430 likes | 760 Views
บทที่ 2 อินเทอร์เน็ต ( Internet). ความหมายของอินเทอร์เน็ต. อินเทอร์เน็ต ( Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันและอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและบริการในรูปแบบของสาธารณะ. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต.
E N D
บทที่ 2อินเทอร์เน็ต (Internet)
ความหมายของอินเทอร์เน็ตความหมายของอินเทอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันและอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและบริการในรูปแบบของสาธารณะ
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต • คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระ มีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANet) • ในปีพ.ศ.2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา(National Science Foundation หรือ NSF) ได้ให้เงินทุนสร้างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่งและให้ชื่อว่า NSFnet • ในปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตไม่สามารถรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลัก(backbone) ของระบบได้อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบันโดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต(ต่อ)ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ปัจจุบันหน่วยงานและบริษัทธุรกิจจำนวนมากที่ให้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายสื่อสารดาวเทียม และหน่วยงานรัฐบาลต่างให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายของความร่วมมือ ไม่มีบุคคล นิติบุคคล หรือองค์การหน่วยงานของรัฐบาลใดเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่อย่างไรก็ตามได้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและดูแลการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกันคือ World Wide Web Consortium (W3C) • นอกจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว ยังมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Internet2 หรือ I2 เป็นเครือข่ายที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มีวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเรียนการสอน
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น • พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย ยูยูเน็ต (UUNET) ประเทศสหรัฐอเมริกา • ในปีเดียวกันนี้สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยเน็ต (THAINET) • ในปีเดียวกันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN) ซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต และปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ดังรูป 2.1
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ) ที่มา :http//www.thaisarn.net.th รูปที่ 2.1 เครือข่ายไทยสาร
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ) • ในปี พ.ศ.2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้นการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้กับบุคคลและผู้ที่สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก • ตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ไอเอสพี (Internet Service Provider :ISP)
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต ในแต่ละวันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากจากทุกมุมโลก และจะใช้อินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมต่างๆ พอจะสรุปกิจกรรมหลักๆ ได้ดังนี้ • การติดต่อสื่อสาร • การทำธุรกิจออนไลน์ • การศึกษาและวิจัย • ข้อมูลข่าวสาร • การหางานและสมัครงาน • ความบันเทิง
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตการแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตจะติดต่อโดยใช้มาตรฐานการสื่อสาร หรือโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol :TCP/IP) เช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์เมื่อจะส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่าหมายเลขไอพี (IP address)
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • IP Address • เป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิตแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (ไบต์) ส่วนละ 8 บิตโดยเขียนเป็นตัวเลขฐาน 10 มีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 คั่นแต่ละส่วนด้วย .ตัวอย่างเช่น 203.155.98.33 • กำหนดและดูแลโดย InterNIC (WWW.internic.org)
172 . 16 . 1 . 1 bc.siamu.ac.th หมายเลข IP รหัสประเทศ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนย่อย ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ระบบชื่อโดเมน(DNS) • เนื่องจากหมายเลข IP นั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลข IP ซึ่งเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System : DNS) เช่น การแทนที่หมายเลข IP 172.16.1.1 ด้วย bc.siamu.ac.th ชื่อโดเมนนี้ประกอบด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อโดเมนย่อย และชื่อโดเมน
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ระบบชื่อโดเมนเนม(DNS) • ระบบโดเมนเนมนั้นจะกำหนดมาตรฐานโดยหน่วยงาน Internet Corporation for Assigned Name and Number : ICANN ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานโครงสร้างชื่อโดเมนระดับบนสุด(ส่วนขวาสุดของชื่อ) ซึ่งระบุประเภทขององค์กร และ ชื่อประเทศของเครือข่าย • Domain Name แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ชื่อองค์การ 2. ชื่อโดเมน โดยชื่อโดเมนแบ่งออกเป็น • โดเมนระดับบนสุด • โดเมนระดับย่อย
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ชื่อโดเมนระดับบนสุด (top-level domain :TLD) ที่เป็นชื่อย่อของประเภทองค์การในสหรัฐอเมริกา
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่ 2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • เนื่องจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างรวดเร็ว ICANN จึงได้กำหนดชื่อโดเมนขึ้นใหม่ โดยมีตัวย่อดังนี้
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่ 2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • โดเมนระดับบนสุดที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น
การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่ 2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • สำหรับชื่อโดเมนระดับบนสุดของประเทศไทยคือ th และมีโดเมนย่อยแทนประเภทองค์กรอยู่ 6 ประเภทดังนี้
การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตการเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต • การเชื่อมต่อเพื่อใช้ระบบอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการผู้ใช้เฉพาะบุคคลากรของหน่วยงานนั้นๆ • นอกจากหน่วยงานดังกล่าวแล้วยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์การที่เรียกว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 17 ราย • วิธีเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต มี 2 วิธีการหลักคือ • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) • การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dialup Access)
การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) • การเชื่อมต่อแบบนี้ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักโดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ (gateway) ในการเชื่อมต่อซึ่งได้แก่ เราเตอร์ (router) • การเชื่อมต่อแบบนี้มักเป็นองค์การของรัฐ สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง เป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง แต่การรับ-ส่งข้อมูลสามารถทำได้โดยตรง ซึ่งจะมีความเร็วสูงและมีความน่าเชื่อถือ
การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dialup Access) • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้านหรือที่ทำงานทั่วไป โดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่าโมเด็ม • เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ แล้วคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเสมือนกับการเชื่อมต่อโดยตรง • ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้คือ ค่าใช้จ่ายถูกว่า
World Wide Web : WWW • ในช่วงแรกๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันด้วย Telnet และจะใช้ FTP เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ • ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 Tim Berners -Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web page) ที่สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ • การเชื่อมต่อเอกสารนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlinks)ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารหนึ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เดียวกันหรือต่างเครื่องกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว • กลุ่มของเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์นี้รู้จักกันทั่วไปว่า World Wide Web (WWW) หรือ W3 หรือ Web • ตำแหน่งของอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์เรียกว่า เว็บไซต์ (Web site)
World Wide Web : WWW(ต่อ) • เว็บเพจ คือเอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) หรือไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia) URL Hypermedia Hypertext
World Wide Web : WWW(ต่อ) • การสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hypertext Markup Language หรือ HTML ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (tage) หรือ มาร์กอัป (markup)
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) • เบราว์เซอร์ก็คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ • โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์โปรแกรมแรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น • ในปี ค.ศ.1993 Marc Andreesen นักศึกษามหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้สร้างโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ในรูปแบบของกราฟิก การติดต่อกับผู้ใช้อยู่ในลักษณะของ GUI ทำให้การใช้งานและแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสะดวก ง่าย และดึงดูดใจผู้ใช้ • Andreessen ได้เป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตโปรแกรมเบราว์เซอร์ Netscape Navigator
เริ่มต้นใหม่ กลับไปโฮมเพจ หยุดการทำงาน เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ ค้นหา ไปข้างหน้า ประวัติการทำงาน ย้อนกลับ พิมพ์ รับส่ง e-mail โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (ต่อ)
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • สำหรับคอมพิวเตอร์พีดีเอและโทรศัพท์มือถือจะมีเบราว์เซอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เรียกว่า ไมโครเบราว์เซอร์ (Microbrowser) หรือเรียกว่า มินิเบราว์เซอร์ (Minibrowser)
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • URL โดยทั่วไปมีรูปแบบและส่วนประกอบดังต่อไปนี้ Protocol://domain/path/ • ตัวอย่างเช่น • http://www.siam.edu โปรโตคอล คือ HTTP ซึ่งย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol, ชื่อโดเมนคือ www.siam.edu • http://tpt.nectec.or.th/Project/Nsc/Nsc.or.htm โปรโตคอล คือ HTTP, ชื่อโดเมนคือ tpt.nectec.or.th, ชื่อโฟลเดอร์คือ Project/Nsc และชื่อแฟ้มคือ Nsc.or.htm • ftp://bc.siamu.ac.th โปรโตคอล คือ FTP ซึ่งย่อมาจาก File Transfer Protocol, ชื่อโดเมนคือ bc.siamu.ac.th • ในการพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถละ http:// ได้ เช่น เว็บไซต์ http://www.google.co.th พิมพ์เพียง www.google.co.th
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้ • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) • การส่งและรับจดหมายหรือข้อความถึงกันทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย • ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(domain name) • โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (อ่านว่า แอ็ท) เช่น sriprai@siamu.ac.th จะมีชื่อผู้ใช้อีเมล์ชื่อ sriprai และชื่อโดเมนคือ siamu.ac.th
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) • ในการส่งและรับจดหมายโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น Microsoft Outlook, Netscape Mail นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับอีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่ www.hotmail.com, www.yahoo.com, www.thailmail.com เป็นต้น
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การสนทนาออนไลน์ (Online Chat) • เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน การสนทนา หรือ การ chat • การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่นๆ
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • เทลเน็ต (Telnet) • เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น • การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การขนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) • การ FTP เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์เรียกว่า FTP server • การขนถ่ายไฟล์จาก FTP server ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการเรียกว่า download ในทางตรงกันข้ามการขนถ่ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการไปยังเครื่อง server เรียกว่า upload
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ • ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่องที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องมือค้นหา(search engine) ช่วยในการค้นหาทั้งในรูปของข้อความ และกราฟิก • เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ google.com, yahoo.com, altavista.com, ifoseek.com
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • เทคนิคค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต • วางแผนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ • ใช้เครื่องมือในการค้นหาแบบสารบบสำหรับการค้นหาหัวข้อ • ถ้าเครื่องมือแบบเดียวให้ผลไม่สมบูรณ์ให้ใช้เครื่องมือค้นหาอื่นๆ ช่วย • ระบุคำนามเพื่อการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด • ให้แก้ไขคำหลัก ด้วยเครื่องหมาย + (รวม)และ – (ไม่รวม) • การค้นหาวลีให้ใส่เครื่องหมาย “.......” • ใช้เครื่องหมาย * ช่วยในการค้นหา เช่น retriev* แทนการค้นหาคำ retrieve, retriever • พิมพ์คำค้นหาเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก • ให้ใส่หัวเรื่องหลักไว้ในส่วนต้นของการค้นหา • ให้ป้อนคำค้นหาข้อมูลส่วนที่สนใจให้ได้คำตอบเพียงไม่กี่ข้อ จากนั้นใช้คำถามเดียวกันกับเครื่องมือค้นหาอื่น
เว็บเพจศูนย์รวม • เป็นเว็บไซต์ที่รวมการให้บริการต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เช่น search engine, free e-mail, chat room, news, free personal web และการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ • เว็บศูนย์รวมที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น yahoo.com, msn.com และ google.com
อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต • การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ขององค์กรสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ • Intranetเป็นระบบเครือจ่ายที่ใช้ภายในองค์การมีบริการต่างๆ คล้ายอินเทอร์เน็ต แตกต่างกันคือเป็นการเชื่อมต่อและสื่อสารภายในองค์การเท่านั้น • Extranet เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกองค์การ
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล • การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการดำเนินงานขององค์การ สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องระมัดระวัง คือ ระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล • ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างอิสระ • ในทางตรงกันข้ามเครือข่ายอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่อนุญาตเฉพาะบุคคลให้เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้เท่านั้น • ดังนั้นบริษัทจึงได้ติดตั้งไฟร์วอลล์ ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดีที่ต้องการเข้าระบบเครือข่ายขององค์การ • โดยระบบไฟร์วอลล์จะช่วยตรวจสอบและกลั่นกรองผู้ใช้ที่ติดต่อเข้ามาในระบบเครือข่าย
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(ต่อ)การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(ต่อ)
สรุป • อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก • มีบริการต่างๆ มากมายในการติดต่อสื่อสาร และบริการด้านข้อมูล • ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลสาธารณะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย • ควรใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี และรู้ภัยอันตรายที่อาจมากับอินเทอร์เน็ต