290 likes | 705 Views
การพัฒนาบทเรียน e-Learning. วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ( ปวช. ) ปีที่ 1. Development of e-Learning on Basic Electrical and. Electronics Subject for First Year Students of. Vocational Certificate Level. ผู้วิจัย. นาย ณัฐ ธัญ สุวรรณทา.
E N D
การพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 Development of e-Learning on Basic Electrical and Electronics Subjectfor First Year Students of Vocational Certificate Level ผู้วิจัย นายณัฐธัญ สุวรรณทา ดร.นิธิดา บุรณจันทร์ รศ.สุวรรณา สมบุญสุโข สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทนำ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีการจัดการศึกษา 2 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) • ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) พุทธศักราช 2545 และได้กล่าวถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพไว้ว่าเป็นการศึกษาที่ว่าด้วยความรู้ด้านต่างๆ ทางวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การดำรงชีวิตของสังคมมนุษย์ ทางด้านสุขภาพอนามัย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหา • จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน พบว่า การที่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • มีผลการเรียนต่ำกว่าระดับ 3 ซึ่งไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้วิจัย • โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น เนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร • มีมากเกินไป นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ครบในเวลาเพียง 4 คาบต่อสัปดาห์ โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ผู้วิจัยในฐานะเป็นครูผู้สอนรายวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักสูตร ตำรา คู่มือ ผลงานวิจัย มาใช้ในการแก้ปัญหา และพบว่า การพัฒนาบทเรียน e-Learning และการสร้างสื่อการสอน ที่เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความสามารถของนักเรียน เป็นแนวทางหนึ่งจากหลายๆ แนวทางในการแก้ปัญหา จากเหตุผลและแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมทั้งสร้างทางเลือกให้นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น โดยกำหนดการพัฒนาออกเป็น 2 ทางเลือก คือ การเรียนรู้ใน ชั้นเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและพัฒนาบทเรียน e-Learning เพื่อใช้เป็นสื่อสอนเสริมนักเรียนที่เรียนรู้ได้เร็วและพัฒนานักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า โดยวิธีการเรียนรู้ผ่านบทเรียน e-Learning โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ คือ พัฒนาบทเรียน e-Learning 1. เพื่อวิเคราะห์และออกแบบบทเรียน e-Learning วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน 3. เพื่อหาประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนจาก บทเรียน e-Learning 4. เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน 5. เพื่อหาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนจาก บทเรียน e-Learning โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ:ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ: 1. ได้บทเรียน e-Learning วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 ที่มีเนื้อหาครอบคลุมตรงตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียน e-Learningในรายวิชาอื่น ๆ ที่เหมาะสมซึ่งจะเป็นผลให้เกิดการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา บทเรียนในระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น 3. ผู้เรียนสามารถนำบทเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปใช้ในการศึกษา ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อนำบทเรียน ที่พัฒนานี้ไปใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม หรือผู้ที่สนใจได้ทุกสถานที่ทุกเวลา โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
วิธีดำเนินการ: 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 บทเรียน e-Learning วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น 2.2 แบบประเมินบทเรียน e-Learning รายการประเมินมีจำนวน 6 ด้าน 50 รายการประเมิน เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale)5 ระดับ 2.3 แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 แบบประเมิน รวม 225 ข้อ 2.4 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตร 2.5 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียน e-Learning โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ขั้นตอนการดำเนินงาน: พัฒนาตามรูปแบบของอาจารย์ไพโรจน์ ตีรณธนากุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี IMMCAI:Interactive Multi-Media Computer Assisted Instruction • มี 5 ขั้นตอนหลัก คือ • 1.ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) • 2.ขั้นออกแบบ (Design) • 3.ขั้นพัฒนา (Development) • 4.ขั้นสร้าง (Implementation) • 5.ขั้นประเมิน (Evaluation) • ประกอบด้วย16 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(1) สร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(2) สร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(3) สร้างแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา (Content Network Chart) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(4) กำหนดกลวิธีการนำเสนอและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(5) สร้างแผนภูมิการนำเสนอในแต่ละหน่วย โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(6) เขียนรายละเอียดเนื้อหาตามรูปแบบที่ได้กำหนด (Script Development) (7) จัดทำลำดับเนื้อหา (StoryBoard Development) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(6) เขียนรายละเอียดเนื้อหาตามรูปแบบที่ได้กำหนด (Script Development) (7) จัดทำลำดับเนื้อหา (StoryBoard Development) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(8) นำเนื้อหาที่ยังเป็นสิ่งพิมพ์นี้มาตรวจสอบหาค่าความถูกต้อง (Content Correctness) • โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สังกัดแผนก • วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม จำนวน 3 คน เป็นผู้ตรวจสอบ • จากนั้นนำเนื้อหาไปทดลองหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) และ • ความเชื่อมั่น (Reader Reliability) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายมาทดสอบด้วย แล้ว • ปรับปรุงให้สมบูรณ์ (9) การสร้างแบบทดสอบส่วนต่าง ๆมีการวิเคราะห์ข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม 15 หน่วยเรียน จำนวน 225 ข้อ แล้วนำแบบทดสอบไปทดลองหาค่า • - หาค่าความยากง่าย • หาค่าอำนาจจำแนก • หาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ (IOC) • - หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (ทั้งฉบับ) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา • นำแบบทดสอบมาทำการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ด้านเนื้อหา โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม แบบทดสอบต่าง ๆ รวมกัน จะเป็นตัว • บทเรียน(Courseware)
(10) เลือก Software หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่เหมาะสม แบ่งเป็น 2 ประเภท 10.1 โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอบทเรียน(Courseware) • 10.2 โปรแกรมที่ใช้สำหรับผลิตงานมัลติมีเดียเช่น สร้างปุ่มควบคุม ภาพนิ่ง และ • ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(11) จัดเตรียมรูปภาพ ภาพนิ่ง เสียง หรือวิดีโอ ไว้พร้อมที่จะใช้งาน โดยการจัดเก็บ ไว้ใน Folder เดียวกัน เพื่อสะดวกในการค้นหาและนำมาใช้งาน ซึ่งภาพและเนื้อหา ที่จัดเตรียมนำมาจากหนังสือเรียนรายวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รูปภาพที่ใช้งานบางส่วนนำมาจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
(12) จัดการนำ Coursewareเข้าในโปรแกรม (Coding) ด้วยความประณีตและทักษะที่ดี ทำการ Editภาพ เสียง วิดีโอ ให้เรียบร้อยสมบูรณ์ ซึ่งจะได้เป็นบทเรียน 15 หน่วย การเรียน ในรายวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100-1003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 1 ตามที่ต้องการ ที่สามารถแก้ไข หรือ เพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ โดยในขั้นนี้ผู้วิจัยทำการเขียนโปรแกรมด้วยตนเอง (13) การตรวจสอบคุณภาพของ Package (Quality Evaluation) • นำบทเรียน e-Learning ที่จัดทำขึ้นให้คณะผู้เชี่ยวชาญทาง IMMCAIตรวจสอบ • คุณภาพของบทเรียน แล้วนำผลมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ โดยการออกแบบบทเรียน • ชุดนี้ ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินตามแนวคิดของ กาเย่ จำนวน 6 ด้าน คือ • - ด้านเนื้อหา - ด้านภาพ ภาษา และเสียง • - ด้านตัวอักษรและสี - ด้านแบบทดสอบ • - ด้านการจัดบทเรียน - ด้านคู่มือการใช้บทเรียน โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ผลการตรวจสอบคุณภาพของบทเรียน: (ใช้สถิติในการวิจัยของ ชูศรี วงศ์รัตนะ) - ดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านบทเรียน • e-Learning จำนวน 3 ท่าน (IOC) • เฉลี่ยเท่ากับ0.84สามารถนำไปใช้ได้ • - ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมของบทเรียน e-Learning ตามแนวคิดของกาเย่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบทเรียน e-Learningจำนวน 3 ท่าน • เฉลี่ยเท่ากับ 4.31 • S.D. = 0.44 อยู่ในระดับ ดีมาก โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา (14) ทำการทดลองและหาประสิทธิภาพของบทเรียนโดยนำไปทดลองกับนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน และจดบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาพัฒนาและ ปรับปรุงให้สมบูรณ์
(15) ทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพ(Efficiency E1/E2) ของบทเรียนโดยตั้งเกณฑ์ 80/80 - หาประสิทธิภาพของบทเรียน จากการทดสอบในบทเรียนชุดนี้ได้ผลดังนี้ • E1/E2 = 82.87/82.75ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ • - หาประสิทธิผลการเรียนรู้จากบทเรียน Epost - Epre ≥ 60% • จากการทดลองได้ร้อยละ 64.92 • - หาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน e-Learning • นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 • แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม • จำนวน 30 คน • สรุปผลการทดลอง • ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65 • ความพึงพอใจในระดับ มาก โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
- หาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยบทเรียน e-Learning ทฤษฎีเรื่อง ความคงทนในการเรียนรู้ของ บุญชม ศรีสะอาด กล่าวคือ การเรียนรู้ที่ดีย่อม ต้องก่อให้ผู้เรียนเกิดความจำที่มากขึ้น และส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ คือ การที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยการลงมือกระทำ ปฏิบัติ และการแก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดตามความสนใจ ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ซึ่งส่งผลต่อความ สามารถในการสะสมสามารถระลึกถึงเนื้อหา หรือสิ่งต่างๆ ที่ตนได้รับการเรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์มาก่อน ในระยะเวลาที่ทิ้งช่วงห่างกันออกไประยะเวลาหนึ่ง โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา (คะแนนหลังเรียนครั้งที่สองหลังจากเรียนด้วยบทเรียนผ่านไป 1 เดือน)
(16) จัดทำคู่มือการใช้ Package (User Manual) ประกอบด้วย บทนำ อุปกรณ์ที่ใช้เรียน การกำหนดหน้าจอคอมพิวเตอร์ก่อนเข้าเรียน ข้อมูล พัฒนาผู้เรียน และวันที่ เผยแพร่บทเรียน เป็นต้น เมื่อพัฒนาตามกระบวนการครบทั้ง16 ขั้นตอนแล้ว สามารถนำออกเผยแพร่ (Publication) ใช้งานต่อไปได้ และควรจะมีระบบติดตามผล (Follow up) โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
สรุป อภิปรายผล: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่1 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนมีประสิทธิภาพE1/E2 = 82.87/82.75ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของบทเรียนในกระบวนการเรียน(E1) เท่ากับ 82.87เมื่อเปรียบเทียบกับหลังกระบวนการเรียน(E2) เท่ากับ 82.75 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียน e-Learning พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน เฉลี่ย 51.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.92 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(เกณฑ์ที่กำหนด 60) พิจารณาถึงระดับความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บทเรียน e-Learning ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก จากการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนในการเรียนด้วยบทเรียนe-Learning พบว่า ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างจากการเรียนครั้งแรก โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนทั้งสองครั้งใกล้เคียงกัน เมื่อทิ้งระยะเวลาผ่านไปแล้ว 1 เดือน โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ตัวอย่าง บทเรียน e-Learning ที่พัฒนา: Title ก่อนเข้าหน้าเมนูหลัก โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา หน้าเมนูหลัก
ตัวอย่าง บทเรียน e-Learning ที่พัฒนา: หน้าเมนูบทเรียน ประกอบด้วย ปุ่มเลือก 15 หน่วยเรียน ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา ตัวอย่างบทเรียนหน่วยที่ 1
ตัวอย่าง บทเรียน e-Learning ที่พัฒนา: แสดงเนื้อหาประกอบด้วย VDO โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา
ตัวอย่าง บทเรียน e-Learning ที่พัฒนา: แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา รายงานผลการทดสอบ
ตัวอย่าง บทเรียน e-Learning ที่พัฒนา: โฟล์เดอร์บันทึกรายงานผล การทดสอบก่อน-หลังเรียน โดย...ณัฐธัญ สุวรรณทา รายงานผลการทดสอบ