550 likes | 1.8k Views
การออกแบบการวิจัย Part II: Kerlinger’s concept. ดร.ภิรดี วัชรสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ทบทวน ความหมายของการออกแบบการวิจัย ( research design). ความหมาย 1
E N D
การออกแบบการวิจัยPart II: Kerlinger’s concept ดร.ภิรดี วัชรสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ทบทวนความหมายของการออกแบบการวิจัย (research design) ความหมาย 1 การกำหนดแบบแผนการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกระบวนการการวิจัยที่จะต้องทำในแต่ละขั้นตอนเข้าด้วยกัน ได้แก่ การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (sampling design) การออกแบบการวัด (measurement design) และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (analysis design)
ความหมายของการออกแบบการวิจัย (research design) ความหมาย 2 Kerlinger’s concept “A research design is a plan, structure and strategyof investigation so conceived so as to obtain answers to research questions or problems.” (Kerlinger, 1986: 279) การออกแบบการวิจัยเป็นการวางแผน วางโครงสร้างหรือเค้าโครงของกิจกรรมการวิจัย และการกำหนดกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการวิจัย (ที่เน้นการจัดการกับตัวแปร) เพื่อตอบปัญหาวิจัยได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง
แผน (plan) หมายถึง ขอบข่ายของการดำเนินการวิจัยทั้งหมดที่นักวิจัยกำหนด ทั้งในด้านการกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนระยะเวลาดำเนินการ • โครงสร้าง (structure) หมายถึง เค้าโครง แบบจำลองหรือโมเดล หรือรูปแบบของตัวแปรที่กำหนดในการวิจัย อาจกำหนดโดยเขียนเป็นกรอบแนวคิด (conceptual framework) • กลยุทธ์ (strategy) หมายถึง วิธีในการดำเนินการวิจัย (research method) ที่เน้นการจัดการกับข้อมูล สภาพการณ์ทดลองหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ความหมายของการออกแบบการวิจัย (research design) ความหมาย 3 (วรรณวิภา จัตุชัย, 2552) การอกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดรูปแบบของการจัดกระทำกับตัวแปรต้นและตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษา โดยมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน รวมทั้งการวัดค่าของตัวแปรตาม ที่เป็นผลจากการกระทำของตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระนั้นๆ
การออกแบบการวิจัยรวมถึง การเลือกประเภท// รูปแบบการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ ตลอดจนการกำหนดวิธีการและแนวทางต่างๆ ที่นำมาใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาของการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การออกแบบการวิจัยจะนำเสนอในรูปของ โครงร่างการวิจัย (research proposal) ที่มีแบบแผน เป็นขั้นตอน
รายละเอียดในโครงร่างการวิจัยรายละเอียดในโครงร่างการวิจัย • กรอบแนวคิดในการวิจัย • ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ • การเลือกประชากร กลุ่มตัวอย่าง • การสร้างและใช้เครื่องมือวิจัย • การเก็บรวบรวมข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูล • ระยะเวลาดำเนินการวิจัย • ชื่อเรื่อง • ความเป็นมาและความสำคัญ • วัตถุประสงค์การวิจัย • ขอบเขตการวิจัย • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • การสึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง • สมมุติฐานการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัยวัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัย • เพื่อให้ได้คำตอบของคำถามวิจัยหรือปัญหาวิจัยที่สนใจศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้ • เพื่อให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปอย่างเหมาะสม รอบคอบ รัดกุม เพื่อความถูกต้อง เที่ยงตรงของผลการวิจัย • เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรสอดแทรก ที่อาจส่งผลรบกวนทำให้การวัดค่าตัวแปรคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจทำให้สรุปผลผิดพลาดได้
ประโยชน์ของการออกแบบการวิจัยประโยชน์ของการออกแบบการวิจัย • เป็นกรอบแนวทางในการวางแผนจัดกระทำและควบคุมตัวแปร ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย • ช่วยในการเลือกระเบียบวิธีวิจัย กำหนดตัวแปร กำหนดประเภทและสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ขข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและมีคุณภาพ • เป็นแนวทางให้นักวิจัยเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่เหมาะสม • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการวิจัย (ด้านกำลังคน งบประมาณ เวลาที่ใช้)
หลักการออกแบบการวิจัย“MAX MIN CON” PRINCIPLE (KERLINGER, 1986) • Maximization of experimental or systematic variance • Minimizationof error variance systematic error, random error • Control extraneous variableexternal factors, intrinsic to the subjects, experimenter and subjects
Maximizationof experimental variance • การทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรทดลอง (ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรหลักในการวิจัย) มีค่าสูงสุด โดยออกแบบตัวแปรทดลองในการวิจัยให้มีความแตกต่างกันให้มากที่สุดตามหลักวิชา เช่น หากต้องการทดลองศึกษาผลของวิธีสอน ก็ต้องกำหนดวิธีสอนให้แตกต่างจากวิธีสอนปกติให้เห็นได้อย่างชัดเจน
MINIMIZATIONOF ERROR VARIANCE • การทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำที่สุด โดยการจัดสภาพการณ์การทดลองหรือการวิจัยให้เป็นระบบ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากความคลาดเคลื่อนจากการวัด เช่น เครื่องมือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวัด และระยะเวลาที่ใช้ รวมทั้งความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น สภาพส่วนบุคคล ภูมิหลังของบุคคล ทัศนคติต่อการทดลอง หรือสถานการณ์ที่แต่ละคนได้รับแตกต่างกัน
MINIMIZATIONOF ERROR VARIANCE • การลดความคลาดเคลื่อนทำได้โดยการ • สร้างและใช้เครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพ ควบคุมให้การวัดเที่ยงตรง • ควบคุมเงื่อนไขการทดลองให้เป็นระบบทำให้แต่ละคนได้รับปัจจัยต่างๆ เหมือนๆกัน เท่าๆกัน หรือใช้บุคคลเดียวกัน
CONTROL EXTRANEOUS VARIABLE • การควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน ไม่ให้ตัวแปรเหล่านั้นมากระทบต่อการทดลองหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย
CONTROL EXTRANEOUS VARIABLE • การควบคุมทำได้ ดังนี้ • การใช้กระบวนการสุ่ม (randomization) • การขจัดออกจากการทดลอง (elimination) • การนำตัวแปรนั้นเข้าสู่การทดลอง (built into design) • การจับคู่ (match group, map subject) • การควบคุมทางสถิติ (statistical control) • การออกแบบการวิจัย (research design)
ความเที่ยงตรงของการวิจัยความเที่ยงตรงของการวิจัย • คุณภาพของงานวิจัย พิจารณาจากผลการวิจัยที่สามารถตอบปัญหาวิจัยได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งถือว่าการวิจัยนั้น มีความเที่ยงตรงของแบบการวิจัย • ความเที่ยงตรงของการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก
ความเที่ยงตรงภายใน • ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) หมายถึง งานวิจัยที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเป็นผลอันเกิดจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองเท่านั้น โดยไม่มีตัวแปรแทรกซ้อนเกิดขึ้นเลย
ความเที่ยงตรงภายใน เช่น ผู้สอนต้องการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2 ห้องโดยใช้วิธีสอนที่แตกต่างกัน ซึ่งนักเรียน 2 ห้อง มีเกรดเฉลี่ยของทุกวิชาเท่ากัน แต่คะแนนเฉลี่ยของความสามารถพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ต่างกัน ดังนั้น ความสามารถพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัยขาดคุณภาพในแง่ความตรงภายใน การที่จะทำให้งานวิจัยมีคุณภาพในแง่ความตรงภายในสูง ผู้วิจัยต้องกำจัดหรือควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนนั้น
ความเที่ยงตรงภายนอก • ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) หมายถึง งานวิจัยที่สามารสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปสู่ประชากรเป้าหมายในวงกว้างได้อย่างถูกต้อง หรือกว่างได้ว่า ผลการวิจัยต้องสามารถอธิบายความจริงที่เกิดขึ้นกับประชากรในภาพรวมได้อย่างแท้จริง
ความเที่ยงตรงภายนอก ผู้วิจัยต้องการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรปฐมวัยของครูอนุบาล ซึ่งความคิดเห็นของครูแต่ละสังกัดนั้นแตกต่างกัน ในการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มครูสังกัดโรงเรียนของรัฐเท่านั้น แต่เมื่อสรุปผล ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยไปสู่ประชากรครูอนุบาลทั้งหมดทุกสังกัด งานวิจัยชิ้นนี้ถือได้ว่า เป็นงานวิจัยที่มีความตรงภายนอกต่ำ เนื่องจากการสรุปผลอ้างอิงไปสู่กลุ่มเป้าหมายไม่ถูกต้อง
ความเที่ยงตรงภายนอก • การทำให้งานวิจัยมีความตรงภายนอกสูง ทำได้โดยการสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยต้องใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนพอเหมาะ และเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเป้าหมาย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายนอกปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายนอก ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายใน • การกำหนดรูปแบบการทดลองที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ยาก • ผลจากการกระทำหรือทดลองหลายๆ ครั้ง • ฮอว์ทอร์นเอ็ฟเฟค (Hawthorne effect)– กลุ่มตัวอย่างมีการแสดงพฤติกรรมที่บิดเบือน ผิดจากความเป็นจริง • คุณภาพและลักษณะของเครื่องมือวิจัย • อิทธิพลจากการทดสอบ/วัดซ้ำ • ความลำเอียงในการเลือกหน่วยทดลองหรือสถานการณ์ • การขาดหายของกลุ่มตัวอย่าง • ประวัติ ภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง • วุฒิภาวะของกลุ่มตัวอย่าง
แบบแผนของการวิจัย • การวิจัยแบบไม่ทดลอง (non-experimental design) • การวิจัยแบบก่อนการทดลอง (pre-experimental design) • การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) • การวิจัยแบบทดลอง (อย่างแท้จริง) (true-experimental design) นักวิจัยพึงเลือกแบบแผนการวิจัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความเที่ยงตรงทั้ง 2 ประการ