590 likes | 2.36k Views
การวางแผนชีวิตด้วยวงจร P D C A. พีณา จันทะแก้ว ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ. Assembly ประจำปีการศึกษา 2550 สิงหาคม – กันยายน 2550. สำนักประกันคุณภาพการศึกษา. ที่ตั้ง อาคารอำนวยการ 2 ห้อง 206 Website http://qao.payap.ac.th ภาระหน้าที่
E N D
การวางแผนชีวิตด้วยวงจร P D C A พีณา จันทะแก้ว ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ Assembly ประจำปีการศึกษา 2550 สิงหาคม – กันยายน 2550
สำนักประกันคุณภาพการศึกษาสำนักประกันคุณภาพการศึกษา • ที่ตั้ง อาคารอำนวยการ 2 ห้อง 206 • Website http://qao.payap.ac.th • ภาระหน้าที่ • เป็นหน่วยงานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย • เป็นหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมุ่งสู่คุณภาพ • ส่งเสริม สนับสนุนประสานงานและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย
การประกันคุณภาพคือ อะไร • การประกันคุณภาพ คือ ระบบการบริหารจัดการที่กำกับขบวนการดำเนินงาน (การผลิต การบริการ) เพื่อให้เกิดความมั่นใจและรับรองได้ว่าผลและ/ผลลัพธ์จากการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ • ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ…. “ การสร้างความมั่นใจให้ผู้เกี่ยวข้อง(ผู้ปกครอง นักศึกษา ประชาชนทั่วไป) ว่าผู้จบการศึกษาจะมีคุณภาพตามที่ต้องการ”
เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างไรเกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างไร มหาวิทยาลัย นักศึกษา ผลิต • มีคุณภาพ • นักศึกษาได้รับรางวัลระดับ ภูมิภาค ชาติ และนานาชาติ • การได้งานทำสูง • ร้อยละการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทปริญญาเอกสูง • เงินเดือนสูง • ได้รับการบริการที่มีคุณภาพ • สำนักทะเบียนฯ • ฝ่ายการเงิน • ฝ่ายพัฒนานักศึกษา • ฯลฯ มีระบบประกันคุณภาพ การศึกษา
ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระบบประกันคุณภาพการศึกษา • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน • เป็นส่วนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยต้องกำหนดให้มีเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพการทำงานของมหาวิทยาลัย ทุกมหาวิทยาลัยกำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระบบประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยพายัพระบบประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ 1 Quality Control การควบคุมคุณภาพ P 4 Accreditation การรับรอง คุณภาพ 2 Quality Audit การตรวจสอบ คุณภาพ Input ปัจจัยนำเข้า Process กระบวนการ Output ผลผลิต Outcome ผลสัมฤทธิ์ A D C 3 Quality Assess การประเมินคุณภาพ
P D C A คือ อะไร • วงจร PDCA มาจากคำภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ • P - Planวางแผน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ และตั้งเป้าหมาย กำหนดขั้นตอนวิธีการ และระยะเวลา จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นทั้งในด้านบุคคล เครื่องมืองบประมาณ • D - Doปฏิบัติ โดยการทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติตามแผน • C - Check ตรวจสอบ เพื่อติดตามความคืบหน้า และดูผลสำเร็จของงานเมื่อเทียบกับแผน • A - Actปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม หากการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ก็จัดให้เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางให้ปฏิบัติต่อไป หากการปฏิบัติมีข้อควรปรับปรุง ให้กำหนดวิธีการปรับปรุงต่อไป
ใน PDCA มี pdca • หากเราทำกิจกรรมเพียงเรื่องเล็กๆ เช่น จัดกระเป๋านักเรียน ทำการบ้าน เดินทางไปโรงเรียน กิจกรรมแต่ละอย่าง เราก็ใช้เพียงแค่ PDCAธรรมดา แต่บางครั้ง ขั้นตอนต่างๆ ก็ไม่สามารถแยก PDCAออกจากกันได้เด็ดขาด หรือกรณีการรับผิดชอบงานในขอบเขตกว้าง ใช้ระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน เราจะพบว่า ในPDCAก็ยังต้องมี pdcaอีก หรือเรียกง่าย ๆว่า ใน PDCAใหญ่ๆ ก็ต้องมี pdca ย่อยๆอีก เพื่อให้งานสำเร็จ
ตัวอย่าง • นักศึกษาจะซื้อของใช้ภายในบ้าน PDCA ของกิจกรรมการซื้อ ได้แก่
การนำ PDCA ไปใช้ (1) • PDCA เพื่อป้องกัน1.1 การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ 1.2 การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม 1.3 การตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
การนำ PDCA ไปใช้ (2) • PDCA เพื่อแก้ไขปัญหา• ถ้าเราประสบสิ่งที่ ไม่เหมาะสม ไม่สะอาด ไม่สะดวก ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ประหยัด เราควร แก้ปัญหา• การใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ได้แก่ การทำ C-PDCA คือ ตรวจสอบก่อน ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป
การนำ PDCA ไปใช้ (3) • PDCA เพื่อปรับปรุง• ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้• PDCA เพื่อการปรับปรุง คือไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา แต่เราต้องเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆหรือวิธีการที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม เมื่อเราคิดว่าจะปรับปรุงอะไร ก็ให้ใช้วงจร PDCA เป็นขั้นตอนในการปรับปรุง ข้อคิดสำคัญ ต้องเริ่ม PDCAตัวเองก่อนมุ่งไปที่คนอื่น
เทคนิคของ PDCA แต่ละขั้นตอน • เทคนิคการวางแผน Planการวางแผนที่ดี ควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้ • มีอะไรบ้างที่ต้องทำ• ใครทำ• ต้องใช้อะไรบ้าง• ระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใด• ลำดับการทำงานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง• เป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร
เป้าหมายที่ดี ควรยึดหลัก SMARTER • S – specific ชัดเจน เจาะจง • M- measurable วัดได้ ประเมินผลได้ • A- acceptable ผู้ปฏิบัติยอมรับและเต็มใจทำ • R- realistic อยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่เพ้อฝัน • T- time frame มีกรอบระยะเวลา • E – extending เป็นเป้าหมายที่ท้าทายความสามารถ ไม่ใช่ว่าเคยทำได้ 10 ก็ตั้งเป้าหมาย ไว้แค่ 8 หรือแค่ 10 แต่ควรตั้งไว้อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ควรต่ำกว่า 11 • R – Rewarding คุ้มกับการปฏิบัติ หมายถึงเป้าหมายที่ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ คุ้มค่ากับการลงแรงลงเวลาและทรัพยากร
เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติเทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ • Do• ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไข หรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด• ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่อง ให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหาย จะขยายเป็นวงกว้าง
เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ Check • ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ • ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่
เทคนิคขั้นตอนการปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสมเทคนิคขั้นตอนการปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม Act • หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้ • หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ • หาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม
ฝึกปฏิบัติ P D C A • ให้ยกตัวอย่าง P D C A คนละ 1 เรื่อง • นักศึกษาที่สามารถยกตัวอย่างได้ชัดเจนจะได้รับรางวัล ในวันประกาศรางวัล Payap University Quality Award ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2550 • เขียน ชื่อ – นามสกุล รหัสนักศึกษา สาขาที่สังกัด และคณะวิชา