1 / 54

การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้

การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้. ศุภวิชญ์(สนิท) เจริญธรรม ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ (สอท) ผู้จัดการฝ่ายกิจการพิเศษ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด ที่ปรึกษา บริษัทโกลบอล เอ็ด จำกัด โทร. 01-4083203. การวิจัยในชั้นเรียน.

Download Presentation

การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ ศุภวิชญ์(สนิท) เจริญธรรม ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ (สอท) ผู้จัดการฝ่ายกิจการพิเศษ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด ที่ปรึกษา บริษัทโกลบอล เอ็ด จำกัด โทร. 01-4083203

  2. การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (ClassroomActionResearch) ถือเป็นนวัตกรรมรูปแบบหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับครูยุคใหม่ ที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมาตรา 24 ระบุว่า “การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ…( 5 ) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

  3. ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียน อาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยากรประเภทต่าง ๆ ” • จากข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 เน้น การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน คือ ไม่แยกส่วนจากการเรียนการสอน วิจัย และพัฒนาการเรียนการสอนไปพร้อม ๆ กัน • การวิจัย (Research) เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ การแก้ปัญหา หรือการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

  4. การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไรการวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร การวิจัยในชั้นเรียน คือ กระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนของครู ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (ActionResearch) คือ เป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติการจริง โดยมีครูเป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัย และผู้บริโภคการวิจัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ครูเป็นนักวิจัยในชั้นเรียน ครูนักวิจัยจะต้องตั้งคำถามที่มีความหมายในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปพร้อม ๆ กับทำการจัดเก็บข้อมูลตามระบบข้อมูลที่ได้วางแผนการวิจัยไว้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัย

  5. นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้ว จะพัฒนาข้อความรู้ที่ได้นั้นต่อไปให้มีความรู้ที่ได้นั้นต่อไปให้มีความถูกต้องเป็นสากล และเป็นประโยชน์มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยทั่วไปแล้ว ประชากรเป้าหมายของการวิจัยในชั้นเรียนจะถูกจำกัดเป็นกลุ่มนักเรียนในความรับผิดชอบของครูนักวิจัยเท่านั้น และข้อความรู้ที่ได้มักจะมีความเฉพาะ คือ จะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลการพัฒนานักเรียนในชั้นเรียนของครูนักวิจัยเป็นสำคัญ

  6. การวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษาการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา ตารางเปรียบเทียบการวิจัยการศึกษากับการวิจัยในชั้นเรียน วิจัยการศึกษา รายการ วิจัยในชั้นเรียน • จุดมุ่งหมาย • จุดเริ่มต้น • จุดแข็ง • จุดอ่อน • มุมมอง • ผลสรุป • หน่วยการวิเคราะห์ • วิธีการที่เหมือนกัน • หรือต่างกัน • ครอบคลุมพัฒนาการศึกษา • จากทฤษฎีทางการศึกษา • ทดสอบทฤษฎีทางการศึกษาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • นักวิจัยขาดประสบการณ์ • จากนอกโรงเรียนมองครู • ทฤษฎีการศึกษา • ห้องเรียนหรือโรงเรียนมากกว่า 1 หน่วย • การหาคำอย่างมีระบบหรือน่าเชื่อถือ • ประชากรมากต้องสุ่มตัวอย่าง • เน้นการใช้สถิติเพื่ออ้างอิง • พัฒนาเฉพาะการเรียนการสอน • การปฏิบัติงานของครูโดยปกติ • พาดพิงทฤษฎีการศึกษา • ครูผู้สอนขาดทักษะการวิจัย • จากครูในห้องเรียนสู่ภายนอก • ทฤษฎีและประสบการณ์ของครูผู้สอนโดยตรง • ครู/นักเรียน/โรงเรียนเพียง 1 หน่วย • สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและวิธีพัฒนานักเรียนในชั้นเรียน • ไม่ต้องสุ่มตัวอย่าง • ไม่เน้นสถิติใช้การอธิบายคุณลักษณะ มากกว่าการคำนวณ

  7. จุดเน้น วิจัยการศึกษา วิจัยในชั้นเรียน • ปัญหาที่ต้องวิจัย • ผลที่ได้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ • ปริมาณข้อมูลยิ่งมากยิ่งดี • คุณภาพการสุ่มตัวอย่างพยายามให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด • ปัญหาในชั้นเรียน • จากปฏิบัติสู่ทฤษฎี • ปริมาณนวัตกรรมที่ สามารถใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนาได้ • คุณภาพของนวัตกรรม ที่ผ่านการทดลองและ ปรับปรุง

  8. การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญอย่างไรการวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญอย่างไร การทำวิจัยในชั้นเรียนนั้น จะช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตของการทำงานครูอย่างเป็นระบบเห็นภาพของงานตลอดแนว มีการตัดสินใจที่มีคุณภาพเพราะจะมองเห็นทางเลือกต่าง ๆ ได้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น แล้วจะตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ครูนักวิจัยจะมีโอกาสมากขึ้นในการคิด ใคร่ครวญเกี่ยวกับเหตุผลของการปฏิบัติงาน และครูจะสามารถบอกได้ว่างานจัดการเรียนการสอนนี้ที่ปฏิบัติไปนั้นได้ผลหรือไม่ เพราะอะไร นอกจากนี้ครูที่ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนนี้ จะสามารถควบคุม กำกับ

  9. และพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างดี เพราะการทำงาน และผลของการทำงานนั้น ล้วนมีความหมายและคุณค่าสำหรับครูในการพัฒนานักเรียน ผลจากการทำวิจัยในชั้นเรียน จะช่วยให้ครูได้ตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรมของผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูอันจะนำมาซึ่งความรู้ และความปิติสุขในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องของครู เป็นที่คาดหวังว่า เมื่อครูผู้สอนได้สอนได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนอย่างเหมาะสมแล้ว จะก่อให้เกิดผลดีต่อการศึกษา และวิชาชีพครูอย่างน้อย 3 ประการ คือ

  10. นักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • วงวิชาการศึกษาจะมีข้อความรู้และ/หรือ นวัตกรรมทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นจริงเกิดมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อครูและเพื่อนครู ในการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และ • วิถีชีวิตของครู หรือวัฒนธรรมในการทำงานของครู จะพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (ProfessionalTeacher) มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพราะครูนักวิจัยจะมีคุณสมบัติของการเป็นผู้แสวงหาความรู้ หรือผู้เรียน (Learner)

  11. ในศาสตร์แห่งการสอนอย่างต่อเนื่อง และมีชีวิตชีวา จนในที่สุดก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจที่กว้างขวาง และลึกซึ้งในศาสตร์และศิลป์แห่งการสอนเป็นครูที่มีวิทยายุทธ์แกร่งกล้า ในการสอน สามารถที่จะสอนนักเรียนให้พัฒนาก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ในหลายบริบท หรือที่เรียกว่าเป็นครูผู้รอบรู้ หรือครูปรมาจารย์ (MasterTeacher) ซึ่งถ้ามีปริมาณครูนักวิจัยดังกล่าวมากขึ้น จะช่วยให้การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมั่นคง

  12. ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่า การวิจัยในชั้นเรียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาวิถีของครู เพื่อให้ครูพัฒนาไปสู่ความเป็นครูอาชีพในสังคมวิชาการของวิชาชีพครู ดังนั้น ลักษณะการวิจัยในชั้นเรียน ควรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติการเรียนการสอนจริง

  13. ประโยชน์ของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีดังนี้ • ช่วยแก้ปัญหาในห้องเรียน • ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น • เป็นการเปลี่ยนบทบาทของครูใหม่ • เสริมพลังอำนาจแก่ครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน • ทำให้รู้ถึงวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ • เป็นการกระตุ้นการสอนแบบสะท้อนกลับ

  14. ช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานครูที่มีประสิทธิภาพช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานครูที่มีประสิทธิภาพ • ช่วยพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู • เป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิธีสอนกับผลที่ได้รับ • ช่วยให้ครูนำผลการวิจัยไปใช้ในห้องเรียน • ทำให้ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) จากประโยชน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ครูควรศึกษาขั้นตอนการวิจัยแล้วนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  15. รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียนนั้น มีลักษณะเฉพาะที่เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานการจัดการเรียนการสอน รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนนั้น เป็นโปรแกรมการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (ResearchandDevelopment) โดยเน้นสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเข้าใจสภาพปัญหา และวิธีการแก้ไขตลอดจนนวัตกรรมในการพัฒนางานตามสภาพที่เป็นจริง ในกระบวนการของการพัฒนางานนั้นมีขั้นตอน ดังนี้

  16. ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน กำหนดได้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหา และความต้องการ ครูผู้วิจัยสามารถหาปัญหา และความต้องการได้จาก การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการสอบปลายภาค จากการประเมินผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จากการประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ในแผนการเรียนรู้บันทึกผลการเรียนรู้และจากการตรวจผลงานของนักเรียน มาเป็นปัญหาและเทียบกับความต้องการตามนโยบายของโรงเรียน หน่วยงานต้นสังกัด ว่ามีความต้องการพัฒนาระดับใด โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนในชั้นเรียนด้วย และเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังตามความต้องการจำเป็นปฏิบัติ

  17. ขั้นตอนที่ 2 แนวทางแก้ไขและพัฒนา จากขั้นตอนที่ 1 เมื่อครูผู้วิจัยได้กำหนดและเลือกทางเลือกในการแก้ไขหรือพัฒนาแล้ว ครูผู้วิจัยก็ดำเนินการสร้างนวัตกรรม เพื่อในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งนวัตกรรมอาจเป็น (1) วิธีการ ได้แก่รูปแบบวิธีสอนใหม่ ๆ การสอนซ่อมเสริมและแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่ครูผู้วิจัยได้คิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน (2) สื่อ และเอกสาร ซึ่งหมายถึง เครื่องมือที่จะช่วยในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้ดีขึ้น ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดฝึก, V.D.O, CD-ROM, CAI, สไลด์, ชุดการสอนกิจกรรม เกม แผ่นภาพ คู่มือ หนังสืออ่านเพิ่มเติมเหล่านี้ เป็นต้น

  18. ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานพัฒนา ครูผู้วิจัยต้องกำหนดว่า จะดำเนินการแก้ไข หรืพัฒนานักเรียนด้านใด ซึ่งอาจกำหนดเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม รายห้องเรียน ตามสภาพปัญหา และความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 หลังจากนั้น จึงนำวิธีการหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นในขั้นที่ 2 มาจัดลำดับขั้นตอน (วางแผน) จะทำอย่างไร ตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว เริ่มดำเนินการ (ปฏิบัติการ) แก้ไข พัฒนา

  19. ขั้นตอนที่ 4 สรุปรายงานผล เป็นขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการตั้งแต่ต้น จนสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาผลเป็นอย่างไร ได้ผล หรือไม่ได้ผล ถ้าได้ผลอาจนำผลไปเผยแพร่ ไม่ได้ผลควรหาแนวทางใหม่ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและในการสรุปรายงานควรระบุด้วยว่า มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะอย่างไร ไว้ในการสรุปรายงานด้วย จากขึ้นตอนดังกล่าว สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

  20. แผนภูมิแสดงขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียนแผนภูมิแสดงขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน 1. กำหนดปัญหาและความต้องการ 2. แนวทางแก้ไขและพัฒนา 3. ดำเนินการแก้ไขและพัฒนา 4. สรุปรายงาน 1.1 ปัญหาและความต้องการได้จาก พัฒนานวัตกรรมเพื่อ แก้ปัญหา/พัฒนา การดำเนินการ - กำหนดเป้าหมายจะ ดำเนินการกับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร สรุปรายงาน • การสังเกตพฤติกรรม น.ร. • การสัมภาษณ์ • การทดสอบและประเมินผล • การตรวจผลงาน น.ร. • ฯลฯ - นำเสนอตั้งแต่ เริ่มต้นพัฒนา - ผล - ได้ผลนำผลไป เผยแพร่ - ไม่ได้ผล หาแนวทาง ใหม่เพื่อปรับปรุง พัฒนา - ข้อเสนอแนะ/ ปัญหา/ อุปสรรค 2.1 นวัตกรรมที่เป็นวิธีการ เช่น - วิธีสอนแบบใหม่หรือที่คิดค้นขึ้นปฏิบัติ - วิธีการสอนซ่อมเสริม แนวปฏิบัติอื่น ๆ - วางแผน กำหนดปฏิทิน - ดำเนินการ 1.2 วิเคราะห์ปัญหา/ความต้องการ - จัดลำดับความสำคัญ - หาสาเหตุของปัญหา - ประเมินผล - บันทึกผล 2.2 นวัตกรรมที่เป็นสื่อ เช่น - บทเรียนสำเร็จรูป - ชุดการสอน - กิจกรรม เกม - ชุดฝึก สไลด์, V.D.O - คู่มือการจัดกิจกรรม - หนังสืออ่านเพิ่มเติม ฯลฯ 1.3 กำหนดทางเลือก - กำหนดทางเลือกอย่าง หลากหลาย - เลือกทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อ นำไปปฏิบัติ

  21. จากขั้นตอน การวิจัยในชั้นเรียน จะเห็นได้ว่า เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากปัญหา ความต้องการ สาเหตุ คิดค้นนวัตกรรม วิธีการแก้ไข พัฒนาดำเนินการและสรุปผลเพื่อดูความก้าวหน้า และปรับปรุงการเรียนการสอน จากประสบการณ์นิเทศพบว่า ครูผู้สอนยังมีความสับสนเกี่ยวกับการวิจัยค่อนข้างมาก บางคนคิดว่าการวิจัยเป็นเรื่องยากต้องใช้สถิติที่ยุ่งยาก จึงไม่กล้าคิดที่จะทำวิจัยนั่น คือ การมองภาพการวิจัยทางวิชาทั่ว ๆ ไป

  22. ถ้าเป็นวิจัยในชั้นเรียน จะเป็นเรื่องที่ต้องการแก้ปัญหาเฉพาะในชั้นเรียน การใช้สถิติ จะใช้สถิติอย่างง่ายไม่ซับซ้อน และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งอาจสรุปแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้ • การกำหนดเป้าหมาย มุ่งสร้างความรู้เฉพาะ เพื่อใช้ในห้องร้องของผู้วิจัย กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนในห้องเรียน อาจเป็นรายคน หรือรายห้อง

  23. วงจรการวิจัย ใช้วงจรการวิจัยแบบ PAOR คือ • Plan = วางแผน • Action = การปฏิบัติ • Observe = สังเกตพฤติกรรม • Reflect = ดูผลย้อนกลับ • วิธีการวิจัย ไม่เน้นการกำหนดกรอบ แนวคิด ทฤษฎี แต่ใช้ประสบการณ์ของผู้สอน และไม่เน้นแบบแผนการวิจัยมาก ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ • การกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาชั้นเรียน ใช้วิธีการ เชิงอัตวิสัย โดยอาศัย

  24. ประสบการณ์ของครูมากกว่าอ้างอิงทฤษฎี หรือการมีผลการวิจัยรองรับ • การวิเคราะห์ ใช่วิเคราะห์เนื้อหา ไม่เน้นการวิเคราะห์ด้วยสถิติชั้นสูง • การอภิปรายผล จะเป็นการอภิปรายจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อครู ถึงวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้และผลที่เกิดขึ้นมากกว่าการนำทฤษฎีทางการศึกษามาใช้ในการอภิปรายผล

  25. ช่วงเวลาในการวิจัย การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทำเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนไม่แยกส่วนจากการเรียนการสอน ช่วงเวลาจะดำเนินไปพร้อมกับการเรียนการสอน • การใช้ผลการวิจัย นำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในห้องเรียนทันที และตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นโดยครูผู้วิจัยเอง • ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวครูเองจะมีการทำงานในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ การวางแผนที่ดีของครูจะทำให้ได้เห็นภาพของงานตลอดแนว ครูสามารถวางแผนงานได้ตรงตาม

  26. หลักสูตรและสภาพปัจจุบัน และเป็นแผนที่มีคุณค่า และมีความหมายสำหรับครู จะเป็นไปอย่างมีหลัก มีเป้าหมายและมีชีวิตชีวา ในอีกมุมมองหนึ่งของวิถีชีวิตของการวิจัยในชั้นเรียนนี้ ครูจะเป็นนักเรียนในศาสตร์ของการสอนอยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพชีวิตจริงของนักเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จะกลายเป็นครู ให้ครูได้ศึกษา และฝึกฝนวิทยายุทธ์อย่างสร้างสรรค์ในศาสตร์แห่งการสอน

  27. ครูนักวิจัย จะพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพที่มีวิจารณญาณ และเป็นอิสระ เพราะสามารถควบคุม กำกับการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์ ครูจะมองเห็นเป้าหมายของการทำงาน มองเห็นภาพของงานตลอดแนวแล้วลงมือพัฒนาและปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานไปเรื่อย ๆ อย่างไม่สิ้นสุดด้วยความสุขในการทำงานที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและผลที่เกิดขึ้นในการพัฒนาเป็นนักวิชาชีพของตนเอง

  28. ความสัมพันธ์กระบวนการเรียนการสอนกับกระบวนการวิจัยความสัมพันธ์กระบวนการเรียนการสอนกับกระบวนการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่าง กระบวนการเรียน การสอน กระบวนการวิจัย การวางแผนการวิจัย วางแผนการสอน ปฏิบัติการแก้ไขพัฒนา จัดกิจกรรมการ เรียนการสอน พบปัญหาการเรียนรู้ สังเกตเก็บรวบรวม ข้อมูล ประเมินผล การเรียนรู้ สะท้อนความคิด ความรู้สึกต่อผลการวิจัย วิเคราะห์ผล การเรียนรู้ นำผลการวิจัยไปใช้ ปรับปรุงและพัฒนา เขียนรายงานการวิจัย

  29. การกำหนดปัญหากับการตั้งชื่อการกำหนดปัญหากับการตั้งชื่อ

  30. การเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้กับลักษณะปัญหาการเรียนรู้การเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้กับลักษณะปัญหาการเรียนรู้

  31. ประเภทของนวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทของนวัตกรรมการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ / สิ่งประดิษฐ์ (Product invention) รูปแบบ / เทคนิควิธีสอน (instruction / method) • แบบฝึก /ชุดฝึก • ชุดการเรียน • ชุดการสอน • บทเรียนโมดูล • บทเรียนสำเร็จรูป • บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน • วีดีทัศน์ • เกม/นิทาน/การ์ตูน • สื่อประถม • ฯลฯ • การสอนแบบ 4 MAT • รูปแบบการสอนของวรรณี • การสอนแบบอภิปราย • เทคนิคการปรับพฤติกรรม • การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน • การเรียนแบบร่วมมือ • การสอนแบบบูรณาการ • การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ • ฯลฯ

  32. วิธีการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมการเรียนการสอนวิธีการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน วิธีการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยปกติทำโดยการนำสื่อไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายตามสภาพการณ์จริงปกติ เพื่อที่จะดูว่านวัตกรรมที่ผ่านการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วมีความเหมาะสมในการสื่อสารกับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่ ดังนี้ ในการทดสอบสื่อในขั้นนี้ จะให้ผู้เรียนซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย ใช้สื่อในสภาพการณ์จริงทุกอย่าง การทดลองใช้นวัตกรรมนี้ดำเนินเป็นขั้นตอน 3 ขั้นตอน ตามลำดับข้างล่างนี้

  33. แต่ทุกขั้นตอนจะดำเนินการเหมือนกัน คือ ให้ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายใช้สื่อในสภาพการณ์เป็นจริงตามที่กำหนดในระหว่างการใช้สื่อ ผู้ตรวจสอบจะสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้นวัตกรรม และลักษณะ สื่อปรากฏ โดยใช้แบบสังเกตที่เตรียมไว้เมื่อสิ้นสุดการใช้ ผู้ตรวจสอบจะให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้ นำผลการสังเกตและผลการทดสอบมาวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงแก้ไขสื่อ ก่อนที่จะนำไปทดลองใช้ในขั้นต่อไป

  34. การทดสอบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-by-one testing) ในขั้นตอนนี้ ให้ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย 1 คน เรียนกับนวัตกรรม ในระหว่างการทดลองใช้สื่อให้ผู้ตรวจสอบทำการสังเกตการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด โดยใช้แบบสังเกต และบันทึกผลการสังเกตเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรม • การทดสอบกลุ่มเล็ก (Small group testing) การทดสอบนวัตกรรมด้วยกลุ่มตัวแทน กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเล็ก จำนวนประมาณ 5-10 คน การทดสอบนวัตกรรมในชั้นนี้บางครั้งอาจจะต้องกระทำมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจว่าสิ่งที่แก้ไขปรับปรุงในสื่อแล้วนั้น ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น ถึงระดับเกณฑ์มาตรฐานแล้วหรือยัง

  35. การทดสอบกลุ่มใหญ่ (Large group testing) • การทดสอบนวัตกรรมในขั้นนี้ เป็นการทดสอบด้วยกลุ่มตัวแทน กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มใหญ่ ประมาณ 30 คน เป็นขั้นทดสอบที่หลังจากสื่อได้รับการปรับปรุงจนมีคุณภาพ หรือมาตรฐานสูง ในบางครั้งการทดสอบที่หลังจากนวัตกรรมได้รับการปรับปรุงจนมีคุณภาพ หรือมาตรฐานสูงในบางครั้ง การทดสอบขั้นนี้อาจให้ระดับมาตรฐานแก้นวัตกรรม ถ้าผู้ตรวจสอบพบผลจากกการวิเคราะห์ว่าคุณภาพสื่ออยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจตามที่กำหนดไว้ โดยทฤษฎีหรืออผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ก็จะหยุดการทดสอบนวัตกรรมที่ขั้นนี้ จะแจ้งผลการทดสอบสื่อขั้นนี้เป็นมาตรฐานของนวัตกรรม การประเมินผลในขั้นนี้เป็นการประเมินผลรวม หรือ Summative Evaluation

  36. ในบางกรณี ผู้ตรวจสอบบางคน อาจจะให้การทดสอบภาคสนาม (Field testing) ต่อจากการทดสอบกลุ่มใหญ่ และถือผลการทดสอบภาคสนามเป็นมาตรฐานของนวัตกรรม การทดสอบนี้เป็นการประเมินผลรวม อนึ่ง การประเมินผลตั้งแต่ขั้นการทดสอบหนึ่งต่อหนึ่ง จนกระทั่วถึงขั้นก่อนประเมินผล รวมเป็นการวัดผล ประเมินผลเพื่อปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพสูงตามเกณฑ์ที่กำหนดการประเมินผลเหล่านั้นจัดว่าเป็น Formative Evaluation

  37. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอนการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ใช้เกณฑ์มาตรฐาน 90 / 90 ซึ่งเป็นเทคนิคของการวัดผลวิธีหนึ่ง เพื่อดูว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาดีหรือไม่ อยู่ในขั้นใช้ได้หรือไม่ เกณฑ์มาตรฐาน 90 / 90 มีความหมาย ดังนี้ 90 ตัวแรก หมายถึง นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อมูลของนวัตกรรมเฉลี่ยร้อยละ 90 เช่น ถ้าสื่อเป็นบทเรียนแบบโปรแกรม ก็หมายถึง นักเรียนตอบคำถามในบทเรียนได้เฉลี่ยร้อยละ 90 90 ตัวหลัง หมายถึง นักเรียนทั้งกลุ่มทำแบบทดสอบหลังจากเรียนด้วยนวัตกรรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90 เช่น ถ้าสื่อเป็นบทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง นักเรียนทั้งกลุ่มทำแบบทดสอบหลังจากเรียนบทเรียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90

  38. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบไม่เน้นวิชาการ รูปแบบกึ่งวิชาการ รูปแบบวิชาการ - ประกอบด้วยส่วนนำ ส่วน เนื้อหา และส่วนอ้างอิง - เนื้อหามี 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุป อภิปรายและ ข้อเสนอแนะ - ส่วนอ้างอิง คือ บรรณานุกรมและภาคผนวก • - นำเสนอการสะท้อนผลการวิจัยต่อไปนี้ • . ชื่อเรื่องวิจัย • . ความสำคัญของปัญหาวิจัย • . ปัญหาวิจัย • . วัตถุประสงค์ของการวิจัย • . วิธีดำเนินการวิจัย • . ผลการวิจัย • . สรุป/สะท้อนผลการวิจัย • - นำเสนอเนื้อหาโดนสรุปสั้น ๆเพียง 1-2 หน้า • ปัญหาที่ต้องแก้หรือพัฒนา • วิธีการแก้ไขหรือพัฒนา • ผลการแก้ไขหรือผลการวิจัย

  39. ตัวอย่างรูปแบบรายงานการวิจัยในชั้นเรียนตัวอย่างรูปแบบรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

  40. รูปแบบที่ 1(วิจัยเชิงคุณภาพ) 1. ชื่อรายงานวิจัย………………………………………………………………… 2. ความนำ- ความสำคัญของปัญหา - บรรยายถึงสภาพการศึกษาโดยการสังเกตบันทึกพฤติกรรม 3. วัตถุประสงค์ - ระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน 4. วิธีการศึกษา (เขียนเชิงพรรณนา) 4.1 วิธีรวบรวมข้อมูล 4.2 การเลือกลุ่มตัวอย่าง - บันทึกข้อมูล/ประชากร/ตัวอย่างตามสภาพจริง - วัตถุประสงค์เฉพาะ - ระยะเวลาเก็บข้อมูล (ระบุ วันเริ่มศึกษา, สัปดาห์ที่…… ) 4.3 สรุปผลการศึกษา - รายคน - รายกลุ่ม 5. ผลการวิจัย • ผลการศึกษาทีค้นพบ • ผลการพัฒนา 6. สรุปผลการวิจัย 7. ภาคผนวก

  41. รูปแบบที่ 2 (กึ่งวิชาการ) • 1. ชื่อรายวิจัย………………………………………………. ………… • ปัญหา :………………………………………………….. ………………. • สาเหตุ :………………………………………………….. ………………. • ………………………………………………….. ………………… • ………………………………………………….. ………………… • ………………………………………………….. ………………… • 2.วัตถุประสงค์ : • เพื่อ ………………………………………………….. ………………… • 3. วิธีการวิจัย : • 1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้น ………ภาคเรียนที่…….. ปีการศึกษา …………..จำนวน…….คน • 2. วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้ • 2.1 ชื่อนวัตกรรม................................................. จำนวน....................ชุด/เรื่อง/หน่วย ดังนี้ • 2.1.1 ………………………………………………….. ………… • 2.1.2 ………………………………………………….. ………… • 2.1.3 ………………………………………………….. ………… • 2.2 แผนการสอนเรื่อง

  42. 2.3 เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล 2.3.1 ………………………………………………….. …… 2.3.2 ………………………………………………….. …… 2.3.3 ………………………………………………….. …… 3. วิธีการรวบรวมข้อมูล 3.1. ………………………………………………….. ……… 3.2. ………………………………………………….. ……… 3.3. ………………………………………………….. ……… 4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1. ………………………………………………….. ……… 4..2. ………………………………………………….. ……… 4..3. ………………………………………………….. ………

  43. รูปแบบที่ 3 (เชิงวิชาการ) แบ่งรายงานเป็นบท/ตอน (5-6 บท) บทที่ 1 บทนำ ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์ สมมติฐานของการวิจัย บทที่ 2 หลักการ/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/การตรวจเอกสาร เอกสารที่เกี่ยวกับ………………………………………………………………………… เอกสารที่เกี่ยวกับ………………………………………………………………………… เอกสารที่เกี่ยวกับ………………………………………………………………………… งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

  44. บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล ผลการวิจัย อภิปรายผล บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ สรุป ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ประวัติการศึกษาและการทำงานผู้วิจัย

More Related