1.81k likes | 2.28k Views
การรับฟังพยานหลักฐาน ( Admissibility of Evidence). หลัก พยานหลักฐานทุกชนิด หากมีคุณสมบัติบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดีได้ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนั้นได้ ( admissible evidence)
E N D
การรับฟังพยานหลักฐาน(Admissibility of Evidence)
หลัก พยานหลักฐานทุกชนิด หากมีคุณสมบัติบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดีได้ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนั้นได้ (admissible evidence) • ยกเว้นแต่มีกฎหมายบทใดบทหนึ่งบัญญัติวางหลักเกณฑ์ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานชนิดใด ประเภทใดไว้ พยานหลักฐานนั้นเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ (inadmissible evidence) ซึ่งรวมเรียกว่า บทตัดพยานหลักฐาน (exclusionary rule)
พยานหลักฐานใดจะห้ามมิให้รับฟังหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ คุณค่าในเชิงพิสูจน์(Probative Value) เปรียบเทียบ ผลกระทบทางด้านอคติ(Prejudicial Effect) Probative Value Prejudicial Effect
ฎ 1481/2548 คำให้การในชั้นสอบสวนของ ส. และ ช. แม้จะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกัน แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังประกอบการพิจารณาได้ ทั้งคำให้การดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจว่าให้การเพื่อให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังคำให้การของ ส. และ ช. ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
ฎ 1548/2535 เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญาจะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นศาลย่อมรับฟังบันทึกคำรับสารภาพ แผนที่บ้านจำเลยและภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะมิใช่เอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนก็ตามฎ 1548/2535 เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญาจะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นศาลย่อมรับฟังบันทึกคำรับสารภาพ แผนที่บ้านจำเลยและภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะมิใช่เอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนก็ตาม
พยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟัง 1. พยานหลักฐานที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจไม่รับฟัง 2. พยานหลักฐานที่ห้ามมิให้รับฟังโดยเด็ดขาด
พยานหลักฐานที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจไม่รับฟัง
พยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังโดยเด็ดขาดพยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังโดยเด็ดขาด
1.1 ,1,2บทตัดพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือย(superfluous) ประวิงให้ชักช้า(undue delaying) หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดี(irrelevant) ป.วิ.พ. ม.86 ว.2 “เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป”
ป.วิ.พ. ม.87(1) “ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่ (1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ” ป.วิ.พ. ม.118 ว.3(1) “ไม่ว่าในกรณีใดๆห้ามไม่ให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานด้วย (1) คำถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี”
บทตัดพยานบทนี้ให้อำนาจศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือย ประวิงให้ชักช้า เกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. ม.104 ว.1 “ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น”
ฎ 5385/2548 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้กาต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. ม.87 (1)
1.3 พยานบอกเล่า (Rule against Hearsay) ป.วิ.พ. มาตรา 95 ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 95/1 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงเป็นมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความในมาตรา 95 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ป.วิ.อ. ม.226/3 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงเป็นมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนาม หรือชนิดและลักษณะของพยานบอกเล่า.....
ที่มาของบทห้ามรับฟังพยานบอกเล่าที่มาของบทห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
-การห้ามรับฟังพยานบอกเล่า มีที่มาจากกลุ่มประเทศระบบ COMMON LAW ที่ระบบการพิจารณาเป็นระบบกล่าวหา • - เรียก “กฎแห่งการรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุด” ซึ่งมีหลักว่าถ้าประเด็นพิพาทใดสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยพยานหลักฐานหลายชั้นต่างกัน คู่ความจะต้องนำพยานที่มีคุณภาพดีที่สุดในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงมาสืบ จากหลักนี้ กฎหมายจึงแบ่งแยกพยานตามความใกล้ชิดของเหตุการณ์ พยานบอกเล่า /ประจักษ์พยาน
เหตุผลที่ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่าเหตุผลที่ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า
เหตุที่ศาลไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่าเหตุที่ศาลไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่า 1. บุคคลที่เป็นผู้บอกเล่าข้อเท็จจริงไม่ต้องมาสาบานตนและเบิกความต่อหน้าศาล 2. การเล่าเรื่องต่อมาเป็นทอดหลายทอด ความน่าเชื่อถือ การเพิ่มเติม ตัดทอน 3. อาจทำให้คู่ความไม่พยายามเสาะหาประจักษ์พยานที่รู้เห็นข้อเท็จจริงใกล้ชิดมาสืบ 4. ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถซักค้านผู้บอกเล่าซึ่งเป็นผู้พบเห็นข้อเท็จจริง 5. ในคดีอาญาการรับฟังพยานบอกเล่าเป็นการละเมิดสิทธิจำเลยที่ได้เผชิญหน้ากับผู้ที่ให้การกล่าวร้ายตนเอง
ความหมายของพยานบอกเล่าความหมายของพยานบอกเล่า พยานบอกเล่า หมายถึง พยานหลักฐานใดก็ตามที่แสดงถึงคำกล่าวของประจักษ์พยานที่ได้กระทำไว้นอกศาล และนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลโดยที่ไม่ได้นำตัวประจักษ์พยานผู้กล่าวข้อความนั้นมาเบิกความโดยตรงต่อศาลโดยความประสงค์ในการนำสืบพยานหลักฐานนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าเนื้อความหรือเรื่องราวในข้อความนั้นเป็นจริง(อ.จรัญ)
พยานบอกเล่าจะปรากฏในลักษณะใดก็ได้พยานบอกเล่าจะปรากฏในลักษณะใดก็ได้ • พยานบอกเล่าจะอยู่ในลักษณะของพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือวัตถุพยานก็ได้ • พยานบุคคล เช่น บุคคลซึ่งได้ยินหรือได้ฟัง • พยานเอกสาร เช่น บันทึกของประจักษ์พยานที่เขียนเล่าเหตุการณ์ที่ตนได้ประสบพบเจอมา • พยานวัตถุ เช่น เทปบันทึกเสียง บันทึกภาพ ของพยานเด็กซึ่งเล่าเหตุการณ์ซึ่งได้ประสบพบเจอมา
ข้อสังเกต • เดิมกฎหมายไทยกำหนดว่าพยานบอกเล่าต้องเป็นคำบอกเล่าของพยานบุคคลเท่านั้น สังเกตได้จาก ป.วิ.พ. ม.95 “ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ”
เหตุที่นำสืบพยานบอกเล่า ก็เพื่อยืนยันข้อความว่าเป็นความจริง • ความประสงค์ของคู่ความที่นำสืบพยานหลักฐาน(พยานบอกเล่า) ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องราวตามข้อความที่มีการเล่านั้นเป็นความจริง มิใช่นำสืบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่า มีการกล่าวข้อความนั้นขึ้นเท่านั้น
บันทึกคำให้การพยานระบุว่าจำเลยเป็นค้นร้าย โจทก์นำสืบเข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายจริง เช่นนี้ เป็นพยานบอกเล่า • บันทึกการแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งโจทก์สืบเพื่อให้เห็นว่าได้มีการร้องทุกข์เพื่อแสดงถึงอำนาจฟ้อง ไม่ได้สืบเพื่อแสดงว่าเนื้อความเรื่องราวที่เขาให้การนั้นเป็นความจริง เช่นนี้ ไม่ใช่พยานบอกเล่า
ข้อสังเกต คำบอกเล่าของผู้อื่นมิใช่จะเป็นพยานบอกเล่าเสมอไป • ถ้ามิได้ประสงค์จะพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่ผู้อื่นได้รู้ ได้เห็น และได้เล่าให้ฟังหากแต่นำสืบเพื่อแสดงว่าตัวพยานเองได้ฟังผู้พูดว่าอย่างไร เป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงแห่งการพูด ไม่ได้พิสูจน์ว่าข้อความที่ผู้พูดนั้นเป็นความจริง กรณีนี้ไม่ใช่พยานบอกเล่าแต่เป็นประจักษ์พยาน • เป็นพยานบอกเล่าหรือไม่ ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการนำสืบ
ต.ย. โจทก์ฟ้องดำในข้อหาหมิ่นประมาท โดยดำได้พูดกับขาวว่า แดงเป็นผู้พิพากษาทุจริต ชอบรับสินบน และโจทก์อ้างขาวเป็นพยาน ดังนี้การที่ขาวมาเบิกความว่า ดำพูดว่าแดงเป็นผู้พิพากษาทุจริต ชอบรับสินบน ก็เพื่อพิสูจน์ว่าดำพูดข้อความเช่นนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี แต่มิใช่เพื่อพิสูจน์ว่าแดงเป็นผู้พิพากษาที่ทุจริตจริงหรือไม่ ดังนั้น ขาวจึงเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานบอกเล่า
กฎหมายมิได้ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่าโดยเด็ดขาด พิจารณาได้จาก ม.95/1 ว. 2“ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงเป็นมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น”
ฎ 3356/2526 โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ โจทก์อ้างส่งแต่คำให้การชั้นสอบสวนของพยานที่อ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์และจำหน้าคนร้ายได้ ซึ่งเป็นเพียงพยานบอกเล่าคำตำรวจผู้จับก็มีแต่ว่าภริยาผู้เสียหายแจ้งให้จับจำเลย และพยานให้ดูตัวผู้เสียหายยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหาย คำตำรวจผู้จับก็เป็นพยานบอกเล่าแม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อผู้จับ คำรับสารภาพก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ ย่อมไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
ฎ 589/2518 พ. ไม่ได้เห็นที่ดิน แต่เบิกความว่าที่พิพาทอยู่ในเขตสาธารณะเพราะในโฉนดเขียนไว้เช่นนั้น ดังนี้ ไม่ใช่ประจักษ์พยานไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ
ฎ 304/2500 ตำรวจเบิกความว่าพอเกิดเหตุแล้ว จำเลยออกมาจากที่เกิดเหตุฆาตกรรม มีผู้ตามจำเลยติดมาชี้บอกให้จับจำเลยว่าแทงผู้ตาย คำของตำรวจนี้เป็นพยานชั้นที่ 1 ไม่ใช่คำบอกเล่าแต่ถ้อยคำที่ผู้ตามจำเลยมาบอกแก่ตำรวจนั้นเป็นคำบอกเล่า คำบอกเล่าในขณะกระชั้นชิดทันที่ ซึ่งตามธรรมดายังไม่ทันจะมีช่องโอกาสคิดแกล้งปรักปรำศาลรับฟังประกอบพฤติเหตุอื่นๆลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาได้
ตัวอย่างพยานบอกเล่าที่ศาลเคยรับฟังตัวอย่างพยานบอกเล่าที่ศาลเคยรับฟัง
คำบอกเล่าของคู่ความฝ่ายตรงข้ามคำบอกเล่าของคู่ความฝ่ายตรงข้าม • คำบอกเล่าของผู้ที่ตายแล้ว • ข้อความในเอกสารมหาชน • กิตติศัพท์หรือข้อเท็จจริงที่เล่าลือกันทั่วไป • คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อน • คำพยานในคดีเรื่องก่อน • คำให้การของพยานในครั้งก่อน
1. คำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความฝ่ายตรงข้าม คำรับของคู่ความ หมายถึง ข้อความหรือคำกล่าวที่คู่ความทำขึ้นนอกศาล ซึ่งอาจจะเป็นบันทึกหรือเล่าให้คนอื่นฟัง หรือให้การในฐานะพยานบุคคลไว้ในคดีเรื่องอื่น คำรับนี้ไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเองเสียประโยชน์อาจเป็นคำกล่าวในเรื่องใดๆ ซึ่งอาจจะได้ผลประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือไม่ได้ไม่เสียประโยชน์ก็ได้
ต.ย. แดงกับขาวขับรถชนกัน แดงได้ไปให้ถ้อยคำที่สถานีตำรวจว่า แดงขับรถชนกับขาวจริง แต่ขาวเป็นฝ่ายประมาทขับรถกินทางเข้ามาชนรถของแดง ดังนี้ ถ้าดำซึ่งเป็นผู้โดยสารรถของขาวและได้รับบาดเจ็บ มาฟ้องแดงและขาวให้รับผิด ดำอาจอ้างบันทึกซึ่งตำรวจทำขึ้นนี้เป็นพยานยันแดงได้ว่า แดงเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่ชนกับรถของขาวจนเป็นเหตุได้รับบาดเจ็บ
ข้อสังเกต • ข้อสังเกต 1. คำรับ ไม่จำเป็นต้องรับโดยชัดแจ้ง หรือเป็นผู้กล่าวข้อความนั้นเอง อาจะเป็นการรับโดยปริยายก็ได้ ตัวอย่างเช่น (1) การยอมรับตามคำกล่าว หรือข้อความที่บุคคลอื่นทำขึ้น โดยถือเป็นคำกล่าวหรือข้อความของตน หมายถึง “การที่คู่ความแสดงกิริยาการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าเขาได้ยอมรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากคำกล่าว หรือข้อความที่บุคคลภายนอกทำขึ้น”
(2)คำรับอาจเกิดขึ้นจากกิริยาอาการหรือพฤติการณ์ที่พอจะอนุมานได้ว่าคู่ความยอมรับในข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง เช่น การที่คู่ความกระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นพิรุธหรือเจตนาของคู่ความว่า รู้ตัวว่ากระทำผิด หรือกระทำการซึ่งเป็นปัญหาในคดี
ต.ย. การที่คู่ความกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขัดขวางการแสวงหาความยุติธรรมของศาล พฤติการณ์นี้ถือได้ว่าคู่ความที่กระทำการดังกล่าวยอมรับว่าคดีของตนไม่น่าเชื่อถือหรือมีน้ำหนักไม่เพียงพอ ทั้งนี้โดยเหตุผลที่ว่า คู่ความที่มีความเชื่อว่าคดีของตนมีหลักฐานอ่อนหรือไม่อาจชนะคดีด้วยวิถีทางที่ชอบเท่านั้นจึงจะกระทำการดังกล่าว เช่น การทำพยานหลักฐานเท็จหรือเบิกความเท็จ พยายามติดสินบนพยาน หรือขู่กรรโชกพยานไม่ให้มาเบิกความหรือให้เบิกความเป็นประโยชน์แก่ตน พยายามติดสินบนผู้พิพากษา อัยการหรือเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยักย้ายถ่ายเทเพื่อหลบเลี่ยงการบังคับคดี
ต.ย. ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมเรียกพยานบุคคลหนึ่งคนใด หรือไม่ยอมส่งเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตน หรือปฏิเสธไม่ยอมรับการตรวจสภาพร่างกาย ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนั้นบุคคลทั่วไป (วิญญูชน) ควรจะต้องทำ คู่ความฝ่ายตรงกันข้ามอาจเสนอพฤติการณ์เช่นนี้เพื่อเป็นพยานว่า คู่ความฝ่ายแรกยอมรับว่าเขาปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่างซึ่งจะได้จากคำเบิกความของพยานคนนั้น หรือจากรายงานการตรวจร่างกายนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำลายน้ำหนักของรูปคดีเป็นการทั่วไป เท่าๆ กัน
ข้อสังเกต 2. คำรับในคดีอาญา ปกติถือเกณฑ์เกี่ยวกับคดีแพ่ง คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นคำรับที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์ของตนก็รับฟังได้ คำรับจะเป็นคำรับของโจทก์ หรือของจำเลยก็ได้ คำรับของโจทก์ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับคดีแพ่งทุกประการ เช่น การที่ผู้เสียหายเคยเล่าให้พยานฟังว่าเคยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับจำเลย ย่อมรับฟังเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้เสียหายยินยอมได้
คำรับในคดีอาญา หากเป็นคำรับของผู้ต้องหา หรือผู้ถูกจับ ต้องพิจารณาว่าได้กระทำต่อบุคคลใด -ถ้าเป็นคำรับซึ่งกระทำต่อผู้เสียหาย ราษฎรที่ทำการจับ หรือบุคคลอื่น ถึงการกระทำผิดของตน ถือว่าเป็นคำรับฝ่ายตรงข้ามซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง
-ถ้าเป็นคำรับซึ่งกระทำต่อ เจ้าพนักงานผู้จับ หรือต่อพนักงานสอบสวน ต้องพิจารณา ม. 84 ว.ท้าย และม. 134 ประกอบ ถือว่าเป็นคำรับของฝ่ายตรงข้ามซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานได้เช่นเดียวกับในคดีแพ่ง ถ้าได้ทำตามเงื่อนไขในมาตรานั้น
ข้อสังเกต 3. ผู้ที่กล่าวคำรับไม่จำเป็นต้องเป็นตัวคู่ความเอง ต.ย. คำบอกเล่าของผู้ที่เคยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมาแต่เดิมว่า ที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอม สามารถนำมาอ้างเสมือนคำรับของเจ้าของที่ดินคนปัจจุบันได้ แม้จะปรากฏว่าเจ้าของเดิมมีตัวตนอยู่และไม่มีผู้ใดอ้างเป็นพยาน
คำพิพากษาฎีกาที่1057/2525 โจทก์จำเลยพิพาทกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองที่พิพาท คำที่จำเลยเคยกล่าวกับบุคคลภายนอกว่า จำเลยรับจำนำที่นาแปลงพิพาทไว้จากโจทก์นั้น เป็นคำกล่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของตัวเอง ใช้ยันจำเลยได้
ฎ 922/2527 บิดามารดาและน้องชายจำเลยให้การในคืนเกิดเหตุว่าเห็นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแต่มาเบิกความในชั้นศาลว่าไม่ทราบใครยิง เป็นเรื่องเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลย ทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนในคืนเกิดเหตุ ชี้ที่เกิดเหตุ และแสดงทำให้ตำรวจถ่ายภาพไว้ เช่นนี้ ฟังลงโทษจำเลยได้
2. คำบอกเล่าของผู้ที่ตายแล้ว หมายถึง ถ้อยคำของบุคคลที่บอกเล่าผู้อื่นไว้ หรือได้ขีดเขียนไว้เป็นหนังสือและปรากฏว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายแล้ว ขณะที่จะนำตัวเข้าไปเบิกความเป็นพยาน
คำบอกเล่าของผู้ตายที่ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง ได้แก่คำบอกเล่าของผู้ตายในเรื่องดังต่อไปนี้ • (2.1) คำกล่าวที่เป็นปรปักษ์ต่อประโยชน์ของตน คำกล่าวไม่ว่าจะโดยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรของผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งทำให้เขาเสียผลประโยชน์ในทางเงินทอง หรือผลประโยชน์อันเป็นสิทธิในทรัพย์สิน • เหตุผลคือ บุคคลย่อมไม่กล่าวเท็จให้ตนเองต้องเสียประโยชน์ ดังนั้นข้อความที่เขากล่าวแล้วทำให้ตนเองเสียประโยชน์น่าจะเป็นความจริง
คำกล่าวที่ปรปักษ์ฯต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้คำกล่าวที่ปรปักษ์ฯต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ • ก. คำกล่าวนั้นจะต้องขัดผลประโยชน์ที่ผู้กล่าวมีอยู่ในขณะที่กล่าว ถ้าเป็นผลประโยชน์ที่ผู้กล่าวจะได้รับในอนาคตซึ่งยังไม่แน่นอน ไม่อยู่ในความหมายของข้อนี้ • ข. ผู้กล่าวจะต้องรู้หรือควรรู้ว่าคำกล่าวของตนเป็นปรปักษ์ต่อผลประโยชน์ของตนเองในขณะที่เขากล่าว
ค. ข้อความอื่นซึ่งเชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับข้อความที่เป็นปรปักษ์ ซึ่งช่วยในการอธิบายข้อความปรปักษ์ให้ชัดขึ้น ก็ย่อมรับฟังได้ แม้ว่าจะมีข้อความอื่นอำนวยผลประโยชน์แก่ผู้กล่าวก็ตาม ทั้งนี้โดยถือหลักที่ว่า ต้องรับฟังข้อความทั้งหมด ไม่ใช่ตัดมาแต่ตอนใดตอนหนึ่งซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดได้ และตามความจริงคงไม่มีผู้ใดจะกล่าวความเท็จเป็นปรปักษ์ต่อผลประโยชน์อันหนึ่ง เพื่อหวังประโยชน์อีกอันหนึ่ง เช่น บัญชีของร้านค้า รับฟังได้ทั้งด้านรายรับและรายจ่าย