1 / 68

โดย นิตยา ศรีเกิด ผู้อำนวยการกองคลัง

เอกสารประกอบการจัดประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานบริหาร ความเสี่ยงกำกับและควบคุมภายใน สำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2554 “เรื่อง การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management)” วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554. โดย นิตยา ศรีเกิด ผู้อำนวยการกองคลัง. Page 2.

lave
Download Presentation

โดย นิตยา ศรีเกิด ผู้อำนวยการกองคลัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการจัดประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานบริหาร ความเสี่ยงกำกับและควบคุมภายในสำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2554“เรื่อง การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)”วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 โดย นิตยา ศรีเกิดผู้อำนวยการกองคลัง

  2. Page 2 หัวข้อการบรรยาย  การนำการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในภาคราชการ  ความหมายของการบริหารความเสี่ยง  วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง  องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

  3. Page 3 หัวข้อการบรรยาย ...(ต่อ)...  แนวทางในการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง  บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง  ข้อจำกัดของการบริหารความเสี่ยง  ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง

  4. Page 4 ที่มาของการนำ Risk Managementมาใช้ในภาคราชการ

  5. Page 5 ทำไมต้องนำ Risk Management มาใช้ในภาคราชการ? เพราะพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (Good Governance : GG) ที่มุ่งหวังให้การบริหารราชการเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก

  6. Page 6 เป้าหมายของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 1 เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3 มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า 4 ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น 5 ปรับปรุงภารกิจให้ทันต่อสถานการณ์ 6 ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก 7 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

  7. Page 7 ความเชื่อมโยงของ Risk Management กับ GG การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย จึงมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หรือ GG

  8. Page 8 ความเชื่อมโยงของการบริหารความเสี่ยงกับ GG เป้าหมายของ GG เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ การดำเนินงานมีประสิทธิภาพคุ้มค่า การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือผลักดันการดำเนินงาน

  9. Page 9  ความหมายของการบริหารความเสี่ยง

  10. Page 10 ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดปัญหา/อุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้เป้าประสงค์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ จนกระทั่งไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร

  11. Page 11 ความเสี่ยง คือ โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบให้การดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ความเสี่ยง คือ โอกาสของบางสิ่ง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์/เป้าหมาย โดยวัดจากผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดขึ้น ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ...(ต่อ)...

  12. Page 12 ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ...(ต่อ)... ความเสี่ยง คือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นและส่งผลให้องค์กรไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น (Potential Event) และมีผลทำให้องค์กรเสียหาย หรือไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านการเงิน และด้านการปฏิบัติงาน

  13. Page 13 ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ...(ต่อ)... ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

  14. Page 14 ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ...(ต่อ)... ความเสี่ยง (Risk) มีคำจำกัดความที่แตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน และตามความเชี่ยวชาญและอาชีพของผู้ให้คำจำกัดความ แต่สรุปสุดท้ายแก่นของความหมายของคำว่าความเสี่ยงที่เหมือนกันคือ ความไม่แน่นอนที่อาจนำไปสู่ความสูญเสีย

  15. Page 15 - COSO:The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission - COSOคือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมกันจัดตั้งคณะกรรมการในนามของ COSO เพื่อพัฒนาการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกำกับดูแลกิจการที่ดี COSO คือใคร ?

  16. Page 16 COSO เกิดจากการรวมตัวของสถานบันต่าง ๆ 5 สถาบันในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1. สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute of certified Public Accountant:ALCPA) 2. สมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (The Institute of Internal Auditors : IIA) 3. สมาคมผู้บริหารการเงิน (Financial Executives Institute : FEI) 4. สมาคมนักบัญชีแห่งสหรัฐอเมริกา (American Accounting Association : AAA) 5. สมาคมนักบัญชีเพื่อการบริหาร (Institute of Management Accountants : IMA) COSO คือใคร ? ...(ต่อ)...

  17. Page 17 COSO เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์ในการจัดทำกรอบโครงสร้างการควบคุมภายในที่ธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานมานานกว่าทศวรรษ ปี 2544 COSO ได้จัดทำกรอบการบริหารความเสี่ยงเพื่อใช้โดยทั่วไปในองค์กรและหลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการหารือกับ กลุ่มธุรกิจในหลายประเทศ COSO ได้แต่งตั้งให้ Price Water House Coopers เป็นผู้เขียนกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กร (Enterprise Risk Management Framework : ERM) COSO มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงอย่างไร ?

  18. Page 18 ปี พ.ศ. 2547 COSO ได้ร่วมกับ Price Water House Coopers ได้พัฒนากรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ (Enterprise Risk Management Framework) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการนำระบบบริหารความเสี่ยงไปใช้ในองค์กรต่าง ๆ กรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรฉบับสากล ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวทาง ที่สำคัญในการส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงและเป็นหลักปฏิบัติ ที่เป็นสากล มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 16 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย COSO มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงอย่างไร ? ...(ต่อ)...

  19. Page 19 ปี 2544 สตง. กำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องจัดทำระบบ ควบคุมภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้ ครบ 5 องค์ประกอบของ COSO ปี 2549 - 2550 สำนักงาน กพร. กำหนดให้ระดับความสำเร็จของ การจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงเป็นตัวชี้วัดเลือก ในการจัดทำคำรังรองฯ ของกรม ปี 2552 - 2554 สำนักงาน กพร. ได้บูรณาการตัวชี้วัด การบริหาร ความเสี่ยงไปอยู่ใน PMQA หมวด 2 COSO เข้ามามีบทบาทกับภาครัฐอย่างไร ?

  20. Page 20 การบริหารความเสี่ยงหมายถึงอะไร การบริหารความเสี่ยง หมายถึง วิธีการจัดการที่เป็นไปเพื่อการคาดการณ์และลดผลเสียความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริหารความเสี่ยง เป็นการท้าทายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานของโครงการแต่ละขั้นตอนไว้ก่อนล่วงหน้า

  21. Page 21 การบริหารความเสี่ยงหมายถึงอะไร ...(ต่อ) การบริหารความเสี่ยง เป็นกลวิธีที่เป็นเหตุเป็นผลที่นำมาใช้ในการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดการ ติดตาม และสื่อสารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือกระบวนการดำเนินงานขององค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

  22. Page 22 แนวคิดพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงขององค์กร 1 เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร 2 กำหนดขั้นตอนและนำไปใช้โดยบุคลากรทุกระดับในองค์กร 3 ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร 4 นำไปใช้ทั่วทั้งองค์กร ทุกระดับ 5 บริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 6 ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่สมบูรณ์ 100% 7 มุ่งสู่การบรรลุวัตถุประสงค์

  23. Page 23 การบริหารความเสี่ยงขององค์กร(Enterprise Risk Management : ERM) ERM หมายถึง กระบวนการซึ่งคณะกรรมการ ผู้บริหารและบุคลากรอื่นๆขององค์กรกำหนดขึ้น และนำมาใช้ในการกำหนด กลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กรได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อองค์กร รวมทั้งการจัดการความเสี่ยงนั้นให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

  24. Page 24 การบริหารความเสี่ยงขององค์กร(Enterprise Risk Management : ERM) ประเภทของความเสี่ยงภาครัฐ แบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ S :Strategic 2. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ O : Operation 3. ความเสี่ยงด้านรายงาน F: Financial 4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ C : Compliance

  25. Page 25  วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง

  26. Page 26 วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1 ด้านกลยุทธ์ (Strategic : S)เป้าหมายระดับสูง ต้องสอดคล้องและสนับสนุนพันธกิจขององค์กร 2 ด้านการปฏิบัติการ (Operation : O)การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ

  27. Page 27 วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง ...(ต่อ)... 3 ด้านรายงาน (Financial : F)ความน่าเชื่อถือของรายงานทั้งที่เป็นรายงานการเงินและไม่ใช่รายงานการเงิน 4 ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance : C)การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  28. Page 28 วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง ...(ต่อ)... วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์ และด้านการปฏิบัติการ นอกจากปัจจัยภายในแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรด้วย เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี แต่สำหรับวัตถุประสงค์ด้านความน่าเชื่อถือของรายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เป็นปัจจัยอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กร

  29. Page 29 กรอบการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. วัฒนธรรมองค์กร (Culture) 2. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง (Structure) 3. กระบวนการ (Process) 4. ปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure)

  30. Page 30 วัฒนธรรมองค์กร - วัตถุประสงค์ - นโยบาย - กลยุทธ์ - ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) กรอบการบริหารความเสี่ยง ...(ต่อ)... โครงสร้างการบริหาร ความเสี่ยง - หน่วยงาน/คณะกรรมการ (Committees) - สายการรายงาน - บทบาทความรับผิดชอบ - ทักษะ/บุคคลากร ปัจจัยพื้นฐาน - วิธีการ - ระบบ - เครื่องมือ - ข้อมูลสำหรับผู้บริหาร กระบวนการ - การบ่งชี้วัดความเสี่ยง/การวัด ความเสี่ยง - การกำหนดขอบเขต - การติดตามความเสี่ยง - การระบุปัญหา (Issue Escalation)

  31. Page 31 องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง(ตามกรอบแนวคิดของ COSO)

  32. Page 32 องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1 สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) 3 การระบุเหตุการณ์ (Event Identification) 4การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 5 การตอบสนองต่อความเสี่ยง (Risk Response) 6กิจกรรมควบคุม (Control Activities) 7สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) 8 การติดตามประเมินผล (Monitoring)

  33. Page 33 1 สภาพแวดล้อมภายในองค์กรประกอบด้วย • ปรัชญาเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงขององค์กร • กำหนดระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ • การกำกับดูแลของคณะกรรมการ • ความซื่อสัตย์ คุ้มค่าแห่งจริยธรรม • ความสามารถของบุคลากร • วิธีการที่ผู้บริหารมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ • การจัดโครงสร้างองค์กร • การพัฒนาบุคลากร

  34. Page 34 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะทำให้สามารถระบุเหตุการณ์ ประเมินความเสี่ยง และตอบสนองความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิผล วัตถุประสงค์จะต้องสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ OBJ

  35. Page 35 3 การระบุเหตุการณ์ เป็นการระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นว่า หากเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว จะมีผลกระทบที่เป็นโอกาสหรือเป็นอุปสรรคในการดำเนินกลยุทธ์ให้สำเร็จและการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบในเชิงลบ หรือเป็นอุปสรรค คือความเสี่ยงซึ่งฝ่ายบริหารต้องประเมินและตอบสนอง เหตุการณ์ที่มีผลกระทบในเชิงบวกคือโอกาส ซึ่งฝ่ายบริหารจะนำโอกาสนั้นไปพิจารณาในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์

  36. Page 36 4 การประเมินความเสี่ยง เป็นการประเมินเหตุการณ์จาก 2 มุมมอง ได้แก่ โอกาสที่จะเกิด และผลกระทบ โอกาสที่จะเกิด คือ ความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น ผลกระทบ คือ ผลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้น

  37. Page 37 การวัดระดับความเสี่ยง มาก ผลกระทบ น้อย น้อย โอกาสที่จะเกิด มาก

  38. Page 38 การวัดระดับความเสี่ยง ...(ต่อ)... ผลกระทบ โอกาสที่จะเกิด

  39. Page 39 5 การตอบสนองต่อความเสี่ยง วิธีการพิจารณาว่า จะตอบสนองความเสี่ยงอย่างไรนั้น ให้ประเมินผลกระทบที่มีต่อโอกาสที่จะเกิดและผลกระทบของความเสี่ยง รวมทั้งต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อเลือกวิธีการตอบสนองความเสี่ยงที่ทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

  40. Page 40 5 การตอบสนองต่อความเสี่ยง...(ต่อ)... การตอบสนองความเสี่ยงจำแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1 การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Avoidance) 2 การลดความเสี่ยง (Reduction) 3 การหาผู้ร่วมรับความเสี่ยง (Sharing) 4 การยอมรับความเสี่ยง (Acceptance)

  41. Page 41 6 กิจกรรมการควบคุม คือ นโยบาย และวิธีปฏิบัติที่จะช่วยให้มั่นใจว่า ได้มีการดำเนินการตามแนวทางการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่วางไว้ กิจกรรมการควบคุมเกิดขึ้นในทุกระดับ ทุกหน้าที่งาน และทั่วทั้งองค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมที่แตกต่างกัน เช่น การอนุมัติ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ การยืนยันความถูกต้อง การกระทบยอด การแบ่งแยกหน้าที่ และการสอบทานผลการปฏิบัติงาน

  42. Page 42 7 สารสนเทศและการสื่อสาร • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง จะต้องถูกระบุ บันทึก และจัดเก็บไว้ และมีการสื่อสารในรูปแบบและกรอบเวลาที่ช่วยทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนได้ • บุคลากรทุกคนต้องได้รับข่าวสารที่ชัดเจนจากผู้บริหารระดับสูงว่า ความรับผิดชอบในเรื่องการบริหารความเสี่ยงขององค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ และต้องดำเนินการอย่างจริงจัง • จัดให้มีช่องทางหรือสื่อในการสื่อสารสองทางที่มีประสิทธิภาพ

  43. Page 43 8 การติดตามประเมินผล สามารถทำได้ 2 วิธี โดย 1 ใช้วิธีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องในแต่ละกิจกรรมในระหว่างดำเนินการ หรือ 2 ใช้วิธีการประเมินแยกต่างหากมุ่งเน้นโดยตรงที่ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงขององค์กร และทำให้มีโอกาสได้พิจารณาประสิทธิผลของกิจกรรมที่ต่อเนื่อง

  44. Page 44 ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์และองค์ประกอบ วัตถุประสงค์และองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรมีความสัมพันธ์กันโดยตรง เนื่องจากวัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่องค์กรมุ่งมั่นที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ และองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรก็คือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ ได้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเป็นภาพสามมิติได้ ดังนี้

  45. Page 45 ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์และองค์ประกอบ ...(ต่อ)...

  46. Page 46 ความเสี่ยงในบริบทของราชการไทย 1. ความเสี่ยงเชิงนโยบาย: ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน รวมไปถึงการตัดสินใจด้านการบริหารงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ 2. ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน: เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานตามยุทธ์ศาสตร์และส่งผลต่อความสำเร็จของ การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ เช่น การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานที่ยังไม่เหมาะสม การปฏิบัติงานผิดพลาดล่าช้า การขาดข้อมูลหรือเครื่องมือที่จำเป็น เป็นต้น

  47. Page 47 ความเสี่ยงในบริบทของราชการไทย ...(ต่อ)... 3. ความเสี่ยงทางการเงิน: การบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้การดำเนินงานโครงการ ตามยุทธศาสตร์ ไม่ประสบความสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด การประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม 4. ความเสี่ยงด้านเหตุการณ์: เป็นความเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ แต่ส่งผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ผลตามยุทธศาสตร์ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดความสูญเสียได้ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ความเสี่ยงทางการเมือง การโยกย้ายผู้บริหาร เป็นต้น

  48. Page 48 แนวทางในการจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยง

  49. Page 49 แนวทางในการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง มีวิธีและแนวทางที่หลากหลาย ได้แก่ 1 จัดให้มีบรรยากาศและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการบริหารความเสี่ยง เช่น จรรยาบรรณ การสื่อสารสองทางที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ 2 จัดตั้งทีมงานบริหารความเสี่ยง โดยมีตัวแทนของแต่ละฝ่าย เพื่อศึกษาหลักการและแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้เข้าใจตรงกัน 3 คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุน จะช่วยให้การดำเนินงานสำเร็จ

  50. Page 50 แนวทางในการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง ...(ต่อ)... 4 จัดทำแผนการพิจารณาระบบบริหารความเสี่ยง • กำหนดนโยบาย โครงสร้าง และความรับผิดชอบ • พัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและปรัชญาการบริหารความเสี่ยงขององค์กร • ฝึกอบรม สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน • ดำเนินการประเมินและบริหาร 5 บริหารความเสี่ยงที่อยู่ในระดับหน่วยงานก่อนแล้ว ค่อยดำเนินการ ในระดับกลุ่ม/ฝ่าย

More Related