640 likes | 1.44k Views
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . ๒๕๓๕. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. กฎหมายที่ใช้ควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร/สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช. พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535.
E N D
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
กฎหมายที่ใช้ควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร/สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชกฎหมายที่ใช้ควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร/สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แบ่งเป็น 4 หมวด หมวดที่ 1 บทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง หมวดที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมวัตถุอันตราย หมวดที่ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่ง หมวดที่ 4 บทกำหนดโทษต่อผู้ฝ่าฝืนกฎหมายทั่วไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อคุ้มครอง ป้องกันอันตรายที่เกิดกับ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์หรือสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อคุ้มครองเกษตรกร 3. ควบคุมผู้ประกอบการ
คำนิยาม วัตถุอันตราย หมายความถึง • วัตถุระเบิดได้ • วัตถุไวไฟ • วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ • วัตถุมีพิษ • วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
คำนิยาม วัตถุอันตราย หมายความถึง 6. วัตถุกัมมันตรังสี 7. วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 8. วัตถุกัดกร่อน 9. วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 10. วัตถุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • กระทรวงอุตสาหกรรม • กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุอันตรายทางการเกษตรวัตถุอันตรายทางการเกษตร • สารกำจัดแมลง • สารกำจัดวัชพืช • สารป้องกันกำจัดโรคพืช • สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช • สารกำจัดไร • สารกำจัดหนู • สารกำจัดหอย
ในปี พ.ศ. 2546 - 2549มีการนำเข้าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชดังนี้
วัตถุอันตรายที่มีปริมาณนำเข้าสูงสุด 10 อันดับ
มาตรการที่ใช้ควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร ตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 • แบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด • ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่รับผิดชอบออกประกาศกระทรวงฯ • การขึ้นทะเบียน • การออกใบอนุญาต • การควบคุมหลังจากได้ทะเบียนและใบอนุญาตแล้ว • การดำเนินคดี
ความจำเป็นในการประกาศห้ามใช้วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 จำนวน 96 ชนิด 1. มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์สูงมาก 2. เกิดพิษเรื้อรัง ก่อมะเร็ง เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรม 3. คงทนในสภาพแวดล้อม สลายตัวยาก 4. พิษตกค้างสะสมในห่วงโซ่อาหาร
5. พิษตกค้างในผลผลิต 6. มีสารเจือปนที่เป็นพิษ เช่น dioxin หรือ DDT 7. เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ที่เป็นประโยชน์ 8. ห้ามใช้ในประเทศพัฒนาแล้ว 9. มีสารอื่นทดแทนที่เสี่ยงภัยน้อยกว่า
คุณประโยชน์ ความเสี่ยง การขึ้นทะเบียนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช คือการพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยการประเมินคุณประโยชน์และความเสี่ยง ในการใช้ ตามมาตรฐาน FAO พิจารณาจากผลการทดลองประสิทธิภาพ พิจารณาจากอันตรายและการได้รับเข้าสู่ร่างกาย
การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย • เป็นการเลือกใช้วัตถุอันตรายที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย • แผนการทดลอง / ผลการทดลองประสิทธิภาพในประเทศ • ข้อมูลพิษวิทยา • ข้อมูลผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม • ข้อมูลพิษตกค้าง / ระยะเวลาก่อนการเก็บเกี่ยว
การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย • มี 3 ขั้นตอน (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) • 1. การทดลองเบื้องต้น • 2. การทดลองใช้ชั่วคราว • 3. การประเมินผลขั้นสุดท้าย
ฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผลิตออกจำหน่าย จะต้องมีข้อความได้มาตรฐาน และถูกต้องตามหลักวิชาการ สาระสำคัญที่จำเป็น ต้องกำหนดบนฉลาก ได้แก่ (1) ชื่อทางการค้า (ถ้ามี) (2) ชื่อสามัญตามระบบ ISO หรือชื่อสามัญในระบบอื่นๆ หรือชื่อสามัญเคมี และในกรณีที่ไม่สามารถระบุชื่อ สามัญได้ ให้ระบุชื่อทางเคมีตามระบบ IUPAC หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารสำคัญ
(3) อัตราส่วนผสม และลักษณะของผลิตภัณฑ์ (4) วัตถุประสงค์ในการใช้ (5) ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา วิธีปฏิบัติต่อภาชนะบรรจุ และการป้องกันอันตราย หรือความเสียหาย (6) คำเตือน (7) อาการเกิดพิษ การแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำให้รีบส่ง ผู้ป่วยไปพบแพทย์ พร้อมด้วยฉลากหรือภาชนะบรรจุ และคำแนะนำสำหรับแพทย์
(8) ชื่อกลุ่มของสารเคมีเพื่อประโยชน์ในการรักษา (ถ้ามี) (9) ชื่อผู้ผลิต สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้งโรงงาน ชื่อผู้นำเข้า ชื่อผู้จำหน่าย พร้อมสถานที่ประกอบการ (10) ขนาดภาชนะบรรจุ (11) เดือน ปี ที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ (12) เลขทะเบียนวัตถุอันตราย
ด้านล่างของฉลากจะต้องมีแถบสี เตือนให้ระมัดระวังอันตรายตามระดับความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ พร้อมภาพแสดงคำเตือนในการใช้ และการระมัดระวังอันตราย (Pictograms) ตามคุณสมบัติ และความเป็นพิษของวัตถุอันตราย
กรมวิชาการเกษตรกำหนดการแบ่งระดับความเป็นพิษผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อนำระบบแถบสี และภาพสัญลักษณ์แสดงการเตือนมาใช้บนฉลาก เพื่อให้ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องทราบว่า ผลิตภัณฑ์นั้น มีความเป็นพิษมากน้อยเพียงใด ควรระมัดระวังอย่างไร พิษร้ายแรงมากและมีพิษร้ายแรง พิษปานกลาง พิษน้อย
ระดับความเป็นพิษ (พิษเฉียบพลัน) 4 ระดับ
กำหนดให้มีการออกใบอนุญาตในการประกอบกิจการกำหนดให้มีการออกใบอนุญาตในการประกอบกิจการ เพื่อควบคุมธุรกิจการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตราย
กำหนดให้มีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังจากขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต เพื่อ (1) ควบคุมให้ผู้ผลิตและจำหน่าย ประกอบธุรกิจ วัตถุอันตรายที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและถูกต้อง ตามกฎหมาย (2) หากมีการห้ามวัตถุอันตรายชนิดใด จะต้องมี มาตรการดำเนินการกับผลิตภัณฑ์ที่ยังเหลือใน ท้องตลาดให้หมดไปโดยเร็ว และมีมาตรการ ควบคุมมิให้มีการผลิตหรือนำเข้ามาใช้อีกต่อไป
(3) ตรวจสอบ ควบคุมฉลาก และภาชนะบรรจุ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับขึ้นทะเบียนแล้วให้ถูกต้องตาม กฎหมาย และเป็นไปตามที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว (4) ควบคุมการปฏิบัติต่อภาชนะบรรจุและเศษเหลือ
มาตรา 54ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ • เข้าไปในสถานที่ประกอบการ หรือสถานที่สงสัย ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจสอบวัตถุอันตราย • นำวัตถุอันตรายหรือวัตถุที่สงสัย ในปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ • ตรวจค้น อายัดวัตถุอันตรายในกรณีที่สงสัยว่ากระทำผิด • มีหนังสือเรียกให้บุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
แสดงบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 56 ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ (มีอำนาจทุกจังหวัด) • ปลัด และรองปลัด กระทรวงเกษตรฯ • ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ • อธิบดี และรองอธิบดี กรมวิชาการเกษตร • ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร • นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร เจ้าพนักงานการเกษตร เจ้าหน้าที่การเกษตร ในสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร • นิติกร สำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร • ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ (มีอำนาจทุกจังหวัด) • ผู้บังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง • ผู้กำกับการ 1-5 กองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ (มีอำนาจในเขตท้องที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ) • ผู้ว่า รองผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด • เกษตรอำเภอ เกษตรกิ่งอำเภอ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ • ผู้อำนวยการศูนย์ สถานีวิจัย ของกรมวิชาการเกษตร และนักวิชาการ • หัวหน้าศูนย์บริหารศัตรูพืช นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปที่สังกัดสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และสำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร • นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เจ้าพนักงานการเกษตร ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอ
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ (มีอำนาจในเขตท้องที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ) • ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด • ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ กิ่งอำเภอ • รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ และกิ่งอำเภอ
วัตถุอันตรายที่ผิดกฎหมายวัตถุอันตรายที่ผิดกฎหมาย • ว.อ.ที่ไม่ขึ้นทะเบียน • ว.อ.ที่ถูกเพิกถอนทะเบียน • ว.อ.ที่ไม่แจ้งและไม่ขออนุญาต • ว.อ.ปลอม (แสดงชื่อเป็นวัตถุอันตรายอื่น, แสดงผู้ผลิตไม่จริง, แสดงว่าขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้น)
ว.อ.ผิดมาตรฐาน (มีสาระสำคัญน้อยกว่าเกณฑ์ , มีสิ่งเจือปน) • ว.อ.เสื่อมคุณภาพ (หมดอายุการใช้ , แปรสภาพ) • ว.อ.ที่ไม่ติดฉลากหรือฉลากไม่ถูกต้อง • ว.อ.ชนิดที่ 4
บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ต้องมีใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายต้องมีใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย การฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ได้จำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ได้ ขึ้นทะเบียนการฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกินสาม ปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จำหน่ายวัตถุอันตรายผิดมาตรฐานจำหน่ายวัตถุอันตรายผิดมาตรฐาน การฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่ เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำหน่ายวัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ การฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท วัตถุอันตรายวางจำหน่ายเกินสองปีควรตรวจสอบคุณภาพ
จำหน่ายวัตถุอันตรายปลอม การฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ใน ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-7990 โทรสาร 0-2579-7988