1 / 72

ColOR COSMETic FOR SKIN ( LIpstick )

ColOR COSMETic FOR SKIN ( LIpstick ). E-Mail: nattaporn2608@gmail.com Website: http://nattaporn.weebly.com/course-materials.html. Raw materials and dosage forms in make-up cosmetics. ประเภทของเครื่องสำอางแต่งสีสำหรับผิวหนัง. เครื่องสำอางประเภทแป้งผัดหน้า เครื่องสำอางสำหรับตา

liam
Download Presentation

ColOR COSMETic FOR SKIN ( LIpstick )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ColORCOSMETic FOR SKIN (LIpstick) E-Mail: nattaporn2608@gmail.com Website: http://nattaporn.weebly.com/course-materials.html

  2. Raw materials and dosage forms in make-up cosmetics

  3. ประเภทของเครื่องสำอางแต่งสีสำหรับผิวหนังประเภทของเครื่องสำอางแต่งสีสำหรับผิวหนัง • เครื่องสำอางประเภทแป้งผัดหน้า • เครื่องสำอางสำหรับตา • เครื่องสำอางใช้แต่งแก้ม หรือรู้ช (Rouges) • เครื่องสำอางใช้แต่งปาก หรือลิปสติก (Lipsticks)

  4. ลิปสติกคืออะไร • ลิปสติกหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเม็ดสีกระจายตัวในเบสที่เหมาะสม และเบสนี้จะประกอบด้วย น้ำมัน ไขมัน และ ไขแข็ง ในปริมาณต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะให้สีแก่ริมฝีปาก ตลอดจนความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปาก

  5. Lipstick History • การใช้สีเพื่อเสริมความงามของริมฝีปากมีมาหลายพันปีแล้ว รูปภาพหรือสิ่งก่อสร้างจากอารยธรรมสมัยอียิปต์ บาบิโลน หรือสุเมเรียนแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงสมันดังกล่าวระบายสีริมฝีปากด้วยส่วนผสมของเฮอร์มาไทต์และ red ochre ในน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ ในขณะที่ชาวซีเรีย เปอร์เชีย กรีก และโรมันกลับใช้เครื่องสำอางในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อความรื่นรมย์ การแพทย์หรือใช้ในงานพิธี ตัวอย่างเช่น หญิงชาวเอเธนส์ใช้สารสกัดจากผัก สาหร่ายและต้นหม่อนเพื่อเน้นสีปากและแก้ม เป็นต้น แม้แต่กวีโอวิดก็ได้บรรยายวิธีที่สาวชาวโรมันใช้รูจและแป้งทาใบหน้า

  6. Lipstick History • สำหรับลิปสติกในปัจจุบันชนิดที่ผสมจากน้ำมันหรือแวกซ์หลอมเหลวผสมกับสีละลายหรือแขวนลอยหนึ่งชนิดหรือมากกว่าขึ้นไปนั้นเริ่มใช้เป็นครั้งแรกก่อนสมัยสงความโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1920 เริ่มใช้ eosin (รู้จักกันในชื่อ D&C Red No. 21) แทนคาร์มีนเป็นตัวเลือกหนึ่งชองสารให้สี หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการใช้ fluorscein-based stains ตัวอื่นตามมา เช่น tetrachlorotetrabromofluorescein (D&C Red No. 27) และ dibromofluorescein (D&C Orange No. 5) มีเอกสารวิชาการมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ว่าส่วนผสมชอง solid lip colorant มีสารละลายน้ำหลายชนิดผสมอยู่ พร้อมมีแม่พิมพ์หล่อแบบใหม่ เช่นเดียวกับมีที่จับและกลไกหมุนแท่งลิปสติกซึ่งถือเป็นต้นแบบของลิปสติกปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคล้วนถือเป็นวิวัฒนาการของรูปแบบและสัมผัสของลิปสติกในทุกวันนี้

  7. ชนิดของลิปสติก • ลิปสติกแบบเนื้อด้าน ในลิปสติกแบบเนื้อด้าน สารหลักที่ใช้โดยปกติคือ เคโอลีน ซึ่งโดยปกติจะให้คุณสมบัติติดทน องค์ประกอบนี้จะทำให้ลิปสติกไม่มีความเงาและไม่มันลิปสติกที่ผสมเคโอลีน จะค่อนข้างแห้ง แต่ถ้าคุณมองหาลิปสติกที่ติดทน ลิปสติกแบบแม็ทจะเป็นทางเลือกที่ดี • เชียร์หรือสเตนท์ลิปสติก ลิปสติกชนิดนี้จะมีมอยเจอร์มากกว่าลิปสติกชนิดอื่น โดยปกติจะมีเม็ดสีไม่มาก ลิปสติกชนิดนี้จะทาง่ายและสีบางเบาสวยงาม • มอยเจอร์ไรซิ่งลิปสติก ลิปสติกชนิดนี้จะมีสารบำรุงมากเช่น เชียร์บัตเตอร์ ลิปสติกชนิดนี้จะหลุดง่ายเนื่องจากสาร ให้ความชุ่มชื้น เหมาะสำหรับริมฝีปากแห้ง • ลิปสติกแบบลองลาสติ้ง ลองลาสติ้งลิปสติก มีคุณสมบัติตามชื่อคือ เป็นลิปสติกที่อ้างว่าสมารถติดทนได้ตลอดวันแม้ว่าจะผ่านการจูบ ลิปสติกชนิดนี้จะเป็นสูตรนุ่มนวลและค่อยๆ ออกฤทธิ์ โดยใช้ความร้อนจากริมฝีปากเพื่อกระตุ้นให้มีสีปลดปล่อยออกมาและไม่จางสามารถอยู่ได้นานถึง 8 ชั่วโมง

  8. ความคงตัวและการยึดเกาะเป็นแท่งความคงตัวและการยึดเกาะเป็นแท่ง • เครื่องมือตรวจสอบ hot-stage หรือ capillary melting point สามารถบอกข้อมูลความคงที่ระยะยาวของลิปสติกได้มากมาย ลิปสติกที่ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆ ต้องยังคงแข็งตัวและอยู่ตัวในระดับอุณหภูมิที่หลากหลายได้ (ปกติคือระดับ 0-50 องศาเซลเซียส) และต้องต้านการ blooming และตกผลึกในอุณหภูมิต่ำได้ รวมถึงการซึมและหยดในอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วย วิธีวัดค่าความคงที่ของลิปสติกตามอุณหภูมิที่ซับซ้อนขึ้น เช่น วิธี Differential Scanning Calorimetry (DSC) ก็สามารถใช้วัด inhomogenitiesทางกายภาพซึ่งบ่งบอกปัญหาความคงที่ให้ทราบได้ นอกจากนี้ การวัดผลโดยใช้เครื่องมือ เช่น crush and breaking point determinations ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตส่วนผสมจำนวนมากว่าเป็นตัวชี้วัดความอยู่ตัวทางโครงสร้างของแท่งลิปสติกที่ดี

  9. Lipsticks Composition: • Solidifying Agent : Waxes mostly beeswax, carnauba wax, candellila wax, ozokerite and other synthetic waxes • Oil: essentially castor oil • Pigments • Filler :Nylon, PMMA,Silica , Sericite • Additive:Preservatives, Fragrance

  10. Solidifying Agent • Solidifying agent ที่อยู่ในลิปสติกประกอบด้วยสารแข็งหนึ่งชนิดขึ้นไปซึ่งช่วยเสริมโครงสร้างและความอยู่ตัวให้แท่งลิปสติก ขณะเดียวกันก็ควบคุมคุณสมบัติการไหลและความสวยงามเมื่อได้ใช้ลิปสติกบนริมฝีปาก ถือว่า solidifying agent เป็นส่วนประกอบที่ทำให้ลิปสติกต่างจากเครื่องสำอางที่ให้สีประเภทอื่น สามารถแบ่ง solidifying agent ได้เป็นสองประเภทหลักคือ ไขมันและแวกซ์

  11. Waxes • จุดเด่นของลิปสติกปัจจุบันคือแวกซ์ซึ่งให้สมดุลของความคงตัวและความคงทน และให้สมดุลความลื่นเนียนเมื่อทาบนริมฝีปาก แต่ไม่มีสารใดที่จะให้คุณสมบัติที่เหมาะสมเช่นนั้นได้เพียงสารเดียว ดังนั้นส่วนประกอบแวกซ์คือการผสมกลมกลืนแวกซ์ที่มีจุดหลอมสูงต่ำต่างกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหล ความสวยงาม และผลสีที่ได้ แวกซ์สามารถแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้เป็นแวกซ์จากสัตว์ พืช แร่ธาตุ หรือการสังเคราะห์ ในทางเคมี แวกซ์ก็คือส่วนผสมที่ไม่มีกลีเซอรอลของ esters กรดและแอลกอฮอล์ที่แข็งตัวเมื่ออยู่ในหรือใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง

  12. แวกซ์จากสัตว์ • แวกซ์จากสัตว์ที่นิยมมากในลิปสติกคือ ลาโนลิน ซึ่งได้มาจากการ alkaline washing ขนแกะ ลาโนลินเป็นส่วนประกอบของ alcohol esters C18 – C26 กรดไขมัน คลอเรสเตอรอลและเทอร์พีนอล ขณะที่ลาโนลินและสารสกัด acetylated ใช้ในลิปสติกเป็นอย่างมากเพื่อประโยชน์ในการให้ความชุ่มชื้น แต่โอกาสการเกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวมและคัน ก็เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในระยะหลัง • ขี้ผึ้งจากผึ้ง สกัดจากรวงผึ้ง มีให้เลือกทั้งแบบสีเหลืองและขาวบริสุทธิ์ ขี้ผึ้งป็นสารช่วยให้แข็งตัวสำหรับลิปสติกที่ใช้เบส castor oil มานาน ปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้อยู่ในระดับต่ำ (ca. 5%) ร่วมกับแวกซ์ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มความสามารถการคืนตัวและประสิทธิภาพการแกะออกจากแม่พิมพ์และการหดตัวของลิปสติก หากใช้ในปริมาณมาก ลิปสติกจะไม่ค่อยน่าใช้ เนื้อสัมผัสขาดความมันวาว

  13. แวกซ์จากพืช • Carnauba (Coperniciaprunifera) และ candelilia (Euphorbiaceaecerifera) waxes คือแวกซ์จากพืชแบบแข็งสกัดจากพืชในแถบทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ทั้งสองมีส่วนประกอบหลักจาก esters และมักใช้เพียงเล็กน้อยเพื่อให้มีความอยู่ตัวและมันวาวกับเบสแวกซ์ และเนื่องจาก candelilia wax (mp 68.5 – 72.5 องศาเซลเซียส) มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำกว่า carnauba wax (mp Ca. 83 องศาเซลเซียส) จึงต้องใช้ทั้งสองชนิดผสมกันเพื่อเพิ่มความวาวและความแข็งตัวโดยที่สามารถลดอาการเปราะหักได้ง่ายของผลิตภัณฑ์ให้ลดลงด้วย

  14. แวกซ์จากแร่ธาตุ • Ozokeriteและ ceresin เป็น microcrystalline แวกซ์ที่เกิดตามกระบวนการทางธรรมชาติจากการสกัดปิโตรเลียม ใช้เพื่อเสริมครงสร้างลิปสติกให้คงตัวและช่วยลด syneresisโดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อน ขณะที่ไฮโดรคาร์บอนแวกซ์ชนิดอื่น เช่น พาราฟิน มักใช้น้อยกว่าเนื่องจากคุณสมบัติที่เปราะหักได้ง่ายและไม่เข้ากับ castor oil

  15. แวกซ์สังเคราะห์ • โพลีเอธีลีนแวกซ์ เช่น เพอร์ฟอร์มาลีน (New Phase Technologies) และ ซิลเทค (Petrolite Corporation) อาจนำมาใช้ในลิปสติกเพื่อเพิ่มความคงทนต่ออุณหภูมิสูง ทำให้ลิปสติกไม่มีขั้วตรงข้ามมากพอที่จะละลายพลาสติก ทั้งยังต้องแน่ใจได้ว่าอุณหภูมิที่สูงมาก (มากกว่า 90องศาเซลเซียส) ซึ่งใช้เพื่อละลายสารดังกล่าวจะไม่ทำให้คุณภาพของสารอื่นในลิปสติก ลดลงเกินควร

  16. นวัตกรรมใหม่ๆ • นวัตกรรมใหม่ๆ ทางเคมีของซิลิโคนและฟลูออรีนได้ช่วยให้เกิดแวกซ์ organosiliconeและ organofluoro รุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติทางเคมีกายภาพที่โดดเด่นและแปลกใหม่ ตัวอย่างเช่น SiliconylBeewaxes, SiliconylCandelillaและ Siliconyl Synthetic Paraffin Wax (KosterKeunen, Inc.) ล้วนเป็นซิลิโคนเอสเตอร์ที่ให้ผลลัพธ์และความลื่นเพิ่มขึ้นโดยที่ช่วยจับคู่ซิลิโคนออยล์ในเบสแวกซ์โดยไม่ blooming a Alkyl methyl siloxanes waxes เช่น AMS C-Wax ของ Dow Corning และ alkyl dimethicone waxes เช่น SF1642 Wax ของ GE เป็น alkyl silicone ลูกผสมที่มีจุดหลอมสูงที่เข้าได้ดีกับแวกซ์และน้ำมันจากธรรมชาติที่พบได้ในลิปสติก ฟลูออโรแวกซ์สังเคราะห์ เช่น fluorohexacosonate (KosterKeunen, Inc.) อาจช่วยให้ติดทนนานและกันน้ำดีขึ้นขณะที่ลดความตึงผิวและลากบนริมฝีปาก

  17. Waxes • Waxes form the structure of the stick. The wax mixture has a fusion of around 80⁰C. Important to only use food grade waxes • Waxes form a film on the lips • หน้าที่ของ waxes คือ ให้โครงสร้างที่แข็งและเหนียวแม้ว่าจะอยู่ในอากาศที่อุ่น • Waxes ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่คุณสมบัติในการใช้ • จะรักษาความเหนียวไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 50 C จึงจะหลอมเป็น oil จึงไม่เกิดเป็นเหงื่อ ให้ความลื่น ใช้ง่าย

  18. Waxes • Carnauba wax : เป็น natural waxes ที่แข็งที่สุดและมี melthing point สูง (85 ๐C) ใช้ 1-20 % การใช้ % น้อยๆ จะช่วยเพิ่มความนุ่มและความเหนียวของลิปสติก • Candelilla wax : มี mething point ต่ำกว่า carnauba wax , mp 65-69 C ใช้ 5-10% • Beeswax : เป็นตัวช่วยทำให้ลิปสติกแข็งและลื่น กระจายตัวดีขณะทา แต่ถ้าใช้ beeswax เพียงตัวเดียว จะทำให้ลิปสติกขาดความเงาและทำให้เกิดการลากเป็นรอยเมื่อทา mp 62-64 C ใช้ 3-10% • Ozokerites or Amorphous hydrocarbon waxes :มี mething point เป็นช่วงกว้าง ให้ลักษณะของเนื้อแตกต่างกันหลายแบบ แต่จะให้ความนุ่มมากที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับ mineral oil ใช้ 3-10%

  19. Waxes 5. Paraffins wax : อ่อนและเปราะแตกง่าย ดังนั้นจึงใช้สัดส่วนที่น้อยเพื่อให้ลิปสติกเงาวาวขึ้น mp 50-60 C 6. Synthetic waxes : มีหลายชนิดให้เลือกใช้ โดยเลือกใช้ตามคุณสมบัติที่พอใจเอาเอง 7. Hydrogenated castor oil (castor wax) : เป็น waxes ที่เปราะ ช่วยเรื่องของความเงา ไม่ค่อยช่วยเรื่องความแข็ง 8. Spermaciti (Cetylpaimitate & Cetylmyristate): เป็น waxes ที่อ่อน ร่วน ลื่น จะใช้ในสักส่วนที่น้อยเพื่อเพิ่มคุณสมบัติ Thixothopic (ต้องการแรงเพื่อให้เกิดการไหล)ให้สูงขึ้น ได้จากไขปลาวาฬ ***Thixothopicคือลักษณะของเนื้อที่เมื่อไม่มีแรง cheer จะข้น เมื่อมีแรง cheer จะเหลวลง และเมื่อลดแรง cheer จะค่อยๆ กลับมาข้นขึ้นอีก

  20. Waxes 9. Petrolatum – Based waxes :Microcrystalline wax ช่วยปรับความข้นและการไหล 10. Fatty Alcohols : Cetyl alcohol/Sterryl alcohol mp 45-50 C/43 C ช่วยเรื่องการไหล ใช้ 2-3 % 11. Ceresin wax : MP 60-75 C บางครั้งอาจใช้แทน Beeswax เพราะบางคนอาจแพ้ Beeswax เนื่องจากได้มาจากผึ้ง 12. Silicone waxes: Organosiliconeblock polymers, hydrocarbon silicone copolymers, silphenylene copolymers viscosity modifier ช่วยปรับ viscosity, feeling เกิด soft touch, water resistant, long lasting lipstick

  21. Oils • น้ำมันที่สำคัญในการผลิตลิปสติกทุกวันนี้คือ น้ำมันจากพืช แร่ธาตุและจากการสังเคราะห์ • มีหน้าที่กระจายสีและ fillers ทำให้ส่วนผสมขององค์ประกอบ polar and non-polar ในลิปสติกอยู่ตัวไม่แยกตัว • นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลลื่นของแวกซ์และให้ความนุ่มและ emolliencyกับริมฝีปากด้วย

  22. Oils • ไขมันเป็น triestersแบบแข็งของกลีเซอรีนและกรดไขมัน C8 – C18 เป็นส่วนมาก ลิปสติกในยุคแรกผลิตจากไขมันหมู ไขสัตว์เพื่อขึ้นรูปลิปสติก แต่กรดส่วนหนึ่งในไขเหล่านี้มักทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและทำให้หืนได้เร็ว ดังนั้นไขมันพืชจึงถูกนำมาใช้แทนไขสัตว์ เช่น ไขโกโก้ และไขพืชแข็ง เช่น hydrogenate castor ไขมันมะพร้าวและไขมันปาล์ม ที่ผ่านมานี้ไตรกลีเซอไรด์สังเคราะห์ที่มีกลิ่นและรสดีมากกว่าชนิดธรรมชาติ เช่น glyceryltristearate, glyceryltripalmitateและ glyceryltriacetylhydroxystearateได้รับการพัฒนาขึ้น ไขมันเป็น stain solubilizersและต้องใช้ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 15 เพื่อทำให้เป็นพลาสติกและทำให้เบสลิปสติกอ่อนนุ่มขึ้น

  23. น้ำมันจากพืช • น้ำมันจากพืชที่ถือว่าสำคัญที่สุดในการผลิตลิปสติกในปัจจุบันนี้คือ armamentarium castor oil น้ำมันนี้หรือเรียกอีกชื่อว่า ricinus oil คือสารสกัดที่ระเหยได้ช้าจากเมล็ด castor beans, ricinuscommunis และประกอบด้วย glycerylricinoleateเกือบทั้งหมด ความนิยมในการใช้ castor oil ในลิปสติกเกิดจากความทนต่อการหืน พร้อมทั้งมีความหนืดมากสามารถทนต่ออุณหภูมิได้หลากหลายซึ่งทำให้น้ำมันนี้เป็นตัวกระจายสีที่ดี เมื่อใช้ในปริมาณความเข้มข้นที่พอเหมาะจะให้รสชาติที่ดีได้และให้ความมันเงาต่อริมฝีปากด้วย • น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไม่นิยมนำมาผสมลิปสติกมากนักเนื่องจากมีความคงตัวต่ำและละลายสีได้ไม่ดี

  24. น้ำมันจากแร่ธาตุ • ในการผสมลิปสติกมักจะใช้น้ำมันจากแร่ธาตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อเพิ่มความวาวให้แท่งลิปและสีสันบนริมฝีปาก เนื่องจากน้ำมันชนิดนี้มีคุณสมบัติ oxidative stability ที่ดีมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อจำกัดในการเข้ากันกับสารอื่นในลิปสติกที่น้อยตามไปด้วย

  25. น้ำมันสังเคราะห์ • น้ำมันที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ กลุ่มแอลกอฮอล์ เช่น isocetylและ isostearyl alcohol และกลุ่ม eaters เช่น capric/caprylic triglyceride และ octylhydroxystearateการเปิดตัวใช้ silicone fluids ในการผลิตเครื่องสำอาง เช่น dimethicone, organosiliconeoils เช่น phenyl trimethiconeและ perfluoropolyethersเช่น Fomblin (AusimontMontedison) ได้เปิดแง่มุมใหม่ๆ ต่อวิธีการผสมสูตรลิปสติกที่ให้ลิปสติกอยู่ตัวได้ดีพร้อมทั้งมีสีสันสวยงามน่าใช้

  26. Oils • Oils are used to wet the pigments and give slip to the stick • Usually Castor Oil is used • Silicone may be added for smother slip

  27. Oils :Vegetable oils • ในยุคแรกๆ จะใช้ น้ำมันมะกอก น้ำมันงา • มีกลิ่นหืนและเป็นตัวทำละลายที่ไม่ดี • ปัจจุบันใช้น้อย

  28. Oils :Mineral oils • มีการใช้มากอยู่ช่วงหนึ่ง เพราะไม่เหม็นหืน • เป็นตัวทำละลายสีที่แย่ที่สุด • เมื่อทาบนริมฝีปาก สีจะหลุดง่าย • ใช้ปริมาณน้อยในสูตรเพื่อเสริมความมันของแท่ง

  29. Oils : Castor Oil • เป็น vegetable oil ที่มี viscosity สูงที่สุด • เป็นตัวทำละลายใน bromo acid ที่ดี • เป็น oil ที่ถูกใช้มากที่สุดตัวหนึ่ง • เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำลิปสติกในปัจจุบัน • ด้วยค่า viscosity ที่สูงสามารถยึดเหนี่ยวไม่ให้สีลอกหรือหลุดออกง่าย • ข้อเสีย คือ ความเหนียวจากviscosity ที่สูง ทำให้การผสมเข้ากับ dry pigment ยาก • ทำให้เกิดความรู้สึกและเสียดสีเวลาทา

  30. การพัฒนา Castor Oil เพื่อใช้ในลิปสติก • เป็นตัวทำละลายที่ดี • Viscosity ต่ำกว่าเดิม หรือมี viscosity ที่ต่ำในอุณหภูมิที่ใช้งาน • กลิ่นอ่อนลงและมี stability ที่ดีขึ้น • ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

  31. Oils : Wheat Germ Oil • มีการนำมาใช้ในลิปสติก • ต้องป้องกันการหืน เพราะมีส่วนประกอบของ Polyunsaturatesสูง

  32. Oils : Solvent Oil • ช่วงหนึ่งเคยนิยมใช้มาก เพื่อให้สี Bromo acid และ Halogenated fluorescein ติดทนบนริมฝีปาก • นิยมใช้ใน “ High-stain lipstick” • ใช้กับสีน้ำเงินอ่อนอมแดง • *** ผู้หญิงมักเติมลิปสติกบ่อยๆ ระหว่างวัน เมื่อลิปสติกหลุดออกจะเหลือแต่คราบสีน้ำเงินอมแดงทำริมฝีปากดูดำคล้ำ • Solvent oil เมื่อผสมกับ Bromo acid ใช้ปริมาณสูงๆ จะทำให้สีติดทน แต่กลิ่นจะแรงต้องแต่งกลิ่นด้วยน้ำหอมเพื่อกลบกลิ่น • อาจเกิดการแพ้ได้

  33. Esters : Butyl Stearate • ใช้มากเป็นส่วนผสมในลิปสติก • เป็นตัวทำละลาย bromo acid ที่ดี แต่น้อยกว่า castor oil • Butyl Stearate ทำให้ bromo acid และ pigment เปียกได้รวดเร็วกว่า castor oil • ช่วยการกระจายตัวของสี • ช่วยลดความข้นของ phase oil ลดความเหนียวเวลาลากลิปสติกบนริมฝีปาก • Butyl Stearate เกรดบริสุทธิ์ จะไม่มีกลิ่นและไม่ทำให้เกิดกลิ่นหืน

  34. Esters : IPM, IPP • Isopropyl myristate (IPM) และ Isopropyl palmitate(IPP) • มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย • มีคุณสมบัติคล้ายกับ butyl stearate • ใช้ปริมาณน้อยในสูตร ทนอุณหภูมิสูง • มีแนวโน้มการเกิดเหงื่อ (sweat) น้อยกว่า butyl staerate

  35. Esters : Diethyulsebacateและ Diisopropyladipate • ใช้ทั่วไปในลิปสติก • มีคุณสมบัติคล้ายกับ butyl staerate

  36. Ester: ตัวอื่นๆ Oleyl alcohol : • ใช้ในสัดส่วนที่สูงในลิปสติก ทำให้มีคุณสมบัติดีขึ้น A Hexadecyl alcohol : (เป็นส่วนผสมของ branches chain C16 alcohols) • เป็น branched structure ทำให้การสูญเสียความชุ่มชื่นจากผิวน้อยกว่า straight chain oils

  37. ตารางศึกษาการใช้ solvent เป็นตัวทำละลาย bromo acid

  38. ข้อจำกัดของการเลือกใช้ Solvent • Carbitol : ให้ใช้สูงสุด 5 % ในเครื่องสำอาง เพราะมีความเป็นพิษหากใช้ปริมาณสูง และมีรสขม • Butylene glycol and Hexylene glycol : รสไม่เป็นที่ยอมรับ • Polyethylene glycol : สามารถดูดน้ำไว้ที่ตัว จึงเป็นการเพิ่มเหงื่อในลิปสติก หากใช้ปริมาณสูง • Tetrahydrofurfuryl alcohol and acetate : กลิ่นไม่เป็นที่ยอมรับ ระเหยง่าย • Benzyl alcohol : กลิ่นใช้ได้ ซึ่งมีผลอย่างมากเมื่อใช้บนริมฝีปาก • Phenylethyl alcohol : จะมีกลิ่น rose wsaterค่อนข้างแรง ต้องใช้ร่วมกับ oil ตัวอื่น • Propylene glycol : ค่าการละลาย bromo acid ไม่สูงแต่นิยมใช้ในสูตรที่ต้องการให้ลิปสติกติดทนบนริมฝีปาก มีรสหวานมีความเป็นพิษต่ำ แต่สามารถดูดน้ำไว้กับตัว ถ้าจะนำมาผสมกับ oil หรือ waxsจะต้องมี solvent ตัวอื่นช่วย เช่น Oleyl alcohol และ Propylene glycol monoester จึงจะสามารถทำให้ Propylene glycol เข้ากับสารอื่นได้

  39. Fatty Materials • ปัจจุบันใช้น้อยในลิปสติกยุคใหม่ๆ • Cocoa butter : เคยเป็นสารในอุดมคติของการทำลิปสติก เพราะมีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย mp < 37 C และใช้ง่าย แต่พบว่ามันทำให้เกิดการ Bloom หรือการทำให้ผิวของลิปสติกไม่เรียบ จึงไม่ค่อยนำมาใช้แล้วในปัจจุบัน • Hydrogenated vegetable oils : ที่ใช้ในอาหาร มีความคงตัวต่อปฏิกิริยา oxidation และให้เนื้อที่ดี • Petrolatum : มีความคงตัวสูง ให้ความมันวาว แต่ใช้ในปริมาณน้อยในสูตร • Lanolin : มีคุณสมบัติที่ดี นิยมใช้ช่วยการกระจายตัวของสี ใช้ในสัดส่วนที่สูงในสูตร 5-7% ช่วยให้ความเงาและความชุ่มชื้นกับริมฝีปาก มีการพัฒนาเพื่อช่วยให้กลิ่นไม่เปลี่ยนแปลง

  40. Fatty Materials 5. Modified Lanolin : เป็นส่วนหนึ่งของ lanolin เช่น lanolin oil , lanolin wax ใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสูตร 6. Glycerylmonostearate (non-emulsifying) : ช่วยให้เนื้อร่วมกับสารอื่นๆ ในสูตร เป็นตัวทำละลายที่ดี 7. Acetoglycerides : ให้เนื้อที่มีความแตกต่างจากไขมันตัวอื่นๆ 8. Lecithin : ใช้ในสัดส่วนน้อยๆ เพื่อปรับความเรียบผิวของลิปสติก ให้ความชุ่มชื้น ใช้ง่าย 9. Branched-chain hydrocarbons, alcohols, esters : ใช้ในลิปสติกและสำหรับการเตรียม make-up ตัวอื่นๆ เพราะจะจับตัวบนผิวน้อย ยอมให้น้ำผ่านอกจากผิวมากกว่าไขมันพวก straight-chain

  41. Pigments • From the list of approved pigments for mucosis • Either mineral or lacquers of organic pigments • Mica or pearlized pigments • Mixed in the oil, they are grounded through a mill to a fine texture

  42. Certified color • Color Index Number (CI.No.) • FD&C • D&C • External D&C Lipstick 1, 2 only

  43. Colorants • สาระสำคัญของลิปสติกคือสี เฉดสีที่ระบายบนริมฝีปาก ระดับของเนื้อลิปสติกที่จะปกปิด และสัมผัสของเนื้อลิปสติกล้วนแต่เป็นหน้าที่ที่เกี่ยวพันกันในการผสม colorants ที่จะใช้ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า stains หรือ “bromo acids” เป็นส่วนสำคัญของลิปสติกในช่วงเกินกว่าครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20แต่ได้รับความนิยมน้อยลงในช่วงที่ผ่านมา รายงานเรื่อง photosensitization-induced cheilitis(ริมฝีปากอักเสบ)

  44. Pearlescent Pigments • ประกายและความสวยงามของลิปสติกสมัยใหม่ต้องถือว่ามาจาก pearlescent pigments หรือไข่มุกนั่นเอง เม็ดสีจะถูกสร้างขึ้นระหว่างรอยแยกของตัวสารไข่มุกตามกฎฟิสิกส์เรื่องการสะท้อนและหักเหของแสงมากกว่าการดูดซับแสง เมื่อแสงส่องผ่านทะลุชั้นเลเยอร์โปร่งใสแต่ละชั้นก็จะเกิดการสะท้อนแสงขึ้นด้วยแสงจำนวนหนึ่งที่ส่งผ่านลึกเข้าไปใต้ชั้นแมทริกซ์ การสะท้อนแสงจาก”กระจก”เล็กๆ มากมายเหล่านี้สะสมกันมากขึ้นจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ pearlescent • สารอินทรีย์ทั่วไปที่มีอยู่ในไข่มุกคือ guanine ซึ่งก็คือเบส purine ที่ให้แสงสะท้อนกับเกล็ดปลาและสัมผัสมันเงาของผิวหนังสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน ปกติแล้วผลกระทบทางการค้าลิปสติกของ guanine ถูกจำกัดด้วยต้นกำเนิดทางธรรมชาติ ในทุกวันนี้จึงมีสารสังเคราะห์ที่เข้ามาทดแทนนั่นคือ pearl bismuth oxychloride

  45. สีจากธรรมชาติ • สีจากธรรมชาติ เช่น คาร์มีน และสารอนินทรีย์ เช่น iron oxides ถูกนำมาใช้ผสมใน pearl laminate เพื่อให้ความเกิดสีที่ดูชุ่มฉ่ำมากกว่าที่จะได้จากการผสมไข่มุกกับ colorants ในลิปสติกเท่านั้น ตัวอย่างของ pigmented pearls ดังกล่าว ได้แก่ Cellini pigments จากบริษัท Englehard Corp. และบริษัท Colorona pigments จาก EMI Industries, Inc.

  46. ระดับและคุณลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาของ pearlescent pigments ที่ใช้จะกำหนดผลในการมองเห็นสีบนแท่งลิปสติกและสีเมื่อใช้บนผิวหนังแล้ว เมื่อใช้ความเข้มข้นต่ำ (ca. ต่ำกว่า 2%) จะให้ความเงาวาวและและความมีชีวิตชีวาให้กับการกระจายสีที่มีเบสออกไซด์ ขณะที่ความเข้มข้นสูงจะแสดงผลการเปลี่ยนแปลงของสีที่โดดเด่นให้กับแท่งลิปสติก และ/หรือเพิ่มประสิทธิภาพการจัดรูปทรงให้กับลิปสติกที่จัดรูปทรงยากไม่เช่นนั้นก็จะเปลี่ยนลักษณะภายนอกของลิปสติก

  47. Filler • Colorants ของลิปสติก ได้แก่ lakes, metal oxide, pearls ต่างมี concomitant ability ที่จะเปลี่ยนการผสมผสานทางโครงสร้างของแท่งลิปสติก ในขณะเดียวกัน colorants แต่ละชนิดก็มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันจากเบสลิปสติกและ/หรือจากพื้นผิวของริมฝีปากที่ต่างกัน เนื่องจากความเข้มข้นทั้งหมดของพิกเมนท์สามารถแปรเปลี่ยนไปได้มากในชุดลิปสติกที่มีเฉดสีเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกลไก counterbalancing เพื่อให้แน่ใจได้ว่าโครงสร้างของลิปสติกและสัมผัสจะคงที่ โดยการใช้ fillers ที่ไม่มีปฏิกิริยาและไร้สี ปกติแล้วจะใช้ฟิลเลอร์ในระดับต่ำ (1-2 %) จนถึงระดับพอประมาณ (10-12 %) ฟิลเลอร์อาจมีรูปร่างคล้าย plate เช่น ไมก้า ทอล์ก หรือเซเรไซท์ หรืออาจมีทรงกลมเช่นเดียวกับ ซิลิก้า ไนลอน หรือ polymethyl methacrylate (PMMA) หรือไม่มีรูปร่างที่แน่นอนเช่นเดียวกับอะลูมินาหรือแบเรียมซัลเฟต

  48. Additive • สารกันแดดจากสารอินทรีย์ เช่น methyl p-methoxycinnarnateและ ตระกูล benzophenone ของตัวดูดซึมรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต • สารกันแดดจากสารอนินทรีย์ เช่น non-pigmentary, micronized titanium dioxide และ zinc oxide • สาร antioxidants เช่น BHT และ alpha-tocopherol and its esters • สารกันบูด เช่น methyl and/or propyl phydroxybenzoate • Chelating agents เช่น EDTA and its alaki and alaki earth metal salts

  49. Additive • รสและน้ำหอม (Flavor and Perfume) • อาจมีสารเพิ่มเติมที่มีคุณสมบัติ physicochemical เฉพาะ เช่น polymeric film formers และสารที่มีผลทางการแพทย์ต่อผิวหนัง เช่น มอยส์เจอร์ไรเซอร์ รวมอยู่ด้วยเพื่อ comfort ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานตามที่กล่าวอ้างไว้ ต้องศึกษาระเบียบข้อบังคับเฉพาะและข้อเขียนเรื่องความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสารปรุงแต่งแต่ละชนิดเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้สารเหล่านั้นบนริมฝีปาก

  50. Preservatives • While the lipstick is anhydrous, molds may grow on the surface: need to preserve. Usually with parabens • Propylparaben 0.1%

More Related