770 likes | 2.13k Views
อ.นที ศรีสุทธิ์ อาจารย์พิเศษ,ที่ปรึกษาฯ , CPA December 18,2011. Update tfrs & Tfrs for npae. คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ของสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้กำหนดมาตรฐานการบัญชีไทยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ IFRS (International Financial Reporting Standard)
E N D
อ.นที ศรีสุทธิ์ อาจารย์พิเศษ,ที่ปรึกษาฯ ,CPA December 18,2011 Update tfrs & Tfrs for npae
คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ของสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้กำหนดมาตรฐานการบัญชีไทยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ IFRS (International Financial Reporting Standard) • ปี 2548 สภาวิชาชีพบัญชีฯ มีข้อตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อปรับเปลี่ยนมาตรฐานการบัญชีไทย ให้สอดคล้องกับ IFRS ซึ่งจะมีทั้ง • การออกมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับใหม่ • การตีความมาตรฐานการบัญชี • การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยที่มีอยู่เดิมให้เป็นไปตาม IFRS ใหม่ และ IFRS ที่ใหม่ล่าสุด ก้าวทันวิชาชีพบัญชีในปี 2554
ADOPTION, CONVERGENCE, EQUIVALENCE...ACCELERATION OF MOMENTUM JAPAN 2011 THAILAND 2011 USA 2014? MALAYSIA 2012 KOREA2011 IFRS INDIA 2011 CANADA 2011 CHINA 2009 AUS NZ, SA 2006 BRAZIL 2010 EU 2005-2007 3 3 3
IASC = International Accounting Standards Committee IAS = International Accounting StandardsSIC = Standing Interpretations Committee IFRIC International Financial Reporting Interpretations CommitteeIASB = International Accounting Standards Board IFRSs = International Financial Reporting Standards AICPA = American Institute of Certified Public Accountants SFAS = Statements of Financial Accounting Standards IFAC = International Federation of Accountants คำย่อที่พบบ่อยในปัจจุบัน
การปรับปรุงมาตรฐานเดิมให้เป็นไปตาม IFRS ในข้อตกลงดังกล่าว มีเงื่อนไขที่ข้อกำหนดมาตรฐานการบัญชีไทย อาจแตกต่างไปจาก IFRS หากการใช้ IFRS ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย หรืออาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจไทย TAS และ TFRS ต้องถือปฏิบัติกับทุกกิจการ ในรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ จะยกเว้นการบังคับใช้ TAS, TFRS บางฉบับกับกิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAE) จนกว่าจะมีการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAE ปรับข้อกำหนดเพื่อลดการอ้างอิงมูลค่ายุติธรรมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับกิจการฯ ที่ต้องนำหลักการบัญชีไปถือปฏิบัติ โดยนำเสนอวิธีการบัญชีอื่นทดแทน ก้าวทันวิชาชีพบัญชีในปี 2554
ตัดข้อกำหนดที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีต้นทุนหรือภาระในการรายงานทางการเงินที่เกินจำเป็น เริ่มตั้งแต่วันที 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีเต็มรูป แบบใหม่ จะบังคับใช้กับทุกบริษัท ทั้งที่เป็นมหาชน หรือไม่ใช่มหาชน (แต่เดิมจะเริ่มบังคับใช้ที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(SET 50) ก่อนเท่านั้น ก้าวทันวิชาชีพบัญชีในปี 2554
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 62/2553 เรื่อง คำชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานการบัญชี สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ
การกำหนดให้ทุกกิจการต้องปฏิบัติตาม TFRS ฉบับใหม่ ที่จัดทำขึ้นตาม IFRS ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไปนั้น อาจไม่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ IASB ที่ได้กำหนดมาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs ที่เรียกกันว่า IFRS for SME เพื่อบรรเทาภาระของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ(Non Publicly Accountable Entities : NPAE) และส่งเสริมให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะสามารถจัดทำและนำเสนองบการเงินได้อย่างถูกต้อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 62/2553
สภาวิชาชีพบัญชีฯ ขอให้ NPAE จัดทำบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 โดยใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปฏิบัติอยู่เดิมไปพลางก่อน NPAE ใด ที่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีตาม TFRS และ TAS ที่สภาวิชาชีพบัญชีฯ ประกาศกำหนดโดยอ้างอิงจาก IFRS ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ให้สามารถทำได้ โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของ TFRS และ TAS ดังกล่าว ทุกฉบับ และให้ถือปฏิบัติเช่นนั้นอย่างสม่ำเสมอ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 62/2553
ร่าง Ifricหลังวันที่ 1 ม.ค.54
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 20/2554 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2554
TAS อ้างอิงจาก IFRSs เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่ IFRS มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และมีความยุ่งยากซับซ้อน จากการใช้แนวคิดมูลค่ายุติธรรม(Fair Value) เป็นหลักในการจัดทำรายงานทางการเงิน ซึ่งเป็นภาระและสร้างต้นทุนในการจัดทำ ซึ่งกิจการส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs)มีความแตกต่างจากกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ความแตกต่างที่ว่าเช่น จำนวนผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ แหล่งระดมเงินทุน ความซับซ้อนของธุรกรรม ฯ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 20/2554
ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ประกอบการและผู้ใช้งบการเงินอื่น ๆ สนับสนุนให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพทั้งระดับจุลภาค และระดับมหภาค เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ง่ายขึ้น และช่วยลดต้นทุนของเงินทุน ส่งเสริมให้เกิดความสม่ำเสมอและเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูลทางการเงินที่ช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้ใช้งบการเงินเกิดความเชื่อมั่น ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโดยรวม วัตถุประสงค์ของ TFRS FOR NPAE
มาตรฐานการรายงานทางการเงินแบ่งเป็น 2 ระดับ มาตรฐานการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชีฯ
มาตรฐานการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชีฯมาตรฐานการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชีฯ รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ. 2554
การบังคับใช้มาตรฐานฯ ในปัจจุบันของ NPAEs ก่อนมีประกาศ ฉบับที่ 20/2554 ทุกฉบับ ยกเว้น TFRS-8 • TAS 7 งบกระแสเงินสด • TAS 14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน • TAS 27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 31 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 32 + TFRS 7 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน หลังประกาศ ฉบับที่ 20/2554 ให้เลือกใช้ TFRS for NPAEs
หมายถึง กิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้ • กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ(ไม่ว่าจะเป็น SET หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค) หรือกิจการที่นำส่งหรือยู่ในกระบวนการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใด ๆ ในตลาดสาธารณะ • กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง ได้แก่ สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น • บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน • กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ NPAE
IFRS for NPAEs • IFRs for NPAEs ส่วนใหญ่ทำตามมาตราฐานการบัญชีที่ถือปฏิบัติในปี 2553 เพื่อให้ธุรกิจไม่เกิดความยุ่งยากในการปรับปรุงระบบงาน ดังนั้น เนื้อหาโดยรวมจะใกล้เคียงกับ IFRS ที่ออกปี 2006 • มี 2 ฉบับ ที่ตรงกับ U.S.GAAP คือ เงินลงทุน และ การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ • มี 1 ฉบับ ที่ใกล้เคียงกับ TAS101 หนี้สงสัยจะสูญ
กรอบแนวคิด การนำเสนองบการเงิน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ส่วนประกอบของ TFRS for NPAEs
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้นทุนการกู้ยืม สัญญาเช่า ภาษีเงินได้ ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน รายได้ ส่วนประกอบของ TFRS for NPAEs
การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาก่อสร้าง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงและวันถือปฏิบัติ ส่วนประกอบของ TFRS for NPAEs
ข้อกำหนดที่ไม่มีใน TFRS for NPAEs • งบกระแสเงินสด • การรายงานข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน • ผลประโยชน์ของพนักงาน • การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลความช่วยเหลือจากรัฐบาล • การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน • งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • เงินลงุทนในบริษัทร่วม • การรายงานทางการเงินในเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรง
ข้อกำหนดที่ไม่มีใน TFRS for NPAEs • การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน • ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • กำไรต่อหุ้น • งบการเงินระหว่างกาล • การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน • เกษตรกรรม • การปรับใช้มาตรฐานการรายานทางการเงินครั้งแรก • การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์
ข้อกำหนดที่ไม่มีใน TFRS for NPAEs • การรวมธุรกิจ • สัญญาประกันภัย • การสำรวจและการประเมินค่าแห่งทรัพยากรแร่ • การดำเนินงานที่ยกเลิกและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น • การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการบัญชี
การประยุกต์ TAS ที่สำคัญ ใน TFRS for NPAEs TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ถูกประยุกต์และแทรกไว้ในเนื้อหาส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือ กิจการต้องประเมินการด้อยค่าด้วยวิธีอย่างง่าย โดยใช้ราคาขายสุทธิเท่าที่กิจการจะประมาณได้ โดยประโยชน์คุ้มค่าและมากกว่าต้นทุนที่ต้องเสียไป TFRS 5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก ประยุกต์เฉพาะสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย แทรกอยู่ในเนื้อหาส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยให้วัดราคาที่คาดว่าจะขายได้ หัก ต้นทุนในการขาย แต่แยกสินทรัพย์ดังกล่าวออกจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยยังแสดงไว้ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่อไป โดยไม่ตัดค่าเสื่อมราคา
TFRS for NPAEs ฉบับนี้ อนุญาตให้กิจการ NPAE ประยุกต์ TFRS ของ PAE มาใช้ได้ 3 ฉบับ คือ • TAS 7 งบกระแสเงินด • TAS 12 ภาษีเงินได้ โดยเน้นการรับรูภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี • TAS 19 ผลประโยชน์ของพนักงาน • ผลจากการอนุญาตเช่นนี้ของ TFRS for NPAEs ทำให้หากธุรกิจเลือกปฏิบัติตามวิธีการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของ TFRS ของ PAE ในส่วนอื่น ย่อมถือว่า ปฏิบัติผิดหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของ TFRS for NPAEs ทำให้ต้องนำ TFRS for PAE มาใช้ทั้งหมด การอนุญาต ให้ NPAE ประยุกต์ TFRS for PAE
49 49
50 50