1 / 14

4.1 Borehole environment

4.1 Borehole environment. สภาวะความดันระหว่างการเจาะและการหยั่งธรณีในหลุมเจาะ เกิดจากปัจจัยสองส่วนคือ - ความดันในชั้นหิน - ความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลน.

lynn
Download Presentation

4.1 Borehole environment

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 4.1 Borehole environment สภาวะความดันระหว่างการเจาะและการหยั่งธรณีในหลุมเจาะ เกิดจากปัจจัยสองส่วนคือ - ความดันในชั้นหิน - ความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลน

  2. ความดันในชั้นหินเป็นความดันที่เกิดจากของเหลวและก๊าซในชั้นหินอยู่ในสภาพกดอัด (formation pressure) ส่วนความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลนขึ้นอยู่กับความลึกและความหนาแน่นของน้ำโคลน โดยปกติในการเจาะหลุมควรพยายามให้ความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลนมีค่ามากกว่าความดันในชั้นหินเล็กน้อย

  3. น้ำโคลนในหลุมเจาะซึ่งอยู่ภายใต้สภาวะแรงดันที่มากกว่าความดันภายในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ เพื่อใช้ป้องกันแรงดันภายในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ที่จะดันให้หัวเจาะและเครื่องมือที่ปากหลุมเจาะเกิดการเสียหาย เมื่อหัวเจาะเจาะผ่านชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ (permeable formation) จะเกิดการแทรกตัว (invasion) ของน้ำโคลนเข้าไปในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้

  4. ส่วนผสมในน้ำโคลนซึ่งเป็นของแข็งจะเกิดการสะสมตัวเกาะอยู่ที่ผนังหลุมเจาะบริเวณที่เป็นชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ซึ่งเรียกว่า mud cake ส่วนที่เป็นของเหลวซึ่งเรียกว่า mud filtrate จะไหลเข้าไปในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ดันให้ของไหลที่เคยอยู่ในชั้นหินกักเก็บเดิม ไหลลึกเข้าไปในชั้นหิน

  5. บริเวณภายในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ที่ mud filtrate เข้าไปแทนที่ของไหลเรียกบริเวณนี้ว่า invasion zone เมื่อเวลาผ่านไป mud cake ที่เกาะอยู่ที่ผนังของหลุมเจาะจะมีความหนามากขึ้นจนทำให้การไหลของ mud filtrate เข้าไปในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้น้อยลง

  6. ความลึกที่ mud filtrate สามารถไหลเข้าไปในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ สมบัติของน้ำโคลน และ ความแตกต่างระหว่างค่าความดันของน้ำโคลนในหลุมเจาะและความดันภายในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้

  7. บริเวณที่เกิดการแทรกตัวของน้ำโคลน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ flushed zone และ transition zone

  8. ส่วนที่เรียกว่า flushed zone เป็นส่วนที่ของไหลเดิมที่เคยอยู่ในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ทั้งหมดถูกแทนที่ด้วย mud filtrate ส่วนที่เรียกว่า transition zone เป็นส่วนที่ของไหลเดิมที่เคยอยู่ในชั้นหินน้ำซึมผ่านได้บางส่วนถูกแทนที่ด้วย mud filtrate ถัดจากส่วนที่เป็น invasion zone ซึ่งเป็นบริเวณที่ mud filtrate ไม่สามารถแทรกผ่านเข้าไปได้เรียกว่า virgin zone

  9. โดยปกติแอ่งสะสมตะกอน จะแสดงลักษณะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิตามความลึก การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมักแสดงอยู่ในรูปของ gradient มีหน่วยเป็น OC/100 m หรือOC/km โดยทั่วไปในแอ่งสะสมตะกอนมีค่า gradient อยู่ระหว่าง 20 ถึง 35 OC/km

  10. ในระหว่างที่มีการเจาะ น้ำโคลนซึ่งทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับหัวเจาะนั้น ยังมีส่วนทำให้อุณหภูมิรอบๆหลุมเจาะลดลงด้วยจนถึงจุดสมดุลย์ระหว่างอุณหภูมิของชั้นหินและอุณหภูมิของน้ำโคลน

  11. หลุมเจาะที่พร้อมจะทำการหยั่งธรณีในหลุมเจาะควรมีสมบัติดังนี้หลุมเจาะที่พร้อมจะทำการหยั่งธรณีในหลุมเจาะควรมีสมบัติดังนี้ 1. ความลึกเฉลี่ยประมาณ 6,000 ฟุต แต่อาจอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 20,000 ฟุต 2. เส้นผ่าศูนย์กลางหลุมเจาะประมาณ 9 นิ้ว แต่อาจมีค่าระหว่าง 5 ถึง 15 นิ้ว 3. หลุมเจาะอาจทำมุมเอียงจากแนวดิ่ง 0-5 องศาสำหรับหลุมบนบก และ 20-40 องศาในทะเล

  12. 4. อุณหภูมิที่ก้นหลุมเฉลี่ยประมาณ 150 OF แต่อาจอยู่ระหว่าง 100 ถึง 350 OF 5. ความเค็มของน้ำโคลนมีค่าเฉลี่ย 10,000 ppm แต่อาจมีค่าระหว่าง 3,000 ถึง 200,000 ppm 6. น้ำหนักของน้ำโคลนมีค่าเฉลี่ยประมาณ 11 lb/gal แต่อาจอยู่ระหว่าง 9 ถึง 16 lb/gal 7. ความดันที่ก้นหลุมเฉลี่ยประมาณ 3,000 psi แต่อาจอยู่ระหว่าง 500 ถึง 15,000 psi

  13. 8. ความหนาของ mud cake ที่ผนังหลุมเจาะในบริเวณชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ มีค่าประมาณ 0.5 นิ้ว แต่อาจอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 1 นิ้ว 9. น้ำโคลนอาจแทรกเข้าไปในชั้นหินได้ลึกเพียง 0.1 นิ้วหรืออาจลึกได้ถึง 3 ฟุตจากผนังหลุมเจาะ

More Related