471 likes | 1.14k Views
MAIN MENU. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์( online )โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม( social medie ) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ด หอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. บทที่ 1 บทนำ. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง.
E N D
MAIN MENU การพัฒนาบทเรียนออนไลน์(online)โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(social medie) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 การดำเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิจัย บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลข้อเสนอแนะ ผู้วิจัย นายสุภพงษ์ วงศ์สมิตกุล
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร 2. ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3. การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร 4. มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการสื่อสาร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) 5. มีเว็บไซต์การสื่อสารที่ให้บริการฟรี 6.แต่ละเว็บไซต์สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ 7.ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย 8. ทุกคนสามารถสร้างเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่มีการปิดกั้น
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) 9. เทคโนโลยีสื่อสังคม(social media) เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ 10. เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็ว 11. ควรนำเทคโนโลยีสื่อสังคม (social media)มาใช้ในการเรียนการสอน 12. สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษา ที่ให้มีการศึกษาตามอัธยาศัย ทุกเวลา ทุกสถานที่
แนวทางที่ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางที่ผู้วิจัยนำเสนอ พัฒนาบทเรียนออนไลน์(online)โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(social medie) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งยังไม่มีการวิจัยในลักษณะนี้มาก่อน จึงเชื่อว่าบทเรียนที่พัฒนาขึ้น น่าจะนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม
สมมติฐานการวิจัย 1. บทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
คำถามการวิจัย 1. การเรียนในบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากช่อง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหรือไม่ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media)กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม อยู่ในระดับใด
ขอบเขตการวิจัย 1. รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research )
ขอบเขตการวิจัย 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากรนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2553 2.2 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากช่อง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
ขอบเขตการวิจัย • เนื้อหาสาระในการวิจัย • เรื่องการเพาะเห็ด จำนวน 8หน่วย คือ(1) เห็ดหอมเมืองไทย (2) เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์โรงเรือน • (3) เลี้ยงเชื้อเห็ดหอม (4) ก้อนเชื้อเห็ดหอม • (5) เปิดดอกเห็ดหอม (6) กระตุ้นเห็ดหอม • (7) โรคและศัตรูเห็ดหอม • (8) เก็บผลผลิตและจำหน่ายเห็ดหอม
ขอบเขตการวิจัย 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4.1 บทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม เรื่องการเพาะเห็ดหอม 4.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3 แบบสอบถามความคิดเห็น
ขอบเขตการวิจัย 5. ระยะเวลาดำเนินการวิจัย พฤษภาคม – กันยายน 2553
ตัวแปรที่ศึกษา 1 ตัวแปรอิสระ คือ บทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม 2 ตัวแปรตาม คือ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม 2.2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม
นิยามศัพท์เฉพาะ 1. บทเรียนออนไลน์ (Online) 2. เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media) 3. บทเรียนออนไลน์ (Online)โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) 4. การเพาะเห็ดหอม 5. ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีแหล่งเรียนรู้ http://supapongwk.wordpress.comที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร 2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ Social Media ในการเรียนรู้ 3. นักเรียนมีทักษะการสำรวจค้นหา ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 4. เป็นตัวอย่างและแนวทางในการใช้ Social Media ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้สอนและผู้ที่สนใจต่อไป
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนออนไลน์ (Online) เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) WordPress Facebook Twitter SlideShare YouTube Scribd Flickr
การดำเนินการวิจัย ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2553 จำนวน 13 ห้องเรียน 466 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชา ง 40249เทคโนโลยีการเพาะเห็ด เป็นวิชาเพิ่มเติม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. บทเรียนออนไลน์(Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม ที่เว็บไซต์ http://supapongwk.wordpress.com 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์(Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม ที่ จำนวน 30 ข้อ 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนบทเรียนออนไลน์(Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม ที่ จำนวน 6 ข้อ
เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ขั้นตอนการสร้างบทเรียน 1.0 ศึกษา ค้นคว้า อบรม เว็บไซต์ที่ใช้ในการสร้างบทเรียนออนไลน์ 2.0วิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาสร้างบทเรียนออนไลน์ 3.0 กำหนดสื่อที่ใช้ในการประกอบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 4.0 นำสื่อต่าง ๆ เข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อแปลงเป็นสื่อออนไลน์ 5.0 นำสื่อออนไลน์ที่สร้างแล้วเข้าสู่เว็บไซต์
เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ขั้นตอนการสร้างบทเรียน (ต่อ) 6.0 ทดลองระบบบทเรียนออนไลน์ 7.0 ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 8.0 ทดสอบหาประสิทธิภาพในขั้นทดลองใช้เบื้องต้น 9.0 ปรับปรุง แก้ไข และนำไปใช้สอนจริง
เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.0 ศึกษาเอกสาร ตำราเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบ 2.0กำหนดรูปแบบของแบบทดสอบ 3.0 เขียนแบบทดสอบรายข้อ 4.0ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 5.0 ทดลองกับกลุ่มตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ต่อ) 6.0 วิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ อำนาจจำแนก ระดับความยากง่าย 7.0คัดเลือกข้อสอบ 8.0 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 9.0 จัดทำแบบทดสอบที่สมบูรณ์
เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น 1.0 ศึกษาทฤษฎีการสร้าง จากเอกสาร ตำรา 2.0 กำหนดประเด็นที่ต้องการถาม 3.0 ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 4.0 หาความเชื่อมั่น (Reliability) 5.0 สร้างเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์
ขั้นตอนการเรียนผ่านออนไลน์ขั้นตอนการเรียนผ่านออนไลน์ ขั้นที่ 1 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศการเรียน ขั้นที่ 3 ทดลองเข้าสู่ระบบบทเรียนออนไลน์ ขั้นที่ 4 ดำเนินการเรียนตามอัธยาศัย โดยการศึกษาจากสื่อสังคม สนทนาผ่านเว็บบอร์ด ประเมินผลท้ายบทเรียน ขั้นที่ 5 สรุปบทเรียน ขั้นที่ 6 ทำแบบทดสอบหลังเรียน
การรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพของบทเรียน แบบเดี่ยว,แบบกลุ่ม และภาคสนาม ตามขั้นตอนการเรียน 6 ขั้นตอน รวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนออนไลน์
การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ E1/E2 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน t-test-dependent การวิเคราะห์ความคิดเห็นของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน X,SD.(Likert scale) การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน P , r , KR-20
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:แบบเดี่ยวผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:แบบเดี่ยว E1 E2E1/ E2 75.4873.3375.48/73.33
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:แบบกลุ่มผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:แบบกลุ่ม E1 E2E1/ E2 82.4681.4882.46/81.48
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:ภาคสนามผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน:ภาคสนาม E1 E2E1/ E2 87.3386.7887.33/86.78
ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียนผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียน ก่อนเผชิญ หลังเผชิญ X S.D. X S.D t-test 6.631.5617.200.8733.55* p<05.t(.05,df29)=1.699
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียน ข้อที่ X S.D. 1. นักเรียนชอบเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์5.000.00 2. นักเรียนได้เสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 4.930.25 3. นักเรียนมีความสุขในการเรียน4.830.38 4. นักเรียนมีโอกาสได้ตัดสินใจด้วยตนเอง4.800.41 5. นักเรียนมีอิสระในการเรียนมากขึ้น4.870.35 6. นักเรียนได้รับความรู้เหมือนเรียนกับครูตัวจริง4.670.66
อภิปรายผล เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 เพราะว่า 1. สร้างบทเรียนตามหลักวิชาการ มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (Online) ถึง 9 ขั้น มีการทดลองใช้ถึง 3 ครั้งคือ 1) แบบเดี่ยว 2) แบบกลุ่ม และ3) แบบภาคสนาม 2. สร้างโดยใช้เว็บไซต์ที่กำลังเป็นที่นิยม ทันสมัย ในปัจจุบันทำให้นักเรียนมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้มากขึ้นส่งผลให้บทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. สอดคล้องกับผลการวิจัยของ พูลศรี เวศย์อุฬาร (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85
อภิปรายผล(ต่อ) เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 เพราะว่า นักเรียนได้มีการศึกษาด้วยตนเอง เป็นการการศึกษาที่ไม่เลือก วัน เวลาและสถานที่ ทำให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนมากขึ้น ไม่เกิดความเบื่อหน่ายและความเครียดกับการเรียน นักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกันสามารถเรียนหรือทบทวนบทเรียนได้หลาย ๆ ครั้งจนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทเรียนได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้จึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการสร้างวิธีการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนสามารถมีพฤติกรรมต่อเนื่องในการสืบค้น เรียนรู้ตลอดชีวิต และเรียนรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธีระ รุญเจริญ (2550)ที่พบว่าเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันตลอดชีวิต การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน
อภิปรายผล(ต่อ) เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 เพราะว่า นักเรียนได้ใช้เทคโนโลยีในการเรียน เป็นการเรียนระบบใหม่ที่นักเรียนไม่เคยเรียนมาก่อน เป็นสื่อที่กำลังอยู่ในความสนใจของทุกคนในสังคม จึงเกิดความกระตือรือร้นและสนใจเรียนมากกว่าการเรียนระบบเดิม นอกจากจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อจิตใจในด้านความรู้สึกชอบ และเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) ซึ่งผู้วิจัยพบว่ายังมีนักเรียนบางส่วนยังไม่มี อีเมล์ การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้จึงสร้างความสนใจแก่นักเรียนเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นดังที่ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ (2545) ที่พบว่าเป็นการเรียนที่สามารถให้นักเรียนที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้อย่างเสมอภาคยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม ทำให้นักเรียนมีความรู้มีความก้าวหน้าทางการเรียนที่สูงขึ้นจริง นักเรียนชอบเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม ผู้สอนต้องแนะนำถึงวิธีการเรียน การโต้ตอบกับครูและเพื่อนร่วมเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป จากการวิจัยการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม พบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรทำการวิจัยการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (Online) โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ หรือเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ประเทศจะต้องมีแผนแม่บทในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ 2. พัฒนาคนให้มีความเฉลียวฉลาดและรอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.พัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงและราคาเป็นธรรมเนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรมที่อาศัยเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) 4. จัดทำยุทธศาสตร์ทำให้ภาคการศึกษา นำระบบอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการเรียนการสอนให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน 5. ฝึกอบรมผู้บริหาร ครูให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) อย่างเป็นประจำ จะทำให้เห็นประโยชน์และความสำคัญ