330 likes | 728 Views
เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ค.ศ. 1850 - 1950 (พ.ศ. 2393 - 2493). เอกสารอ้างอิง James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970 , Chs . 2-6 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2543), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
E N D
เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่งค.ศ. 1850 - 1950(พ.ศ. 2393 - 2493) EC460 Slide Set 1
เอกสารอ้างอิง • James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970, Chs. 2-6 • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2543), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย • Chris Dixon: The Thai Economy: Uneven Development and Internationalisation, Ch. 2 • นิรมล สุธรรมกิจ (2551), สังคมกับเศรษฐกิจ กรณีศึกษาประเทศไทย (2500 – 2545) บทที่ 5 EC460 Slide Set 1
ประเด็น สนธิสัญญาเบาวริ่งมีสาระสำคัญอย่างไร และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร คนไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศมากน้อยเพียงใด และบทบาทของคนต่างชาติ (รวมถึงคนจีนอพยพ) ในเศรษฐกิจไทยมีมากน้อยเพียงใด Ingram เห็นว่า “การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยไม่นำไปสู่ความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากนัก” หมายความว่าอะไร และเพราะเหตุใด EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring Treaty) มีผลสำคัญให้ไทยเริ่มเปิดประตูค้าขายกับต่างชาติอย่างเสรี • สยามในปี 1850 (ร. 4) : เศรษฐกิจแบบเกษตร ข้าวเป็นพืชหลัก นอกนั้นคือ อ้อย ฝ้าย พริกไทย ผลไม้และผักต่างๆ • อุตสาหกรรมน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • พอเลี้ยงตนเองได้ในด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่ม • ไม้สักและดีบุก: ผลิตโดยผู้ประกอบการชาวจีน • สยามค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านและจีน • ส่งออกสินค้าขั้นปฐม (ข้าว น้ำตาล และแร่ดีบุก) และนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม (สิ่งทอ) EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การส่งออกข้าวผันผวนมาก เพราะนโยบายและปริมาณการผลิต • การค้าระหว่างประเทศยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจ • ราชวงศ์และขุนนางผูกขาดในการค้าระหว่างประเทศ และเก็บภาษีการค้าในอัตราสูง • อำนาจผูกขาดบางอย่างขายให้พ่อค้าชาวจีน EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ร. 4 ยอมตกลงสนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring) ในปี 1855 โดยหวังให้อังกฤษคานอำนาจฝรั่งเศส (ล่าอาณานิคม) • ลดภาษีการค้าเหลือ 3% การค้าเสรี • ยกเลิกผูกขาดการค้า • ค้าฝิ่นได้ถูกต้องตามกฎหมาย EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring) ในปี 1855 • ประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง Most-favored-nation status(MFN) • อังกฤษได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (extraterritoriality) • ไทยยอมตกลงสนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกอื่นๆ ในเวลาต่อมา EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การผลิตและส่งออกข้าวและสินค้าอื่นๆ (ดีบุก ยางพารา และไม้สัก) ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก เมื่อการค้ากับต่างประเทศเสรีมากขึ้น • เริ่มเปลี่ยนสภาพจากการผลิตพอพึ่งตนเอง(self sufficiency) ไปสู่การผลิตตามความถนัด (specialization) ในสินค้าน้อยอย่าง EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ข้าวสำคัญเพิ่มขึ้น: 80% ของประชากรปลูกข้าว และ มีมูลค่า 60% ของการส่งออกทั้งหมด • พื้นที่ปลูกข้าวขยายก่อนในภาคกลาง และต่อมาขยายไปในภาคเหนือและอีสาน (บทบาทของรถไฟและการเลิกทาส) • การขุดคลองเพื่อชลประทานและขนส่ง EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีที่ดิน • คนไทยพอใจที่จะทำนา ยอมให้คนจีนทำหน้าที่ “พ่อค้าคนกลาง” • แรงงานในเกษตร : ประชากรขยายตัว และการเลิกทาส • แรงงานนอกเกษตร : แรงงานจีนอพยพ EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สินค้าส่งออกอื่นๆ : ดีบุก ไม้สัก และยางพารา • เกือบทุกขั้นตอนการผลิตและการค้าอยู่ในมือของต่างชาติ: • ดีบุก : ทุนจากยุโรปและจีน + แรงงานจีน • ไม้สัก: โรงเลื่อยโดยทุนยุโรปและจีน + แรงงานจีน • ยางพารา: ชาวสวนขนาดเล็กชาวไทยและจีน + พ่อค้าจีน EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สินค้านำเข้าสำคัญของไทยคือสิ่งทอ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (เพื่อการบริโภค) • ไทยนำเข้าสิ่งทอตั้งแต่สมัยอยุธยา • สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มท้องถิ่นที่ทำด้วยมือ ถูกทดแทนโดยสิ่งทอนำเข้าที่มีราคาถูกกว่า เมื่อการค้าเสรีมากขึ้น EC460 Slide Set 1
อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ในครัวเรือน) ในประเทศ หดตัว (แต่ต่อมากลับฟื้นหลังสงครามโลกที่ 2 และกำแพงภาษีนำเข้า กลายเป็นอุตสาหกรรมแบบโรงงาน) เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 EC460 Slide Set 1 14
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ในยุคนั้น ยังไม่มีโรงงานสิ่งทอขนาดใหญ่เพราะ ภาษีขาเข้าต่ำ ตลาดภายในยังเล็ก ขาดเงินลงทุนและแรงงานมีฝีมือ • แต่ต่อมาก็เริ่มมีโรงงานทอผ้าฝ้ายไม่กี่โรง ลงทุนโดยรัฐบาลและนักลงทุนชาวจีน EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นหลังมีสนธิสัญญา แต่ต่อมากลับลดลงเพราะภาษีการผลิต และราคาตลาดโลกตกต่ำ • ไทยกลับต้องนำเข้าน้ำตาลจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 1880 to 1950 • มีการผลิตน้ำตาลจากโรงงานของรัฐบาลอยู่บ้าง แต่ในปี 1950 ยังไม่มีแววว่าจะส่งออกได้ EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สินค้านำเข้าอื่น : “สินค้าผู้บริโภค”, ทั้งที่ฟุ่มเฟือยและจำเป็น • การนำเข้าสินค้าเริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น • มูลค่านำเข้าทั้งหมด = 10% ของ GNP ในปี 1950 EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การค้าต่างประเทศมีลักษณะ “แบบอาณานิคม” (“Colonial”) คือค้าขายกับจักรวรรดิ์อังกฤษ (British Empire) • ส่วนใหญ่บริษัทของประเทศตะวันตกเป็นผู้ดำเนินการค้าและขนส่งระหว่างประเทศ EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สาขาอุตสาหกรรมยังเล็กมาก: ในปี 1919 (พ.ศ. 2462)กรุงเทพฯ มี “โรงงาน” 7 แห่ง (ซีเมนต์ สบู่ บุหรี่) • กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ : โรงสี และโรงเลื่อย EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ทำไมอุตสาหกรรมยังเล็กมาก? • ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ทุน ผู้ประกอบการ และแรงงานมีฝีมือ • ภาษีนำเข้าต่ำ ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศไม่ได้ • ตลาดในประเทศยังเล็ก • ขาดแคลนไฟฟ้า (อาศัยแกลบเป็นเชื้อเพลิง) EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • โรงงานอุตสาหกรรมของเอกชน : ซีเมนต์ ใบยาสูบ ไม้ขีดไฟ สบู่ เบียร์ ฯ • ชาวจีนเป็นเจ้าของอยู่หลายแห่ง • รัฐบาลตั้งโรงงานเอง: กระดาษ ทอผ้า น้ำตาล บุหรี่ EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ใน 1952 (พ.ศ. 2495) รัฐบาลวางแผนจะตั้งอีก 20 โรงงาน • จอมพล ป. พิบูลสงคราม มุ่งลดอิทธิพลของชาวจีนและต่างชาติอื่นๆ – “ลัทธิชาตินิยม” (“สยาม” เป็น “ไทย”) • โรงงานของรัฐส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ : คอรัปชั่น การบริหารผิดพลาด ขาดทุน EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • บทบาทของชาวจีนในไทย สำคัญในการค้าและสาขานอกเกษตรอื่นๆ • ในทศวรรษ 1930’s: 80% ของการค้าในประเทศอยู่ในมือของพ่อค้าจีน • การร่วมมือกัน (ฮั้วกัน) ระหว่างพ่อค้าจีน เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันจากคนภายนอกวงการ EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ระหว่างปี 1820-1950: คนจีน 4 ล้านคนอพยพมาไทย • เป็นกำลังแรงงานสำคัญในกิจการนอกเกษตร • ระหว่างปี 1938-1941 (ระหว่าง WW2) : จอมพล ป. เริ่มใช้มาตรการต่อต้านชาวจีนในไทย (ปิดโรงเรียนภาษาจีน ฯลฯ) EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การผสมผสานกลมกลืนของชาวจีนให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย : วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี และเศรษฐกิจ • จีนในไทยกลมกลืนเข้ากับสังคมท้องถิ่นได้ดีที่สุด เทียบกับจีนในประเทศอื่นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ • ในปี 1950: ไทยมีเชื้อสายจีนอยู่ 3 ล้านคน (15% ของประชากร 20 ล้านคน) EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงมาก(“changes”) แต่ไม่มีความก้าวหน้า (“progress”) และการพัฒนา(“development”) มากนัก EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • การเปลี่ยนแปลง (“changes”): ใช้เงิน (money) มากขึ้น ผลิตตามถนัดมากขึ้น การแบ่งงานกันทำตามเชื้อชาติมากขึ้น (racial division of labor) และอัตราการขยายตัวของประชากรสูงขึ้น EC460 Slide Set 1
เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • ความก้าวหน้า (“progress”)ยังไม่มาก: การเพิ่มรายได้ต่อหัว • การพัฒนา (“development”) ยังไม่มากนัก: การใช้สินค้าทุน (เทียบกับแรงงาน) และเทคนิคการผลิตใหม่ๆ EC460 Slide Set 1
Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 คน “ไทย” ได้รับประโยชน์ไม่มาก เทียบกับชาวต่างชาติและชาวจีน คนไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ต่างชาติเป็นพ่อค้า นายทุนและเจ้าของโรงงาน เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 EC460 Slide Set 1 29