670 likes | 1.27k Views
การดำเนินการทางวินัย. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. มาตรา 90 เมื่อมีการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทราบโดยเร็ว
E N D
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 90เมื่อมีการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความ ยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ
มาตรา 90 (ต่อ) ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 57 จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชา ระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนด ก็ได้
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 91เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 90 หรือ ความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือ พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูล ที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้น กระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือน สามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการทางวินัยต่อไปตามมาตรา 92 หรือมาตรา 93 แล้วแต่กรณี
ขั้นตอนและวิธีการตามมาตรา 90-91 เมื่อมีการกล่าวหา/มีกรณีเป็นที่สงสัย ผู้บังคับบัญชารายงานผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุฯ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุฯ ดำเนินการสืบสวนเบื้องต้น หรือพิจารณาเบื้องตัน ไม่มีมูล มีมูล ให้ยุติเรื่อง ดำเนินการตามมาตรา 92 หรือมาตรา 93
การดำเนินการทางวินัย 1. สอบสวนพิจารณาทางวินัย สำหรับวินัยอย่างไม่ร้ายแรง(มาตรา 92) 2. สอบสวนทางวินัย สำหรับวินัยอย่างร้ายแรง(มาตรา 93)
มาตรา 92 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมามาตรา 91 ปรากฏว่ากรณีมีมูล ถ้าความผิดนั้นมิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
การสอบสวนพิจารณาวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามมาตรา 92 1. ผู้มีอำนาจ คือ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 - สอบสวนเอง - ตั้งผู้สอบสวน - ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย 2. เป็นการดำเนินการต่อจากการสืบสวน ข้อเท็จจริงเบื้องต้น -แจ้งข้อกล่าวหา -สรุปพยานหลักฐาน -รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
มาตรา 93 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมามาตรา 91 ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 96 หรือมาตรา 97 แล้วแต่กรณี
สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ผู้มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน - กรณีทั่วไป คือ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ สั่งบรรจุตาม ม.57 (ผู้ถูกกล่าวหาหลายคน และมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57คนเดียวกัน) - กรณีพิเศษ คือ ผู้บังคับบัญชาตาม ม. 94 (ผู้ถูกกล่าวหาหลายคนถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยร่วมกัน และมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุฯ มิใช่คนเดียวกัน) - มอบอำนาจได้ตามหลักเกณฑ์ใน กฎ ก.พ.
มาตรา 97 ในกรณีที่บุคคลเหล่านี้เห็นว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง - คณะกรรมการสอบสวน - ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกก.สอบสวนตามม.57 - ผู้มีอำนาจตามม.94 ผู้มีอำนาจตามม.57 ส่งเรื่องให้ - อ.ก.พ.จังหวัด - อ.ก.พ.กรม - อ.ก.พ.กระทรวง ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.
หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ ว 21 ลงวันที่ 15 กันยายน 2551 กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้แต่งตั้งคณะกก.สอบสวน - ผู้ว่าราชการจังหวัด อ.ก.พ.จังหวัด - อธิบดี/ปลัดในฐานะอธิบดี อ.ก.พ.กรม - หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง - ปลัดกระทรวง อ.ก.พ.กระทรวง - รัฐมนตรีเจ้าสังกัด - นายกรัฐมนตรี
มาตรา 98 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด 1.ให้ข้อมูล/เป็นพยานเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่ง ต่อทางราชการ ผบ.อาจให้บำเหน็จความชอบได้ 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา ผบ.อาจกันเป็นพยาน หรือพิจารณาลดโทษได้ 3. ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานเป็นเท็จ ให้ถือว่ากระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ การให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.
มาตรา 100 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีต่อไปนี้อยู่ก่อน ออกจากราชการ - มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือต่อ ผบ/ผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบ ว่า กระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง - ถูกฟ้องคดีอาญา - ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา (มิใช่ประมาท หรือลหุโทษ) 1. ผู้บังคับบัญชาสืบสวนหรือพิจารณาและดำเนินการทางวินัยต่อไปได้ แม้ภายหลังผู้นั้นออกจากราชการไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย 2. ต้องดำเนินการสอบสวนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้น พ้นจากราชการ 3. ถ้าผลการพิจารณาเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้งดโทษ 4. ถ้าตาย
มาตรา 101 การสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้สั่งพักตลอดเวลาการสอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ ผู้ถูกสั่งพักราชการร้องทุกข์ตามม.122 และผู้พิจารณา คำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ เนื่องจาก 1. พฤติการณ์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป 2. การดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้น 1 ปี นับแต่ วันพักราชการ และผู้ถูกสั่งพักไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
มาตรา 102 การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ 1. วินัยอย่างไม่ร้ายแรง - ลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัย โดยเฉพาะ หรือลงโทษตามกฎหมายนี้อย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ 2. วินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามกฎหมายนี้ ไม่ว่าจะดำเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะแล้วหรือไม่
มาตรา 103 การรายงานการดำเนินการทางวินัย เมื่อผู้บังคับบัญชา - สั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ ตาม กม.ว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ - สั่งยุติเรื่อง - สั่งงดโทษ รายงาน อ.ก.พ.กระทรวง อ.ก.พ.กระทรวงมีมติประการใด ให้ ผบ.ปฏิบัติตามนั้น เมื่อผู้บังคับบัญชา - ดำเนินการทางวินัยกับ ข้าราชการต่างกระทรวงกัน - ดำเนินการทางวินัยตาม มติ อ.ก.พ.กระทรวง ตามม. 97 รายงาน ก.พ. - ก.พ. มีมติประการใด ให้ ผบ.ปฏิบัติตามนั้น - ก.พ.มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติม ตามระเบียบที่ ก.พ.กำหนด
มาตรา 104 อำนาจผู้แทน ก.พ.ใน อ.ก.พ.กระทรวง 1. หากผู้แทน ก.พ.ใน อ.ก.พ.กระทรวงเห็นว่า - การดำเนินการของผบ. หรือ อ.ก.พ.กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.นี้ หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. 2. เมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผบ.ปฏิบัติตามนั้น เว้นแต่ผู้นั้นได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ ก.พ.ค. ให้ ก.พ. แจ้งมติ ก.พ.ต่อ ก.พ.ค.
มาตรา 105 กรณีสั่ง เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ ยกโทษ ให้มีคำสั่งใหม่โดย - ให้สั่งยกเลิกคำสั่งเดิม - ระบุวิธีดำเนินการเกี่ยวกับโทษ ที่ได้รับไปแล้ว กำหนดในกฎ ก.พ.
มีการกล่าวหา / มีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย (ม.90) ผบ.รายงานผบ. ตาม ม.57ทราบโดยเร็ว ผบ. ตาม ม.57 ดำเนินการ/สั่งสืบสวน/พิจารณาเบื้องต้น(ม.91) มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแล้ว(ม.91ว.2) สืบสวนตามม.91 (ม.93) มีมูล ไม่มีมูล ให้ยุติเรื่อง ไม่ร้ายแรง(ม.92) ร้ายแรง(ม.93) ผบ.ม.57แต่งตั้งคณะกก.สอบสวน สอบสวนตามกฎ ก.พ. แล้วรายงานผล และความเห็นต่อผบ.ม.57(ม.93) ผิด ไม่ผิด สั่งลงโทษ โดยไม่ตั้งกก.สอบสวนก็ได้(ม.92)(ม.96) สั่งยุติเรื่อง (ม.92ว.2) ผิด ไม่ผิด มีเหตุให้ออกจาก ราชการตาม ม.110(7)ม.110ว.2 สั่งยุติเรื่อง ไม่ร้ายแรงลงโทษตามม.96 ร้ายแรง(ม.97) ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ.จังหวัด/กรม/กระทรวง(ม.97) แล้วสั่งตามมติ
หลักเกณฑ์และวิธีการ สอบสวนทางวินัย ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาและคณะกรรมการทราบ ประธานฯ จัดประชุมคณะกรรมการวางแนวทางการสอบสวน แจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา แจ้งสิทธิต่างๆให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (สว.2) สอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือไม่ รับสารภาพ ไม่รับสารภาพ รวบรวมพยานหลักฐาน บันทึกคำรับสารภาพ และจะสอบสวนหรือไม่สอบสวน ต่อไปก็ได้ ประชุมพิจารณา และแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่ สนับสนุนข้อกล่าวหา(สว.3) ประชุมพิจารณาลงมติ สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ทำรายงานการสอบสวนเสนอ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน อ้างอิง สำนักงานศาลปกครอง
การดำเนินการทางวินัย หมายถึง การดำเนินการหรือกระบวนการทั้งหลายที่จะต้องกระทำเป็นพิธีการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เมื่อข้าราชการพลเรือนกระทำผิดวินัย หรือมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้มีอำนาจตามกฎหมายได้พิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลแล้ว
สาระสำคัญ ของการดำเนินการทางวินัย 1. ประเภทการดำเนินการทางวินัย 2. กระบวนการดำเนินการทางวินัย 3. การดำเนินการระหว่างการดำเนินการ ทางวินัย 4. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย อ้างอิงสำนักงานศาลปกครอง
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 1. ประเภทการดำเนินการทางวินัย 1.1 การดำเนินการทางวินัยกรณีกระทำผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรง 1.2 การดำเนินการทางวินัยกรณีกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 2. กระบวนการดำเนินการทางวินัย 2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 2) องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ สอบสวน 3) การคัดค้านกรรมการสอบสวน
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 2.2 หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัย มีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 1) การแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา 2) การรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหา 3) การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหา 4) การสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานของ ผู้ถูกกล่าวหา 5) การประชุมลงมติและทำรายงานการสอบสวน
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 2.3 การพิจารณาความผิด 1) ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง 2) ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 2.4 การพิจารณากำหนดโทษ โทษทางวินัยมี 5 สถาน 1) ภาคทัณฑ์ 2) ตัดเงินเดือน 3) ลดเงินเดือน 4) ปลดออก 5) ไล่ออก วินัยอย่างไม่ร้ายแรง วินัยอย่างร้ายแรง
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 2.5 การลงโทษ มีสาระสำคัญ คือ 1) ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษวินัยอย่างไม่ร้ายแรง 2) ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง 2.6 การรายงานการดำเนินการทางวินัย มาตรา 103
สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ)สาระสำคัญของการดำเนินการทางวินัย(ต่อ) 3. การดำเนินการระหว่างดำเนินการทางวินัย 3.1 การสั่งพักราชการ 3.2 การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ปรัชญาการดำเนินการทางวินัยปรัชญาการดำเนินการทางวินัย
คุณสมบัติของ ผู้ดำเนินการทางวินัย
แนวทางพิจารณากรณีมีมูลที่ควรสอบสวนทางวินัย และวิธีการดำเนินการ มีดังนี้ 1. มีบัตรสนเท่ห์ 2. มีผู้ร้องเรียน 3. สื่อมวลชน 4. ตรวจพบเอง 5. หน่วยงานอื่นแจ้งมา 6. สตง. 7. ปปช. ร้ายแรง มีมูล สืบสวน ข้อเท็จจริง สอบสวน ไม่ร้ายแรง พ.ร.บ.ฯ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
หลักเกณฑ์การรับฟังบัตรสนเท่ห์หลักเกณฑ์การรับฟังบัตรสนเท่ห์ • ต้องระบุพยานหลักฐานชัดเจน • ให้ผู้บังคับบัญชาสืบสวนเป็นทางลับ • บันทึกผลการดำเนินการสืบสวนไว้เป็นหลักฐาน
กรณี “มีมูลหรือไม่” พิจารณาดังนี้ 1. มีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหา 2. ผู้ถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องกับการนั้น
การสืบสวนทางวินัยคืออะไร การสอบสวนทางวินัยคืออะไร ต่างกันอย่างไร
การสืบสวนทางวินัย คือ การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้น เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งกรณีที่จะดำเนินการ ทางวินัยแก่ข้าราชการต่อไป
การสืบสวนทางวินัย มี 2 กรณี คือ 1. การสืบสวนก่อนการดำเนินการทางวินัย หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานก่อนการวินิจฉัยว่า กรณีมีมูลหรือไม่ 2. การสืบสวนที่เป็นการดำเนินการทางวินัย หมายถึง การสืบสวนกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้ง เช่น กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการ
การสอบสวนทางวินัย หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการ ทั้งหลายอื่นเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ หรือพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาให้ได้ความจริง และยุติธรรม และเพื่อที่จะพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำผิดวินัยจริงหรือไม่ อย่างไร และถ้ากระทำผิดวินัย ควรจะได้รับโทษสถานใด
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย คือ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ได้แก่ 1. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด 2. ปลัดกระทรวง 3. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี 4. อธิบดี หรือปลัดกระทรวงในฐานะอธิบดี 5. ผู้ว่าราชการจังหวัด
การสอบสวน ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง • - สอบตามวิธีการที่ ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร • แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา • ทราบฐานะ • - ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง • ตั้งคณะกรรมการขึ้น • ทำการสอบสวน • - สอบสวนตาม กฎ ก.พ.
ดำเนินการตามวิธีการที่เห็นสมควร - สอบสวนเอง - มอบหมาย - แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อยกเว้น ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง - ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า กระทำผิด (ข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาประจักษ์ชัด) - รับสารภาพเป็นหนังสือ - ได้รับโทษจำคุก (เว้นประมาท, ลหุโทษ) - ละทิ้งหน้าที่ติดต่อเกิน 15 วัน - รับสารภาพเป็นหนังสือ
กฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการสอบสวน 1. เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน 2. มีจำนวนอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย - ประธานกรรมการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา - กรรมการอย่างน้อย 2 คน ให้เป็นเลขานุการ 1 คน 3. กรรมการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร หรือผู้ได้รับปริญาทาง กฎหมาย หรือผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการ ทางวินัย หรือผู้มีประสบการณ์การดำเนินการทางวินัย อย่างน้อย 1 คน 4. มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ (กรณีจำเป็น)
องค์ประกอบของคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนองค์ประกอบของคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 1. ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา 2. เรื่องที่กล่าวหา 3. ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการสอบสวน 4. ผู้ช่วยเลขานุการ (ถ้ามี) ทำตามแบบ สว. 1
เหตุคัดค้านกรรมการสอบสวน (ข้อ8) 1. รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา 2. มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน 3. มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา 4. เป็นผู้กล่าวหา หรือคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือ พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาของ ผู้ถูกกล่าวหา 5. เหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม
ผู้สั่งตั้งก.ก.จะเปลี่ยน เพิ่ม หรือลดจำนวนกรรมการสอบสวนได้ ดังนี้ - มีเหตุอันสมควร หรือจำเป็น - ต้องแสดงเหตุแห่งการสั่งนั้น - นำข้อ 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อแต่งตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจะเปลี่ยนตัวกรรมการสอบสวนได้หรือไม่
การแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา (สว.2) เมื่อประชุมกำหนดแนวทางการสอบสวนแล้ว 1. เรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา โดยแจ้งว่า - กระทำการใด - เมื่อใด - อย่างไร 2. แจ้งสิทธิ 3. ถามผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือไม่ อย่างไร 4. ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบ ให้ส่ง สว.2 ทางไปรษณีย์
แจ้ง สว.2 ถ้ารับสารภาพ - ให้แจ้งว่าผิดกรณีใด - ให้บันทึกถ้อยคำ - ทำรายงานการสอบสวน เสนอผู้สั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบสวน ถ้าไม่รับสารภาพ - ให้รวบรวมพยานหลักฐาน ต่อไป และ - สรุปพยานหลักฐานที่ สนับสนุนข้อกล่าวหา (สว.3)
ประเภทของพยานหลักฐาน 1. พยานวัตถุ 2. พยานเอกสาร 3. พยานบุคคล 4. พยานผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ชำนาญการพิเศษ
หลักเกณฑ์และวิธีการทั่วไปเกี่ยวกับการสอบสวนหลักเกณฑ์และวิธีการทั่วไปเกี่ยวกับการสอบสวน และการรวบรวมพยานหลักฐาน 1. ทำบันทึกการสอบสวนประจำวัน 2. บันทึกการได้มาของพยานหลักฐาน 3. พยานเอกสารให้ใช้ต้นฉบับ 4. ห้ามบุคคลอื่นร่วมทำการสอบสวน 5. องค์ประชุมสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาและพยาน 6. ห้ามล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญาหรือ กระทำการเพื่อจูงใจ