730 likes | 2.03k Views
การออกแบบการวิจัย. ดร. ไพศาล กาญ จนวงศ์. ความหมายทั่วไป. การออกแบบงานวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขตและวางรูปแบบการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาที่วิจัย ผลจากการออกแบบวิจัยทำให้ได้ตัวแบบที่เรียกว่า แบบการวิจัย ซึ่งเปรียบเหมือนพิมพ์เขียวของการวิจัย.
E N D
การออกแบบการวิจัย ดร. ไพศาล กาญจนวงศ์
ความหมายทั่วไป • การออกแบบงานวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขตและวางรูปแบบการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาที่วิจัย ผลจากการออกแบบวิจัยทำให้ได้ตัวแบบที่เรียกว่า แบบการวิจัย ซึ่งเปรียบเหมือนพิมพ์เขียวของการวิจัย
แบบการวิจัย และ เค้าโครงการวิจัย • เค้าโครงการวิจัย หมายถึง รายละเอียดของขั้นตอนต่างๆ ของการทำวิจัย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปัญหาการวิจัย จนถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ช่วยผู้วิจัยสามารถดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงได้ แต่มิได้รับประกันว่าผลที่ได้จะถูกต้องเม่นยำ
สรุปความหมายของการออกแบบวิจัยสรุปความหมายของการออกแบบวิจัย • การกำหนดรูปแบบของการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษา การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน รวมถึงวิธีการวัดค่าตัวแปรที่เป็นผลมาจากการกระทำของตัวแปรอิสระนั้นๆ
ปัจจัยที่ทำให้การเรียนวิชาวิจัยให้ได้ A วิธีการวัด ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน ระยะเวลาเดินทาง ระยะเวลาเดินทาง ระยะเวลาเดินทาง เวลาเรียน เวลาเรียน เวลาเรียน เวลาเรียน เรียนได้ A ส่งงานครบ ส่งงานครบ ส่งงานครบ ทำข้อสอบได้ ทำข้อสอบได้
วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัยวัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัย • เพื่อให้ได้คำตอบที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นปรนัยและด้วยวิธีการที่ประหยัดที่สุด • เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนที่จะส่งผลมารบกวนการทดลองทำให้ผลการวัดค่าตัวแปรตามคลาดเคลื่อนไป ผลการควบคุมจะทำให้สามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรตามนั้น เกิดจากตัวแปรอิสระที่ศึกษาจริงหรือไม่
ประโยชน์ของแบบการวิจัยประโยชน์ของแบบการวิจัย • ช่วยทำให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนได้ • ช่วยในการกำหนดและสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล • ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ • ช่วยในการประเมินเกี่ยวกับงบประมาณ แรงงานและระยะเวลาในการทำวิจัย • ช่วยในการประเมินผลวิจัยที่ได้ว่ามีความถูกต้องเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
ประสิทธิภาพของการออกแบบการวิจัยประสิทธิภาพของการออกแบบการวิจัย • ความแม่นยำ (Accuracy) • ความประหยัด (Economy) • ความถูกต้อง (Validity)
หลัก Max : Maximization of Systematic Variance หลัก Min : Minimization of Systematic Variance หลัก Con : Control of Extraneous Systematic Variance หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อพิจารณาประสิทธิภาพของการออกแบบการวิจัย Max-Min-Con
Max : Maximization of Systematic Variance • หมายถึง การเพิ่มค่าความแปรปรวนของตัวแปรอิสระให้มีค่าสูงสุด หรือค่าของตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาให้มีความแตกต่างกันมากที่สุด เพื่อที่สามารถวัดและสังเกตได้ชัดเจนแน่นอน เช่น การศึกษาวิธีการสอน 2 วิธี ว่าวิธีไหนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่ากัน
Min : Minimization of Systematic Variance • หมายถึง การลดค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนต่างๆ ให้มีค่าน้อยที่สุด โดยความคลาดเคลื่อนดังกล่าวอาจเกิดจากหน่วยที่ศึกษา เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ จะต้องมีการควบคุมให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด เช่น การศึกษาวิธีการสอน 2 วิธี ว่าวิธีไหนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่ากัน
ลักษณะการเกิดความคลาดเคลื่อนลักษณะการเกิดความคลาดเคลื่อน • ความคลาดเคลื่อนอย่างสุ่ม (random error) เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันของโอกาสอันเกิดขึ้นของตัวแปรแทรกซ้อน ที่มักจะเป็นตัวแปรจากภายในกลุ่มตัวอย่าง เช่น เพศ อายุ • ความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (systematic error) เป็นความคลาดเคลื่อนที่มีผลต่อกลุ่มตัวอย่างโดยเท่าเทียมกัน ได้แก่ เครื่องมือ หรือจากผู้ใช้เครื่องมือ
Con : Control of Extraneous Systematic Variance • หมายถึง การควบคุมค่าความแปรปรวนของตัวแปรเกินที่อาจส่งผลกระทบต่อการทดลองให้มีน้อยที่สุด การกำจัดตัวแปรออก การสุ่ม การออกแบบวิจัย การเพิ่มตัวแปร การจับคู่ การใช้เทคนิคทางสถิติ การใช้เครื่องจักรกล
คุณภาพงานวิจัย • ความตรงภายใน (Internal Validity) • ความตรงภายนอก (External Validity)
ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) ความเที่ยงตรงที่เกิดจากการดำเนินการทดลอง หรือการดำเนินการศึกษาโดยตรง หรือ แบบการวิจัยที่ทำให้ผลการวิจัยที่ได้เกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระที่ศึกษาโดยตรงไม่มีตัวแปรอื่นหรือเหตุการณ์อื่นแทรกซ้อนเข้ามา
องค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยขาดความเที่ยงตรงในองค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยขาดความเที่ยงตรงใน • ประวัติของกลุ่มตัวอย่าง (History): ความแตกต่างกันมาก • วุฒิภาวะ (Maturation) : เวลาทดลองนานเกินไป • ทักษะในการสอบวัด (testing): คุ้นเคยก่อนและหลัง • เครื่องมือที่ใช้วัด (Instrumentation) : ตัวเครื่องมือและผู้ใช้ • การถดถอยทางสถิติ (Statistical regression) : คะแนนสูง->ต่ำ • การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Selection): เลือกกลุ่มไม่ดีและ กลุ่มเปรียบเทียบไม่เหมาะสม • การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (Experimental mortality) : ตาย • ผลของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ (Interaction effect): เช่นการทดสอบ กับ เครื่องมือ
ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) • ความเที่ยงตรงของแบบการวิจัยหรือแบบแผนการทดลองที่ผลสรุปจากการวิจัยที่ความเชื่อถือได้ สามารถอ้างอิง (Generalization) ไปสู่มวลประชากรตามเป้าหมาย (target population) ได้
ประชากร ตัวอย่าง
ประชากร ตัวอย่าง ตัวอย่าง (Generalization)
องค์ประกอบที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนภายนอกองค์ประกอบที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนภายนอก • ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรทดลอง: กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาไม่เป็นตัวแทนที่ดี และตัวแปรทดลองที่เลือกมาศึกษาไม่เหมาะสม • ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการสอบครั้งแรก กับตัวแปรทดลอง: การสอบครั้งแรกจะมีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความจำข้อความได้ เมื่อนำมาทดลองและทดสอบใหม่อาจจำได้ • ปฏิกิริยาเนื่องจากการจัดสภาพของการทดลอง ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป • ผลร่วมของการได้รับตัวแปรทดลองหลายๆ ตัวติดต่อกัน ทำให้ผลสรุปเปรียบเทียบไม่ชัดเจน