650 likes | 929 Views
การรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษา ปี 2557 เข้าสู่ระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด ( Narcotics Information System for Province Agency : NISPA ). http :// nispa . nccd . go . th. ลำดับการนำเสนอ. เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ฯ ปี 2557 แนวทางการรายงานผลการดำเนินงาน
E N D
การรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษา ปี 2557 เข้าสู่ระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด (Narcotics Information System for Province Agency : NISPA) http://nispa.nccd.go.th
ลำดับการนำเสนอ • เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ฯ ปี 2557 • แนวทางการรายงานผลการดำเนินงาน • ขั้นตอนรายงานผลการดำเนินงาน • วิธีการกรอกข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษา • วิธีการกรอกข้อมูลกิจกรรมด้านยาเสพติดของสถานศึกษา • วิธีการเรียกดูรายงานผลการดำเนินงาน • เกณฑ์เชิงคุณภาพด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาประจำปี 2557 • ข้อควรคำนึง • คำถามที่พบบ่อย • สถานที่ติดต่อหากมีปัญหา
เป้าหมาย ป้องกันและเฝ้าระวัง สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด เยาวชนก่อนวัยเสี่ยง (อายุ 10-12 ปี) นร. ป.4 - ป.6 จำนวน 2.4 ล้านคน เยาวชนวัยเสี่ยง (อายุ 13-25 ปี) - รร.ขยายโอกาส 7,998 แห่ง - รร.มัธยมศึกษา 2,893 แห่ง - รร.อาชีวศึกษา 695 แห่ง - สถาบันอุดมศึกษา 174 แห่ง จำนวน 11,749 แห่ง
2. แนวทางรายงานผลการดำเนินงาน ด้านยาเสพติดในสถานศึกษาปี 2557
1) กระทรวงศึกษาธิการ: - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา :รายงานผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในพื้นที่รับผิดชอบ - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา :รายงานผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา :รายงานผลการปฏิบัติงาน ในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสังกัด - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา :รายงานผลการปฏิบัติงาน ในโรงเรียนสาธิตฯ และมหาวิทยาลัยในสังกัด - สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน :รายงานผลการปฏิบัติงานสถานศึกษาในสังกัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา :สถาบันการพลศึกษา รายงานผลงานปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัด 3) กระทรวงวัฒนธรรม :สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รายงานผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัด 4) กรุงเทพมหานคร :สำนักงานเขต รายงานผลการปฏิบัติงาน ในสถานศึกษาในสังกัด 5) กระทรวงมหาดไทย :กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รายงานผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษาในสังกัด
ห้ามเปลี่ยน username/password 3. ขั้นตอนการรายงานผลการดำเนินงาน เข้าระบบรายงาน ศพส. 1. เข้าเว็บไซต์ http://nispa.nccd.go.th 2. ใส่ username/password 3. เข้าระบบรายงานผลการดำเนินงาน ศพส. 1) เข้าการบันทึกข้อมูล “สำหรับสถานศึกษา” 2)เลือกอำเภอ/เขต 3) กรอก/ปรับปรุงข้อมูล - ข้อมูลพื้นฐาน รร. - กิจกรรมของโรงเรียน 4. เรียกดูรายงานผลการดำเนินงาน
ต้องตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนก่อนตามที่ปรากฏ ถ้าพบว่า ไม่มีรายชื่อให้ Click ที่นี่ เพื่อเพิ่มรายชื่อโรงเรียน
พิมพ์ชื่อโรงเรียนลงในช่องแล้ว Click ที่ค้นหา ถ้ามีชื่อในฐานข้อมูลจะปรากฏชื่อในระบบ แล้วเราก็ Click เลือกที่ชื่อโรงเรียนได้เลย แต่ถ้าไม่มีรายชื่อในฐานข้อมูล ระบบจะให้เราเพิ่มเติมข้อมูลโรงเรียนได้ใหม่ทั้งหมด
4. วิธีการกรอกข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
ถ้าพบรายชื่อโรงเรียนแล้วให้Click ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐาน
กรอกข้อมูลพื้นฐานให้ครบ โดยเฉพาะที่เป็นสัญลักษณ์ * เพราะฐานข้อมูลนี้จะเชื่อมโยงกับการรายงานกิจกรรมในหน้าต่อไป ถ้ากรอกไม่ครบเราจะกรอกตัวเลขในช่องรายงานกิจกรรมไม่ได้
จำนวนนักเรียนตามระดับชั้นระบบจะล็อคตามระดับชั้นที่โรงเรียนเปิดสอน เช่น ถ้าโรงเรียนเป็นระดับชั้นประถม โรงเรียนจะกรอกข้อมูลจำนวนนักเรียนมัธยม อาชีวะ อุดม ไม่ได้ และระบบจะรวมตัวเลขที่กรอกแต่ละชั้นอัตโนมัติ เราไม่ต้องกรอกจำนวนรวมทั้งหมด
กรอก ชื่อ นามสกุล แล้ว Click บันทึก
ในกรณีนี้ มีการกรอกรายชื่อครูแกนนำไว้แล้ว เราสามารถแก้ไขชื่อ หรือลบชื่อก็ได้ ถ้าต้องการเพิ่มรายชื่อครูแกนนำ ให้ Click ที่นี่
กรอกรายชื่อ นามสกุล รหัสบัตรประชาชน (ไม่บังคับ) แล้ว Click บันทึก เลื่อนดูข้อมูล
กรอกข้อมูลเสร็จแล้ว Click ที่บันทึก
5. วิธีการกรอกข้อมูลกิจกรรมด้านยาเสพติดของโรงเรียน
Click ตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้งว่าเรามีการรายงานไปแล้วเมื่อไหร่ หากยอดผลงานสะสม ไม่ถูกต้องให้แก้ไขข้อมูลโดยเลือกวันจากปฏิทิน เพื่อทำการแก้ไขข้อมูลย้อนหลัง ณ วันที่รายงานผิด
การตรวจสอบผลงานสะสม ก่อนกรอกข้อมูลรายงานผล
Click ที่บันทึกชื่อวิทยากร ให้กรอกข้อมูลให้ครบ ทั้งประเภทวิทยากร ระดับชั้นที่เข้าสอน รหัสบัตรประชาชน ไม่บังคับกรอก ส่วนใหญ่ระบบจะแสดงข้อมูลรายชื่อเดิมที่เคยกรอกไว้ปีที่แล้ว เราสามารถเลือกแก้ไข เพิ่ม ลบ ข้อมูลเดิมได้ หรือ จะกรอกรายชื่อใหม่ทั้งหมดก็ได้ 31
เมื่อเรา Click ที่บันทึกชื่อวิทยากรแล้ว จะปรากฏหน้านี้ขึ้นมา ให้เรา Click ที่ค้นหา-เพิ่ม รายชื่อวิทยากร
Click เลือกประเภทวิทยากร เพราะจะมีฐานข้อมูลเดิมปี 2556บันทึกไว้
เมื่อ Click เลือกประเภทวิทยากรล้ว จะปรากฎหน้านี้ขึ้นมา โดยในหน้านี้เราสามารถแก้ไข หรือลบข้อมูลรายชื่อออกได้ แต่หากปรากฏรายชื่อวิทยากรที่เราต้องการให้ Click ที่รายชื่อเพื่อกรอกข้อมูลการเข้าสอนต่อไป
เมื่อ Click ที่ชื่อวิทยากรจะปรากฏหน้านี้ขึ้นมา ให้เรากรอกข้อมูลการสอน และระดับชั้นที่สอน และ Click ที่บันทึก
หากไม่ปรากฏชื่อวิทยากรที่เราต้องการ ให้ Click ที่เพิ่มรายชื่อวิทยากรเพื่อกรอกข้อมูลต่อไป
เมื่อ Click ที่ เพิ่มรายชื่อวิทยากร จะปรากฎหน้านี้ขึ้นมา ให้เรากรอกข้อมูลวิทยากให้ครบ และ Click ที่ ตกลง
การกรอกข้อมูลลูกเสือฯ ถ้า มี เราสามารถระบุ จำนวน ได้เลย แต่ในส่วนของการระบุชื่อลูกเสือฯ ให้ระบุเฉพาะชื่อลูกเสือฯ ที่เป็นแกนนำในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกัน เฝ้าระวังฯ ในโรงเรียนเท่านั้น โดย Click ที่ บันทึกชื่อ (ใช้หลักการเดียวกับการบันทึกชื่อครูแกนนำ โดยรหัสบัตรประชาชนไม่บังคับกรอก) 38
กรอกข้อมูลลูกเสือฯ ให้ครบ (รหัสบัตรประชาชนไม่บังคับกรอก) แล้ว Click ที่ บันทึก
6. การเรียกดูรายงานผลการดำเนินงาน
คู่มือ/แบบฟอร์ม • - คู่มือการรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษา • แบบฟอร์มการกรอกข้อมูลรายงานผล • เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาปี ๒๕๕๗ • นิยามศัพท์ ทั้งนี้ จะวางไฟล์ข้อมูลไว้ที่หน้าระบบ
7. เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาปี 2557
1. เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในนักเรียน ชั้น ป.4 ถึง ป.6 หมายถึง การสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติดในนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 โดยเลือกใช้รูปแบบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ รูปแบบที่ 1 การจัดให้มีวิทยากรสอนทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนที่ต้องทำการสอนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยให้มีเนื้อหาหลักของการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดและจำนวนชั่วโมงการสอนใกล้เคียงกัน อาทิเช่น ครูผู้สอนในโรงเรียน ครูพระสอนศีลธรรมเพื่อการป้องกันยาเสพติด ครูสอนศาสนา ครูตำรวจ D.A.R.E. ครูตำรวจ ครูแกนนำ หรือวิทยากรอื่นๆ
รูปแบบที่ 2 การจัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติดที่หลากหลาย อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยสถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมอย่างน้อย 5 กิจกรรม เช่น 1. มีการจัดกิจกรรมนักเรียนแกนนำ 2. มีการจัดกิจกรรมศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE 3. มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อนปรึกษาเพื่อน (Youth Consuler) 4. มีการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดของสภานักเรียน/องค์กรวิชาชีพ/องค์การนักศึกษา/เครือข่ายต่างๆ 5. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ 6. กิจกรรมจิตอาสา/บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ 7. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดหรือการป้องกันยาเสพติด 8. กิจกรรมฝึกอาชีพ 9. กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น Computer/Internet ค่ายเสริมทักษะการเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น 10. กิจกรรรมกีฬาและนันทนาการ เช่น กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี ฯลฯ 11. กิจกรรมอื่นๆ
2. เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพการจัดกิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ระดับชั้น ป.1-ม.3 (ขยายโอกาส), ม.1-ม.6, อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา มีเกณฑ์ ดังนี้ :สถานศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวังยาเสพติด อย่างน้อย 6 กิจกรรม จากทั้งหมด 23 กิจกรรมโดยใน 6 กิจกรรมนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมสำคัญตามยุทธศาสตร์ฯ อย่างน้อย 4 กิจกรรม จากชุดกิจกรรม ดังนี้
ลำดับที่ 1-17 กิจกรรมสำคัญตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินฯ ปี 2557 1. มีวิทยากรเพื่อการป้องกันยาเสพติดเข้าสอนนักเรียนในโรงเรียน 2. มีการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานโรงเรียน 3. มีการสำรวจ ค้นหา นักเรียนกลุ่มเสี่ยง เสพ/ติด และกลุ่มค้า 4. มีการให้คำปรึกษา (โดยนักเรียน ผู้ปกครอง อื่นๆ ฯลฯ) 5. มีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับนักเรียน/นักศึกษา ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 6. มีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับนักเรียน/นักศึกษา ที่อยู่ในกลุ่มเสพ 7. มีการทำจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน (เฉพาะกลุ่มเสพ) 8. มีการส่งต่อผู้เสพ/ผู้ติด เข้ารับการบำบัดรักษาที่อื่น 9. มีการจัดตั้งหน่วยลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด ต้านยาเสพติดในโรงเรียน 10. มีการเฝ้าระวังภายในโรงเรียน (โดยทีมงานห้องอุ่นใจ ตำรวจประสานงานโรงเรียน ทีมอื่นๆ ฯลฯ) 11. มีการเฝ้าระวังนอกโรงเรียน (โดยทีมงานห้องอุ่นใจ ตำรวจประสานงานโรงเรียน ทีมอื่นๆ ฯลฯ) 12. มีการสำรวจพื้นที่เสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาในระยะ 500 เมตร 13. มีการตรวจเยี่ยม/ตรวจตราพื้นที่เสี่ยงรอบๆ สถานศึกษาในระยะ 500 เมตร 14. มีกิจกรรมเพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดร่วมกับผู้ประกอบการหอพัก/ร้านเกม ฯลฯ รอบสถานศึกษา 15. มีการจัดพื้นที่ในโรงเรียนเพื่อใช้สำหรับการให้คำปรึกษา พบปะ ระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง กลุ่มเพื่อน ฯลฯ (ห้องอุ่นใจ / อื่นๆ) 16. มีการจัดกิจกรรมศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE 17. มีการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดของสภานักเรียน/องค์กรวิชาชีพ/องค์การนักศึกษา /เครือข่ายต่างๆ