1 / 41

นิเวศวิทยา Ecology

นิเวศวิทยา Ecology. ฐปน ชื่นบาล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. Ecology มาจากภาษากรีก ‘ oikos’ = บ้านหรือที่อยู่อาศัย ‘logos’ = วิชาหรือวิทยาศาสตร์. ความหมาย.

landen
Download Presentation

นิเวศวิทยา Ecology

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิเวศวิทยาEcology ฐปน ชื่นบาล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. Ecology มาจากภาษากรีก ‘oikos’ = บ้านหรือที่อยู่อาศัย ‘logos’ = วิชาหรือวิทยาศาสตร์

  3. ความหมาย • นิเวศวิทยาเป็นวิชาที่กล่าวถึงสิ่งมีชีวิต (organism) กับสิ่งแวดล้อม (environment) หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกันหรือสิ่งไม่มีชีวิต

  4. สังคม (Community) หมายถึงประชากร (Population) ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่พบในเนื้อที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น สังคมของป่าผลัดใบ หรือสังคมทุ่งนา เป็นต้น • ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของสมาชิกของสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน ที่พบในเนื้อที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ประชากรของแมลงหวี่ในขวดเพาะเลี้ยง หรือประชากรของกวางป่าในเขาใหญ่ • ที่อยู่อาศัย (Habitat) คือสถานที่เฉพาะในธรรมชาติที่จะพบพืชหรือสัตว์แต่ละชนิด • Niche หน้าที่ที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดครอบครองในสังคม เช่นทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้บริโภค

  5. บทบาทของวิชานิเวศวิทยาบทบาทของวิชานิเวศวิทยา • วิชานิเวศวิทยามีการคลอบคลุมเนื้อหากว้างขวางมาก และเข้าไปมีบทบาทในทุกสาขาวิชาของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น - นิเวศวิทยาป่าไม้ (forest ecology) - นิเวศวิทยาสัตว์ป่า (wildlife ecology) - นิเวศวิทยาทุ่งหญ้า (range ecology) - นิเวศวิทยามนุษย์ (human ecology) etc.

  6. บทบาทการวางแผนการใช้ทรัพยากรบทบาทการวางแผนการใช้ทรัพยากร • การนำวิชานิเวศวิทยามาใช้วางแผนการใช้ทรัพยากรให้ถูกต้องตามหลักอนุรักษ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมที่มีเสถียรภาพ - ต้องเป็นสังคมที่สร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศน้อยที่สุด - ต้องเป็นสังคมที่อนุรักษ์ไว้ซึ่งแร่ธาตุ พลังงาน และทรัพยากร อื่น ๆ ให้ได้มากที่สุด คือต้องใช้ปัจจัยในโลกอย่างประหยัดที่สุด - ประชากรที่เพิ่มขึ้นจะต้องมีอัตราส่วนสมดุลกับที่ตายไปหรือ สมดุลกับความสามารถของทรัพยากรและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่จะ รองรับได้

  7. - เป็นสังคมที่สมาชิกแต่ละหน่วยอยู่ด้วยความพอใจโดยไม่ถูกบีบบังคับ

  8. การศึกษานิเวศวิทยา Organism Population Community Ecosystem Biome Ecosphere

  9. ระบบนิเวศ • หน่วยการทำงานที่สำคัญที่สุด แสดงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการลำดับขั้นการกินแบบต่าง ๆ ตลอดจนการหมุนเวียนของสารแร่ธาตุ และการถ่ายทอดพลังงานจนทำให้เกิดองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เป็นระบบที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน

  10. องค์ประกอบของระบบนิเวศองค์ประกอบของระบบนิเวศ • ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Components) แบ่งได้ 3 ประเภท 1.1 อนินทรียสาร (Inorganic substance) องค์ประกอบที่สำคัญในสิ่งมีชีวิต เช่น C N P ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของแร่ธาตุในวัฎจักรชีวธรณีเคมี (Biogeochemical cycle)

  11. 1.2อินทรียสาร (Organic compound) สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน 1.3 ภูมิอากาศ (Climate) ปัจจัยจำกัด (Limiting factor) เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น เป็นต้น

  12. ปัจจัยจำกัด (Limiting Factors) • กำหนดเฉพาะปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ปัจจัยทางเคมี-ฟิสิกส์ (Physiochemical Factors) ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก คือ เป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตการดำรงชีวิต และการแพร่กระจาย

  13. Liebig’s Law of the Minimum • สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการแร่ธาตุและสภาวะแวดล้อมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน แต่ความต้องการนี้จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าต่ำสุดที่แต่ละสปีชีส์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งถ้าต่ำไปกว่านี้ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นตายไป • ต่อมาพบว่าปริมาณของแร่ธาตุอาหารและปัจจัยจำกัดที่มากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตตายเช่นเดียวกัน Limit of Tolelanceกลายเป็นกฏ Shelford’s Law of Tolerance

  14. หลักเกณฑ์ทั่วไปของ Law of Tolerance 1. สิ่งมีชีวิตอาจทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยจำกัดชนิดหนึ่งได้ในช่วงที่กว้าง และอาจทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยจำกัดอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่แคบ 2. สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยจำกัดทุกปัจจัยได้ในช่วงที่กว้าง จะสามารถแพร่กระจายได้กว้าง 3. ปัจจัยจำกัดแต่ละปัจจัยจะมีความสัมพันธ์กันโดยตรง เช่น หญ้าบางชนิดถ้าปริมาณของไนโตรเจนไม่เพียงพอ จะมีผลต่อความทนทานของการขาดน้ำ

  15. 2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic components) 2.1 จำแนกตามการสร้างอาหาร 2.1.1 สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง (Autotrophic organism) : Photosynthesis/Chemosynthesis) 2.1.2สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง (Heterotrophic organism)

  16. 2.2 จำแนกตามการกินอาหารหรือถ่ายทอดพลังงาน (tropic niche) 2.2.1 ผู้ผลิต (Producer) 2.2.2 ผู้บริโภค (Consumer) Herbivore Carnivore Omnivore Scavenger

  17. 3. ผู้ย่อยอินทรียสาร รา แบคทีเรีย

  18. ประเภทของระบบนิเวศ • ระบบนิเวศอิสระ(Isolated ecosystem) ระบบนิเวศที่ไม่มีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในระบบนิเวศกับ สิ่งแวดล้อมภายนอก • ระบบนิเวศปิด (Closed ecosystem) ระบบนิเวศที่มีการถ่ายทอดพลังงาน แต่ไม่มีการถ่ายทอดสารอาหารใน ระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น อ่างเลี้ยงปลา

  19. ระบบนิเวศเปิด (Opened ecosystem) ระบบนิเวศที่มีการถ่ายเทพลังงานและสารอาหารภายในและภายนอก ระบบนิเวศ ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์ ระบบนิเวศที่ขาดองค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดไป เช่นระบบนิเวศใน ทะเลลึกมาก ๆ (Abyssal ecosystem) จะมีผู้บริโภค ระดับต่าง ๆ และผู้ย่อยสลาย แต่จะไม่มีผู้ผลิต

  20. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ • การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ อาศัยขบวนการที่สำคัญ 3 ขบวนการ คือ 1. การสังเคราะห์แสง/การผลิต การเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมีในรูปสารอาหาร ในเนื้อเยื่อผู้ผลิต 6 CO2 + 12 H2O 6(CH2O) + 6H2O + 6O2

  21. 2. การหายใจ ขบวนการให้พลังงานจากการ Oxidation ของสิ่งมีชีวิต มี 3 แบบ คือ 2.1 การหายใจที่ใช้ก็าซออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็คตรอน (Aerobic Respiration) 2.2 การหายใจที่ใช้สารอนินทรีย์เป็นตัวรับอิเล็คตรอน (Anaerobic Respiration) 2.3การหายใจที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวรับอิเล็คตรอน (Fermentation)

  22. 3. การย่อยสลาย การสลายซากสิ่งมีชีวิตให้กลับไปสู่สภาพที่ผู้ผลิตจะใช้ได้

  23. พลังงานในระบบนิเวศ SUN Radiant energy Producer Heat Chemical Energy Consumer and Decomposer Heat Mechanical Energy

  24. แบบแผนการถ่ายทอดพลังงานแบบแผนการถ่ายทอดพลังงาน Food Chain : ลูกโซ่อาหาร 3 แบบ • แบบจับกิน (Grazing food chain) พืช ผู้บริโภคขั้นที่ 1ผู้บริโภคขั้นที่ 2 • แบบเศษอินทรีย์ (Detritus food chain) เศษใบไม้ปู กุ้ง หอยปลา นก

  25. 3. แบบพาราสิต (Parasitic food chain) นกไรนกโปรโตซัว

  26. อัตราการผลิตในระบบนิเวศอัตราการผลิตในระบบนิเวศ 1. อัตราการผลิตปฐมภูมิรวม GPP อัตราการสังเคราะห์แสงทั้งหมด + สารอินทรีย์ที่ใช้ในการหายใจ ภายในช่วงเวลาที่วัด 2. อัตราการผลิตปฐมภูมิสุทธิ NPP อัตราการเก็บสะสมพลังงานในรูปสารอินทรีย์ในพืช ซึ่งหักปริมาณสาร อินทรีย์ที่ใช้ในการหายใจแล้ว

  27. 3. อัตราการผลิตทุติยภูมิ อัตราการเก็บสะสมพลังงานในรูปสารอินทรีย์ระดับผู้บริโภค 4. อัตราการผลิตสุทธิของชุมชน อัตราการเก็บสะสมอินทรียสารที่เหลือจากการใช้โดยผู้บริโภคแล้วใน ช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดให้

  28. โครงสร้างลำดับขั้นบริโภคและปิรามิดนิเวศโครงสร้างลำดับขั้นบริโภคและปิรามิดนิเวศ ปิรามิดนิเวศ ปิรามิดของจำนวน (Pyramid of number) ปิรามิดของมวล (Pyramid of biomass) ปิรามิดของพลังงาน (Pyramid of energy)

More Related