1.03k likes | 2.74k Views
โรงไฟฟ้า ชีว มวล. Biomass Power Plant. 614352 Energy and Environmental Management. นำเสนอ. น.อ. ศ. ดร. มนต์ชัย กาทอง ร.น. และ นักศึกษาวิศวกรรมอุตสาหการ รุ่น 8. 614352 Energy and Environmental Management. 27 FEB 2009. นำเสนอโดย. นายทศพล โชติกปฏิพัทธ์ รหัส 09490630
E N D
โรงไฟฟ้าชีวมวล Biomass Power Plant 614352 Energy and Environmental Management
นำเสนอ น.อ. ศ. ดร. มนต์ชัย กาทอง ร.น. และนักศึกษาวิศวกรรมอุตสาหการ รุ่น 8 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
นำเสนอโดย นายทศพล โชติกปฏิพัทธ์ รหัส 09490630 นายเสกสรร เกื้อหนุน รหัส 09490721 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยศิลปากร 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
มารู้จัก ชีวมวล (Biomass)กันก่อน ชีวมวล (Biomass)คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ สารอินทรีย์เหล่านี้ได้มาจากพืชและสัตว์ต่างๆ เช่น เศษไม้ ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ชีวมวลเล่านี้มีแหล่งที่มาต่างๆ กัน อาทิ พืชผลทางการเกษตร (agricultural crops) เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร (agricultural residues) ไม้และเศษไม้ (wood and wood residues) หรือของเหลือจากจากอุตสาหกรรมและชุมชน 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
ตัวอย่างของชีวมวล • แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือก • ชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย • เศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้ • กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด • กากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง • ซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออก • กาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อมะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าว • ส่าเหล้า ได้จากการผลิตแอลกอฮอล์เป็นต้น ฯลฯ 614352 Energy and Environmental Management
โรงไฟฟ้าชีวมวล • โรงไฟฟ้าชีวมวลมีความคล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ( Thermal Power Plant ) ทั่วๆไป แต่จะใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อให้เกิดความร้อนในการผลิตไอน้ำแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (น้ำมัน , ถ่านหิน , ก๊าซธรรมชาติ ) 614352 Energy and Environmental Management
โรงไฟฟ้าชีวมวล กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวมวลทำอย่างไร 1. เริ่มจากการลำเลียงเชื้อเพลิงชีวมวลเข้าสู่โรงเก็บและถ้าเชื้อเพลิงชีวมวลนั้นมีความเปียกชื้นอาจมีการนำมาตากแดดให้แห้งก่อน • ชีวมวลจะถูกนำมาบดให้ละเอียด(เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้)แล้วนำไปสู่ไซโลเพื่อป้อนเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ • เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้พลังงานความร้อนที่ได้จะนำไปต้มน้ำจากนั้นจะได้ไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จะถูกส่งไปหมุนกังหัน ( Turbines ) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ( Generator ) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
โรงไฟฟ้าชีวมวล กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวมวลทำอย่างไร (ต่อ) 4. ไอน้ำร้อนที่ผ่านกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว จะถูกทำให้เย็นลงด้วยกระบวนการควบแน่นด้วย Condenser จะได้เป็นหยดน้ำซึ่งจะถูกรวบรวม และส่งด้วยปั๊มน้ำ ( Boiler feed pump ) ไปเติม ให้กับหม้อต้มน้ำเพื่อให้หมุนเวียนกลายเป็นไอต่อไป ส่วนน้ำหล่อเย็น ( Cooling Water ) ที่ใช้ในการควบแน่นแล้ว มีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากได้รับความร้อนที่ถ่ายเทมาจากไอน้ำจะถูกทำให้เย็นลงโดยใช้หอหล่อเย็น Cooling Tower ) ระบายความร้อนออกจากน้ำหล่อเย็นสู่อากาศ ส่วนน้ำที่อุณหภูมิลดลงแล้วก็จะถูกนำมาใช้ใหม่อีก ระบบน้ำหล่อเย็นชนิดนี้จึงเป็นระบบวงจรปิด 614352 Energy and Environmental Management
โรงไฟฟ้าชีวมวล 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
โรงไฟฟ้าชีวมวล 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
ความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม • ด้านการการอนุรักษ์พลังงาน โรงไฟฟ้าชีวมวลนั้นจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าเป็นการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะใช้เชื้อเพลิงจากชีวมวลซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด เนื่องจากในประเทศไทย(รวมถึงโลกนี้ด้วย)ยังคงมีการทำอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมากมายทำให้ชีวมวลถูกกำเนิดมาอย่างเรื่อยๆ ซึ่งต่างจากฟอสซิล ซึ่งใช้เวลาหลายพันล้านปี ในการทำให้เกิดเป็นเชื้อเพลิงและที่สำคัญตอนนี้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติก็กำลังจะหมดไป 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
ความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม • ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากชีวมวลที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้นเป็นเพียง เศษซาก หรือสิ่งที่หลงเหลือจากการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ถ้าชีวมวลเหล่านี้ไม่ได้มาถูกใช้ประโยชน์ก็จะกลายเป็นเพียงขยะได้ถ้ไม่ได้มีการกำจัดเศษซากเหล่านี้อย่างถูกวิธี ดังนั้นการมีโรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถลดปริมาณขยะจึงเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ต้องมีการควบคุมปริมาณก๊าซเสียที่เกิดจากการเผาไหม้อย่างดีด้วยไม่เช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
ข้อดี-ข้อด้อย ของโรงไฟฟ้าชีวมวล • ข้อดี - ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล - เป็นการลดขยะรวมถึงเพิ่มคุณค่าที่เหลือจากการเกษตร และ อุตสาหกรรม - เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด - เชื้อเพลิงจากชีวมวลหาได้ง่ายและถูกกว่าเชื้อเพลิงจากฟอสซิล - สามารถผลิตไฟฟ้าไปพร้อมกับการดำเนินการด้านอุตสาหกรรมได้ - เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่ขายวัสดุให้กับโรงงาน - ในชุมชนสามารถตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้เพื่อใช้เองและขายให้การไฟฟ้าหรือภาคอุตสาหกรรม เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน - เถ้าถ่านที่เหลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น ขาย ปลูกต้นไม้ - ปริมาณก๊าซเสียที่ออกมาน้อยกว่าแบบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 614352 Energy and Environmental Management
ข้อดี-ข้อด้อย ของโรงไฟฟ้าชีวมวล • ข้อด้อย - ถ้าไม่สามารถจัดการกับปริมาณก๊าซเสียที่ออกมาจากโรงงานได้อาจเกิดมลพิษให้กับชุมชนได้ เช่น ฝุ่น ผงเถ้าถ่าน ก๊าซที่เป็นต้นเหตุของสภาวะเรือนกระจก - ถ้าจัดเก็บชีวมวลมีดีอาจส่งกลิ่นรบกวนชุมชนบริเวณข้างเคียงได้ - ถ้าเชื้อเพลิงชีวมวลมีความชื้นจะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ได้ และ การผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
ตัวอย่าง โรงไฟฟ้าชีวมวล เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ พิจิตร 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
บริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัดสำนักงานใหญ่ • เลขที่ 719 อาคารเคพีเอ็นทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 โทรศัพท์ : 0-2717-0445-8 โทรสาร : 0-2717-0449 โรงงาน เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ • เลขที่ 96 หมู่ 2 ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 66120 โทรศัพท์ : 0-5666-0378-83 โทรสาร : 0-5666-0384 614352 Energy and Environmental Management
ลักษณะโรงงาน • ประเภทของโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ก่อตั้งเมื่อพ.ศ.2542 • ระบบการเผาไหม้การเผาไหม้แบบลอยตัว ระบบการดักจับเถ้าระบบไฟฟ้าสถิต สามารถดักจับเถ้าได้สูงถึงร้อยละ 99.5% • เชื้อเพลิงชีวมวลแกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า • กำลังการผลิต20เมกะวัตต์ • จำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) 614352 Energy and Environmental Management
ปัญหา-อุปสรรคที่เกิดขึ้น หรือ คาดว่าจะเกิด • ด้านมลภาวะทางอากาศ เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวลจากพลังงานแกลบ อาจเกิดการกระจายตัวของแกลบจากลมพัดทำให้แกลบกระจายตัวออกไปยากต่อการควบคุม • ฝุ่น เถ้าถ่าน รวมถึงก๊าซเสีย ที่เกิดขึ้นถ้าควบคุมไม่ดีจะเกิดมลพิษได้ • การเลือกที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวลอาจได้รับการต่อต้านจากชุมชน • ด้านเชื้อเพลิงอาจไม่เพียงพอถ้าที่ตั้งของโรงไฟฟ้าไม่มีแหล่งวัตถุดิบใกล้เคียง • การเก็บวัตถุดิบเชื้อเพลิงอาจไม่มีที่เก็บที่เพียงพอหรือรักษาคุณภาพไม่ได้ 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
แนวทางความคิดในการแก้ไขอุปสรรคแนวทางความคิดในการแก้ไขอุปสรรค • การแก้ไขในเรื่องมลภาวะทางอากาศ คือ ติดตั้งเครื่องดักฝุ่นให้เพียงพอต่อปริมาณฝุ่น และ ต้องมีการตรวจสอบ – วัดผลตลอดเวลา • ต้องมีการจัดระบบควบคุมปริมาณก๊าซเสียให้ได้ตามข้อกำหนดและมีการตรวจสอบ – วัดผลตลอดเวลา • ต้องมีการสำรวจสถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าต้องมีการสำรวจก่อนว่ามีแหล่งน้ำเพียงพอหรือไม่ ใกล้แหล่งวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพร้อมทั้งหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนในกรณีที่เชื้อเพลิงไม่เพียงพอ และ เสียงการตอบรับจากชุมชนข้างเคียง • สร้างการสร้างโรงเก็บวัตถุดิบที่มีขนาดเพียงพอและสามารถป้องกันเสื่อมสภาพและการส่งกลิ่นรบกวน 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
การประยุกต์ใช้ ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีแม่น้ำไหลผ่านก็สามารถนำโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กเข้าไปตั้งเพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้ แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐเพราะเนื่องจากต้องมีการใช้งบประมาณในการสร้าง ถ้าดำเนินการได้จะต้องมีการควบคุมปริมาณก๊าซเสียที่ออกมาและปริมาณของฝุ่นละอองที่ออกมาด้วยเพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าดำเนินการได้จะสร้างประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างมาก 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
การประยุกต์ใช้ นอกจากการนำชีวมวลมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วยังสามารถนำชีวมวลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้อีก เช่น - การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส(gas turbine) - การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช เช่น ทำการย่อยสลายอ้อย มันสำปะหลัง ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009
สิ้นสุดการนำเสนอเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลสิ้นสุดการนำเสนอเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวล 614352 Energy and Environmental Management 27 FEB 2009