1 / 45

บทที่ 8 วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป

บทที่ 8 วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป. วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป.

kele
Download Presentation

บทที่ 8 วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป

  2. วัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูปวัตถุดิบอาหารสัตว์และการแปรรูป • ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง การแบ่งประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตว์ การปรับปรุงคุณภาพ การเก็บรักษา และการแปรรูปวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงสารพิษหรือสารต้านโภชนะที่สำคัญในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

  3. วัตถุดิบอาหารสัตว์คืออะไรวัตถุดิบอาหารสัตว์คืออะไร • คือ สารต่างๆ ที่สามาถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ (feed) ได้ เนื่องจากมีโภชนะที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ • ในอาหารสัตว์อาจประกอบด้วยวัตถุดิบอาหารสัตว์เพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้มีโภชนะต่างๆตามความต้องการของสัตว์ได้ • วัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดจะมีโภชนะเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่แตกต่างกันไป

  4. องค์ประกอบทางเคมีของอาหารองค์ประกอบทางเคมีของอาหาร น้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไวตามิน อินทรีย์สาร อาหาร วัตถุแห้ง เถ้า อนินทรีย์สาร

  5. หน้าที่ของโภชนะ โภชนะ หน้าที่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ดำรงชีพ เจริญเติบโตให้ผลผลิต สืบพันธุ์ แหล่งพลังงาน น้ำ แร่ธาตุ ไวตามิน การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย ไม่ให้พลังงาน

  6. วัตถุดิบอาหารสัตว์มี2 ประเภท • 1.อาหารหยาบ (roughage) : วัตถุดิบอาหารสัตว์หรืออาหารสัตว์ที่มีลักษณะฟ่าม (bulky) มีปริมาตรสูง แต่มีน้ำหนักน้อย มีปริมาณเยื่อใย(crude fiber) สูงกว่า 18 % และ มีโภชนะที่ย่อยได้ต่ำ เช่นหญ้า และถั่วอาหารสัตว์ • 2.อาหารข้น (concentrate) : วัตถุดิบอาหารสัตว์หรืออาหารสัตว์ที่มีเยื่อใยต่ำกว่า 18 % หรือไม่เกิน 18 % และมีโภชนะที่ย่อยได้สูงเช่น รำละเอียด มันเส้น กากถั่วเหลือง • อาหารผสมเสร็จ (total mixed ration, TMR) คืออาหารผสมที่นำอาหารข้นรวมกับอาหารหยาบ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง

  7. อาหารหยาบแบ่งออกเป็น 3 ประเภท • อาหารหยาบสด (pasture and green forage)เช่นหญ้าและถั่วอาหารสัตว์ • อาหารหยาบแห้ง (dry forage and roughage) เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว(กลุ่มของวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร) มีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีเยื่อใยโดยเฉพาะส่วนของผนังเซลล์สูง • อาหารหยาบหมัก (silage) เช่นข้าวโพดหมัก หญ้าหมัก

  8. อาหารหยาบสด (pasture and green forage)คืออะไร • พืชอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งที่ตัดสดมาให้กิน หรือพืชอาหารสัตว์ที่อยู่ในแปลงหญ้า(pasture) ที่สัตว์เข้าไปแทะเล็มเอง Soilage ไม่ใช่ silage • แปลงหญ้าหรือทุ่งหญ้า มี 2 ชนิด : แปลงหญ้าธรรมชาติ(natural pasture) : แปลงหญ้าที่ปลูกสร้างขึ้นมา (cultivated pasture) แปลงหญ้ากินนี

  9. หญ้าหรือถั่วที่ปลูกควรมีคุณสมบัติอย่างไรหญ้าหรือถั่วที่ปลูกควรมีคุณสมบัติอย่างไร 1.เป็นพืชที่สัตว์ชอบกิน 2.ขยายพันธุ์ได้เร็วหรือหลายวิธี เช่นขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และใช้ท่อนพันธุ์ 3.มีคุณค่าทางอาหารสูง : มีCPสูง และ ADF และ ADL ต่ำ 4.เป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง 5.มีความทนทานต่อการเหยียบย่ำได้ดี แตกตัวเร็ว

  10. จะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไรจะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไร • 1.ปล่อยให้สัตว์เข้าแทะเล็มในแปลงพืชอาหารสัตว์ (grazing)

  11. จะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไรจะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไร • 2. ตัดพืชอาหารสัตว์จากแปลงเพื่อนำมาให้สัตว์กินในคอก เกี่ยวหญ้า ตัดหญ้าด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ การตัดหญ้าในแปลงด้วยเครื่องจักร โคที่เลี้ยงขังรวมในคอก

  12. จะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไรจะใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบสดอย่างไร 3. เก็บถนอมพืชไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลน เช่นทำหญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก พืชอาหารสัตว์ที่เกี่ยวเพื่อเตรียมใช้ทำหญ้าแห้ง

  13. อาหารหยาบแห้ง (dry forage and roughage)คืออะไร • พืชอาหารสัตว์ที่นำมาทำแห้งด้วยวิธีต่างๆ เรียกว่าหญ้าแห้ง (hay) • รวมถึงเศษเหลือจากการเกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพดหลังเก็บเมล็ด ซังข้าวโพด เปลือกฝักถั่วเหลืองต้นถั่วเหลือง ต้นถั่วลิสง เป็นต้น

  14. จะใช้อาหารหยาบแห้งที่มีคุณภาพต่ำให้เกิดประโยชน์อย่างไรจะใช้อาหารหยาบแห้งที่มีคุณภาพต่ำให้เกิดประโยชน์อย่างไร • 1 การปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบแห้ง • 2.การเสริมแหล่งแหล่งพลังงานให้จุลินทรีย์ในการเพิ่มประชากร เช่นการเสริมกากน้ำตาล รำละเอียด อาหารข้น • 3.การเสริมแหล่งโปรตีน หรือการเสริมโปรตีนไหลผ่าน (bypass protein) เช่นใบกระถิน ใบกระถินเทพา หรือเสริม NPN

  15. การปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบแห้งการปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบแห้ง • ก.วิธีกล (mechanical treatment) เช่นทำให้มีขนาดเล็กลง หรือแช่น้ำ • ข.วิธีทางเคมี (chemical treatment) หรือใช้สารเคมีเช่นแช่ฟางข้าวในสารละลายNaOH, KOH, NH4OH การใช้ก๊าซ NH3 เป็นต้น

  16. การปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบแห้ง(ต่อ)การปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบแห้ง(ต่อ) • ค.วิธีกลร่วมกับวิธีทางเคมี (mechanical and chemical treatment) • ง.วิธีทางชีววิทยา (biological treatment) เป็นการใช้เอนไซม์จากเชื้อรา และเห็ดในการย่อยพันธะของลิกนินที่เกาะกับเซลลูโลสหรือเฮมิเซลลูโลส

  17. หญ้าแห้ง หรือ เฮย์ (hay)คืออะไร พืชอาหารสัตว์ที่ตัดมาทำให้แห้งให้มีความชื้นเหลืออยู่ไม่เกิน 15 % • ทำหญ้าแห้งจากหญ้า ถั่วหรือจากหญ้าผสมถั่วก็ได้ • พืชควรเป็นพืชที่มีใบมาก ใบมีขนาดเล็ก และมีลำต้นที่ไม่อวบน้ำ • วิธีในการทำแห้งมี 3 วิธีคือ : การตัดและตากให้แห้งในแปลง : การตัดแล้วนำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม : การตัดแล้วนำมาผ่านลมร้อน

  18. หญ้าหมัก (silage)คืออะไร : พืชอาหารสัตว์ที่เก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม มีความชื้นพอเหมาะ นำมาหมักเก็บรักษาไว้ในสภาพสุญญากาศภายในถังหมัก (silo) หลักสำคัญ คือ - เลือกพืชที่มีความชื้นเหมาะสม (65-75%) - มีคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายสูง - เก็บรักษาในที่ที่ไม่มีอากาศให้เร็วที่สุด อาหารหยาบหมักที่ดี คือข้าวโพดหมัก ข้าวฟ่างหมัก และหญ้าหมัก • อาจเรียกหญ้าหมักว่าอาหารหยาบหมัก

  19. Haylage คืออะไร : อาหารหยาบหมักจากพืชที่มีความชื้น 40 –50 % เช่น ต้นข้าวโพดหลังจากเก็บฝัก หรือเก็บเมล็ดแล้ว มีวิธีการเช่นเดียวกับการทำอาหารหยาบหมักทั่วไป • ตัดพืชให้มีขนาดเล็ก • บรรจุลงในถังหมักที่มีหรือถุงพลาสติก • ทำให้อยู่ในสภาพสุญญากาศ เพื่อให้เกิดขบวนการหมักโดยจุลินทรีย์

  20. มันเส้น (cassava chips)คืออะไร คือหัวมันสำปะหลังสดที่นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากให้แห้ง • เป็นแหล่งพลังงานราคาถูก • การเลือกซื้อ :ให้สังเกตการปนปลอมจากทราย กิ่ง และลำต้นแห้งและเชื้อรา • การใช้เป็นอาหารโคไม่ควรนำไปบดหรือป่น เนื่องจากจะเป็นฝุ่นมาก • ในภาคเหนือก็หาซื้อได้ยาก มันเส้น มันอัดเม็ด

  21. ใช้มันเทศ (sweet potato)ในอาหารโคได้หรือไม่ • ใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารโคได้ หาซื้อได้ในเขตภาคเหนือ โดยทั่วไปมันเทศจะเป็นอาหารพลังงานสำหรับมนุษย์ การนำมันเทศมาใช้เป็นอาหารโค • เลือกช่วงเวลาที่มีราคาถูก • ใช้มันที่มีขนาดเล็ก • ควรมีการนำมาแปรรูปก่อน เช่นการนำมาตากแห้ง หรือ หมัก

  22. รำ (rice bran หรือ rice meal)คืออะไร • ผลพลอยได้จากการสีข้าวเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการเลี้ยงโคในภาคเหนือหาได้ง่าย มีคุณค่าทางอาหารดีพอควร แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ รำละเอียด รำหยาบ และรำสกัดน้ำมัน • ปัญหาของการใช้รำในอาหารสัตว์ คือ การเหม็นหืนของไขมัน โดยเฉพาะในรำละเอียดที่ไม่ได้สกัดน้ำมัน • การเลือกซื้อ: เลือกรำที่ไม่เป็นรา รำที่ไม่เป็นก้อน และไม่มีกลิ่นหืน

  23. ข้าวโพด (maize)ใช้เป็นอาหารโคได้อย่างไร • หาซื้อได้ง่ายในภาคเหนือ • ในอาหารโค : ควรบดก่อนที่จะใช้ เนื่องจากเมล็ดย่อยยาก และแป้งข้าวโพดมีการสลายตัวต่ำในกระเพาะรูเมน แต่ถูกย่อยได้ดีในลำไส้เล็ก • เป็นแหล่งพลังงานที่ดีสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เมล็ดข้าวโพด

  24. ข้าวฟ่าง ใช้เป็นอาหารได้หรือไม่ • เป็นอาหารพลังงานที่หาซื้อได้ในภาคเหนือเช่นกัน แต่ไม่นิยมใช้ • ข้าวฟ่างบางสายพันธุ์เช่นข้าวฟ่างที่มีเมล็ดสีแดง หรือน้ำตาล มีสารพิษคือ tannin เป็นสารที่มีผลทำให้การย่อยได้ของโปรตีนต่ำลง • ควรใช้ข้าวฟ่างเมล็ดสีเหลือง หรือขาว และบดก่อนใช้เลี้ยงโค เมล็ดข้าวฟ่าง

  25. กากน้ำตาล (molasses)คืออะไร • ผลพลอยได้จากการหีบอ้อยเพื่อทำน้ำตาลทราย • กากน้ำตาล- มีลักษณะเหนียว มีน้ำน้อย มีความหวาน มีกลิ่นหอม มี NFE และ K สูง แต่ขาดโภชนะสำคัญ เช่น S และ N • การใช้กากน้ำตาล - ไม่ควรใช้เกิน 25 % เนื่องจากจะทำให้สัตว์เกิดอาการท้องร่วง และจะทำให้สัตว์ได้รับโภชนะมีเพียงพอต่อความต้องการ

  26. การใช้กากน้ำตาลในอาหารโคการใช้กากน้ำตาลในอาหารโค • ใช้ผสมในอาหารข้น • ใช้เสริมอาหารในรูปอื่นได้ เช่นในรูปสารละลายยูเรีย-กากน้ำตาล -นำสารละลายมาราดฟางข้าวหรือวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ - ตั้งสารละลายทิ้งให้สัตว์เลียกินเองในคอก - ผสมกับแร่ธาตุทำเป็นอาหารก้อนให้สัตว์เลียกินอย่างอิสระ

  27. อะไรคืออาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนอะไรคืออาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน • อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน (protein supplement)เป็นอาหารที่มีเยื่อใยไม่เกิน 18 % แต่มีโปรตีนสูงกว่า 16 % • เป็นกลุ่มอาหารที่ทำให้ต้นทุนค่าอาหารสูง • แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ -โปรตีนจากสัตว์ -โปรตีนจากพืช -แหล่งโปรตีนที่เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน

  28. กากถั่วเหลือง (soybean meal)คืออะไร • คือ ผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ใช้เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญในอาหารสัตว์ • ในปัจจุบันเป็นกากถั่วเหลืองที่ผ่านการสกัดน้ำมันโดยใช้สารละลาย (solvent extract) มีโปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำกว่ากากถั่วเหลืองแบบอัดน้ำมัน (extrude extract) และแบบใช้สารเคมีสกัด (chemical extract) โดยทั่วไปมีโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 40-45% การปนปลอม: ปนเปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วลิสง กากถั่วลิสง เมลามีนและยูเรีย

  29. ปัญหาในการใช้กากถั่วเหลืองปัญหาในการใช้กากถั่วเหลือง • : มีราคาแพง • : มีการปลอมปน • : มีสารพิษตกค้าง - antitrypsin หรือ trypsin inhibitor ซึ่งยับยั้งการย่อยโปรตีน ทำให้ตับอ่อนทำงานมากเกินไป - haemagglutenin ทำให้มีการตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือดแดง

  30. กากถั่วลิสง (peanut meal)คืออะไร(ต่อ) • ปัญหาที่มักพบ คือการเหม็นหืน การมีเชื้อรา และการมีสารพิษalfatoxin • ไม่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารข้นลูกโค เนื่องจากความสมดุลของกรดอะมิโนมีน้อยกว่ากากถั่วเหลือง กากถั่วลิสงอัดน้ำมัน เมล็ดถั่วลิสง

  31. กากถั่วลิสง (peanut meal) • เป็นแหล่งโปรตีนที่เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมัน • กากถั่วลิสง มีราคาถูกกว่ากากถั่วเหลืองมาก • มีข้อเสียในด้านคุณภาพ :จากการปนปลอมเปลือกฝัก : จากขบวนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ

  32. กากเมล็ดฝ้าย (cottonseed meal) • คือผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมัน • : ไม่นิยมใช้ในอาหารลูกโค เนื่องจากขาด methionine, lysine และ cystine :มีแคลเซียมต่ำ • :อาจมีสารพิษ gossypol หลงเหลือได้ • แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมล็ดฝ้าย กากเมล็ดฝ้าย

  33. ใบกระถิน (ipil ipil )ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้หรือไม่ • ใช้เป็นแหล่งโปรตีนจากพืช วิธีใช้ - ตัดสดมาให้กิน - หรือใช้ใบแห้งผสมอาหารข้น • ปัญหาการใช้ใบกระถิน : การปลอมปนก้าน กิ่ง และใบพืชชนิดอื่น : มีสารพิษ mimosine และ tannin ใบกระถินสด

  34. อาหารที่เป็นแหล่งแร่ธาตุ (mineral supplement) • คือ อาหารที่เสริมแหล่งแร่ธาตุให้แก่สัตว์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม : อาหารเสริมแร่ธาตุหลัก : อาหารเสริมแร่ธาตุรอง • ในอาหารโคส่วนใหญ่การเสริมแร่ธาตุนิยมใช้ - แร่ธาตุก้อน - แร่ธาตุผง -กระดูกป่น ผสม เกลือ

  35. กระดูกป่น (bone meal) คืออะไร • คือผลพลอยได้จากโรงฆ่าสัตว์ • โดยทั่วไปจะมี Caและ Pในอัตราส่วน 2 :1 วิธีการใช้ : ตั้งทิ้งให้เลียกินเองอย่างอิสระ : ผสมกับเกลือเม็ดหรือเกลือป่นในอัตราส่วน 2 :1 : ผสมในอาหารข้น ใช้ในอัตรา 1-2 % : ผสมกับแร่ธาตุอื่นแล้วอัดเป็นก้อนแร่ธาตุ • การซื้อกระดูกป่นควรคำนึงถึงการปนปลอมเปลือกหอย ทราย และ ดิน

  36. กำมะถันผง (sulphur) ใช้เป็นอาหารโคได้หรือไม่ ใช้เป็นแหล่งของธาตุกำมะถัน ในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ เช่นฟางข้าว จะช่วยทำให้จุลินทรีย์สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนที่จำเป็นได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การเสริมกำมะถัน • ใช้ผสมในอาหารข้นในอัตราส่วน 0.1-0.2 %ในสูตรอาหาร • ผสมในแร่ธาตุก้อน • ผสมในอาหารที่มีกากน้ำตาลมากๆ

  37. การแปรรูปอาหารสัตว์ 1.ป้องกันการเลือกกินวัตถุดิบอาหารสัตว์ 2.เพิ่มความน่ากินของอาหาร เช่นการเสริมกากน้ำตาลในสูตรอาหารข้นเพื่อเพิ่มรสชาติ 3.เพิ่มความหนาแน่นของอาหาร เช่นการอัดอาหารเป็นเม็ด 4. เพิ่มการย่อยได้หรือการใช้ประโยชน์จากโภชนะในอาหาร เช่นการสับฟางข้าวให้มีขนาดเล็กลง

  38. การแปรรูปอาหารข้น • ใช้วิธีการบด • ผสมอาหาร • การอัดเม็ดอาหาร ประโยชน์ - ช่วยเพิ่มความน่ากิน - เพิ่มการใช้ประโยชน์จากโภชนะในอาหาร

  39. อาหารหยาบมีการแปรรูปอย่างไรบ้างอาหารหยาบมีการแปรรูปอย่างไรบ้าง • 1.การสับและการบดอย่างหยาบๆ • 2.การอัดเม็ดอาหารหยาบ • 3.การอัดก้อนอาหารหยาบ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดความยาวและความหนาของก้อนแตกต่างกันไป • 4.การแช่อาหารหยาบ หรือการอบอาหารหยาบ เช่นฟางอบยูเรีย

  40. อาหารหยาบมีการแปรรูปอย่างไรบ้างอาหารหยาบมีการแปรรูปอย่างไรบ้าง หญ้าแห้งอัดฟ่อน หญ้าแห้งอัดเม็ด ฟางอบยูเรีย

  41. สารต้านโภชนะ (antinutritional factor) • คือ กลุ่มของสารพิษที่อยู่ในอาหารสัตว์ หรือในพืชอาหารสัตว์ ที่เกิดขึ้นเองในพืชตามธรรมชาติ สารต้านบางชนิดจะแสดงความเป็นพิษ เมื่ออยู่ในตัวสัตว์ แต่บางชนิดอาจสลายตัวไปได้เองเมื่อถูกกับอากาศ หรือตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง • สารต้านโภชนะที่สำคัญได้แก่ protease inhibitor , lectin,tannin gossypol, mimosin, alfatoxin, oxalic acid, alkaloids และ hydrocyanic acid เป็นต้น

  42. ไมโมซิน (mimosin) คืออะไร คือ สารพิษที่พบมากในใบกระถิน • ไมโมซินสามารถเปลี่ยนเป็น 3,4 – Dihydroxypyridine ในกระเพาะรูเมน สารนี้มีผลทำให้ thyroxin ลดลง ต่อมไธรอยด์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น สัตว์จะกินอาหารลดลง การเจริญเติบโตลดลง และมีอาการขนร่วง เกิดขึ้น การทำลายพิษของไมโมซิน - การทำให้แห้ง การอบที่ 70 ๐ซ และ การแช่น้ำ

  43. อัลฟ่าท๊อกซิน(alfatoxin)คืออะไรอัลฟ่าท๊อกซิน(alfatoxin)คืออะไร • สารพิษที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดเช่น Aspergillus flavus, Aspergilus niger และ Pinicilium citrinum พบในถั่วลิสง และข้าวโพดที่มีความชื้นสูง • สารพิษทำให้เกิดตับอักเสบ หรือ ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง หรือเกิดไฟโบรซีส (fibrosis) ในตับของโค alfatoxin B1 จะยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในตับ ทำให้กรดอะมิโน leucine รวมตัวกับกรดอะมิโนอื่นเพื่อเป็นโปรตีนได้น้อยลง

  44. ออกซาเลส(oxalate)คืออะไร คือ สารพิษที่พบมากในฟางข้าว • การใช้ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบหลักนานๆ : สัตว์จะมีอาการกระดูกเสื่อม เนื่องจาก oxalate จะไปเกาะกับ Caทำให้เกิด Ca-oxalate ร่างกายจึงไม่สามารถนำแคลเซียมจากอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ : มีผลให้สมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายเสียไป

  45. กรดไฮโดรไซยานิก(HCN)คืออะไรกรดไฮโดรไซยานิก(HCN)คืออะไร • สารพิษที่พบในมันสำปะหลัง พบทั้งในหัวมัน ใบมัน และต้น มันสำปะหลังจะให้สารที่สามารถเปลี่ยนเป็น HCN ได้ 2 ชนิดคือ • - linamarin • - lotaustralin สารทั้งสองชนิดเป็นกลุ่มของ glucosides ถูกเปลี่ยนให้เป็น HCNHCN มีผลให้ O2ในเลือดไม่สามารถถูกนำไปในประโยชน์ได้

More Related