน 1. สารผสมเพิ่มที่จะนำมาใช้ควรคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน เช่น ของประเทศไทยควรเป็นไปตาม มอก. 733-2530 มีดังนี้  ผลของสารผสมเพิ่มต่อคอนกรีต  อิทธิพลอื่นๆที่สารผสมเพิ่มมีต่อคอนกรีตไม่ว่าจะเป็นทาง ที่เป็นประโยชน์หรือเป็นผลเสีย  คุณสมบัติทางกายภาพของสารผสมเพิ่ม  วิธีการเก็บและอายุการใช้งาน  ผลเสียต่อผู้ใช้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว  PH

  50. ข้อควรระวังในการใช้งานข้อควรระวังในการใช้งาน 2. ควรใช้สารผสมเพิ่มในปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำพร้อมกับตรวจดูผลว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ 3. ควรใช้วิธีการวัดปริมาณสารผสมเพิ่มที่แน่นอน ซึ่งสำคัญมากในกรณีของสารกักกระจายฟองอากาศและสารผสมเพิ่มเคมี 4. ผลของสารผสมเพิ่มต่อคุณสมบัติอื่นๆ ของคอนกรีตสารผสมเพิ่มทั่วๆ ไป มักมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีตหลายอย่างพร้อมๆกัน

More Related