600 likes | 1.03k Views
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. กรมควบคุมโรค 18 พฤศจิกายน 2552. หัวข้อนำเสนอ. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การป้องกันควบคุมโรค บทสรุป. สถานการณ์ทั่วโลก. ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มากกว่า 482 ,300 ราย เสียชีวิต 6 ,071 ราย
E N D
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กรมควบคุมโรค 18 พฤศจิกายน 2552
หัวข้อนำเสนอ • สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • การป้องกันควบคุมโรค • บทสรุป
สถานการณ์ทั่วโลก • ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มากกว่า 482,300 ราย เสียชีวิต 6,071 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 6พ.ย. 2552) • ซีกโลกภาคเหนือ กำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาว การระบาดมีแนวโน้มการแพร่กระจายและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ในพื้นที่เขตร้อน อัตราการป่วยโดยทั่วไปลดลง • ในเขตอบอุ่นแถบซีกโลกใต้ จำนวนผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ต.ค. 2552)
ระยะปัจจุบัน (ก.ค.-พ.ย.52) ระยะต่อมา (มิ.ย.52) ระยะแรก (ปลายเม.ย. – พ.ค.52) ผู้เดินทางที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีไข้ ผ่านเข้าประเทศ สถานการณ์ของไทย 8 ก.ย. 2552
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทยสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2552 รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด (ตั้งแต่ 28 เม.ย. 52) 184 ราย การระบาดได้ขยายตัวไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ยังมีผู้ป่วยต่อเนื่อง ติดตามข้อมูลได้จากเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thหรือ call center : 1422
จำนวนผู้ป่วยรายสัปดาห์ แยกกลุ่มอายุ ประเทศไทย นักเรียนป่วยในจังหวัดอื่นๆ นักเรียนป่วยใน กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
แนวโน้มการระบาดจำนวนผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้างกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้าง บ้าน โรงเรียน นักท่องเที่ยว ค่ายทหาร เรือนจำ สำนักงาน โรงงาน สถานที่สาธารณะ
สรุปแนวโน้มการระบาด • กรุงเทพมหานครปริมณฑล มีรายงานผู้ป่วยยืนยันรายใหม่จำนวนมากและกระจายในหลายอำเภอ • ต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีรายงานผู้ป่วยยืนยันรายใหม่กระจายอยู่หลายอำเภออย่างต่อเนื่อง • ในภาพรวมของประเทศ คาดว่าจะระบาดจะต่อเนื่องถึงปลายปี การแพร่ระบาดจะดำเนินต่อไป และอาจขยายตัวเป็นการระบาดระลอกใหม่ • กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน เรือนจำ สถานสงเคราะห์ต่างๆ การรวมกลุ่มกิจกรรม กลุ่มทัวร์ และการชุมนุมต่างๆ • กลุ่มเสียงต่อโรครุนแรง คือ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงมีครรภ์ คนอ้วน ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็กและผู้สูงอายุ
ในระยะนี้ควรให้ความสนใจในระยะนี้ควรให้ความสนใจ • ยุทธศาสตร์ 2 ลด 3 เร่ง โดยลดการเสียชีวิต การติดเชื้อและการป่วย ให้น้อยที่สุด และเร่งให้ อสม.สำรวจผู้ป่วย เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเร่งการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น • ป้องกันการระบาด โดยเฉพาะโรงเรียน สถานที่ทำงาน โรงงาน หอพัก สถานดูแลเด็กเล็ก สถานสงเคราะห์คนชราหรือสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมาก • การดูแลผู้ป่วย แพทย์ควรวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยโดยใช้อาการทางคลินิกเป็นหลัก ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ป่วยที่อยู่ในปัจจัยเสี่ยง ควรดูแลให้ยาต้านไวรัสโดยเร็ว • การเฝ้าระวังโรค เพื่อติดตามการกระจายและแนวโน้มการระบาด
จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกและในประเทศไทยในแต่ละปีEstimated number of annual influenza cases – Global vs Thailand 17 มิย. 2552
เปรียบเทียบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) กับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา (ตามฤดูกาล) 17 มิย. 2552
แนวทางปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009
กลุ่มเสี่ยงน้อยกว่า • อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือ มากกว่า 65 ปี • เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ อยู่ในระดับปรกติจากการรักษา • ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4 >350/uL • โรคระบบประสาทที่ผู้ป่วยรับรู้และดูแลตัวเองได้ดี ไม่มีปัญหาการหายใจและการสำลัก
สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ต้องสวม หน้ากากอนามัย ทุกราย • จัดให้มีจุดล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือ น้ำยาล้างมือแห้ง รวมถึงถังขยะติดเชื้อ • คลินิกเอกชนที่รับฝากครรภ์ หรือ รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน อาจมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ หากเป็นไปได้ ควรแยกInfluenza OPD ออกจาก OPD สำหรับผู้ป่วยอื่น • ควรเป็นห้องที่โล่งที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติได้หรือจัดให้เป็นห้องแยก - จัดให้มีทิศทางลมให้พัดจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยและระบายออกภายนอกหรือให้มีพัดลมระบายอากาศช่วย โดยให้ทิศทางลมระบายออกไปยังทิศทางที่ไม่มีผู้ป่วยโรคอื่นมานั่งคอย
แนวทางการปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) • แนวทางการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาล - ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้เยี่ยมไข้ - ผู้ป่วยอื่น - บุคลากรของโรงพยาบาล
พศ. 2548 - 2552 • แผนเตรียมความพร้อม • กระทรวง / หน่วยงาน / จังหวัด • รัฐวิสาหกิจ • ภาคเอกชน • การซ้อมแผน (Exercises) • ซ้อมแผนบนโต๊ะ • ซ้อมแผนตามบทบาทหน้าที่ แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)
หลายปีที่ผ่าน ได้เตรียมฐานไว้ไม่น้อย • โรงพยาบาล สถานริการ สธ. ปรับตัวรับการระบาดได้เร็ว ทั้งด้านบุคลากร สถานที่ และ ระบบงาน • คลังสำรอง (Stockpile) มียาต้านไวรัส PPE เพียงพอ • ศักยภาพด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่ • โครงการพัฒนาวัคซีน • เริ่มสร้างโรงงานผลิตวัคซีน • ขยายบริการให้วัคซีน • โรงงานผลิต Oseltamivir • ระบบประสาน สั่งการ ระดับต่างๆ • แผนเตรียมความพร้อม หรือ Business continuity plan • กระทรวง / หน่วยงาน / จังหวัด • รัฐวิสาหกิจ • ภาคเอกชน • การซ้อมแผน (Exercises) • Tabletop • Functional
นายกรัฐมนตรี ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ/ นานาชาติ WHO US CDC ….… กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โครงสร้างคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบัน (รองนรม.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน)
หน่วยราชการ • กระทรวงสาธารณสุข • กระทรวงมหาดไทย • กระทรวงศึกษาธิการ • กระทรวงวัฒนธรรม • กระทรวงคมนาคม • กระทรวงวิทยาศาสตร์ • กระทรวงการท่องเที่ยว • กระทรวง ICT • กระทรวงอื่นๆ คณะกรรมการอำนวยการฯระดับชาติ (รองนายกฯ สนั่น) คณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมสุขภาพ (นายกรัฐมนตรี) คณะกรรมการ สนับสนุนการขับเคลื่อน การป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษทางวิชาการและยุทธศาสตร์าด้านการแพทย์และสาธารสุข • กองทุน ส่งเสริม สุขภาพ (สสส.) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ภาคเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ NGO • รัฐวิสาหกิจ คณะอนุกรรมการเผยแพร่ ปชส.(กปส.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน รัฐบาล (ครม.) กิจกรรมป้องกัน ควบคุมโรค ดูแลผู้ป่วย ส่งเสริมสุขภาพ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รักษาความเรียบร้อย
แนวทางการป้องกัน และควบคุมโรค
หากทุกฝ่าย ช่วยกัน ป้องกันโรคควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด เป้าหมายการจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ H1N1 การป้องกันและ ควบคุมโรค ช่วง เมย. – พค. ช่วย ชะลอการระบาดใน ประเทศประมาณ 6 สัปดาห์ จำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน วัน นับตั้งแต่เริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หน่วยงานต่างๆ และประชาชน มีโอกาสเตรียมตัว ทุกฝ่ายไม่ตระหนก ประชาชนรู้วิธีป้องกันโรค โรงเรียนและธุรกิจปรับตัวรับได้ มีผลกระทบน้อย 17 มิย. 2552
การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตามสถานการณ์ของโรคการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตามสถานการณ์ของโรค สถานการณ์ A มีผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ เดินทางเข้าประเทศ เป้าหมาย ป้องกันการแพร่เชื้อในประเทศ ยุทธศาสตร์หลัก คัดกรองผู้เดินทาง เฝ้าระวังโรคค้นหาผู้ป่วย ดูแลรักษาผู้ป่วย เฝ้าติดตามผู้สัมผัสโรค สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เตรียมเข้าสถานการณ์ B ระดับ 6 ระดับ 5 • สถานการณ์ B • เกิดการระบาดในประเทศ ในวงจำกัด • เป้าหมาย ควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงแคบที่สุด • ยุทธศาสตร์หลัก • เฝ้าระวังโรค ค้นหาผู้ป่วย เฝ้าติดตามผู้สัมผัสโรค • รักษาผู้ป่วย แนะนำดูแลที่บ้าน • สุขศึกษา ปชส. ส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรค • แยกตัว / ลดกิจกรรมทางสังคม พร้อมการป้องกันโรค • เตรียมพร้อมเข้าสถานการณ์ C • สถานการณ์ C • การระบาดในประเทศ ขยายวงกว้าง • เป้าหมาย บรรเทาความรุนแรง & ลดผลกระทบของการระบาด • ยุทธศาสตร์หลัก • รักษาผู้ป่วย / ดูแลที่บ้าน • สุขศึกษา ปชส.เสริมสุขภาพจิต • มาตรการด้านชุมชน/สังคม • ดูแลสาธารณูปโภคไม่ให้ชะงัก • ประคองกิจการ รัฐ / เอกชน • พยุงเศรษฐกิจ รักษาความสงบ • ใช้วัคซีน (ถ้ามี) ป้องกันการนำเชื้อ เข้าประเทศ และตรวจจับโรค อย่างรวดเร็ว ควบคุมโรค อย่างทันท่วงที เน้นการรักษา และบรรเทาความสูญเสีย
เสียชีวิต 1,200 ปอดบวม 130,000 ผู้ป่วยนอก 3,400,000 มีอาการป่วย 15,000,000 ไม่มีอาการป่วย 15,000,000 ผู้ติดเชื้อ 30,000,000 ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 • ลดตาย • แพทย์ดูแลให้ยาเร็ว / เหมาะสม ตาม แนวทาง • รพ.จัดช่องทางด่วน หรือ คลินิคไข้หวัดใหญ่ • ให้ความรู้ ปชช. ดูแลตนเองที่บ้านได้ และรีบมาหาแพทย์ไว ถ้ามีภาวะเสี่ยง • เร่ง ให้อสมช่วย.แนะนำการป้องกันโรค และค้นหาผู้ป่วย • เร่ง เผยแพร่ สื่อสารส่งเสริมพฤติกรรม ป้องกันโรค ดูแลตนเองถูกต้อง • เร่ง กระจายการ บริหารจัดการ สู่จังหวัดและท้องถิ่น เสริม เฝ้าระวังโรค ชันสูตร (Lab) ผลิต จัดหา สำรอง ยา PPE พัฒนา ผลิต สำรอง วัคซีน พัฒนาบุคลากร ประสาน สั่งการ งบประมาณ ฯลฯ • ลดป่วย • เสริมพฤติกรรม • ป้องกันโรค (เช่น • ล้างมือ ใช้หน้ากาก) • ลดการสัมผัส • (Social distancing) • เช่น ให้ผู้ป่วยอยู่บ้าน • เลี่ยงการชุมนุม • ให้วัคซีน (ถ้ามี) 4 กย 2552
การรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ วัคซีน เตรียมพร้อมด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยกว่า 4.9 ล้านคนและสั่งจองวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ จำนวน 2 ล้านโด๊ส (1-2 ล้านคน) ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ call center ตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เฉพาะ 1-2 เดือนแรกของการระบาด) ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินนานาชาติและมีแพทย์ประจำจุดตรวจ พร้อมส่งผู้ป่วยทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ เช่น เฝ้าระวังโรคในสถานศึกษา สายการบิน บริษัททัวร์ โรงแรม การประชาสัมพันธ์ การซ้อมแผนทุกภาคส่วนระดับจังหวัด ประสานความร่วมมือกับ WHO และ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข
การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการ ตั้งแต่ 25 เม.ย. 2552 เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการสธ., ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทั่วประเทศและอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทราบผลตรวจใน 48 ชม. ด้วยเครือข่าย 14 แห่ง และรถตรวจเคลื่อนที่ 7 คัน พร้อมทั้งพันธมิตรทางห้องปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฝึกอบรมบุคลากรและเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในรพ.ทุกแห่ง
ตัวอย่างคลินิคไข้หวัดใหญ่ แบบ One Stop Service
เตรียมรับมือการระบาดช่วงหน้าหนาวเตรียมรับมือการระบาดช่วงหน้าหนาว คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป รักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรค - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ - ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล - หมั่นล้างมือบ่อๆ และล้างมือทุกครั้งหลังสั่งน้ำมูล ไอ จาม และหลังขับถ่าย - ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% - ใช้หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด
หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอล เพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (1)
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (2) • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (3) • อาการจะค่อยๆทุเลา ดีขึ้นใน 3-5 วัน • หากไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้น คือไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ • กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก (น้อยกว่า 2 ปี) หญิงมีครรภ์และผู้มีภาวะอ้วน ควรรีบไป พบแพทย์
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (1) • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน • เช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น • ให้ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด • พยายามให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (2) • ให้นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก • ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก และจมูก เวลาไอหรือ จามด้วยกระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อของตนเอง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ร่วมบ้านหรือร่วมห้อง (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หรือใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น • หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น คือไข้สูงขึ้น ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิมควรรีบไปพบแพทย์ทันที
คำแนะนำสำหรับโรงเรียนคำแนะนำสำหรับโรงเรียน - สำรวจนักเรียนที่ป่วย ทุกวัน • ให้นักเรียนที่ป่วยหยุดเรียน เพื่อพักผ่อนที่บ้าน หรือรักษาจนหาย • แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการ 7 วันถ้าป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน - สอน กระตุ้นเตือนนักเรียน เรื่องการป้องกันโรค อย่างสม่ำเสมอ - ทำความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ ที่อาจแพร่เชื้อ อย่างสม่ำเสมอ
- ให้พนักงาน ที่ป่วยพักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการรุนแรงรีบไปพบแพทย์ • - ตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค • - ให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเฝ้าสังเกตอาการของตนเอง เป็นเวลา 7 วันถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน • ไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการเพื่อการป้องกันการระบาด • ควรทำความสะอาดอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก อย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีอ่างล้างมือน้ำและสบู่อย่างเพียงพอ • - ควรจัดทำแผนการประคองกิจการเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ อย่างต่อเนื่องหากเกิดการระบาดใหญ่ คำแนะนำสำหรับที่ทำงาน สถานประกอบการ