1 / 17

บทที่ 10

การคลังท้องถิ่น. บทที่ 10. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ 10.1 โครงสร้างและรูปแบบการปกครองรัฐบาลท้องถิ่น 10.2 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น 10.3 ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น

Download Presentation

บทที่ 10

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การคลังท้องถิ่น บทที่ 10 โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ 10.1 โครงสร้างและรูปแบบการปกครองรัฐบาลท้องถิ่น 10.2 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น 10.3 ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น 10.4 โครงสร้างทางการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น 10.5 ข้อสนับสนุนและข้อคัดค้านของการกระจายอำนาจทางการคลัง

  3. 10.1 โครงสร้างและรูปแบบการปกครองรัฐบาลท้องถิ่น -โครงสร้างการปกครอง คณะรัฐบาล ส่วนกลาง กระทรวงมหาดไทย กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ กรมการปกครอง ส่วนภูมิภาค จังหวัด อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล อบต. ส่วนท้องถิ่น กทม. เมืองพัทยา

  4. จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง • เมืองพัทยา 1 แห่ง • องค์การบริหารส่วนจังหวัด 75 แห่ง • เทศบาล 1,148 แห่ง (จากhttp://www.local.moi.go.th/thadsaban.xls) • องค์การบริหารส่วนตำบล 7,401 แห่ง (จากhttp://www.tambol.com/tambol/tambolall.asp)

  5. -รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 1)องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2)เทศบาล (ทศ.) 3)องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 4)กรุงเทพมหานคร 5)เมืองพัทยา

  6. การปรับบทบาทส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และบทบาทส่วนท้องถิ่น -ส่วนที่ซ้ำซ้อน เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง และทำเองได้ ให้/ถ่ายโอนให้ อปท.ทำ ความสัมพันธ์ทางด้านรายจ่าย -รัฐบาลจ่ายเป็นเงินอุดหนุน เงินรายได้ตามส่วนที่กฎหมายกำหนดให้ อปท. ความสัมพันธ์ทางด้านรายได้ -พรบ.กำหนดแผนฯเพิ่มสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นเมื่อเทียบกับรายได้รัฐบาล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ปี 2544 และ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ปี 2549 10.2 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น

  7. -ประมาณการรายได้ -ให้ อปท. เพิ่มรายได้ที่จัดเก็บเอง -จัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นผ่านการแบ่ง/จัดสรรภาษี -เพิ่มเงินอุดหนุนให้ อปท. -งบถ่ายโอนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค • การพัฒนาองค์กรกลางเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น • การติดตามตรวจสอบหลังการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  8. 10.3 ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น • ควรจำกัดแต่เฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นเท่านั้น • ควรเป็นการผลิตบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่นเท่านั้น • การที่จะมอบภาระหน้าที่ให้แก่ อปท. มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ -อาณาเขตที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ -ความรู้ ความสามารถของประชาชนที่เข้ามาบริหารงาน • ในทางการเมืองเพื่อให้อิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น การกระจายอำนาจทางการคลังเป็นเครื่องมือทาง

  9. 10.4 โครงสร้างทางการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น การเมืองของรัฐบาล • การกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะของไทย • โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น 1) รายได้ที่มาจากภาษีอากร 1.1) ภาษีที่รัฐบาลท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้เอง -ภาษีบำรุงท้องที่ เก็บจากมูลค่าของที่ดิน -ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากโรงเรือนและที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการพาณิชย์

  10. -ภาษีป้าย -อากรฆ่าสัตว์ 1.2) ภาษีที่รัฐบาลกลางจัดเก็บเพิ่มและจัดสรรให้ -ภาษีการค้า /ภาษีมูลค่าเพิ่ม(พ.ศ.2535) เก็บจากการค้าขายแลกเปลี่ยนต่าง ๆ -ภาษีเครื่องดื่ม -อากรมหรสพ -ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน -ภาษีซีเมนต์ 1.3) ภาษีที่รัฐบาลกลางจัดเก็บให้ เช่น ภาษียานพาหนะฯ

  11. 2) รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร -รายได้จากทรัพย์สินและเงินฝากธนาคาร -ค่าปรับค่าธรรมเนียม -ค่าบริการที่รัฐบาลท้องถิ่นเรียกเก็บจากการให้บริการ -เงินบริจาคของเอกชน 3) รายได้จากเงินอุดหนุนของรัฐบาลกลาง 3.1) เงินอุดหนุน ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เงินอุดหนุนทั่วไป จัดสรรให้ตามชั้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนประชากร/ความหนาแน่นของประชากร ขนาดพื้นที่ จำนวนหมู่บ้าน ตามมติอื่น ๆ

  12. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จัดสรรตามหลักเกณฑ์ให้เท่ากัน ให้ตามตัวแปร เช่น รายได้ จำนวนประชากร/ความหนาแน่นของประชากร ตามมติอื่น ๆ และทิศทางการจัดสรรงบประมาณ 3.2) การจัดสรรโดยการถ่ายโอนงาน/โครงการ/กิจกรรมจากส่วนกลางสู่ส่วนท้องถิ่น เริ่มปีงบประมาณ 2544 สัดส่วน 20 % ของรายได้รัฐบาลกลาง เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 3 % เป็น สัดส่วน 35 % ในปีงบประมาณ 2549 โดยการถ่ายโอนงบประมาณนั้นต้องอยู่ในแผนของ อปท. อปท. ทำแล้วไม่กระทบ อปท. อื่น สามารถควบคุมมาตรฐานได้ ไม่เป็นงานความมั่นคง/ต่างประเทศ/ยุติธรรม/การคลังของประเทศ อปท. มีความสามารถดำเนินการ อปท. ต้องบำรุงรักษางาน/กิจกรรมที่ได้รับการถ่ายโอน (หมายเหตุ สถิติข้อมูลการคลังท้องถิ่นดูเพิ่มเติมใน -http://web.nkc.kku.ac.th/manit/document/962241_962206/data_local_gov.xls -http://web.nkc.kku.ac.th/manit/document/962241_962206/total_revenue_local_gov_37-46.xls)

  13. 10.5 ข้อสนับสนุนและข้อคัดค้านของการกระจายอำนาจทางการ คลัง 10.5.1 ข้อสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลัง 1.เหตุผลและข้อสนับสนุนทางเศรษฐกิจ 1) ประสิทธิภาพในการจัดสรรบริการสาธารณะบางอย่าง (อย่างดี) มากกว่ารัฐบาลกลาง) เนื่องจาก (1) รัฐบาลท้องถิ่นรู้ความต้องการของประชาชนดี (2) รัฐบาลท้องถิ่นสามารถปรับการใช้จ่ายของตนให้เข้ากับฐานะทางการเงินและความเสียสละของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม >> การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด

  14. (3) สามารถผลิตสินค้าและบริการเหมาะกับขนาดและกำลังการผลิต >> เกิดประสิทธิภาพสูงสุด >> AC ต่ำสุด >> ประหยัดจากขนาด 2) ช่วยให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการเสียภาษีโดยสมัครใจมากขึ้น จากที่ได้เปิดโอกาสมีส่วนร่วมและเรียนรู้ชะตากรรมของตนเอง ทำให้มองเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเสียภาษี 2.เหตุผลทางการเมือง 1) เป็นรากฐานของการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (1) มีส่วนร่วมรับผิดชอบการปกครองตนเอง ผ่านการ

  15. เลือกผู้แทน การแสดงความคิดเห็น การเสนอตนเข้ารับใช้ท้องถิ่น มีการเปลี่ยนแปลงหรือถ่ายเทผู้นำ (2) เปิดโอกาสให้รัฐบาลท้องถิ่นใกล้ชิดประชาชน ทำให้ทราบปัญหา/ความต้องการ สามารถจ่ายเงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (3) การกระจายอำนาจและหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้รัฐบาลกลางมีเวลาในการแก้ไขปัญหาส่วนรวมมากขึ้น การบริหารงานดีขึ้น 2) เป็นรากฐานของการฝึกผู้นำทางการเมืองของประเทศ

  16. (1) เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจการเมืองเสนอตัวรับใช้สังคม พิสูจน์ความรู้/ความสามารถ/ซื่อสัตย์ เกิดการตรวจสอบการ ทำงาน สามารถสร้างผู้นำที่มีคุณภาพ (2) มีผู้นำมีคามรู้ความสามารถมาทำงาน ประชาชนได้รับประโยชน์ เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน 10.5.2 ข้อคัดค้านการกระจายอำนาจทางการคลัง 1.ประชาชนในท้องถิ่นอาจไม่มีความสามารถ ทำให้การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ แนวทางแก้ไข โดยการฝึกฝนประชาชน

  17. 2.ปัญหาการแผ่ขยายของบริการสาธารณะ 2.ปัญหาการแผ่ขยายของบริการสาธารณะ การผลิตบริการบางกรณีคนในท้องถิ่นอื่นได้รับประโยชน์ แต่ท้องถิ่นกลับไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้ คนในท้องถิ่นจึงแบกรับภาระค่าใช้จ่าย เช่น ขยะมูลฝอย แนวทางแก้ไข รัฐบาลกลางช่วย และส่งเสริมให้มีความร่วมมือกัน 3.ความแตกต่างทางการพัฒนาระหว่าง อปท. ความแตกต่างทางรายได้ อปท. ที่มีรายได้น้อยจะล้าหลัง อปท. ที่มีรายได้มากจะพัฒนาได้เร็ว งบประมาณของ อปท. เล็ก ๆ ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ งบพัฒนาต่ำ แนวทางแก้ไข รัฐบาลกลางให้เงินอุดหนุน (หมายเหตุ ดูข้อมูลเพิ่มเติมส่วนเอกสารเพิ่มเติม/ข้อมูล/บทความ/ข่าว -http://web.nkc.kku.ac.th/manit/document/962241_206.htm)

More Related