590 likes | 729 Views
Computer Network Basic. การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) คือ การรับ-ส่ง โอน ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ผ่านสื่อนำข้อมูล
E N D
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) คือ การรับ-ส่ง โอน ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ผ่านสื่อนำข้อมูล • เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อ เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้ 3. ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ อาจจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร (ต่อ) 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น สายเคเบิ้ล อากาศ น้ำ ฯลฯ 5. โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องตกลงกันไว้ก่อน
Protocol Protocol Data Medium Receiver Sender การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์
ประโยชน์ของระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีต่อองค์กรประโยชน์ของระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีต่อองค์กร • สามารถย่นระยะเวลาการทำงาน (Compressing Time) :ทำให้ส่งผ่านข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้เร็วขึ้น ทำให้งานต่าง ๆ เสร็จเร็วยิ่งขึ้น เช่น การซื้อขายหุ้นหลาย ๆ ตัวในเวลาที่จำกัดผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • การเอาชนะข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ (Overcoming Geographical Restrictions) :ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ที่อยู่กระจัดกระจายกันมาอยู่รวมกันเสมือนว่าอยู่ ณ ที่เดียวกัน เช่น ร้าน 7-11 บริษัทแม่สามารถทราบยอดขายของแต่ละร้านได้ แม้กระทั้งสินค้าคงคลังของแต่ละร้านเป็นต้น
ประโยชน์ของระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีต่อองค์กรประโยชน์ของระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีต่อองค์กร • การรื้อปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (Restructuring Business Relationships) :ระบบการสื่อสารด้านการตลาดทำให้ลูกค้าติดต่อโดยตรงกับระบบ, การประมวลผลการเปลี่ยนแปลงแบบ online ทำให้ฐานข้อมูลของบริษัท Update ตลอดเวลา • การร่วมมือกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Alliances) : หลาย ๆ บริษัทร่วมกันสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น 7-11 ร่วมมือกับบริษัทอื่น ๆ ทำ Counter Services เพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการ
ชนิดของสัญญาณข้อมูล 1. Analog Signal เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยแต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน
2. Digital Signal เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง มีค่าเพียง 2 ค่า คือ 0 และ 1
รูปแบบการแทนข้อมูลด้วยดิจิตอลรูปแบบการแทนข้อมูลด้วยดิจิตอล
คำศัพท์ควรรู้ • Hertz (Hz) : หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบ Analog โดยนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที (รอบ/วินาที) • Bit Rate : อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล วัดจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น Bit Per Second (bps) • Bandwidth : ระยะความถี่ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านระบบสื่อสารระบบหนึ่ง ๆ ได้
Modulation Digital Analog Demodulation โมเด็ม (MODEM) (MOdulation and DEModulation)
ประเภทของ MODEM 1. โมเด็มภายนอก (External MODEM) เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทาง Serial Port 2. โมเด็มภายใน (Internal MODEM) เป็นการ์ดที่ใช้เสียบกับแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ 3. โมเด็มไร้สาย (Wireless MODEM) สื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
External Modem Internal Modem
การเชื่อมต่อสายสื่อสารการเชื่อมต่อสายสื่อสาร 1. Point-to-Point เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สื่อสารสองตัวเท่านั้น
2. Multipoint เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบหลายจุด สำหรับการสื่อสารที่มีอุปกรณ์มากกว่า 2 ตัว
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) 1. Simplex transmission การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว 2. Half-duplex transmission การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน 3. Full-duplex transmission การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน
การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex) • เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว • ผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว • ตัวอย่างเช่น • การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุ
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Haft-duplex transmission) • เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับและผู้ส่ง • แต่ต้องสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล ไม่สามารถเป็นผู้ส่งพร้อม ๆ กันได้ • ตัวอย่างเช่น • การสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสาร (ของทหาร)
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission) • เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับและผู้ส่งในเวลาเดียวกัน • สามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กันแบบสองทิศทาง • ตัวอย่างเช่น • การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์
วิธีการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission) • จำแนกได้ 2 รูปแบบ • การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Data Transmission) • การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (Parallel Data Transmission)
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Data Transmission) • เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 bit ไปบนสายสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูล โดยที่สายสัญญาณจะมีเพียงหนึ่งเส้น • มีราคาถูก • เนื่องจากการสื่อสารเป็นแบบอนุกรมส่งได้ครั้งละ 1 bit จึงทำให้ส่งข้อมูลได้ช้า
การสื่อสารข้อมูลแบบขนาด (Parallel Data Transmission) • เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตไปบนสายสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูล โดยที่สายสัญญาณจะมีหลายเส้น • มีราคาสูงกว่าแบบอนุกรม • เนื่องจากการสื่อสารมีสายสัญญาณหลายเส้นทำให้สามารถส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันได้จึงทำให้ส่งได้เร็ว
ตัวกลางการสื่อสาร(Communication Media) • สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (Wired Media) • สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media)
สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) • สายคู่บิดเกลียว (twisted-pair cable : UTP,STP) • สายโคแอกเชียล (coaxial cable) • สายใยแก้วนำแสง (optical fiber cable)
สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) • ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (terrestrial microwave) • ดาวเทียม (satellite) • อินฟราเรด(Infrared)
Microwave Satellite
เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology) 1. Bus Topology 2. Ring Topology 3. Star Topology 4. Mesh Topology
Bus Topology • เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อกับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ
ข้อดีและข้อเสีย • ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย • ประหยัดค่าใช้จ่าย • คอมพิวเตอร์เครื่องใดเสียจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม • การตรวจจุดที่มีปัญหาทำได้ยาก • ถ้ามีจำนวนเครื่องมากเกินไปอาจเกิดปัญหาการชนกันของข้อมูลได้
Ring Topology • การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงกลม • ทิศทางการส่งจะเป็นทิศทางเดียวเสมอ
ข้อดีและข้อเสีย • ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย • หากตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาออกจากระบบ จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ • ไม่มีการชนกันของข้อมูล • กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดขัดข้อง การส่งข้อมูลจะทำงานต่อไปไม่ได้
Hub Star Topology • มีการเชื่อมต่อภายในระบบเครือข่ายเป็นแบบดาว โดยมีจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ (Hub) • ทำการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่าน Hub
ข้อดีและข้อเสีย • หากต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย • ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลสูง • ถ้า Hub ไม่ทำงาน การสื่อสารจะหยุดชะงักทั้งระบบ
Mesh Topology • คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ • คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระ ไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องอื่น ๆ • การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว • ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลสูง
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • Local Area Network (LAN) • Metropolitan Area Network (MAN) • Wide Area Network (WAN) • Storage Area Network (SAN) • Internet
Local Area Network (LAN) • เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น • ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร • มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง • มักใช้สื่อเป็น Wire • ใช้ในองค์กร สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย , บริษัท • สามารถเชื่อมต่อการเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้
Metropolitan Area Network (MAN) • เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ • ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 50 กิโลเมตร • ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณทั้งตำบล หรือ อำเภอ • อาจเกิดจากการเชื่อมต่อของ LAN หลาย ๆ เครือข่าย
Wide Area Network (WAN) • เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก • ภายในเครือข่ายประกอบด้วย LAN และ MAN • พื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศ หรือ ทั่วโลก • แบ่งเป็น - Private - Public หมายเหตุ Internet เป็นเครือข่ายแบบ Public WAN
Storage Area Network(SAN) • เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล • ทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บและปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของ Server ซึ่งลักษณะข้อมูลเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก • การเชื่อมโยงจะเชื่อมต่อด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต