1.4k likes | 3.93k Views
ไข้เลือดออก. พญ . รัตนา กาสุริย์ 22 เมษายน 2557. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2556. ข้อมูลจากรายงาน 506 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แจ้งว่า วันที่ 3 กันยายน 2556 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 115,840 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 180.25 ต่อแสนประชากร
E N D
ไข้เลือดออก พญ. รัตนา กาสุริย์ 22 เมษายน 2557
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2556 • ข้อมูลจากรายงาน 506 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แจ้งว่า วันที่ 3 กันยายน 2556 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 115,840 ราย • คิดเป็นอัตราป่วย 180.25 ต่อแสนประชากร • จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 200.9 (3 เท่า)
ข้อมูลการระบาดของไข้เลือดออก ณ วันที่ 3 กันยายน 2556
แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลชุมชนและ รพ.สต.
ประวัติ • ส่วนใหญ่พบในเด็ก 5-15 ปี , เด็กเล็กน้อยกว่า 1 ปีพบได้ 5% ผู้ใหญ่พบได้ประมาณ 30% • ระยะเวลาที่เป็นไข้ ลักษณะของไข้ • หาตำแหน่งการติดเชื้อ เช่น ไอ หวัด เจ็บคอ ถ่ายเหลว อาเจียน ปวดท้อง แผลที่ผิวหนัง เลือดออกผิดปกติ ซึมลง • บ้านใกล้เคียงมีคนเป็นไข้เลือดออก อยู่ในถิ่นที่มีการระบาด • เด็กโต R/O scrub typhus ซักประวัติเข้าป่า ลุยสวน ถูกไรอ่อนกัด
ตรวจร่างกาย • วัด vital sign : BT , BP, PR , RR • ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหา source infection : pharynx, lung,abdomen,skin • ตรวจหาจุดเลือดออกตามร่างกาย เช่น จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง, เลือดกำเดาออก, เลือดออกตามไรฟัน • Eschar lesion
อาการที่ไม่พบบ่อยในผู้ป่วยไข้เลือดออก (Unusual manifestations of DHF) • อาการหวัด คือ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ • อาการถ่ายเหลว ไข้ชัก อาจพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี • ชัก, มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ • มีไข้ขณะช็อก • มีการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย ทำให้มีอาการของการติดเชื้ออื่นซึ่งแปลกออกไป • ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในรายที่มีโรคประจำตัว เช่นธาลัสซีเมีย ภาวะพร่องเอนซัยม์ G-6-PD
การทำ tourniquettest วิธีทำคือวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดโดยใช้ขนาด cuff พอเหมาะกับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วย ครอบคลุมประมาณ 2ใน3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ที่กึ่งกลางระหว่าง systolic และ diastolic pressureรัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดัน รอ 1 นาทีหลังคลาย ความดันจึงอ่านผลการทดสอบ
การทำ tourniquettest ผลบวก คือ ตรวจพบจุดเลือดออกเท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว ในรายที่เป็นผลบวกจะช่วยในการวินิจฉัยแยกการติดเชื้อเดงกีจากการติดเชื้ออื่นๆ ผลลบ คือ ตรวจพบน้อยกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว แต่ควรบันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว เพื่อประโยชน์ ในการติดตามผลกรณีตรวจซ้ำในวันต่อมา
Tourniquet test • Tourniquet test ถ้าให้ผลบวก มีโอกาสติดเชื้อเดงกี -Positive predictive value 63% - sensitivity 98.7% - specificity 74-78% • ทูนิเกต์จะให้ผลบวกในวันแรกของไข้ประมาณร้อยละ 50 • ในวันที่ 2 และ 3 ของไข้จะให้ผลบวกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 และ 90 ตามลำดับ
Tourniquet test False negative (ผลลบลวง) พบได้ในกรณี กำลังอยู่ในภาวะช็อก ผู้ป่วยอ้วน ผู้ป่วยผอม เมื่อเทคนิคการทำไม่ถูกต้อง (แถบรัดความดันไม่ได้กด บริเวณเส้นโลหิตฝอย)
Tourniquet test • False positive (ผลบวกลวง) พบได้ในกรณี - เทคนิคไม่ดี รัดแน่นเกินไป ใช้แถบสายยางรัด - ผู้ป่วยมีโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ - เชื้อไวรัสอย่างอื่น เช่น chikungunya
CBC - ถ้า WBC < 5,000 เซล/ลบ.มม., มี lymphocyte และ atypical lymphocyte เพิ่มขึ้น เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยกำลังจะเข้าสู่ระยะที่ไข้จะลดลงภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ซึ่งจะต้องติดตามระดับเกล็ดเลือด/ Hct อย่างใกล้ชิด - Platelet < 100,000 เซล/ลบ.มม. และ Hct เพิ่มขึ้น 10-20% แสดงว่าผู้ป่วย เข้าสู่ระยะวิกฤตแล้ว คือระยะที่มีการรั่ว ของพลาสมาซึ่งจะเป็นอยู่นาน 24-48 ชั่วโมง
ค่าเฉลี่ย Hct ในคนไทย อายุ < 1 ปี = 30 -35% อายุ > 1-10 ปี = 35 -40% อายุ > 10 ปี = 40-45% • ค่าปกติ ของ vital sign ในแต่ละอายุ PR RR • อายุ < 2 เดือน <160 <60 • 2 เดือน-2 ปี <140 <50 • > 2 ปี <120 <40
การวินิจฉัยแยกโรค • 1. DF , DHF • 2. Scrub typhus • 3. Influenza • 4. Chikungunya • 5. Virus อื่นๆ
Dengue Fever คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันร่วมกับอาการอย่างน้อย 2 ข้อ ต่อไปนี้ • ปวดศีรษะ/ปวดกระบอกตา/ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ • ปวดข้อ/ปวดกระดูก • ผื่น • อาการเลือดออก (ที่พบบ่อย คือ positive touniquet test,มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ,petechiae,เลือดกำเดา) • ตรวจ CBC พบเม็ดเลือดขาวต่ำ
Dengue Hemorrhagic Fever 1.ไข้เกิดแบบเฉียบพลันรุนแรงและสูงลอย 2-7วัน 2. อาการเลือดออก อย่างน้อยมี positive touniquet test ร่วมกับอาการเลือดออกอื่นๆ 3. เกล็ดเลือด100,000เซล/ลบ.มม. 4. เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct เท่ากับหรือมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Hct เดิม หรือมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา เช่น มี pleural effusion และ ascites หรือมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ
Scrub typhus • คนได้รับเชื้อจากการถูกไรอ่อนกัดโดยไรอ่อนมักจะอยู่ในพื้นที่เป็นทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ (รังโรค ได้แก่ หนู กระรอก) • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน หนาวสั่นปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก คลื่นไส้ อาเจียนและไอ อาจมีอาการปวดท้องและท้องเสียร่วมด้วย • อาจพบตัวตาเหลือง ตับม้ามโต เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว เลือดกำเดาออก • ช่วงปลายสัปดาห์แรกของโรคจะเห็นเป็นสะเก็ดแข็งดำปิดคลุมด้านบนของแผล รอบๆ แผลจะแดงแต่ไม่บวม แผลไม่เจ็บ ลักษณะแผลจะคล้ายกับแผลบุหรี่จี้เรียกว่า eschar พบได้ 48-82%
Scrub typhus • Lab : wbc อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดต่ำลง neutrophil เด่น, เกร็ดเลือดต่ำลง 30,000-125,000 เซลล์/ลบ.มม. • Weil felix: sensitivity ต่ำ เกณฑ์วินิจฉัยตัดที่ 1:160 หรือ 1:320 หรือ มีการเพิ่มสูงขึ้นของระดับแอนติบอดี้ตั้งแต่ 4 เท่าขึ้นไปเมื่อตรวจเซรั่ม 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : serology IFA, IIP, dot blot dip stick • การรักษา doxycycline และ chloramphenicol ไข้ลดลงภายใน 2-3 วันหลังได้ยา
Chikungunya • มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนถึงช็อค • ประเทศไทยมีการระบาดครั้งล่าสุดเมื่อ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส และปัตตานี • การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง การรักษาเป็นการรักษาแบบ ประคับประคอง เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ
ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya 1.ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า 2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน 3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF
ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya 4. ไม่พบ convalescent rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya 5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และconjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่า 6. พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี 7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า
Influenza • อาการ ไข้ ไอ หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย • Lab CBC : wbc อาจปกติหรือเพิ่มขึ้น อาจพบ lymphocyte เพิ่มขึ้น แต่ platelet มักจะไม่ต่ำ • แนวทางปฏิบัติ ให้การรักษาตามอาการ นัดติดตามอาการ ถ้าไม่ดีขึ้นควรทำ tournique test และเจาะ CBC
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลชุมชนและ รพ.สต.
การดูแลระยะไข้ • 1. การลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล 10 มก./กก./ครั้ง • เฉพาะเมื่อเวลามีไข้สูงเกิน 39 ํC ไม่ควรให้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง • แนะนำให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา • ห้ามใช้ยาแอสไพริน NSAID เช่น ibuprofen เพราะอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ • ไม่แนะนำให้ฉีดยาลดไข้ทุกชนิด • ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยชักมาก่อนเวลามีไข้สูงอาจพิจารณา ให้ยาลดไข้เมื่อไข้สูงเกิน 38 - 38.5 ํC
2. อาหาร • ควรให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารได้น้อย แนะนำให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่แทนน้ำเปล่า • ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมาก แนะนำให้จิบน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ • ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีแดง น้ำตาลหรือดำ • ถ้ายังพอดื่มน้ำได้และไม่มีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ ไม่จำเป็นต้องให้ IV fluid
3. การใช้ยาอื่น ๆ • ควรหลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น เนื่องจากยาบางอย่างอาจจะทำให้มีเลือดออกมาก หรือเป็นพิษต่อตับ ไต ได้ • ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมาก อาจพิจารณาให้ domperidone 1 มก./ กก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง อาจให้ครั้งเดียว หรือให้เพียง 1-2 วัน • ไม่ควรให้ antibiotics สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยมีการติดเชื้อเดงกี (เช่นมี positive touniquet test หรือมี leukopenia) การใช้ antibiotics โดยไม่จำเป็น อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น hemolysis ในผู้ป่วย G-6-PD deficiency
3. การใช้ยาอื่น ๆ • Steroid พบว่าไม่สามารถป้องกันภาวะช็อก และอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ • H2-blocker เช่น cimetidine, ranitidine พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีอาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นcoffee ground มีประวัติหรือสงสัยว่ามีแผลในกระเพาะอยู่ก่อน • Primalute-N พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีประจำเดือนมามากผิดปกติ โดยจะให้วันละ 1 เม็ด ไปจนกว่าจะพ้นระยะวิกฤตของโรค 2-3 วัน (ประมาณ 3-5 วัน หลังไข้ลง)
4. การให้ IV fluidในระยะไข้สูง • ควรพิจารณาให้เฉพาะผู้ป่วยที่อาเจียนมาก และมีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ ถ้าผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้ ไม่จำเป็น ต้องให้ IV fluid • สารน้ำที่ให้คือ 5%D/N/2 สำหรับเด็กโต และ 5%D/N/3 สำหรับเด็กอายุ < 1 ปี ในผู้ใหญ่ให้ 5%D/NSS • การให้เพื่อรักษาภาวะขาดน้ำเท่านั้นควรหยุดให้เมื่อผู้ป่วยพอจะรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำได้ • ถ้าจำเป็นต้องให้เกิน1 วัน ควรให้ประมาณครึ่งของmaintenance ต่อวัน เนื่องจากถ้าให้มากกว่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤต ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
5. ต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง • ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนมากอาการไม่หนัก ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลทุกราย แต่ต้องการการดูแลและการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อดูจำนวนม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด • อาจจำเป็นต้องเจาะเลือดทุกวัน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย
คำแนะนำ • ระยะไข้ ส่วนมากไม่มีอาการอันตราย โดยให้ยาลดไข้และเช็ดตัวเพื่อไม่ให้มีไข้สูงมาก การรับประทานยาลดไข้ไม่สามารถทำให้ไข้ลดลงมาจนสู่ภาวะปกติได้ เนื่องจากยังมีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด แต่จะทำให้ไข้ลดต่ำลงบ้าง • ยาลดไข้ไม่สามารถทำให้ระยะไข้สั้นลง การรับประทานยาลดไข้มากเกินไปอาจเป็นอันตราย ทำให้มีภาวะตับอักเสบ/ตับวาย แทรกซ้อนได้ • เน้นให้ผู้ปกครองทราบว่าระยะวิกฤต/ช็อก จะตรงกับวันที่ไข้ลง และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีความรู้สติดี
คำแนะนำ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง • เลือดออกผิดปกติ • อาเจียนมาก/ ปวดท้องมาก • กระหายน้ำตลอดเวลา • ซึม ไม่ดื่มน้ำ ไม่รับประทานอาหาร • มีอาการช็อก หรือ impending shock คือ
คำแนะนำ • - มือเท้าเย็น • - กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก • - ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลายกระสับกระส่าย • pulse pressure < 20 mmHg. โดยไม่มี hypotension เช่น 100/80, 90/70มม.ปรอท • ความดันโลหิตต่ำ (ตามเกณฑ์อายุ) • ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน 4-6 ชั่วโมง • -ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะ โวยวาย
6. การติดตามการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกและห้องปฎิบัติการ • ควรนัดผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อเดงกีมาตรวจติดตามทุกราย ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคเป็นต้นไปทุกวันหรือตามความเหมาะสม • ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและความสะดวกของผู้ปกครอง • จนกว่าผู้ป่วยจะมีไข้ลงอย่างน้อย 24 ชั่วโมงโดยไม่ได้ให้ยา ลดไข้
การตรวจติดตาม • จะต้องประเมินตามประเด็นต่อไปนี้ • ประวัติ ต้องถามอาการทั่วไป อาการซึม อาเจียน เลือดออก การรับประทานอาหาร จำนวนน้ำดื่ม ปริมาณปัสสาวะ สีของปัสสาวะ/อุจจาระ • ตรวจร่างกาย เน้นที่ vital signs ขนาดของตับ ทำtourniquet test ซ้ำ ถ้าผลการตรวจครั้งก่อนยังให้ผลลบ การตรวจระบบไหล เวียนของเส้นโลหิตฝอยที่บริเวณปลายมือปลายเท้า (capillary refill)
การเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพการเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพ 1.อาการทางคลินิกได้แก่ อาการทั่วไป ความอยากอาหาร อาการปวดท้อง เลือดออกผิดปกติ ความรู้สึกตัว 2.Vital signs : BP, PR, RR, BT ในระยะวิกฤตควรวัดทุก 1-2 ชั่วโมง PR: weak,moderate,full*** Early sign of SHOCK
การเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพการเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพ • Hct ในระยะวิกฤต ควรเจาะทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่คงที่ต้องเจาะบ่อยกว่านี้ • ปริมาณปัสสาวะควรบันทึกทุก 6-8 ชั่วโมง ในระยะวิกฤติหรือช็อคอาจต้องมีการบันทึกทุกชั่วโมง • การให้ปริมาณ IV fluid ที่ถูกต้องตาม order ทั้งชนิดและปริมาณ ควรมีเครื่องmonitor ปริมาณ IVที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและลดการเกิดภาวะ fluid overload
กิจกรรมการพยาบาล อาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ต้องรายงานให้แพทย์ทราบทันที คือ • มีอาการช็อก ได้แก่ - ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก เขียว สีผิวคล้ำลง ตัวลาย ๆ - ชีพจรเบา เร็ว หรือ > 120/นาทีในเด็กโต/ผู้ใหญ่ หรือ > 140/นาทีในเด็กเล็กอายุ< 2ปี - Pulse pressure แคบ < 20 มม.ปรอท - ความดันต่ำ(hypotension) - capillary refill > 2 วินาที - Oxygen saturation < 95%
มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ เช่น สับสน กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ไม่รู้สึกตัว • มีเลือดออกมากประมาณ 10% ของ total blood volume (6-8 มล./กก.) • ชัก • อาเจียน/ ปวดท้องมาก • IV fluid leak และไม่สามารถเปิดเส้นใหม่ได้ • มีผล labผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น Platelet < 100,000 , Hct เพิ่มขึ้น ,น้ำตาลต่ำ, แคลเซี่ยมต่ำ ,โซเดียมต่ำ, มี metabolic acidosis
Refer • การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ควรมีการเตรียมข้อมูลให้ละเอียดทั้งประวัติ ตรวจร่างกาย ,ผลlab • คำนวณปริมาณfluidทั้งหมดที่ได้รับมา,สัญญาณชีพล่าสุด,flow chart vital sign ตั้งแต่แรกรับจนถึงปัจจุบัน • ติดต่อประสานงานรถreferและพยาบาลrefer รวมทั้งให้ข้อมูลการรักษากับญาติผู้ป่วย • กรณีอาการผู้ป่วยไม่คงที่ควรมีการโทรศัพท์ประสานงานกับโรงพยาบาลที่รับrefer เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก • โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานวิจัยการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกประกอบด้วย เชื้อไวรัสเด่งกี่ 4 สายพันธุ์ • ผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และในอาสาสมัครทดลองที่เป็นมนุษย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจะฉีด 1-2 เข็ม และต้องฉีดทุกๆ 8 ปี ควรฉีดในเด็กก่อนวัยเรียน หรือประมาณ 3 ขวบ โดยใช้ปริมาณวัคซีนขนาด 0.5 ซีซี ส่วนผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนปริมาณ 1 ซีซี