1 / 11

ประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบ ยาด้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ CM-Test

ประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบ ยาด้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ CM-Test. หลักสำคัญในการใช้ยาด้านจุลชีพ.

kolina
Download Presentation

ประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบ ยาด้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ CM-Test

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบยาด้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์CM-Testประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบยาด้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์CM-Test

  2. หลักสำคัญในการใช้ยาด้านจุลชีพหลักสำคัญในการใช้ยาด้านจุลชีพ การใช้ยาด้านจุลชีพในสัตว์ต้องมั่นใจว่ายาที่เลือกใช้นั้นให้ผลดีในการรักษาอาการทางคลินิกของสัตว์ที่ป่วยไม่ว่าจะเป็นการป่วยเฉพาะตัวหรือทั้งฝูงขณะเดียวกันต้องมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดสำหรับการเลือกใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นำมาประกอบในการวินิจฉัยอาทิเช่นสาเหตุของโรคอาการทางคลินิก(กมลชัย, 2545) การวินิจฉัยโรคโดยเทคนิคทางห้องปฏิบัติการมีความสำคัญเช่นเดียวกันสัตวแพทย์ควรมีข้อมูลที่ชัดเจนระดับหนึ่งโดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับผลความไวต่อตัวยาที่ใช้รักษาแบคทีเรียบางสายพันธุ์เช่น Erysipelotrix rhusiopathiae, สำหรับความไวต่อตัวยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียในกลุ่ม E.coli, Samonella spp. และ Staphylococci นั้นมีความแปรปรวนจึงต้องอาศัยผลจากห้องปฏิบัติการประกอบด้วย(จำเรียง, 2544) ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้ออย่างเฉียบพลันจำเป็นต้องรักษาเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อโรคอย่างเร่งด่วนการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพณเวลานั้นไม่อาจจะพึ่งผลการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเพราะจะทำให้ล่าช้าไม่ทันการดังนั้นสัตวแพทย์จะต้องเลือกใช้ยาต้านจุลชีพโดยอาศัยรายการยาที่ผ่านการทดสอบกับเชื้อต่างๆซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่แล้วหรืออาศัยประสบการณ์การใช้ยาต้านจุลชีพทุกชนิดจะต้องได้รับการสั่งจ่ายจากสัตวแพทย์เท่านั้นและขณะเดียวกันสัตวแพทย์จะต้องมีการติดตามผลและประเมินผลเพื่อให้ทราบผลของการใช้ยาและรวบรวมเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป (จำเรียง, 2544) นโยบายการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับรักษาโรคให้คำนึงถึงความสำคัญตามลำดับดังนี้ 1.เลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ตรงกับเชื้อโรคนั้นๆ 2.เลือกใช้ยาที่เคยใช้อยู่เดิมก่อนที่จะเลือกใช้ยาตัวใหม่ 3.ติดตามการดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์นั้นๆ 4.ผลการรักษาควรเป็นไปตามคาดหมายไว้ 5.ให้คำนึงถึงวิธีการใช้ยาเลือกใช้เฉพาะยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในการรักษา สัตว์ที่จะนำมาเป็นอาหารสำหรับมนุษย์เท่านั้น

  3. ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพ การใช้ยาต้านจุลชีพทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาตกค้างที่มีผลต่อสุขภาพเช่นการแพ้ยาการดื้อยาของจุลินทรีย์การก่อมะเร็งและความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ซึ่งการแพ้ยากลุ่ม Tetacyclines ในคนพบว่ายากลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็น Chelating agent สามารถรวมกับแคลเซียมอิออนภายหลังเข้าสู่ร่างกายและสะสมที่บริเวณฟันและกระดูกของร่างกายทำให้ฟันเปลี่ยนสีกระดูกไม่แข็งแรงโดยเฉพาะเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและหญิงมีครรภ์จากการศึกษาผลของยาซัลฟาพบว่ายาซัลฟามีอันตรายต่อระบบการสร้างเลือดทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกบิลลดลงรวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้นแล้วกลุ่มของยาซัลฟายังทำให้เกิดอาการน้ำลายไหลอาเจียนท้องเสียหายใจหอบตื่นเต้นและกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในสุนัขที่ได้รับ Sulfanilamide มากเกินไปซึ่งนอกจากในสัตว์แล้วยังพบอาการในคนด้วยคือหายใจหอบขากระตุกบางครั้งอาจเกิดโลหิตจาง ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากยาตกค้างในเนื้อก็คือ ประเทศไทยไม่สามารถส่งเนื้อหรือกู้งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศบางประเทศได้เช่นฮ่องกงญี่ปุ่นจีนเนื่องจากมีการตรวจพบสารต้านจุลชีพตกค้างซึ่งเป็นข้อรังเกียจและกีดกันสินค้าจึงเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทำให้สูญเสียรายได้มูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

  4. การตรวจหายาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพในเนื้อเยื่อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์การตรวจหายาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพในเนื้อเยื่อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การตรวจสอบโดยอาศัยหลักการยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย(Microbial Inhibitionassays) การทดสอบทางอิมมิวโน(Immuno assays) 3.การทดสอบโดยวิธีไมโคเบียลรีเซฟเตอร์(Microbial receptor assays) 4. การทดสอบทางเคมีฟิสิกส์(Physicochemical Method)

  5. หลักการของชุดตรวจสอบ CM-Test เปลี่ยนสีของ Bromocresol B. stearothermophillus Nutrient Agar Bromocresol purple -vc +vc แบคทีเรียแบ่งตัว เกิดสภาพ Acidity ยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย สีของ Bromocresol คงเดิม เป็นการนำเอาสปอร์ของแบคทีเรีย Bacillus stearothermophilllus ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมและอำนวยต่อการซึมผ่านของสารต้านจุลชีพและการเจริญเติบโตของสปอร์โดยบรรจุอยู่ในหลอดพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตรและสูง 4 เซนติเมตรเมื่อหยดสารสกัดจากตัวอย่างเนื้อลงไปในชุดทดสอบ 0.1 มิลลิลิตรแล้วนำไปอบเพาะที่อุณหภูมิ 65  1 องศาเซลเซียสจะสามารถอ่านผลได้ภายใน 3-4 ชั่วโมงถ้าสีของชุดตรวจสอบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแสดงว่าตัวอย่างไม่มีสารต้านจุลชีพตกค้างอยู่แต่ถ้ามีสีของชุดตรวจสอบยังคงเป็นสีม่วงแสดงว่ามีสารต้านจุลชีพตกค้างอยู่และหากสีของชุดตรวจสอบเป็นสีม่วงด้านบนและมีสีเหลืองด้านล่างหรือสีม่วงจางลงแต่ไม่เป็นสีเหลืองแสดงว่าในตัวอย่างเนื้อมียาตกค้างในปริมาณต่ำกว่าความเข้มข้นที่ CM-Test สามารถตรวจพบ 100 % ดังภาพที่ 1 (ธงชัยและคณะ, 2545) หยอดสารสกัดจากเนื้อตัวอย่าง 0.1 มล. Incubate 65  1 องศาเซลเซียสนาน 3-4 ชม.

  6. เป็นวิธีการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพในเนื้อเยื่อโดยใช้หลักการ Microbial inhibition plate assay ทำการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างให้มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 มิลลิลิตรและมีความหนาประมาณ 4-6 มิลลิลิตรวางลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Bacillus subtilis ใน pH ที่ 6.0 7.2 และ 8.0 และ Micrococcus Iutcus ใน test agar pH 8.0 ทำการอ่านผลหลังจากอบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสนาน 18-24 ชั่วโมงตัวอย่างที่มี Inhibition Zone หรือ Clear Zone ขนาดเกิน 2 มิลลิลิตรจากขอบชิ้นเนื้อแสดงว่ามียาต้านจุลชีพตกค้างดังภาพ (Okcrman et al 1998 อ้างโดยธงชัยและคณะ, 2545) European Four Plate Test (EFPT)

  7. วางชิ้นเนื้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิลิตรและหนา 4-6 มิลลิลิตรลงบนจานเพาะเชื้อ Plate 1 Plast 2 plate 3 plate 4 B.subtilis B.subtilis B.subtilis M.lutes + + + + Test agear pH 6 Test agear pH 7.2 Test agear pH 8 Test agear pH 8 อบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสนาน 18-24 ชั่วโมงสำหรับ B.subtilis อบเพาะเชื้อที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสนาน 18-24 ชั่วโมงสำหรับ M.luteus มี Clear Zone รอบแผ่นเนื้อขนาดเกิน 2 ม.ม. ไม่มี Clear Zone หรือมี Clear Zone แสดงว่ามีสารต้านจุลชีพตกค้างอยู่หรือมี Clear Zone รอบแผ่นเนื้อต่ำกว่า 2 มิลลิลิตรแสดงว่าไม่มียาต้านจุลชีพตกค้างอยู่ อ่านผล

  8. Microbial Inhibition disk (MIDA) เป็นวิธีการทดสอบโดยใช้กระดาษกรองเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตรจุ่มสารสกัดตัวอย่างเนื้อ(ทำการสกัดตัวอย่างเนื้อด้วย Citric Acid-Acetone Buffer) แล้ววางลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ Micrococcus Luteus ใน Antimicrobial test media 5 (AM 5 ), Bacillus Subtilis ใน AM 5 และ Bacillus mycoides ใน AM 8 ทำการอ่านผลแล้วจากการอบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียสนาน 18-24 ชั่วโมงตัวอย่างที่มี Inhibition Zone หรือ Clear Zone ขนาดเกิน 2 มิลลิลิตรจากขอบกระดาษกรองแสดงว่ามียาต้านจุลชีพตกค้างดังภาพที่ 3 (ดวงดาว, 2543 อ้างโดยธงชัยและคณะ, 2545 )

  9. ทำการสกัดตัวอย่างเนื้อด้วย Citric acid-Acetone Buffer ใช้กระดาษกรองเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. จุ่มสารสกัดจากเนื้อวางบนจานเพาะเชื้อ Plate 1 ate 2 Plate 3 M.luteus B.subtilis B.mycoides + + + AM 5 AM 5 AM 8 อบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสนาน 18-24 ชั่วโมง อ่านผล มี Clear Zone ขนาดเกิน 2 ม.ม. ไม่มี Clear Zone หรือมีขนาดต่ำกว่าจากขอบ กระดาษกรองแสดงว่ามี 2 ม.ม. แสดงว่าไม่มียาต้านจุลชีพตกค้าง

  10. เปอร์เซ็นต์การตรวจพบยาต้านจุลชีพในตัวอย่างเนื้อไก่(300 ตัวอย่าง) และเนื้อสุกร(300 ตัวอย่าง) โดยใช้ชุดตรวจสอบ CM-Test เปรียบเทียบกับวิธี EFPT และ MIDA ที่มา : ธงชัยและคณะ (2545) จากกราฟจะเห็นว่าชุดตรวจสอบ CM-Test สามารถตรวจสอบพบการตกค้างของยาต้านจุลชีพในตัวอย่างเนื้อไก่ได้ 12.3 เปอร์เซ็นต์ซึ่งดีกว่าการใช้วิธี EFPT และ MIDA มากเนื่องจาก 2 วิธีหลังสามารถตรวจสอบการตกค้างของยาต้านจุลชีพในตัวอย่างเนื้อไก่เดียวกันได้ 0 และ 1.7 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับเช่นเดียวกับการตรวจหาการตกค้างของยาต้านจุลชีพในตัวอย่างเนื้อสุกร CM-Test สามารถตรวจพบการตกค้างของยาจุลชีพในตัวอย่างเนื้อสุกรได้ 9.3 เปอร์เซ็นต์ส่วนวิธี EFPT และ MIDA สามารถตรวจพบการตกค้างของยาจุลชีพในเนื้อสุกรเดียวกันได้ 2 เปอร์เซ็นต์และ 2.7 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับแสดงว่าชุดตรวจสอบ CM-Test มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างในตัวอย่างเนื้อไก่และเนื้อสุกรได้ดีกว่าวิธีการEFPT และ MIDA เมื่อทำการตรวจสอบยืนยันตัวอย่างเนื้อไก่และเนื้อสุกรที่ให้ผลบวกจากการตรวจด้วย CM-Test โดยวิธี Charm-TestTMเพื่อตรวจสอบว่าเป็นยากลุ่ม Beta-lactams,Tetracyclines และSulfonamidesพบว่าเป็นการตกค้างของยาต้านจุลชีพกลุ่ม Sulfonamindea 58.6 และ 38.1 เปอร์เซ็นต์ในตัวอย่างเนื้อไก่และเนื้อสุกรตามลำดับและยาในกลุ่ม Tetracyclines ร่วมกับ Sulfonamides ในตัวอย่างเนื้อสุกร 52.4 เปอร์เซ็นต์ในตัวอย่างที่ตรวจไม่พบกลุ่มยาดังกล่าวอาจมาจากยากลุ่มอื่นซึ่งไม่ได้ทำการตรวจเช่นยาในกลุ่ม Aminoglycosides , Fluoroquinolones

  11. สรุป ชุดตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างในตัวอย่างเนื้อ CM-Test มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อได้ดีกว่าวิธีการ EFPT และ MIDA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะจากการตรวจสอบหายาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อไก่(300 ตัวอย่าง) และเนื้อสุกร(300 ตัวอย่าง) ชุดตรวจสอบ CM-Test สามารถตรวจพบยาตกค้าง 12.3 % ในขณะที่วิธีการ EFPT และ MIDA สามารถตรวจพบได้เพียง 0, และ 1.7% เท่านั้นแสดงว่าชุดตรวจสอบ CM-Test มีประสิทธิภาพในการตรวจยาตกค้างได้ดีกว่า EFPT และ MIDA และยังใช้เวลาในการตรวจสอบน้อยกว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากสามารถทำการตรวจในภาคสนามได้อีกทั้งยังสามารถนำเลือดและปัสสาวะของสัตว์มาตรวจหายาตกค้างก่อนนำสัตว์ไปจำหน่ายหรือส่งโรงฆ่าสัตว์ได้และ CM-Test ยังมีขีดความสามารถในการตรวจสูงมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าชุดตรวจสอบของประเทศดังนั้นในอนาคตชุดตรวจสอบ CM-Test น่าจะเป็นชุดตรวจสอบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและสามารถนำมาแทนวิธีการตรวจแบบ EFPT และ MIDA ได้

More Related