270 likes | 450 Views
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก. DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455. PR E S E NT Small-scale Public Building Design Studio.
E N D
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455 • PRESENT • Small-scale Public Building Design Studio
เหตุผลที่เลือก เนื่องจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดทั้งปี วัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ของชาวบ้านในชุมชนพิษณุโลก จึงมีส่วนสำคัญ ในการช่วยระบายความร้อนให้กับตัวเรือน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ และสามารถนำมาปรับใช้กับงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก เรือนของไทยเรา มีบรรยากาศเย็นสบาย เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของไทยโดยแท้ วัสดุก่อสร้างเรือนไทย ที่ทำให้เรือนไทยเย็นก็คือ “ไม้” เพราะไม้เป็นฉนวน ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาง่ายและมีมาก วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก
- ศึกษาคุณสมบัติของ “ ไ ม้ ไ ผ่ ” ช่วยสร้างความเย็นให้บ้านได้อย่างไร ?- ศึกษาฝาเรือนไม้ไผ่ในจังหวัดจังหวัดพิษณุโลก มีรูปแบบอย่างไร ?- ศึกษาข้อดี และข้อด้อยของไม้ไผ่กับไม้ทั่วไปในจังหวัดพิษณุโลก- ศึกษาว่าทำไม เรือนไม้ไผ่ถึงเริ่มลดลงกว่าที่เคยมีมาในอดีต ทั้งที่วัสดุไม้ไผ่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จุดประสงค์การศึกษา: ต้องการศึกษาภูมิปัญญา การเลือกทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีความงามแบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิด ตลอดจนความสามารถเข้าใจวัสดุไม้ไผ่ ที่ผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ในท้องถิ่นพิษณุโลก
กระบวนการศึกษาเริ่มหาข้อมูลบางส่วนในอินเตอร์เน็ต และศึกษาจากเรือนข้าง ม. นเรศวรเน้นไปที่เรือนชาวบ้านชนบทที่อยู่กับธรรมชาติ เนื่องจากมีวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ซึ่งบางส่วนยังคงความเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ขอบเขตในการศึกษา- ตำบลท่าโพธิ์ (หมู่บ้านหลังม.) อ.เมือง จ.พิษณุโลกผลที่คาดว่าจะได้รับ- เข้าใจวัสดุไม้ไผ่ ที่ผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ในท้องถิ่นพิษณุโลก- เข้าใจภูมิปัญญาของชาวบ้าน การทำฝาเรือน “ ฝาเรือนไม้ไผ่ ” ช่วยให้บ้านเย็นอย่างไร?
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือ ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบเป็น องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่เน้นในเรื่องความโปร่งโล่ง ให้แสงและลมเข้าได้ ฝาผนังไม้เป็นวัสดุที่เป็นฉนวนอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรือนไทยเย็น...
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • ไม้ไผ่ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก • เป็นวัสดุเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์นำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน • เป็นพืชเมืองร้อน และไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ไม้ไผ่ที่ใช้ทำฝา จากการศึกษาพบว่าชนิดที่มีมากในแถบภาคเหนือตอนล่าง และที่นิยมคือคือ ไผ่เฮียะ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด50-70เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน และการก่อสร้างชั่วคราวเช่น ฝา
เพราะเหตุใด ไม้ไผ่ จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก
เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 1.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา 1-4 ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จะสังเกตเห็นได้จากที่นา ในจังหวัดพิษณุโลกที่ชาวนา มักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น การปลูกต้นไผ่ ของชาวบ้านบริเวณรอบม. นเรศวร มักจะปลูกไว้ในบริเวณใกล้ๆ กับตัวบ้าน หรือ พื้นที่โล่งที่ไม่ได้ใช้งาน
2. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก
เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 3. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอด 4. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี เมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่น
เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 5.เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กิน
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก “ผลจากการสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับภูมิปัญญาการสร้างบ้านจากวัสดุไม้ไผ่ ได้ข้อมูลดังนี้คะ”
วิธีการ... การทำฝาเรือนจากวัสดุไม้ไผ่ วัดความยาวตามต้องการ- ใช้มีดเกลากิ่งตามข้อ และตาให้เรียบ แล้วผ่าครึ่งซีก วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก “ แต่ก่อนนี้บ้านที่สร้างทั่วๆไปแล้วจะมีเสาเป็นไม้จริง !ส่วนประกอบอื่นๆเป็นไม้ไผ่หมด โดยเฉพาะฝาบ้านใช้ไม้ไผ่ ชนิดพิเศษ ( ประมานว่าเป็นไม้ไผ่ทั้งลำ ) ” -แล้วก็สับไม้ไผ่ที่มีครึ่งซีก แผ่กางออก ก็จะได้แผ่นแบนๆ ของไม้ไผ่ คล้ายๆกระดาน หนึ่งแผ่น ทำเช่นนี้หลายๆชิ้น แล้วก็เอาไปสานขัดไปมาก็จะได้แผ่นไม้ไผ่สานขัดแผ่นใหญ่ นำไปใช้ในฝาบ้าน คุณลุง เกษตรกร อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก
คุณลุงคิดบอกว่า อายุการใช้งานของฝาไม้ไผ่นานถึง20ปีขึ้นไปเลยทีเดียว !!แต่คุณลุงบอกว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทนทานเพราะ พยายามให้หลังคาบ้านมีชายคาเพื่อป้องกันน้ำฝน และต้องคอยดูแลปลวกกัดกินด้วยที่สำคัญไม้ไผ่ที่จะเอามาทำต้องเป็นไผ่ชนิดเดียวเท่านั้น คือ ไม่ไผ่เฮี๊ยะ ค่ะ ซึ่งมีอยู่บนยอดเขาเท่านั้น แถบตีนภู มีแต่น้อยเลือกขนาดที่เหมาะสมไม่ได้ คุณลุงคิดเล่าว่า “ …การเอาไม้ไผ่ไปรมควันไฟ ที่เตาไฟทำกับข้าว เพื่อเป็นการป้องกันปลวก มอด ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่โบราณ และอีกอย่าง ชาวบ้านจะนิยมตัดไม้ไผ่ในฤดูฝนเพราะในช่วงนี้ต้นไม้จะผลัดยางเพื่อป้องกันไม่ให้ปลวก มอด มากิน แต่ถ้าตัดในฤดูแล้งหรือฤดูร้อนก็จะทำให้มอดหรือแมลงกัดกินไม้ที่ตัดได้ วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก เรือนไม้ไผ่ที่หาได้ใน จ. พิษณุโลก ! “ ถ่ายทอดประสบการณ์โดย ”: คุณลุงคิด...ค่ะ คุณลุงคิดอายุ 65 ปี อาชีพ เกษตรกร หมู่ - อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก
*** คุณลุงบอกเคล็ดลับว่า การตัดไผ่จะเลือกไผ่ที่ยังไม่มีกิ่งแขนง เพราะแขนงจะทำให้ยากในการจักสาน และได้ ลวดลายไม่สวย วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ข้อดี*ของไม้ไผ่ในการนำมาทำฝาเรือน -ราคาถูก-ไม้ไผ่จะแข็งกว่าไม้ทั่วไป เหนียว ยืดหยุ่นได้ ดีทนทาน
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • “ ไม้ ไผ่ ” ช่วยสร้างความเย็นให้บ้านได้อย่างไร ?
เป็นฝาเรือนที่ใช้ไม้ไผ่ผ่าซึก”ทำเป็นโครงสร้างฝาตามแนวนอน เว้นห่างกันพอสมควร แล้วใช้ซึกไม้ไผ่ ทำเป็นลูกตั้ง กรุฝาด้วยวิธีสอดไม้ลูกตั้งขัดกับไม้ซึกที่ทำเป็นโครงสร้างตามแนวนอน ขัดขึ้นลงสลับกันไปจนเต็มขนาดกว้างของช่องฝา ฝาขัดแตะนี้เป็นฝาโปร่งอากาศถ่ายเทผ่านสะดวก แต่ถ้าจะหาใน ปัจจุบันก็หายาก!!จะมีก็น้อย อีกอย่างหนึ่ง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป(ทำให้การซ่อมแซมบ้านบ่อย ๆเป็นเรื่องยุ่งยาก)!! วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ฝาผนังระบายอากาศของบ้านลุงเป็น ฝาไม้ขัดแตะ* แต่ก่อนเค้าก็ทำกันเยอะนะ!! ฝาขัดแตะ* คุณลุงไสว แสงงาม อายุ 60 ปี อาชีพ เกษตรกร หมู่ 7 อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก
ผนังหายใจได้ !! วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ฝาอีกชนิดที่ชาวบ้านเรียกว่า "ฝาสำหรวด“ เป็นฝาเรือนที่ทำจากไม้ไผ่หรือไม้กระบอกสานกันบนโครงไม้ค่อนข้างถี่ เป็นฝาเรือนที่เหมาะจะใช้เป็นผนังครัว เพราะสามารถระบายอากาศได้ดี แต่ปัจจุบัน ก็ไม่ค่อยทำกันแล้ว มีแต่สร้างบ้านแบบสมัยใหม่ซะมากกว่า !! *** เรือนของไทยเป็นเรือนที่มีชีวิตเพราะเรือนไทยมีการออกแบบให้ฝาผนังระบายอากาศได้
จากการศึกษา :จากภาพเป็นลายฝาบ้านที่พบทั่วไปเป็นลายธรรมดา คือ ลายขัดและลายสอง ลายขัดจะมีความคงทนกว่า สานลำบากกว่า แต่แน่นกว่า วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก รูปแบบฝาเรือนไม้ไผ่ใน จ. พิษณุโลก เคล็ดลับ * ความทนทานในการใช้ไม้ไผ่ทำฝา ประกอบด้วยโครงไม้ที่เอามาประกบถี่ๆทั้ง ด้านนอก ด้านในจึงจะแข็งแรง หากทำห่างๆหรือไม่ได้ทำ นานไปก็จะพังลงมาง่าย
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • จุดอ่อนของวัสดุไม่ไผ่
- เป็นเหยื่อของแมลงเจาะไช ทำให้ผุพังได้รวดเร็ว ไม่ทนทาน สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการอบน้ำยากันแมลง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย ( ถ้าทำจำนวนน้อย แต่ถ้าสามารถทำเป็นจำนวนมากได้ ก็จะลดต้นทุนลงไป )- การก่อสร้างด้วยรูปแบบเดิมๆ มีวิธีการก่อสร้างที่เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ข้อต่อต่างๆก็จะมาทาบกันแล้วผูกด้วยวัสดุที่เหนียวเช่นหวายและ ก็ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่ทนทานจากวัสดุผูกนี่แหละ ที่พังก่อน เลยทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องรูปแบบและความคงทน วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จุดอ่อนของไม่ไผ่ในการนำมาทำฝาเรือน
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • ที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไป...จากวิถีชีวิต สาเหตุ
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก วันเวลาผ่านไป : จากชุมชนขนาดเล็กกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคเข้าถึงทุกบ้าน มีการปลูกสร้างบ้านทรงรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทนบ้านเรือนแบบเก่าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น **ทั้งนี้เพราะบ้านหลังเก่าหมดอายุการใช้งาน ผุผังไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องรื้อถอนเพื่อก่อสร้างใหม่ตามสมัยนิยม สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต บ้านเรือนจากไม้ไผ่ บ้านเรือนครึ่งไม้ครึ่งปูน บ้านเรือนสมัยใหม่
เพราะค่านิยมใหม่ๆดูเหมือนว่า อาคารบ้านเรือนคือเครื่องบ่งชี้ฐานะในสังคม... ??สภาพสังคมที่ให้คุณค่ากับบ้านคอนกรีตเนื่องจากไม้ไผ่มักจะใช้กับการก่อสร้างที่ค่อนข้างจะชั่วคราว และราคาถูก จึงเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีของไม้ไผ่ ว่าเป็นที่อยู่อาศัยของคนจนไป**วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป(ทำให้การซ่อมแซมบ้านบ่อย ๆเป็นเรื่องยุ่งยาก) วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต สภาพสังคมที่ให้คุณค่ากับบ้านคอนกรีต การก่อสร้างที่ค่อนข้างจะชั่วคราว และราคาถูก
กฎหมายอาคารที่เกิดขึ้น(มองว่าบ้านไม้ไผ่เป็นอาคารชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถมีบ้านเลขที่ได้) **บ้านไม้ไผ่ที่เราพบเห็นมักจะมีรูปแบบที่เหมือนๆกัน ด้วยวิธีการและรูปแบบในการก่อสร้าง ซึ่งทำตามๆกันมา นี่เป็นจุดอ่อนของบ้านไม้ไผ่ ที่ไม่มีการพัฒนาในเรื่องตัววัสดุ รูปแบบ วิธีการก่อสร้าง และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ความนิยมอยู่ในวงจำกัด การใช้งานก็จำกัดไปด้วย วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต : รูปแบบเรือนไม่ไผ่โดยทั่วไปที่สังเกตได้ มักจะเป็นเรือนชนบท ( เรือนเครื่องผูก )
วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ในสังคมชนบทที่ได้ศึกษา ภูมิปัญญาการทำฝาไม้ไผ่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นถิ่นซึ่งสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ และ ความสงบสุขในสังคม ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดสืบกันมา แต่ปัจจุบันแม้เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต เนื่องจากปัจจัยหลายประการที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้อดีของไม้ไผ่ยังคงอยู่และถูกนำมาสานต่อประยุกต์เข้ากับสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว เช่น การประยุกต์ใช้กับบ้านพักต่างอากาศ รีสอร์ท เป็นต้น คุณค่าจากการศึกษาในครั้งนี้ !!
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณลุงคิด ( ผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับเรือนไม้ไผ่ )ชาวบ้านหมู่บ้านหลังม. นเรศวรกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมhttp://www.openbase.in.th/node/9764 ตอกhttp://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=107.60http://www.hometophit.com/hometh/view_board.php? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จัดทำโดย นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค/ 51711455 DESIGN STUDIO 2