1 / 11

MRCF system กับการบริหารจัดการโรครากขาวยางพารา จังหวัดตรัง

MRCF system กับการบริหารจัดการโรครากขาวยางพารา จังหวัดตรัง. โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง กรมส่งเสริมการเกษตร. สถานการณ์โรครากขาวของยางพาราจังหวัดตรัง. ข้อมูลพื้นฐานยางพารา จ.ตรัง.

jon
Download Presentation

MRCF system กับการบริหารจัดการโรครากขาวยางพารา จังหวัดตรัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MRCFsystemกับการบริหารจัดการโรครากขาวยางพารา จังหวัดตรัง โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง กรมส่งเสริมการเกษตร

  2. สถานการณ์โรครากขาวของยางพาราจังหวัดตรังสถานการณ์โรครากขาวของยางพาราจังหวัดตรัง ข้อมูลพื้นฐานยางพารา จ.ตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 1,659,188 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา 1,615,729 ไร่ คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทำการเกษตร เปิดกรีดแล้ว 1,353,331 ไร่ ผลผลิต 335,7457 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 264 กิโลกรัม มูลค่าผลผลิต 32,528 ล้านบาท ครัวครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 67,837 ครัวเรือน โดยปลูกกระจายอยู่ทั่วไปทั้ง 10 อำเภอ

  3. โรครากขาวยางพารา เป็นโรคที่เกิดกับระบบรากของยางพารา ที่มีสาเหตุจากเชื้อราชั้นสูงจำพวกเห็ด ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Rigidoporusmicroporus (Sw.) Overeen (1924) [R. lignosus(Klozsch) Imazeki](1952) ทำความเสียหาย กับต้นยางพาราภาคใต้ โดยเชื้อราจะทำลายระบบรากทำให้ต้นยางยืนต้นตาย สามารถแพร่ลุกลามไปยังต้นข้างเคียง ส่งผลเกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตน้ำยาง และไม้ ต้นที่เป็นโรคจะมีลักษณะโคนต้นและราก จะเห็นเส้นใยของเชื้อรา มีพืชอาศัย ได้แก่ โกโก้ มะพร้าว กาแฟ ชา ไผ่ ทุเรียน ขนุน จำปาดะ สะตอ ลองกอง ฯลฯ

  4. ปัจจัยการระบาดของโรครากขาวปัจจัยการระบาดของโรครากขาว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระบาด เช่น สภาพพื้นที่ปลูกเป็นแปลงยางปลูกใหม่แทนที่เคยเป็นโรครากมาก่อน พื้นที่ปลูกเดิมมีตอไม้เก่าหลงเหลืออยู่ในแปลง พื้นที่แปลงปลูกเดิมเป็นโรครากขาวไม่มีการกำจัดเชื้อราโรครากขาวก่อนปลูกยางใหม่ ไม่มีการปรับสภาพดิน ไม่มีการเตรียมพื้นที่เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว ปลูกยางพาราในช่วงเวลาที่เหมาะกับการระบาดของโรค (ช่วง มิถุนายน–กันยายน) ซึ่งปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 2,000 มิลิลิเมตรต่อปี จังหวัดตรังจึงเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี

  5. ความเสียหายทางเศรษฐกิจความเสียหายทางเศรษฐกิจ - ยางพารา ยางพาราให้ผลลิตเฉลี่ย 284 กก./ไร่/ปี • เสียหาย 1 ต้น สูญเสียผลผลิต 3.74 ก.ก./ ปี • หากไม่มีการจัดการ เสียหายเพิ่มปีละ 5 %/ไร่/ปี • ระยะเวลา 20 ปี จะเสียหาย14,960 บาท/ไร่

  6. สถานการณ์การระบาดของจังหวัดตรังสถานการณ์การระบาดของจังหวัดตรัง จังหวัดตรัง พบว่า มีกระจายอยู่ในทุกอำเภอ เชื้อราสามารถเจริญเติบโตและระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าฝน ที่ผ่านมาจังหวัดตรัง มีช่วงฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อสาเหตุแพร่กระจายและลุกลามไปยังต้นยางพาราข้างเคียงหรือแปลงใกล้เคียง ซึ่งยากต่อการควบคุม ในสวนยางพาราของเกษตรกร อาจจะพบการเกิดโรคเป็นจุดละ 1-3 ต้น แล้วขยายเป็นวงกว้างแปลงละ 8-10 ต้น ติดต่อกันทั้งแปลง การสำรวจจะทำได้ในช่วงหน้าฝน เพราะจะเห็นอาการได้ชัดเจนกว่าในช่วงหน้าแล้งยางผลัดใบ โดยจะแสดงอาการใบสีเหลืองผิดปกติ ใบร่วง ยืนต้นตาย ถ้าเป็นยางเล็กต้นจะแคระแกร็น กิ่งลำต้น ค่อยๆ แห้ง และยืนต้นตาย สังเกตอาการเด่นชัด ต้นยางพาราจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว และพบดอกเห็ดบริเวณโคนต้นที่แห้งตายแล้ว

  7. M: Mapping การศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมเข้าทำงานในพื้นที่โดยเน้นการใช้ข้อมูลแผนที่ นำแผนที่มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยสำรวจข้อมูลการระบาด ผ่านอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชุน จากแผนที่เป็นตัวอย่างการสำรวจพื้นที่การระบาด จำนวน 50 จุด ซึ่งต้องดำเนินการสำรวจต่อไปในครอบคลุมทั้งจังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าทำงานในพื้นที่

  8. R: Remote Sensing ประสานและให้บริการเกษตรกรด้วยวิธีการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลระยะไกล สำรวจ/สังเกต/นับจด แปลงติดตามสถานการณ์ รายงานทุกวันจันทร์ เกษตรกร เจ้าของสวนยางพารา ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ในพื้นที่ สามารถควบคุมการระบาดได้ เฝ้าระวัง มีการระบาด รายงาน ทุกวันอังคาร ฐานข้อมูลความรู้โรครากขาว งานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรอำเภอ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด รายงานทุกวันอังคาร

  9. C: Community Participationใช้วิธีการจัดเวทีชุมชนในการทำงานและร่วมดำเนินการกับเกษตรกร แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตรัง “ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนากลไกตลาดยางพารา” การสร้างความมีส่วนร่วม เวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน/ตำบล บุคคลเป้าหมายคือเกษตรกรที่มีอาชีพทำสวนยางพารา และภาคีที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนพัฒนา/แก้ไขปัญหา กำหนดแผน/แนวทางการพัฒนาแก้ไขปัญหายางพาราระดับตำบล อำเภอ จังหวัดช่วงปี พ.ศ.2558 -2560 ฐานข้อมูลยางพารา การบูรณาการ ประสานการดำเนินการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ กำหนดโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกับแผนพัฒนา/แก้ไขปัญหา ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด (โรครากขาว)

  10. F : Specific Field Serviceการเข้าทำงานในพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีรายงานการระบาดในพื้นที่กำหนดแนวทางและแผนปฏิบัติงานในพื้นที่ เข้าบูรณาการและดำเนินการแก้ไขปัญหาจนกว่าสถานการณ์การระบาดจนอยู่ในภาวะปกติ เฝ้าระวังติดตามให้คำแนะนำ ต่อเนื่องหลังจากดำเนินการแก้ไขปัญหาสุ่มตรวจใกล้เคียงจนกว่าสถานการณ์การระบาดจนอยู่ในภาวะปกติและสนับสนุนด้านวิชาการ ติดตามให้คำแนะนำในพื้นที่ สุ่มตรวจแปลงใกล้เคียง สถานการณ์ปกติ ไม่พบยางพาราเป็นโรครากขาว สนับสนุนด้านวิชาการผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอ ศบกต. อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

  11. จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ

More Related