300 likes | 929 Views
โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Meningitis ). สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid . ddc . moph . go . th. สถานการณ์ภายในประเทศ. โรคนี้พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี และมักพบมากในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างหนาแน่นและแออัด.
E N D
โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis ) สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th
สถานการณ์ภายในประเทศ โรคนี้พบได้ในทุกกลุ่มอายุแต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี และมักพบมากในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างหนาแน่นและแออัด
ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Reported Cases of Meningoccal meningitis per 100,000 Population by Province, Thailand, 2009 Top Ten Leading Rate 1Mae Hong Son 0.81 2Pattani 0.62 3Phatthalung 0.59 4Uttaradit 0.43 5Phangnga 0.40 6Phuket 0.30 7Phetchabun 0.30 8Krabi 0.24 9Prachin Buri 0.22 10Yala 0.21 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์การระบาดในต่างประเทศสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ • แอฟริกากลางแถบทะเลทรายซาฮาราตอนใต้ซึ่งพบว่ามักเป็นซีโรกรุ๊ป A มีการระบาดที่เอธิโอเปียซูดานประเทศอื่นๆ • ในทวีปแอฟริกาเนปาลและอินเดีย • ในทวีปอเมริกาช่วงปี 2533 เป็นต้นมาพบการระบาดจากซีโรกรุ๊ป B เช่น คิวบาบราซิลชิลีอาร์เจนตินาโคลัมเบียและ ปี 2537 พบอุบัติการณ์ของโรคมากเป็นสองเท่าที่รัฐโอเรกอนสหรัฐอเมริกา • ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมาพบว่าเชื้อกลุ่ม C มักเป็นสาเหตุของการระบาดในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
เชื้อสาเหตุ • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่ว เรียงตัวกันอยู่เป็นคู่ๆ โดยหันด้านเรียบเข้าหากัน ไม่สร้างสปอร์ แบ่งออกเป็น 13 ซีโรกรุ๊ป คือ A, B, C, D, H, I, K, L, X, Y, Z, 29E และ W135 ที่พบบ่อยๆ คือ ซีโรกรุ๊ป A, B, C, Y และ W135
การเก็บและส่งตัวอย่างตรวจการเก็บและส่งตัวอย่างตรวจ • การตรวจวิเคราะห์ยืนยันเชื้อก่อโรคไข้กาฬหลังแอ่น ด้วยวิธีการทดสอบ ดังนี้ • วิธีทางชีวเคมี และวิธี PCR (กรณีเก็บตัวอย่างเชื้อบริสุทธ์) • วิธีตรวจหาค่า Minimum inhibition concentration (MIC) • วิธี seminested-PCR
การเก็บและส่งตัวอย่างตรวจ(2)การเก็บและส่งตัวอย่างตรวจ(2) • ข้อบ่งชี้การตรวจ * เก็บตามที่แพทย์เห็นสมควร ** เก็บเพื่อการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อ
ระยะติดต่อ ผู้ที่สามารถแพร่เชื้อได้ คือผู้ที่ไม่มีอาการ(พาหะ) และผู้ป่วยสามารถแพร่โรคได้จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในน้ำมูก น้ำลายแล้ว ปกติเชื้อจะหมดไปจากช่องโพรงจมูกทางด้านหลัง (nasopharynx) ของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม penicillin จะใช้ยับยั้งเชื้อได้ชั่วคราว แต่จะไม่กำจัดเชื้อให้หมดไปจากโพรงช่องปาก จมูกและคอรวมทั้งโพรงจมูกด้านหลัง (oronasopharynx)
วิธีการติดต่อ เชื้อนี้ติดต่อจากคนไปสู่คนโดยเชื้อจะออกมาทางละอองน้ำมูก น้ำลาย(droplet) จากปากหรือจมูกของผู้ที่เป็นพาหะ(ผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ) หรือผู้ป่วย โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 2-10 วัน (เฉลี่ย 3-4 วัน)
วิธีการติดต่อ(2) เชื้อกระจายจากช่องปาก ช่องจมูกจากคนหนึ่งสู่อีกคนโดยตรง ผ่านระบบทางเดินหายใจ เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคได้ 3 แบบ - แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย เชื้อเจริญในเนโซฟาริ้งซ์ ทำให้เกิดการอักเสบเฉพาะที่เล็กน้อย มักไม่มีอาการ ส่วนใหญ่พบกลุ่มนี้มาก และมักเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อต่อไปได้อีก - แบบเชื้อแพร่เข้ากระแสเลือดหรือเลือดเป็นพิษ (meningococcemia) เชื้อเข้าในกระแสเลือด โดยเลือดจะมาหล่อเลี้ยงที่ปลายหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจะมีผื่น เลือดออกตามผิวหนัง ในรายที่รุนแรงจะมีเลือดออกในลำไส้และต่อมหมวกไต - แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitidis) เชื้อที่เข้าเยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการและอาการแสดง • ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้ำเลือด(pink macules)ขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย และอาจเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มาด้วยอาการสำคัญ 2 อย่าง คือ • Meningococcemia • Meningitis
อาการและอาการแสดง(2) • Meningococcemia Acute Meningococcemia อาการเกิดอย่างฉับพลัน มีอาการปวดศีรษะ เจ็บคอและไอ เป็นอาการนำมาก่อน ตามด้วยไข้สูง หนาวสั่น ปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขาและหลัง นอกจากนี้ อาจมาด้วยไข้และมีผื่นแดงจ้ำขึ้นตามตัว ใน 2-3 วันต่อมา จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำจนเป็นสะเก็ดสีดำ บางทีเป็นตุ่มน้ำมีจุดแดงอยู่ตรงกลาง ส่วนใหญ่จะมีผื่นหลังไข้ขึ้น 24-48 ชั่วโมง
อาการและอาการแสดง(3) Meningococcemia (ต่อ) • Chronic Meningococcemia พบได้น้อย ส่วนใหญ่มักมีไข้ ผื่นตามผิวหนัง อาจเป็น ผื่นแดงจ้ำ ปวดและเจ็บข้ออยู่เป็นเดือน ไข้จะเป็นๆ หายๆ • Fulminant Meningococcemia เป็นอย่างรุนแรง ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน อาจ ช็อคถึงเสียชีวิตได้ ในเวลาไม่นานหลังจากเริ่มมีอาการ ส่วนมากเริ่มมีอาการไข้สูงทันทีอ่อนเพลียมาก แล้วเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีหลอดเลือดตีบทั่วร่างกาย มักจะไม่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะเป็นระยะสั้นๆ แล้วเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
อาการและอาการแสดง(4) • Meningitis มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง ซึมและสับสน อาการจะแย่ลงอย่างรวด อาจพบอาการที่แสดงถึงการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีจ้ำเลือดออกตามผิวหนัง
การรักษา • Glucocorticoid therapy ก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที • ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone /PGS/Chloramphenicol • การรักษาแบบประคับประคองและตามอาการอื่นๆ
การป้องกันผู้สัมผัสโรคการป้องกันผู้สัมผัสโรค • บุคคลที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยในบ้านเดียวกัน และผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Close contact) กับผู้ป่วย ต้องได้รับยาป้องกันได้แก่ Rifampicin หรือ ceftriaxone หรือ ciprofloxacin
การควบคุมป้องกันโรค • ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคแก่ประชาชน โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูกน้ำลายจากปากหรือจมูกของผู้ป่วยไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่แออัดผู้คนหนาแน่นอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้มีโอกาสรับเชื้อจากผู้ที่เป็นพาหะได้ง่ายควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการทำงานหักโหมจนพักผ่อนไม่เพียงพอ • ใช้วัคซีนป้องกันโรคใน Serogroups A, C, Y และ W135 ทั้งผู้ใหญ่และเด็กโตขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ซีโรกรุ๊ป B (อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา) แนะนำให้ฉีดในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่อยู่หรือเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดการระบาด พิธีฮัจย์ กลุ่มทหาร และกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่ำ
การควบคุมป้องกันโรค(2) • สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่จะเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ และจะอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานานการฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้ • การป้องกันสำหรับผู้สัมผัสโรครีบให้ยาฆ่าเชื้อแก่ผู้สัมผัสที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทันทีโดยเลือกใช้ยาที่ไวต่อเชื้อ เช่น rifampicin • การรักษายา penicillin และ chloramphenical มีประสิทธิผลดีต่อการรักษาโรค
มาตรการเมื่อเกิดการระบาดมาตรการเมื่อเกิดการระบาด • ต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดวินิจฉัยโรคและให้การรักษาแก่ผู้ป่วยทันที • ลดความแออัดหนาแน่นของผู้ที่ต้องอยู่ร่วมกันจัดที่อยู่และห้องนอนให้มีการระบายอากาศได้ดี • ใช้ยา rifampicin แก่ผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อลดจำนวนผู้เป็นพาหะ และกำจัดการแพร่โรค • การใช้วัคซีนป้องกันโรคในประชาชนทุกกลุ่มอายุควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ • ให้คำแนะนำการป้องกันสำหรับประชาชนให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูกน้ำลายจากปากหรือจมูกของผู้ป่วยไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่แออัดผู้คนหนาแน่นอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้มีโอกาสรับเชื้อจากผู้เป็นพาหะได้ง่ายและควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการทำงานหักโหมทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานลดลง
มาตรการควบคุมป้องกันโรคระหว่างประเทศมาตรการควบคุมป้องกันโรคระหว่างประเทศ • ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ที่ซาอุดิอาระเบียต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ(1)ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ(1) • ประเทศซาอุดิอาระเบีย ออกกฎให้ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ ต้องได้รับการฉีดวัคซีนและแสดงเอกสารใบรับรองการได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 2 ปีก่อนออกเดินทาง
ผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความชุกของโรค เช่น บางประเทศในแถบแอฟริกากลาง และผู้ที่จะไปอยู่ในที่ที่คนมาอยู่รวมกันอย่างแออัด ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันก่อนออกเดินทาง ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ(2)
สถานที่ติดต่อขอรับการฉีดวัคซีน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม(1) • สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0 2591 1168-79, 0 2590 3430 • ที่ทำการแพทย์ตรวจคนเข้าเมืองในบริเวณสำนักตรวจคนเข้าเมือง ถนนสาทร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2286 5114, 0 2286 0161
สถานที่ติดต่อขอรับการฉีดวัคซีน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม(2) • ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2535 1482, 0 2535 4245 • ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือคลองเตย โทรศัพท์ 0 2249 4110, 0 2249 4418 • สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 0 2252 0162-4 ต่อ 132 • กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2247 5069, 0 2245 3082
ต่างจังหวัด • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้