320 likes | 523 Views
Computer System. ระบบ คอมพิวเตอร์. 1. ความหมายของคอมพิวเตอร์.
E N D
Computer System ระบบคอมพิวเตอร์ 1 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้สำหรับคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลต่างๆ จากการป้อนกลับข้อมูลลงไปผ่านทางคีย์บอร์ด เพื่อให้แสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง และอื่นๆ โดยแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรือ ทางเครื่องพิมพ์ ซึ่งเมื่อนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆแล้วจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีประโยชน์และจำเป็นกับชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเราควรศึกษาวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานพร้อมทั้งศึกษาวิธีการใช้งานโปรแกรมที่จำเป็นต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน แล้วค่อยไปศึกษาพวกโปรแกรมเฉพาะทางที่ใช้สำหรับประกอบอาชีพกันอีกทีหนึ่ง 2 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ผลจากการประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลักและพร้อมที่จะนำออกแสดงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไปจึงแบ่งองค์ประกอบได้ดังนี้ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์(Software) 3. บุคลากร (People ware) 4. ข้อมูล (Data) 5. กระบวนการทำงาน (Procedure) 3 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. ฮาร์ดแวร์(Hardware) • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ส่วนของคอมพิวเตอร์ที่เราจับต้องได้ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานประสานกันและเกิดการประมวลผล สามารถแบ่งตามการทำงานได้เป็น 5 ส่วน • ส่วนรับข้อมูลหรืออุปกรณ์อินพุต (Input Device) • หน่วยความจำ (Memory) • หน่วยประมวณผลกลาง (Processing) • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสำรอง (Secondary memory) • อุปกรณ์เอาต์พุต (Output Device) 4 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.1 ส่วนรับข้อมูลหรืออุปกรณ์อินพุต (Input Device) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้าไปยังหน่วยความจำเพื่อไปประมวลผล แล้วจัดเก็บข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูลตัวอย่างเช่น1. แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูล กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งแล้วตัวอักขระนั้นจะส่งเข้าไปในคอมพิวเตอร์ 2. เมาส์ เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งโดยใช้เคลื่อนตัวชี้ที่เรียกว่า “เคอร์เซอร์” ไปทั่วหน้าจอ การกดปุ่มเป็นการนำเข้าแบบง่ายๆ 3. สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน หรือสแกนภาพ สแกนข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการแปลงข้อมูลแบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอล 4. เครื่องอ่านรหัสแท่ง เป็นเครื่องมือที่ใช้อ่านรหัสที่ติดอยู่ตามสินค้า 5 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.2 หน่วยความจำ (Memory) หน่วยความจำ (Memory)มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาประมวลผล และข้อมูลที่จะแสดงผลลัพธ์ ซึ่งปัจจุบันหน่วยความจำนั้นมีให้เลือกหลากหลายชนิด ดังนี้ 1. แรม (RAM) คือ หน่วยความจำชั่วคราวทำงานได้ แต่เมื่อปิดเครื่องแล้วข้อมูลนั้นก็จะหายไป นอกจากนี้หากเราทำงานกับโปรแกรมทางด้านกราฟิก ก็ควรหาแรมมาใส่เพิ่มเครื่องก็จะทำงานได้รวดเร็วขึ้น 2. ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ หน่วยความจำหลักของหากปิดเครื่องข้อมูลต่างๆ จะไม่ถูกลบ การเก็บข้อมูลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์เป็นสำคัญ 3. แผ่น CD/DVD ปัจจุบันมีราคาไม่แพง นิยมใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปถ่าย เพลง และภาพยนตร์ เก็บเอาไว้ดูภายหลังได้ 4. แฟลชไดรว์ (Flash Drive) เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ราคาถูก สะดวกต่อการพกพา มีข้อเสียตรงที่หากเครื่องของคุณไม่มีโปรแกรมป้องกันไวรัสแลสปายแวร์ เมื่อเอาแฟลชไดร์ของคนอื่นมาเสียบกับเครื่องเราอาจจะติดโปรแกรมไวรัสเหล่านั้นได้ 6 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.3 หน่วยประมวลผลข้อมูล • หน่วยประมวลผลข้อมูลทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)ประกอบด้วยย่อย ๆ อีก 2 หน่วย คือ • หน่วยประมวลผลด้านคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ • หน่วยควบคุมการประเมินผล • ดังนั้นถ้าอยากให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราฉลาด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ควรเลือกใช้ CPU ที่ดีด้วย ในท้องตลาดจะมีผู้ผลิตอยู่ 2 ค่ายที่ผลิตแข่งขันกันจำหน่าย • - บริษัท Intelผลิตตระกูล Pentium, Core (i, i3, i5) และ Atom เป็นต้น ราคาก็แตกต่างออกไปตามประสิทธิภาพโดย Core iจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน Atom จะเน้นไปทางด้านประหยัดไฟ เหมาะใช้งานด้านทำงานทั่วไป • - บริษัท AMDถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอินเทล ผลัดกันเป็นผู้นำในตลาดนี้ ผลิต CPU ตระกูล Athlon, Phenomและ Sempronออกมาจำหน่าย จุดเด่นของสินค้า คือ ราคาถูกกว่าคู่แข่ง และมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน 7 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.4 หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสำรอง หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสำรอง (Secondary memory)ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ handy drive cddvdเป็นต้น ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดอยู่กับส่วนความจำหลัก สำหรับส่วนที่มีความจุมากและมีราคาถูก แต่หาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก เช่น ดิสก์เกตต์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม แฟลชไดร์ จะทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที เป็นรหัสแทนเลขฐานสอง เก็บไว้เป็นกลุ่มๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด ดังนี้ - บิต (bit : binary digit)หมายถึง ตัวเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 เป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของหน่วยความจำ - ไบต์ (byte) ใช้เรียกแทนกลุ่มของบิต จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ เช่น 6 บิต 8 บิต จะเรียกว่า 6 บิตไบต์ 8 บิตไบต์ 16 บิตไบต์ ตามลำดับ เป็นต้น 8 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.5 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Device) หน่วยแสดงผลข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลการทำงานออกมา เพื่อให้เรารับทราบข้อมูลต่างๆ ที่ทำงานผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ เช่น 1. จอภาพ (Monitor)ทำหน้าที่สำหรับแสดงผล จอภาพที่ดี ภาพที่ปรากฏจะคมชัด ดูสบายตา ปัจจุบันเรานิยมใช้จอแบบ LCD หรือ LED กัน ซึ่งก็มีทั้งแบบจอธรรมดาและแบบจอกว้าง (Wide Screen) 2. เครื่องปริ้นเตอร์ทำหน้าที่พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ออกมา ต่างๆ ออกมา หรือใช้พิมพ์ภาพถ่ายที่เราตกแต่งเอาไว้ได้อีกด้วย บางรุ่น อาจมีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย เช่น พิมพ์แผ่นซีดี สแกนเอกสารหรือภาพถ่ายลงเครื่อง และยังรับ-ส่งแฟกซ์ (Fax) ได้ด้วย 3. ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนจากสัญญาณไฟฟ้าให้กลายมาเป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่ดีต้องให้เสียงที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากเสียงต้นฉบับ 9 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (Software)คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนเพื่อควบคุมการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่กำหนดแบ่งชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงานแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบใช้ในการจัดระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ใช้ในการจัดการหน่วย รับเข้าและหน่วยส่งออก ใช้ในการจัดการหน่วยความจำและใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน 10 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ 2.1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์รวมถึงการจัดสรร อุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ - Windows XP Professional ,Windows Vista, Windows 7, Os X 2.1.2 ตัวแปลภาษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา สำหรับแปลภาษา ระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก และภาษาจาวา เป็นต้น 11 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 2.2.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานทั่วไป ที่มีใช้กันทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันสูงมาก เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่ายเพื่อให้ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาอีก ได้แก่ - ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word) – ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน(Excel) - ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล(access) – ซอฟต์แวร์นำเสนอ(Power point) - ซอฟต์แวร์สื่อสารและการค้นหา – ซอฟต์แวร์กราฟิก 2.2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ เป็นการประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป มีการนำมาประยุกต์โดยตรงกับงาน แต่บางงานเช่น ทางธุรกิจบางอย่างไมได้ เช่น ธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานขายสินค้า การออกแบบใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง มีความต่างกันจึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ 12 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
3. บุคลากร (People ware) • บุคลากร (People ware) คือ ผู้สั่งให้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ซึ่งบุคคลจะมีหลายบทบาทในการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ • ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้กำหนดนโยบายการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อส่งให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรม • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นัก • วิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ • 4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป 13 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
4. ข้อมูล/สารสนเทศ (Information) ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ 14 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) กระบวนการทำงาน เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อมูลสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้ นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน 15 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
หลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์หลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูลซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วย ความจำหลัก จากนั้นจะไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรมพร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล เป็นต้น รูป แสดงหลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ 16 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคแรก อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) มาร์ควัน อินิแอคยูนิแวค 17 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน 18 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม โดยแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้นและสามารถสร้างเป็นโปร แกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง 19 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์มีการใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมากมีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง 20 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (ยุคปัจจุบัน) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่องสามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปํญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง 21 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ชนิดของคอมพิวเตอร์ พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดและความสามารถแตกต่างกันไป เราสามารถจำแนกได้ตามสภาพการทำงานของระบบการใช้งาน ได้ดังนี้ 1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มีหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลข้อมูลสูงสุด ใช้สำหรับงานที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบซับซ้อน หรืองานคำนวณชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ 2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่รองจากเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เน้นการทำงานพร้อมกัน แต่ไม่ได้ไปเน้นที่ความเร็วของการคำนวณข้อมูล ตัวเลข หน่วยงานที่นำไปใช้งาน ได้แก่ธุรกิจธนาคารหรือการเงินที่ต้องอาศัยการดึงดูดข้อมูลของแต่ละสาขา เป็นต้น 22 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ชนิดของคอมพิวเตอร์ 3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือ ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า จุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือเรียกอีกอย่างว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่ายหรือใช้เป็นเครื่องปลายทางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวล ผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่อง ดังนี้ 23 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ชนิดของคอมพิวเตอร์ 4.1 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer)จะที่มีขนาดเล็กออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะมีการแยกส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และคีย์บอร์ด 4.2 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer)จะมีขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพ LCD 4.3 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer)มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็จอภาพเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียวหรือแบบหลายสีโน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป 4.4 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer)สำหรับการใช้งานเฉพาะ เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก 24 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ชนิดของคอมพิวเตอร์ 5. เวิร์คสเตชัน (Workstation) ถูกออกแบบมาให้ตั้งโต๊ะมีความสามารถ ในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง 6. NetTopจะมีขนาดเล็กสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งต่างจาก HTPC เล็กน้อย ตรงที่ไม่เน้นประสิทธิภาพทางด้านภาพและเสียง พูดง่าย ๆ คือเอาไว้ใช้ทำงาน/เล่นอินเตอร์เน็ต/เล่นเกมบนFacebook/Chat MSN อะไรทำนองนี้ข้อดีของ Nettopก็คือ ประหยัดเนื้อที่ ประหยัดพลังงาน (อัตราการกินไฟ) 25 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
สรุประบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้สำหรับคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลต่างๆ ระบบคอมพิวเตอร์ จะประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูลสารสนเทศและ กระบวนการทำงาน 26 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Computer System ระบบคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 5 1. น.ส. ขนิษฐา ขันอ่อน เลขที่ 50 2. น.ส. อิชยา มุขรักษ์ เลขที่ 12 3. น.ส. พิมพิไล ยืดยาว เลขที่ 23 4. น.ส. กฤษณี พิมพ์ทอง เลขที่ 49 5. น.ส. กาญจนา ปามุทา เลขที่ 1 6. น.ส. สุนิสา ปามุทา เลขที่ 31 7. น.ส. จักษณา จันทะสิงห์ เลขที่ 52 28 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา