E N D
บทที่14กฎหมายแรงงาน กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ที่พอเพียง
กฎหมายแรงงานที่สำคัญ • กฎหมายแรงงานของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ ฉบับที่สำคัญซึ่งใช้บังคับแก่กิจการเอกชนทั่วไป ควรที่นายจ้าง ลูกจ้าง นักศึกษา นักกฎหมาย และผู้ที่ประกอบอาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ต้องสนใจศึกษารายละเอียดมี 6 ฉบับ ดังนี้ คือ • 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 6 เรื่องจ้างแรงงาน • 2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 • 3. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 • 4. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 • 5. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 • 6. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • สัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในบทที่4 จึงไม่ขอกล่าวอีก
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขึ้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน และการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพ อนามัยอันดีและมีความปลอดภัย ในชีวิต และร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควรกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงานลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • 1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เมื่อไม่ปฏิบัติตาม และหากพนักงานตรวจแรงงานตรวจพบอาจดำเนินคดีอาญาได้ • 2. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย สัญญา หรือข้อตกลง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ข้อใดที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะและสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะ
ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับแก่นายจ้าง ลูกจ้างในการจ้างแรงงานทุกราย ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภทใด และไม่ว่าจะมีจำนวนลูกจ้างเท่าใด ยกเว้นนายจ้างหรือกิจการของ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ บรรดาข้าราชการและลูกจ้าง ของทางราชการจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กรณีที่ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานอีกประการหนึ่ง คือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวคือ ลูกจ้างหรือนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วย แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กรณีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานอีกประการหนึ่ง คือ กฎหมาย คุ้มครองแรงงานให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งสามารถออกกฎหมายกระทรวง ยกเว้นนายจ้างประเภทใดประเภทหนึ่ง มิให้นำเอากฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
นายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมี 4 ประเภท • 1. นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ • 2 นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล เช่น หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด • 3. นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริง หรือได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวแทน • 4. นายจ้างรับถือ หมายถึง ผู้ประกอบกิจการที่มีการจ้างเหมาค่าแรงผู้ประกอบการดังกล่าว นอกจากจะถือว่าเป็นนายจ้างของลูกจ้างของตนเองแล้วยังเป็นนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมา ค่าแรงที่มาทำงานในกิจการของตนด้วย
ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็ตาม • การใช้แรงงานทั่วไป • 1. เวลาทำงานในวันทำงานปกติแยกกำหนดตามประเภทงานได้ดังนี้ • 1.1 กรณีลักษณะงานปกติทั่วไป ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้าง ทำงานเกินกว่า วันละ8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์7 • 1.2 กรณีลักษณะของงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 7 ชั่วโมง และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
2. เวลาพักผ่อน • 2.1 เวลาพักผ่อนระหว่างทำงาน นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักผ่อนติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานในวันนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง แต่คู่สัญญาอาจตกลงเป็นอย่างอื่นอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างก็ได้ และในกรณีที่มีการกำหนด ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้เวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนทำงานล่วงเวลา • 2.2 วันหยุดนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมี วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุด ตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามลักษณะแห่งวันหยุด ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้การรับรอง • 3. วันลาวันลา หมายความว่า วันที่ลูกจ้างป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือเพื่อคลอดบุตร • 3.1 วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวัน ทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการก็ได้
3.2 วันลาเพื่อทำหมัน และลาเนื่องจากการทำหมัน ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรอง • 3.3 วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตาม ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • 3.4 วันลาเพื่อรับราชการทหาร ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหาร เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร • 3.5 วันลาเพื่อการฝึกอบรม ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ • 3.6 วันลาเพื่อคลอดบุตร ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
ค่าตอบแทนในการทำงาน • ค่าตอบแทนในการทำงานมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ • 1. ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างทั้งนี้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้มาทำงานและในวันลาด้วยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ • 2. ค่าล่วงเวลา หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติตามอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย • 3. ค่าทำงานในวันหยุด หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุดตามอัตราที่กำหนดไว้ ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย • 4. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
ค่าชดเชย • ค่าชดเชย หมายถึง เงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่น ๆ ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่ประกาศไว้ในกระทรวงมหาดไทย และ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน • เงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชย • นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ • 1. ต้องมีการแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจเช่นเดียวกับนายจ้าง • 2. ลูกจ้างมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับอายุการทำงานของลูกจ้าง • 3. ลูกจ้างต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กล่าวคือ ต้องไม่มีพฤติการณ์ใดของลูกจ้างตามกฎหมายที่เป็นเหตุทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เช่น การที่ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น • 4. ในเรื่องอัตราการจ่ายค่าชดเชยนั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งนายจ้าง และลูกจ้างจะตกลงกันให้มีการจ่ายต่ำกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากความคุ้มครอง ในเรื่องค่าชดเชยเป็นความคุ้มครอง ตามกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจะทำการฝ่าฝืนไม่ได้
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย • กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ • 1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง • 2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • 3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง • 4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง อันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้าง ไม่จำเป็นต้องตักเตือนเป็นหนังสือ • 5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร • 6. ลูกจ้างได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการการจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ • กรณีที่นายจ้างจำต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบ กิจการนี้ จะต้องเข้าองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ • 1. นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นซึ่งจะเป็นสถานที่ใดก็ได้ ข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัด หรือข้ามภาค และ • 2. การย้ายนั้นมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวลูกจ้างหากมีกรณีที่ครบองค์ประกอบข้างต้น ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยดังกล่าวได้ • การจ่ายค่าชดเชยกรณีนายจ้างปรับปรุงกิจการ • กรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างปรับปรุงกิจการอาทิ เช่น นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน, ปรับปรุงกระบวนการผลิต, ปรับปรุงการจำหน่าย, ปรับปรุงการบริการ
กฎหมายเงินทดแทน • กฎหมายเงินทดแทน คือ เป็นกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ในอุปการะของลูกจ้างด้วยการกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินให้บุคคลดังกล่าว เมื่อลูกจ้างได้รับภยันตราย หรือเจ็บป่วย หรือตายอันมีสาเหตุมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และกำหนดให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นโดยให้นายจ้างจ่ายเงิน สมทบกองทุนดังกล่าวไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง หรือผู้อยู่ในอุปการะของ ลูกจ้างแทนนายจ้าง • ในปัจจุบันกฎหมายเงินทดแทนที่มีผลใช้บังคับได้แก่ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 • เงินทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน หรือจากโรคซึ่งเกิดตามลักษณะ หรือสภาพของงานหรือการทำงาน
เงื่อนไขในการจ่ายเงินทดแทนเงื่อนไขในการจ่ายเงินทดแทน • ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนนี้ กฎหมายเงินทดแทน กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน แก่ลูกจ้างใน 3 กรณีคือ • 1. กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย หรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือทำตาม คำสั่งนายจ้าง • เช่น ลูกจ้างเป็นช่างไฟฟ้า ขณะทำการต่อสายไฟฟ้า หรือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ ลูกจ้าง ได้รับกระแสไฟฟ้าซึ่งลัดวงจรเข้าสู้ร่างกาย และถึงแก่ความตาย เพราะเหตุมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นต้น
2. กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย คือ การที่ลูกจ้างเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะ หรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน • 3. กรณีที่ลูกจ้างสูญหายไปในระหว่างการทำงาน คือ การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างอันมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตา เพราะ ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงานหรือระหว่างปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง เช่น ลูกจ้างเป็น ช่างสำรวจเดินทางเข้าไปสำรวจตามหน้าที่ในป่า
ประเภทและอัตราการจ่ายเงินทดแทนประเภทและอัตราการจ่ายเงินทดแทน • สำหรับการจ่ายเงินค่าทดแทนการทำงาน จะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. ค่าทดแทน • ค่าทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทนสำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือสูญหายของลูกจ้าง ซึ่งอัตราในการจ่าย ค่าทดแทนนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เงินทดแทน และตามกฎกระทรวงแรงงานฯ • 2. ค่ารักษาพยาบาล • ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเพื่อให้ผลของการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยบรรเทาหรือหมดสิ้นไป และหมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทำหน้าที่แทน หรือช่วยอวัยวะ ที่ประสบอันตรายด้วย ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแรงงาน ฯ
3. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอันเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย และสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแรงงานฯ • 4. ค่าทำศพ • ค่าทำศพ หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำศพของลูกจ้างตามประเพณีทางศาสนาของลูกจ้างหรือตามประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย เนื่องจาก ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวงแรงงานฯ
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ คือ กฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถทำข้อตกลง ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ และผลประโยชน์ ในการทำงานรวมกันได้ รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น ให้ยุติลงโดยรวดเร็วและด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ได้แก่ • 1. ราชการส่วนกลาง • 2. ราชการส่วนภูมิภาค • 3. ราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งราชการกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา • 4. กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518
องค์กรทางแรงงาน • องค์กรทางแรงงานตามที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้การรับรอง มีดังต่อไปนี้ • 1. องค์กรฝ่ายนายจ้าง ประกอบด้วย • 1.1 สมาคมนายจ้าง เป็นองค์กรระดับแรก ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างด้วยกันเองหรือกับลูกจ้าง • 1.2 สหพันธ์นายจ้าง เป็นองค์กรระดับสูงขึ้นไปถัดจากสมาคมนายจ้าง ซึ่งเกิดจากการที่สมาคมนายจ้างตั้งแต่ 2 สมาคมขึ้นไปที่สมาชิกประกอบกิจการประเภทเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสมาคมนายจ้าง • 1.3 สภาองค์กรนายจ้างเกิดจากการรวมตัวของสมาคมหรือสหพันธ์นายจ้างไม่น้อยกว่า 5 แห่ง • 1.4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและแรงงานสัมพันธ์
2. องค์กรฝ่ายลูกจ้าง ประกอบด้วย • 2.1 สหภาพแรงงานเป็นองค์กรระดับแรกสุดของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้น โดยการจดทะเบียน และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์อันเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิด พลังในการต่อรองกับนายจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง • 2.2 สหพันธ์แรงงาน เป็นการจัดตั้งซึ่งเกิดจากสหภาพแรงงานตั้งแต่ 2 สหภาพขึ้นไป มารวมกันโดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสหภาพแรงงาน • 2.3 สภาองค์การลูกจ้าง เกิดขึ้นจากสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 15 แห่ง รวมตัวกันจัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสภาองค์กรนายจ้าง • 2.4 คณะกรรมการลูกจ้าง เกิดขึ้นจากการรวมตัวจัดตั้งขึ้นในสถานประกอบกิจการที่มี ลูกจ้างตั้งแต่50 คนขึ้นไป เพื่อเป็นตัวแทนของลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานหรือ การอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
สภาพการจ้าง • สภาพการจ้าง เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงาน เช่น กำหนดการเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปี ก็เป็นสภาพการจ้าง กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างที่จะต้องทำงาน 8 นาฬิกา เลิก 16 นาฬิกา ก็เป็นสภาพการจ้าง • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึง ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือ กล่าวคือ เป็นข้อตกลงฉบับใหญ่ระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้างแต่ละคนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันเกี่ยวกับสภาพ การจ้างแล้ว ก็จะเกิด “ข้อพิพาทแรงงาน”
กรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานที่นายจ้างมีสิทธิกรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานที่นายจ้างมีสิทธิ • การปิดงาน หมายความว่า การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราว เนื่องจาก ข้อพิพาทแรงงาน กล่าวคือ การที่นายจ้างมีสิทธิที่จะปิดงาน เมื่อมีข้อพิพาทแรงงาน เพราะนายจ้าง มีความประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างต้องเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการปิดงานนั้นทำให้ลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ความเดือดร้อนและสภาวะกดดันบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างหรือให้ลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อฝ่ายนายจ้าง • กรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานลูกจ้างมีสิทธิ • การนัดหยุดงาน หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจาก ข้อพิพาทแรงงาน กล่าวคือ เป็นการกระทำของฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำเพื่อกดดันให้นายจ้างยอมรับ ตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง เช่น พนักงานเก็บค่าโดยสารร่วมกันหยุดงานเนื่องจากไม่พอใจที่ถูกผู้โดยสารทำร้ายร่างกาย หรือพนักงานขับรถประจำทางร่วมกันหยุดงาน เพราะไม่พอใจตำรวจจราจรได้ ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเข้มงวด การนัดหยุดงานของพนักงานเก็บค่าโดยสารหรือพนักงานขับรถ ประจำทางดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการนัดหยุดงาน เพราะมิได้เป็นข้อพิพาทแรงงานแต่อย่างใด
กิจการสำคัญที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มิให้มีการปิดงานหรือการนัดหยุดงานกิจการสำคัญที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มิให้มีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน • สำหรับกิจการที่กฎหมายห้าม จะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. การรถไฟ • 2. การท่าเรือ • 3. การโทรศัพท์หรือการโทรคมนาคม • 4. การผลิตหรือการจำหน่ายพลังงานหรือกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชน • 5. การประปา • 6. การผลิตหรือการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง • 7. กิจการโรงพยาบาลหรือกิจการสถานพยาบาล • 8. กิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง • เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานในกิจการดังกล่าวทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างสามารถที่จะ ปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ เพราะกิจการข้างต้นเป็นกิจการที่เป็นบริการสาธารณะ หรือสาธารณูปโภค จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน
การกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง • กฎหมายจ้างแรงงานสัมพันธ์กำหนดว่า ไม่ว่าฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง หากประสงค์ที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกจ้างมักจะเป็นฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง สำหรับนายจ้างนั้น เช่น การสั่งลดเงินเดือนลูกจ้างลง ซึ่งการสั่งลดเงินเดือนลูกจ้างนั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง คำสั่งของนายจ้างที่สั่งลดเงินเดือนเองฝ่ายเดียวนั้นใช้บังคับมิได้ เพราะมิได้ดำเนินการ ตามนั้นตามขั้นตอนของกฎหมาย
การแจ้งข้อเรียกร้องอันเกี่ยวกับสภาพการจ้างการแจ้งข้อเรียกร้องอันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • ผู้มีสิทธิยื่นข้อเรียกร้อง ได้แก่ ฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนของนายจ้าง ลูกจ้าง และสหภาพแรงงานซึ่งฝ่ายที่ยื่นเรียกร้องนั้นต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายได้รับทราบเพื่อจัดให้มีการเจรจา ต่อรองกัน • กรณีที่ตกลงกันได้ • หากเป็นกรณีที่ตกลงกันได้ ก็ให้ทำการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อไป ตามกระบวนการตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ • กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยจะต้องยื่นเรื่องให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท • กรณีที่ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ก็ให้มีการทำข้อตกลงอันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หากไกล่เกลี่ย ไม่เป็นผลสำเร็จก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งคู่กรณีอาจตกลงให้ตั้งผู้ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน หรืออาจมีการนัดหยุดงานของลูกจ้าง หรือปิดงานของนายจ้าง ซึ่งจะต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน • กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน คือ เป็นกฎหมายที่จัดตั้งศาลแรงงานขึ้น เพื่อให้เป็น ศาลชำนาญการพิเศษ มีอำนาจในการพิจารณาคดีแรงงานอันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง โดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความสามารถในปัญหาแรงงานร่วมกับผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง และกำหนดวิธีการพิจารณาคดีให้เป็นไปโดยสะดวกประหยัดรวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม • กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 • คดีแรงงาน หมายถึง คดีที่มีข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและบุคคลที่กฎหมายแรงงาน ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้
ประเภทของศาลแรงงาน • ศาลแรงงานนั้นถ้าจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ • 1. ศาลแรงงานกลาง • 2. ศาลแรงงานภาค • 3. ศาลแรงงานจังหวัด • ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้ • 1. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • 2. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์ • 3. กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ • 4. คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ • 5. คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากคดีพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน • 6. ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายประกันสังคม • ความหมาย • กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นโดยให้ลูกจ้างหรือผู้สมัครเข้าประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบ เพื่อใช้กองทุนดังกล่าวเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้างและผู้สมัครเข้าประกันตนได้รับการสงเคราะห์ เมื่อประสบอันตรายเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งการสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะทำให้ชีวิตของลูกจ้างและสังคมมีความมั่นคงขึ้น • ชื่อ • กฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา
ขอบเขต • ปัจจุบันกฎหมายประกันสังคมใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่1 คนขึ้นไป ผู้ที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายดังนี้ คือ • 1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว รายเดือน • 2. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ • 3. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานอยู่ในต่างประเทศ • 4. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน • 5. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล • 6. กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หน้าที่ของนายจ้าง • 1. หน้าที่ในการยื่นและแจ้งแบบรายการ เช่น ยื่นแบบรายการแสดง รายชื่อผู้ประกันตนอัตราค่าจ้าง หรือข้อความอื่นๆ ฯลฯ • 2. หน้าที่ในการหักและส่งเงินสมทบ คือ นายจ้างต้องหักค่าจ้างของลูกจ้างผู้ประกันตนทุกครั้งที่มีการจ้างค่าจ้างตามอัตรา • 3. หน้าที่ในการจัดเก็บทะเบียนผู้ประกันตน กล่าวคือ นายจ้างจะต้องจัดให้มีทะเบียน ผู้ประกันตน ตามแบบที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ • 4. หน้าที่ในการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • 5. หน้าที่ในการกรอกและส่งแบบสำรวจ
หน้าที่ของลูกจ้างผู้ประกันตนหน้าที่ของลูกจ้างผู้ประกันตน • 1. หน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ • 2. หน้าที่ต้องมีบัตรประกันสังคมและต้องเก็บบัตรประกันสังคมไว้ • 3. หน้าที่ต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่ได้กำหนดไว้ • 4. หน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งของแพทย์ • 5. หน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ สถานะของบุคคลของตนเอง และคู่สมรสรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย • 6. ในกรณีที่ประสงค์จะให้บุคคลใดได้รับค่าทำศพ หรือเงินสงเคราะห์ กรณีผู้ประกัน • ตน ถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนต้องทำหนังสือระบุชื่อบุคคลนั้นไว้ว่าให้เป็น ผู้จัดการศพหรือเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์แล้วแต่กรณี • 7. หน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกตามสมควร แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตรวจตราและควบคุม
ประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๓ เดือน • 2. การประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยนั้นต้องมิได้เกิดขึ้น เพราะเหตุที่ผู้ประกันตนจงใจก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่กำหนดไว้ซึ่งประโยชน์ทดแทนนี้รวมทั้งค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษา223 พยาบาล ในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งบริการอื่น ที่จำเป็น • 4. ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพราะต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างที่คำนวณเป็นเงินสมทบ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน และใน ๑ ปีไม่เกิน ๑๘๐วัน เว้นแต่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่เกิน ๓๖๕ วัน
กรณีคลอดบุตร • 1. มีสิทธิเมื่อผู้ประกันตนมีครรภ์ หรือภริยาหรือหญิงซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยเปิดเผยของผู้ประกันตนมีครรภ์ และเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๗ เดือน • 2. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนสำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน ๒ ครั้ง • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์ เพื่อการคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ (แต่ปัจจุบันจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท แทน ) • 4. ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เนื่องจากผู้ประกันตน (หญิง)ต้องหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน ๒ ครั้ง เป็นการเหมาจ่ายครั้งละ ๕๐% ของค่าจ้างเป็นเวลา ๙๐ วัน
กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงานกรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนก่อนทุพพลภาพ ผู้ประกันตน ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๓ เดือน • 2. การทุพพลภาพนั้นต้องมิได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ผู้ประกันตนจงใจก่อให้เกิดขึ้น หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับบริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ ซึ่งประโยชน์ทดแทนนี้รวมทั้งค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ และค่าบริการอื่นที่จำเป็น (ปัจจุบันจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินเดือนละ ๒,๐๐๐ บาทตลอดชีวิต) • 4. ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา ๕๐% ของค่าจ้างตลอดชีวิต
กรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน • 1. มีสิทธิเมื่อภายในระยะเวลา ๖ เดือนก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบ มาแล้วรวมได้ ๑ เดือน • 2. การตายนั้นต้องมิได้เกิดขึ้นจากผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจงใจ ก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น • 3. ได้รับประโยชน์ทดแทน คือ • 3.1 ผู้จัดการศพผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพ ๓๐,๐๐๐ บาท • 3.2 บุคคลผู้ซึ่งประกันตนทำหนังสือระบุไว้จะได้รับเงินสงเคราะห์ดังนี้ • กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ ๓๖ เดือนขึ้นไปได้เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย ๓ • กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้ว ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ได้เท่ากับ ๕๐ % ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย ๑๐ • หากผู้ประกันตนมิได้ทำหนังสือระบุบุคคลไว้ ให้นำเงินสงเคราะห์ดังกล่าวไปเฉลี่ยจ่าย ให้แก่สามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนแทน
กรณีสงเคราะห์บุตร • 1 มีสิทธิต่อเมื่อภายในระยะเวลา ๓๖ เดือนย้อนหลังไป ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้ ๑๒ เดือน • 2. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์คราวละไม่เกิน ๒ คน (บุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) • 3. ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตน ให้บิดาหรือมารดาได้รับประโยชน์ทดแทนเพียงฝ่ายเดียว ถ้าจดทะเบียนหย่าหรือแยกกันอยู่ บุตรอยู่ในอุปการะของผู้ประกันตนฝ่ายใด ให้ฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับ • 4. เงินสงเคราะห์บุตร จะจ่ายเป็นรายเดือนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีชราภาพ • 1. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อเมื่อได้จ่ายเงินสมทบรวมแล้ว ๑๘๐ เดือนขึ้นไปและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง • 1.1 โดยสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ออกจากงาน) ผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ (เงินเลี้ยงชีพรายเดือน) ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสมทบที่ส่งและระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ • 1.2 โดยถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ประกันตนที่มีสิทธินั้น จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว) ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงเช่นเดียวกัน • 2. ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตาม ข้อ 1.1 ถึงแก่ความตายก่อน ที่จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ หรือได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่ครบ ๖๐ เดือนทายาทของผู้นั้น จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ทายาทในกรณีข้างต้น ได้แก่ • 3.1 บุตรชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) ให้ได้รับ ๒ ส่วน แต่ถ้ามีบุตร ๓ คนขึ้นไป ให้ได้รับ ๓ ส่วน • 3.2 สามีหรือภริยา ให้ได้รับ ๑ ส่วน • 3.3 บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ ให้ได้รับ ๑ ส่วน • 3.4 ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ ๑๘๐ เดือน และความเป็นผู้ประกันตน สิ้นสุดลง ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีว่างงาน • 1. มีสิทธิต่อเมื่อ ภายในระยะเวลา ๑๕ เดือนย้อนหลังไป ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วรวมได้๖ เดือน • 2. ต้องพร้อมที่จะทำงานตามที่จัดหาให้และไปรายงานตัวเดือนละ ๑ ครั้ง • เหตุที่ว่างงานมิใช่ถูกเลิกจ้างเนื่องจาก • - ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง • - จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • - ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบ เกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๗ วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร • - ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้างแรง หรือ • - ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ • 3. ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ • 4. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่ ๘ นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนและการเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนและการเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อ • ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน (ถูกหักค่าจ้างเพื่อส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม) แล้วหากต่อมาสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง) ความเป็นผู้ประกันตนก็จะสิ้นสุดลงด้วย มีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนสิ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนซึ่งได้ส่งเงินสมทบ ครบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามกฎหมาย ในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตรกรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปอีก ๖ เดือน หรือตามระยะเวลา ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างนั้น • ลูกจ้างที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างดังกล่าวหากได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว ๑๒ เดือน และประสงค์จะประกันตนต่อไป ก็ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ตามระเบียบที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกำหนดภายใน ๖ เดือนนับแต่วันสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตน และจะต้องส่งเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละครั้งภายใน วันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
การอุทธรณ์ • นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคมบุคคลใดได้รับคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ซึ่งได้ สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว ไม่พอใจคำสั่งนั้น (เพราะทำให้ตนต้องชดใช้เงินหรือต้องรับผิดต่อ บุคคลใดหรือทำให้ตนเสียสิทธิประโยชน์) บุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ อุทธรณ์ได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น • การอุทธรณ์ ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สำนักงาน ประกันสังคม • คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สำนักงานประกันสังคม • หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ก็มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ (ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ อุทธรณ์และคำสั่งของเลขาธิการหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว) โดยต้องฟ้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น
บทกำหนดโทษ • นายจ้างซึ่งเจตนาไม่ยื่นแบบรายการต่อสำนักงานประกันสังคมภายในกำหนดเวลาหรือ ไม่แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคมขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ ภายใน กำหนดเวลา รวมทั้งนายจ้างซึ่งยื่นแบบรายการ หรือแจ้งเป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติม รายการโดยเจตนากรอกข้อความเป็นเท็จในแบบรายการ หรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเป็นเท็จ ในหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ