1.25k likes | 3.23k Views
การจัดการคุณภาพ (Quality Management ). อ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ Faculty of Information Technology. คุณภาพคืออะไร. คุณภาพ ( Quality ) หมายถึงอะไร เป็นคำถามที่ถูกถามกันมาก และ มีหลากหลายคำตอบด้วยกัน สามารถกล่าวรวม ๆ กันได้ดังนี้ สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน
E N D
การจัดการคุณภาพ(Quality Management) อ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ Faculty of Information Technology
คุณภาพคืออะไร • คุณภาพ (Quality) หมายถึงอะไร เป็นคำถามที่ถูกถามกันมาก และ มีหลากหลายคำตอบด้วยกัน สามารถกล่าวรวม ๆ กันได้ดังนี้ • สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน • สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือมาตรฐาน • สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า • สินค้าหรือบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า • สินค้าหรือบริการที่ปราศจากการชำรุดหรือข้อบกพร่อง
คุณภาพคืออะไร • ในระดับสากลที่กล่าวอ้างกันไว้ สามารถกล่าวได้ว่า คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งแสดงถึงความสามารถ ในการสนองทั้งความต้องการที่ชัดแจ้ง และความต้องการที่แฝงเร้น (คำ จำกัดความตามมาตรฐาน ISO 8402 : 1994) การมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการในปัจจุบันให้แก่ลูกค้า ในราคาที่ลูกค้ายินดีจะจ่าย ด้วยต้นทุนที่เราสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ และ จะต้องมอบสิ่งที่ดีกว่านี้ ให้แก่ลูกค้า ในอนาคต
Quality of Information Technology Projects • IT productsที่มีคุณภาพต่ำ • ระบบที่กำลังแย่ลง หรือ ต้องทำการ reboot PC • มีตัวอย่างมากมายในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับ IT • คนมีแนวโน้มที่จะยอมรับ IT ที่ไม่มีคุณภาพ • แต่ในแง่ของ IT project แล้ว คุณภาพถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก
Project Quality Management (PQM) คือกระบวนการอันทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นสอดรับกับความต้องการ ดังนั้นมันจึงรวมเอากิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำในโครงการที่สอดรับกับที่กำหนดอยู่ใน quality policy, objectives, และ responsibility รวมไปถึงการนำไปใช้งานในเชิงของ quality planning, quality assurance, quality control, และ quality improvement ซึ่ง รวมอยู่ใน quality system.
Project Quality Management • Focuses on project’s products • ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของโครงการก็คือคำตอบเชิงระบบสารสนเทศที่ project team จะต้องส่งมอบ • Focuses on project process • กิจกรรม วิธีการ วัตถุดิบ และการวัด ที่นำมาใช้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการออกมา
Modern Quality Management • การบริหารคุณภาพสมัยใหม่ (Modern quality management) • เน้นไปที่ความพึงพอใจของลูกค้า • มุ่งเน้นไปที่การป้องกัน แทนที่จะเป็นการตรวจสอบ • ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่สนองตอบต่อคุณภาพ • ผู้ชำนาญคุณภาพได้แก่ Deming, Juran, Crosby, Ishikawa, Taguchi, และ Feigenbaum
Quality Experts • เดมมิ่ง (Demming) มีชื่อเสียงในการสร้างญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่และหลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ • จูรัน (Juran)แต่งหนังสือ “Quality Control Handbook”และ 10 ขั้นตอนในการปรับปรุงคุณภาพ • ครสบี้ (Crosby) เขียน “Quality is Free”และเสนอว่า องค์กรต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง zero defects • อิชิกาวา (Ishikawa) สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับ quality circles และ Fishbone diagrams • ทากูชิ (Taguchi)สร้างวิธีการ optimizing การบวนการทดลองทางวิศวกรรม • ไฟเกนบาม (Feigenbaum) สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับ total quality control
หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management) ของเดมมิ่ง • หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management) 1.1 จงจัดตั้งเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการที่ต่อเนื่อง 1.2 จงยอมรับปรัชญาใหม่ ๆ เพื่อให้องค์การมีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ 1.3 จงเลิกใช้การตรวจคุณภาพเป็นวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพ 1.4 จงยุติการดำเนินธุรกิจ โดยการตัดสินกันที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว 1.5 จงปรับปรุงระบบการผลิต การบริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 1.6 จงจัดให้มีการฝึกอบรมในขณะทำงาน 1.7 จงสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น1.8 จงขจัดความกลัวให้หมดไป 1.9 จงทำลายสิ่งกีดขวางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management) ของเดมมิ่ง 1.10 จงขจัดการใช้คำขวัญ การติดโปสเตอร์และป้ายแนะนำ 1.11 จงเลิกใช้มาตรฐานการทำงานและตัวเลขโควต้า 1.12 จงขจัดอุปสรรคที่ทำลายความภาคภูมิใจของพนักงาน 1.13 จงจัดให้มีแผนการศึกษา และทำการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน 1.14 จงกำหนดความผูกพันที่ยาวนานของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตไปตลอด
The Quality Movement • Juran’s Quality Planning Road Map (Quality Trilogy,ไตรยางค์คุณภาพ)แบ่งเงื่อนไขที่ทำให้การจัดการคุณภาพประสบความสำเร็จออกเป็น 3 ด้าน ใหญ่ ๆ คือ • ด้านแรก การวางแผนคุณภาพ แบ่งออกอีก 4 ขั้น คือ 1. รู้จักลูกค้าทั้งลูกค้าภายใน ภายนอกองค์การและความต้องการของลูกค้า2. ต้องกล่าวถึงความต้องการของลูกค้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้องค์การหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจเสร็จแล้วก็ออกแบบให้เป็นไปตามความต้องการนั้น3. เมื่อออกแบบเสร็จแล้วก็สร้างกระบวนการผลิต ลงมือผลิตและทำให้การผลิตให้เป็นไปอย่างถูกต้อง4. เมื่อสร้างกระบวนเสร็จและพิสูจน์ว่าถูกต้องแล้วก็ให้ถ่ายโอนความรับผิดชอบไปสู่การปฏิบัติในระดับล่างต่อไป
Juran’s Quality Planning Road Map (Quality Trilogy,ไตรยางค์คุณภาพ) • ด้านที่สอง การควบคุมคุณภาพ ระบบคุณภาพใดก็ตามเมื่อลงมือปฏิบัติจริงก็ต้องมีความเสื่อมถอย การจัดการคุณภาพจึงต้องมีการควบคุม เพื่อสืบหาความแปรปรวนและนำมาแก้ไขให้เป็นกระบวนการทีดีอีกครั้งหนึ่ง การควบคุมนี้ต้องอาศัยเครื่องมือและเทคนิคในเชิงกลยุทธ์ของการจัดการคุณภาพวัตถุประสงค์ก็เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจะเกิดผลลัพธ์ที่สามารถทำนายได้ ทำให้การบริหารงานราบรื่น และเป็นฐานที่มั่นคงสำหรับการปรับปรุงคุณภาพต่อไป • ด้านที่สาม การปรับปรุงคุณภาพ ขณะที่การควบคุมคุณภาพมุ่งไปที่เป้าหมายในการรักษาระดับคุณภาพที่เป็นอยู่ แต่การปรับปรุงคุณภาพจะมุ่งไปที่คุณภาพในระดับที่สูงขึ้น โดยการสร้างนิสัย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุความก้าวหน้าในด้านคุณภาพระดับใหม่ที่ดีกว่า ความก้าวหน้านี้เป็นผลมาจากการคิดและวางแผนระยะยาวโดยผู้บริหาร ในฐานะที่รับผิดชอบในการสร้างลำดับขั้นความสำเร็จที่เป็นสากล
Quality Systems ISO 9000 Principles • มุ่งเน้นที่ลูกค้า • ความเป็นผู้นำ • พนักงานมีส่วนร่วม • เน้นไปที่กระบวนการ • บริหารโดยใช้ระบบ (System Approach to Management) • ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง • การมีสัมพันธ์ที่ดีต่อซัพพลายเออร์ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
Six Sigma Defined Six Sigma คือ “ระบบที่ต้องอาศัยความเข้าใจและคล่องตัวเพื่อบรรลุ ผลักดัน และ จุดสูงสุดของความสำเร็จทางธุรกิจ Six Sigma คือ การขับเคลื่อนอันเป็นเอกลักษณ์โดยการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความต้องการของลูกค้า มีวินัยในการใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติข้อเท็จจริง ข้อมูล และ มุ่งเน้นอย่างจริงจังในเรื่อง การบริหาร การปรับปรุง และ การสร้างขึ้นใหม่ของกระบวนการทางธุรกิจ”* *Pande, Peter S., Robert P. Neuman, and Roland R. Cavanagh, The Six Sigma Way. New York: McGraw-Hill, 2000, p. xi
แนวคิด Six Sigma Six Sigmaเป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพ โดยการลดข้อบกพร่อง หรือความสูญเสียต่อสินค้าและบริการ คุณภาพในความหมายของทฤษฎีนี้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการลดข้อบกพร่องหรือลดต้นทุนโดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ในรูปแบบ การกระจายแนวโน้มออกจากมาตรฐานกลาง Six Sigmaประกอบด้วย 3 อย่าง คือ • การวัดในเชิงสถิติ • กลยุทธ์ทางการดำเนินการ • ปรัชญา หรือแนวความคิด
6 Sigma คืออะไร? • Six Sigma คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma
6 Sigma คืออะไร? • การวัดผลทางสถิติของการปฏิบัติงานที่มีต่อกระบวนการ หรือ ผลิตภัณฑ์ • เป้าหมายคือเพื่อให้ปราศจากความบกพร่อง (เป็นศูนย์) ในการทำงาน • ระบบการจัดการที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจระดับโลก (World Class)
ความหมายเชิงตัวเลขของ 6 ซิกม่า ± 1σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 68.27 % ± 2σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 95.45 % ± 3σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.73 % ± 4σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9937 % ± 5σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.999943 % ± 6σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9999996 % Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”
แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
แนวคิดแบบ six sigma เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย 1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน 2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource) 3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ 4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ
แนวคิดการบริหารแบบ six sigma 1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก 3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ 4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต 5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น 6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ 7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร
Process Improvement Process Design/Redesign Process Management องค์ประกอบของ Six Sigma
องค์ประกอบแรก คือ การปรับปรุงกระบวนการ เป็นการค้นหาโอกาสพัฒนาจากกระบวนการที่มีอยู่เดิม เพื่อดูว่ามีปัญหา, ความสูญเสีย, ข้อบกพร่อง หรือประเด็นใดที่ยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ดี และนำมาพัฒนาคุณภาพ โดยพยายามค้นหาสาเหตุ และขจัดสาเหตุดังกล่าวทิ้ง เมื่อพัฒนาได้ตามที่ต้องการก็หาทางควบคุมให้อยู่อย่างถาวรซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดสู่ระดับ 6 Sigma (Breakthough Six Sigma) องค์ประกอบที่สอง คือ การออกแบบกระบวนการ องค์กรจะเลือกออกแบบกระบวนการใหม่, พัฒนาสินค้าใหม่, เพิ่มบริการใหม่ แทนการพยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของกระบวนการเดิม เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และมีข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบกระบวนการใหม่ให้เกิดคุณภาพสูงสุดที่นิยมเรียกว่าเป็น การออกแบบเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Design for Six Sigma – DFSS)
องค์ประกอบที่สาม คือ การจัดกระบวนการ หมายถึง การที่ฝ่ายบริหารจัดการมีการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร การใช้ภาวะผู้นำในการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma การค้นหาความต้องการของลูกค้า การค้นหาโอกาสพัฒนาที่เป็นปัญหาหลักขององค์กร การวิเคราะห์และการติดตามผลการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการพยายามควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในองค์กร เรียกองค์ประกอบที่สามนี้ว่า เป็นภาวะผู้นำเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Six Sigma Leadership)
Maturity Models • Maturity models คือ กรอบการทำงานสำหรับช่วยองค์กรในการปรับปรุงกระบวนการและระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร: • Software Quality Function Deployment model มุ่งเน้นไปที่การกำหนดความต้องการของผู้ใช้และการวางแผนเกี่ยวกับ software projects • The Software Engineering Institute’s Capability Maturity Model จัดหาแนวทางกว้าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางด้าน software development • มีหลาย ๆ กลุ่มทำงานทางด้าน project management maturity models, เช่น PMI’s Organizational Project Management Maturity Model (OPM3)
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Software Engineering Institute (SEI) ที่ Carnegie-Mellon University • กลุ่มของแนวทางปฏิบัติที่แนะนำ (a set of recommended practices) สำหรับกลุ่มของสิ่งที่เกี่ยวกับกระบวนการหลัก(a set of key process areas) ที่เน้นไปที่ software development. • แนวทางที่แสดงว่า องค์กรสามารถควบคุมกระบวนการของเขาให้ดีที่สุดได้อย่างไรเมื่อทำการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟต์แวร์ • แนวทางที่ช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทางซอฟต์แวร์ในปัจจุบันให้ดีขึ้น โดยอาศัยวิศวกรรมทางซอฟต์แวร์และการบริหารที่เป็นเลิศ(excellence)
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 1: Initial - ลักษณะที่เห็นได้คือเป็นองค์กรที่ยังไม่เก่งทางซอฟต์แวร์ซึ่งมีกระบวนการทางซอฟต์แวร์เป็นไปในเชิงขึ้นอยู่กับความพอใจ (ad hoc)และ มักจะเป็นสนองตอบ(reactive)ต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะไม่มีสภาพแวดล้อมที่คงที่(stable environment) สำหรับโครงการทางด้านซอฟต์แวร์และความสำเร็จของโครงการขึ้นกับคนในโครงการเป็นอย่างมาก แทนที่จะเป็นกระบวนการที่เขาทำตาม • Key Process Area • no key process areas are in place
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 2: Repeatable – มีการนำเอา Basic policies, processes, และ controls มาใช้ ในการบริหารโครงการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ความสำเร็จของ project teams เมื่อทำโครงการต่าง ๆ สำเร็จได้เช่นเดียวกับความสำเร็จในอดีต • Key Process Area • Software Configuration Management • Software Quality Assurance • Software Subcontract Management • Software Project Tracking and Oversight • Software Project Planning • Requirements Management
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 3: Defined - Software engineering และ management processes ถูกจัดทำเป็นเอกสารและมีมาตรฐานทั่วทั้งองค์กร และกลายเป็นกระบวนการมาตรฐานขององค์กร. • Key Process Area • มีการทบทวนร่วมกัน (Peer Reviews) • มีการประสานงานภายในกลุ่ม (Intergroup Coordination) • Software Product Engineering • Integrated Software Management • มีโปรแกรมการฝึกอบรม • มีการกำหนดกระบวนการในองค์กร (Organization Process Definition) • มีการมุ่งเน้นที่กระบวนการในองค์กร
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 4: Managed – มีตัววัดเชิงปริมาณ (Quantitative metrics)สำหรับใช้วัดและประเมินผลิตผล และคุณภาพถูกกำหนดขึ้นมาทั้ง software products และกระบวนการต่าง ๆ ที่ซึ่งคุณลักษณะสามารถกำหนดเป็นเชิงปริมาณ (เพื่อวัด)และทำนายได้ • Key Process Areas • การบริหารจัดการเชิงคุณภาพของซอฟต์แวร์ (Software Quality Management) • การบริหารจัดการกระบวนการเชิงปริมาณ (Quantitative Process Management)
Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 5: Optimizing อยู่ที่ระดับสูงสุดของ software process maturity ทั่วทั้งองค์กรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง • Key Process Areas • การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Process Change Management) • การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนเทคโนโลยี (Technology Change Management) • การป้องกันข้อบกพร่อง (Defect Prevention)
The IT Project Quality Plan Verification and Validation • Verification • มุ่งเน้นที่กิจกรรมในเชิง process-related เพื่อมั่นใจว่า products & deliverables เป็นไปตามความต้องการที่กำหนดไว้ก่อนทำการทดสอบขั้นสุดท้าย(final testing) • Technical Reviews • Walk throughs • Business Reviews • Management Reviews • Are we building the product the right way?
The IT Project Quality Plan Verification and Validation • Validation • คือกิจกรรมในเชิง Product-oriented ที่ต้องการดูว่า deliverable ของระบบหรือโครงการได้เป็นไปตามความคาดหวังของ customer หรือ client หรือไม่ • การทดสอบ (Testing) เป็นการตอบคำถามว่า ฟังก์ชันของระบบ สมรรถนะและความสามารถทั้งหมด เป็นไปตามความต้องการที่กำหนดไว้ใน project’s scope และ requirements definition หรือไม่ มักแบ่งได้เป็น • Unit Testing • Integration Testing • Systems Testing • Acceptance Testing
Testing • IT professional ส่วนมากคิดว่า การทดสอบเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นใกล้ ๆ กับการเสร็จสิ้นของ IT product development • แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทดสอบควรทำในขณะที่เกือบจะแล้วเสร็จในทุก ๆ เฟสของ IT product development life cycle
Types of Tests • สิ่งที่นำมาทดสอบ(unit test)จะถือว่าทดสอบเสร็จสิ้น เมื่อแต่ละส่วนย่อย (each individual component (often a program))ทำการทดสอบเสร็จสิ้น เพื่อมั่นใจว่า มันปราศจากข้อบกพร่องเท่าที่จะเป็นไปได้ • Integration testing เกิดขึ้นระหว่าง การทดสอบ unit กับ system เป็นการทดสอบฟังก์ชันขององค์ประกอบย่อยเป็นกลุ่ม (testing to test functionally grouped components) • System testing เป็นการทดสอบทั้งระบบในคราวเดียว (entire system as one entity) • User acceptance testing คือ การทำ independent test โดย end user ก่อนที่จะยอมรับระบบที่ส่งมอบให้ (delivered system)
The IT Project Quality PlanChange Control and Configuration Management • ตลอดช่วงของโครงการ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก • ที่จุด ๆ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงจะต้องถูกดำเนินการ: • การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ถูกดำเนินการ? • ใครทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง? • การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อใด? • ทำไมต้องทำการเปลี่ยนแปลง?
The IT Project Quality Plan Monitor and Control • Learn, Mature, and Improve • Lessons learned • Improvement • Best Practices
Improving IT Project Quality • หลาย ๆ คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพของ IT projects ได้แก่ • ผู้นำที่ต้องโปรโมตเรื่องคุณภาพ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนคุณภาพ(cost of quality) • มุ่งเน้นส่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อกับองค์กรและแฟกเตอร์ต่าง ๆ ที่พื้นที่ทำงานอันส่งผลกระทบต่อคุณภาพ • ทำตาม maturity models ในการปรับปรุงคุณภาพ
Leadership • “ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารระดับสูงมีจิตสำนึกด้านคุณภาพ ถ้าปราศจากความจริงใจแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าสนใจในเรื่องคุณภาพจากผู้บริหารระดับสูงแล้ว ระดับก็จะให้ความสนใจในเรื่องคุณภาพน้อย” (Juran, 1945)
Assignment 7 : ให้เขียนแผนการทำ Quality Control ของโครงงานที่รับผิดชอบ - มีการ Validation และ Verification อย่างไร ทำงานเป็นกลุ่ม