870 likes | 995 Views
By A. Samaporn Yendee. Delphi 7 อ. สมาภรณ์ เย็นดี ภาควิชาคอมพิวเตอร์ ตึก 18 ชั้น 2 Tel. 083 9893141. จุดเด่นของ Delphi 7.
E N D
By A. Samaporn Yendee
Delphi 7 อ. สมาภรณ์ เย็นดี ภาควิชาคอมพิวเตอร์ ตึก 18 ชั้น 2 Tel. 083 9893141
จุดเด่นของ Delphi 7 Delphi เป็นซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษาปาสคาล (Pascal) ที่พัฒนาโดยบริษัท Borland ซึ่งรูปแบบของภาษานั้น ได้ถูกออกแบบระบบภาษาใหม่ เพื่อสนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object oriented programming หรือเรียกแบบย่อว่า OOP) การเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ มีความแตกต่างกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง อยู่ด้วยกันหลายจุดส่วนใหญ่ความสามารถของโปรแกรมเชิงวัตถุ ยังคงต้องการความรู้ของการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้เนื่องจากภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุเป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการเขียนโปรแกรมในรูปแบบเดิม คือ ให้ง่ายต่อการพัฒนาต่อ และสามารถนำไปใช้ได้ (reusable)
จุดเด่นของ Delphi 7 Delphi7 ผ่านการพัฒนามาเกือบ 10 ปี ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.0 ที่ทำงานบน Window 3.1x โดยมีจุดเด่นคือโปรแกรมที่ได้มีขนาดเล็กทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งมักจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ Visual Basic 3.0 ในสมัยนั้นอีกประการหนึ่ง Delphi7 ใช้ภาษาปาสคาล จึงเคยถูกเปรียบเทียบว่าเป็น Visual Pascal มาแล้ว
จุดเด่นของ Delphi 7 เวอร์ชันปัจจุบันของ Delphi7 ได้รับการพัฒนาให้สามารถสร้างแอพพลิเคชันที่ทำงานบน Window ได้ดีเหมือนเดิม โดยมีการปรับปรุงให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันตามแนวความคิดของ.NET ซึ่งจะช่วยให้สามารถเขียนโปรแกรมครั้งเดียวแล้วนำไปใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PDA,โทรศัพท์มือถือและบนเว็บได้ขณะเดียวกัน Delphi 7 ได้รับการพัฒนาให้สามารถพัฒนาแอพพลิชันแบบข้ามแพล็ตฟอร์มได้ นั้นคือสามาถพัฒนาแอพพลิเคชันที่ทำงานได้ทั้งบน Window และ Linux
ความสามารถของ Delphi 7 Delphi 7 มีความสามารถมากมาย ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนักพัฒนาแอพพลิเคชันทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทยด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำ Delphi7 ประกอบการเรียนการสอน การฝึกอบรม ตลอดจนการนำไปสร้างเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์จำนวนมาก ดังนี้ 1.สามารถสร้างแอพพลิเคชันสำหรับ Window 2.สามารถสร้างระบบงานด้านฐานข้อมูล 3.สามารถสร้างแอพพลิเคชันรองรับ .NET Web Service 4.สามารถใช้งานบน Linux ได้
บทนำ Borland Delphi 7 ได้รับการพัฒนาให้สามารถเขียนโปรแกรม เพื่อใช้งานกับ Windows ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน ก็สามารถนำไปเขียนได้กับระบบปฏิบัติการLinuxได้ด้วยสำหรับการเขียนโปรแกรมกับ Delphi นั้น จะใช้แนวทาง การเขียนโปรแกรมแบบ Event Driven ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรม ในลักษณะที่ว่า เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น กับตัวโปรแกรม เราก็จะมีวิธีจัดการกับเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยการเขียนคำสั่งต่างๆ รองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รู้จักกับ Object ตัว Application ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปุ่มกดช่องรับข้อความ และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้รวมกันแล้วเรียกว่า Object Object คือ วัตถุเป้าหมายตัวหนึ่ง ที่มีเป้าหมายไปในทิศทางที่แน่นอน เช่น Edit box จะมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่รองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับการกระทำของตัวมันเอง
การกำหนด Properties ของ Object Property คุณสมบัติหมายถึง คุณลักษณะของออบเจ็คแต่ละตัว ที่สามารถกำหนดให้แตกต่างกันไปตามความต้องการที่ต่างกันเช่นขนาด และสีของปุ่มหรือ ข้อความของออบเจ็คที่แสดงอยู่บนปุ่มเป็นต้น
การกำหนด Properties ของ Object Method (พฤติกรรม) ความสามารถ ในการทำงานของออบเจ็ค เป็นการสั่งให้ฟอร์มและคอนโทรลทำงานตามที่เราร้องขอไป เช่น ในการสั่งให้ปุ่มคำสั่งทำงานตามที่เราต้องการ Form1.Hide สั่งให้ซ่อนหน้าจอการทำงาน Form1.Show สั่งให้ปุ่มแสดงหน้าจอการทำงาน
Event เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฟอร์มหรือตัววัตถุเช่น Click Event-Driven Programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะว่า “ ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราจะให้โปรแกรมของเราจัดการกับเหตุการณ์นั้นๆ อย่างไร
Form และ Component Form เป็นหน้าต่างหลัก ซึ่งเราใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน การรับข้อมูล หรือการแสดงผล เราได้นำเอาสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกว่า Component นำมาวางบน Form หมายเหตุ ใน Delphi 7 จะเรียก Object ว่า Component
โครงสร้างแฟ้มของ Delphi เมื่อมีการเขียนและทดสอบโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็สามารถบันทึกสิ่งที่ได้สร้างขึ้นทั้งหมดเก็บไว้ ซึ่งสามารถเรียกขึ้นมาแก้ไขปรับปรุงภายหลังได้ โดยจะบันทึกไว้ 2 ส่วน คือ แฟ้มยูนิต (.pas) และโปรเจ็กต์ (.dpr)
แฟ้มโปรเจ็กต์ .dpr เป็นแฟ้มหลักที่ใช้อ้างอิงถึงแฟ้มต่าง ๆ ในโปรเจ็กต์ เป็นโมดูลโค้ดภาษาออบเจ็กต์ปาสคาลได้จากการใช้คำสั่ง FileSave Project As… เป็นแฟ้มที่เก็บคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยโค้ดภาษาปาสคาล สามารถเปิดดูและแก้ไขด้วยโปรแกรมเอดิเตอร์ตัวอื่นได้ อาจจะเป็นยูนิตเดียว หรือยูนิตที่เป็นของฟอร์มก็ได้ คือสามารถมีหลาย ๆ แฟ้มใน 1 โปรเจ็กต์ ได้จากการใช้คำสั่ง FileSave แฟ้มยูนิต .pas
แฟ้มโปรเจ็กต์ .dfm เป็นแฟ้มไบนารีที่บรรจุข้อมูลที่บอกถึงรูปร่างหน้าตาของฟอร์มนั้น ๆ ในโปรเจ็กต์หนึ่งอาจจะประกอบด้วยหลายไฟล์ก็ได้ ซึ่งแต่ละฟอร์มจะต้องมี เป็นแฟ้มที่เก็บตัวเลือกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโปรเจ็กต์นี้ เป็นแฟ้มไบนารีใช้กับแพ็คเก็จของเดลฟาย แฟ้มยูนิต .dof แฟ้มโปรเจ็กต์ .drf
แฟ้มโปรเจ็กต์ .res เป็นแฟ้มไบนารี เก็บรูปของงานเดลฟาย สามารถสร้างและปรับปรุงโดยอัตโนมัติ ไม่ควรสร้างหรือเปลี่ยนแปลงแฟ้มนี้ เป็นแฟ้มโปรแกรมที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะถูกใช้งานจากผู้ใช้ เราจะคัดลอกไปรันตรงไหนก็ได้ ได้จากการใช้คำสั่ง Project Compile Project แฟ้มยูนิต .exe
แฟ้มโปรเจ็กต์ .dcu จะเกิดขึ้นเมื่อมีการคอมไพล์แฟ้มยูนิต .pas ทั้งหมดในโปรเจ็กต์ ซึ่งจะถูกลิงค์เป็นแฟ้มโปรแกรม .exe ในกรณีที่ชิ้นงานที่เขียนขึ้นเป็นไลบรารีไม่ใช่แฟ้มโปรแกรม ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์จะเป็นไดนามิกลิงค์ไลบรารี มีนามสกุล .dll แฟ้มไดนามิกลิงค์ไลบรารี (Dynamic Link Library) .dll
Title bar ComponentPalette Menu bar Desktops toolbar Speed bar Form Designer Object Treeiew Object Inspector Code Editor
ส่วนประกอบของหน้าต่างเดลฟายส่วนประกอบของหน้าต่างเดลฟาย หน้าต่างหลักของโปรแกรมเดลฟายประกอบด้วย 4 ส่วน คือ หน้าต่างหลัก หน้าต่างฟอร์ม (Form) หน้าต่างยูนิต (Unit) และหน้าต่างออบเจ็กต์อินสเปกเตอร์ (Object Inspector) สามารถอธิบายได้ดังนี้ 1. แถบเครื่องมือหลัก ประกอบด้วย - แถบเมนู (Menu Bar) เป็นแถบที่แสดงรายการคำสั่งของโปรแกรมเดลฟาย เช่น แถบเมนู File , Edit, Search เป็นต้น - แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรมเดลฟาย - แถบคอมโพเนนท์ (Component Palette) ประกอบด้วยคอมโพเนนท์ชนิดต่าง ๆ เช่น Standard , Additional, Win32 เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดประกอบด้วยคอมโพเนนท์ต่าง ๆ
2. หน้าต่างฟอร์ม (Form) เป็นหน้าต่างที่เราสามารถนำคอมโพเนนท์ต่าง ๆ จากแถบคอมโพเนนท์มาวางบนฟอร์ม โดยที่สามารถแก้ไขขนาดหรือเคลื่อนย้ายคอมโพเนนท์ไปตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มหรือลบคอมโพเนนท์ออกจากฟอร์มได้
3. หน้าต่างยูนิต (unit) เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมเดลฟาย หน้าต่างนี้จะซ้อนทับกับหน้าต่างฟอร์ม
4. หน้าต่างออบเจ็กต์ อินสเปกเตอร์ (Object Inspector) เมื่อนำคอมโพเนนต์ที่ต้องการมาวางลงบนฟอร์ม จะต้องกำหนดคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนต์แต่ละตัวด้วย การเพิ่มคำสั่งควบคุมการทำงานเพื่อให้แอปพลิเคชั่นสามารถทำงานโต้ตอบกับ ผู้ใช้ได้ โดยการคลิกแท็บ Event
5. หน้าต่างออบเจ็กต์ ทรีวิว (Object Treeview) ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างฟอร์มและคอมโพเนนท์ (เมื่อนำคอมโพเนนท์มาวางบนฟอร์มจะปรากฏที่ ออบเจ็กต์ ทรีวิว)
องค์ประกอบสำคัญของ Delphi7 Title Barเป็นส่วนที่บอกชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่ใช้งานอยู่ Menu Barเป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่ง Delphi7 Speed Barคือกลุ่มของคำสั่งที่ใช้บ่อยซึ่งแสดงอยู่ใต้เมนูบาร์ทางด้านซ้าย
องค์ประกอบสำคัญของ Delphi7 Form Designerเป็นส่วนที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมที่เรียกว่า form
Property ของ Form ใน DELPHI สามารถกำหนดค่าพร็อพเพอร์ตี้โดยผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Object Inspector ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ 3 ลักษณะดังนี้ 1. การกำหนดค่าโดยอิสระ เช่น พร็อตเพอร์ตี้ Name , พร็อบเพอร์ตี้ Caption เป็นต้น 2. การกำหนดค่าจากตัวเลือกที่มีให้ใน Object Inspector เช่น พร็อบเพอร์ตี้ Cuesor, พร็อบเพอร์ตี้ Color เป็นต้น 3. กำหนดค่าจากไดอาล็อคบ็อกซ์ เช่น พร็อบเพอร์ตี้ Font เป็นต้น
Method ของ Form Method ที่สำคัญในการทำงานดังนี้ Show เป็น Method ที่ใช้ในการแสดง Form ขึ้นมา ShowModalเป็น Method ที่ใช้ในการแสดง Form ขึ้นมา แบบ Modal หมายความว่า Modal Form คือ Form ที่ไม่ยอมให้ Form แสดงขึ้นมาเหนือตัวเอง Form อื่นๆ จะไม่ Active ในขณะที่ Modal Form กำลังแสดงอยู่ ดังนั้น จึงต้องปิด Form แบบ Modal เสียก่อน Form อื่นๆ จึงจะ Active และแสดง Form อื่นๆ ได้ Close เป็น Method ที่ใช้ในการ ปิด Form Hide เป็น Method ที่ใช้ในการ ซ่อน Form
Event ของ Form ใช้ในการตรวจจับ เหตุการณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้น และเราใช้บ่อยๆ มีดังนี้ OnActive เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการย้ายการทำงานกลับมายัง Form OnClick เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการ Click Mouse OnClose เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการปิด Form OnCreate เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการขอหน่วยความจำจาก Windows เพื่อเริ่มสร้าง Form OnDblClick เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการ Double Click Mouse ที่ Form OnMouseDown เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการกดปุ่ม Mouse ขาลง OnShow เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการแสดง Form
องค์ประกอบสำคัญของ Delphi7 Component Paletteเป็นส่วนที่เก็บ componentเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นองค์ประกอบภายในฟอร์ม เช่น ปุ่มคลิก ปุ่มเลือก เป็นต้น
Component Palette Component คือวัตถุต่าง ๆ ที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบ ของชิ้นงานในฟอร์ม โดยแยกตามกลุ่มของคอมโพเนนต์Delphi ได้จัดแบ่ง Component ต่างๆ ออกเป็นกลุ่มให้เลือก ใช้งานได้ตามลักษณะงาน ทั้งหมด 33 กลุ่ม โดยแยกกันไว้ใน Component Palette ดังนี้
Component Standard เป็นกลุ่ม Component มาตรฐานซึ่งมีการใช้งานทั่วไปใน Windows
การใช้คอมโพเนนท์ การโปรแกรมด้วยเดลฟายจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1. การสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ File New 2. การจัดเตรียมโปรแกรม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ- การกำหนดคอมโพเนนท์บนฟอร์ม - กำหนดคุณสมบัติ ในส่วนส่วนของออบเจ็กต์ อินสเปกเตอร์ - การเขียนโปรแกรมในส่วนของหน้าต่างยูนิต 3. การรันโปรแกรม (ในส่วนของโปรเจ็กต์ได้ส่วนขยายเป็น .exe) 4. การบันทึกข้อมูล (ในส่วนของprojectจะได้แฟ้มที่มีส่วนขยายเป็น .dprและแต่ละ unit ในโปรเจ็กต์จะมีส่วนขยายเป็น .pas
โปรแกรม My First Program ให้เขียนโปรแกรมป้อนข้อมูล ชื่อ และอายุ ในกรอบที่กำหนด เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อแสดงผลการป้อนข้อมูลทั้งหมด และถ้ากดปุ่ม Clear จะเป็นการล้างข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าต่าง ดังรูปที่ 1
การเขียนโปรแกรมลงในอีเวนต์ (Events) เดลฟาย เป็นภาษาที่มีการเขียนโปรแกรมแบบ Event Driven คือ ใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาทำการขับเคลื่อนการทำงานของโปรแกรม ตัวอย่าง เหตุการณ์ที่ผู้ใช้งานคลิกที่คอมโพเนนท์ Button จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมารองรับ เช่น ลบ หรือ ออกจากโปรแกรม เป็นต้น
Event ของ Form • OnActive เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการย้ายการทำงานกลับเข้ามายัง Form • OnClose เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการปิด Form • OnCloseQuery เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ก่อนจะเริ่มเปิด Form อาจจะมีการยืนยัน ก่อนการเปิด Form หรือกระทำการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการทำการของ ผู้เขียน • OnCreate เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการขอหน่วยความจำจาก Windows เพื่อเริ่มสร้าง Form • OnResize เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการปรับขนาดของ Form • OnShow เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการแสดง Form
Event ของ Label OnClickที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการ Click Mouse ที่คอมโพเนนท์นั้น OnClickเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการ Click Mouse ที่คอมโพเนนท์ OnChangeเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Edit OnEnterเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ การ Click หรือย้ายการทำงานเข้าสู่ Edit OnExitเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการเปลี่ยนย้ายการทำงานออกจาก Edit Event ของ Button Event ของ Edit
Event ของ Memo OnChange เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Memo Event ของ CheckBox OnClick เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ Click Mouse ที่คอมโพเนนท์นั้น Event ของ ListBox OnClick เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ Click Mouse ที่คอมโพเนนท์นั้น OnEnter เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อการ Click หรือย้ายการทำงานเข้าสู่ ListBox Event ของ ComboBox OnContextPopup เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ มีการแสดง Context ขึ้นมา Event ของ RadioButton OnClick เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ Click Mouse ที่คอมโพเนนท์นั้น
Event ของ ScrollBar OnChange เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน ScrollBar OnScroll เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำให้ Scroll เปลี่ยนตำแหน่ง Event ของ RadioGroup OnEnter เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อการ Click หรือย้ายการทำงาน เข้าสู่ GroupBox OnExit เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนย้ายการทำงานออกจาก RadioGroup