1.22k likes | 7.53k Views
Dengue (ไข้เลือดออก). ประเด็นการเรียนรู้. ความรู้เรื่องโรค พยาธิการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และการรักษาพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพ( Health Assessment ) ได้แก่ การซักประวัติ วิทยาการระบาด การตรวจร่างกาย สถิติ และการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
E N D
ประเด็นการเรียนรู้ • ความรู้เรื่องโรค พยาธิการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และการรักษาพยาบาล • การประเมินภาวะสุขภาพ( Health Assessment) ได้แก่ การซักประวัติ วิทยาการระบาด การตรวจร่างกาย สถิติ และการตรวจทางห้องปฎิบัติการ • ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญ ข้อมูลสนับสนุน พร้อมข้อมูลสนับสนุน • กิจกรรมทางการพยาบาล เช่น การประเมิน สัญญาณชีพ การใช้ยา การทดแทนสารน้ำ เป็นต้น • CPG หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Dengue (ไข้เลือดออก) โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่มักมีการระบาดในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ มีอาการทางคลินิกที่สำคัญ คือ มีไข้สูงลอย 3-7 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลงสู่ปกติ หรือต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็วพร้อมกับมีอาการช็อก และหรือมีเลือดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทาให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
Dengue (ไข้เลือดออก) เชื้อที่เป็นสาเหตุมี 2 ชนิดที่พบในประเทศไทย • Dengue virus เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA virus) ขนาด 20 - 40 มิลลิเมตร เป็นอาร์โบไวรัสกลุ่มบี (Arbovirus group ไวรัสนี้แบ่งตาม Serotype ได้ 4ชนิด คือ Serotype 1,2,3 และ 4 • Chikungunya virus เป็นอาร์โบไวรัสกลุ่มเอ (Arbovirus group A) ในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกกว่าร้อยละ 95
อาการและอาการแสดงการเกิด(Signs and symptoms) 1. มีไข้สูงลอยตลอดเวลา 2. เมื่อทำ tourniquet test จะ positive โดยพบเป็นจุดเลือดออก ตามตัว แขนขา และใบหน้า 3. มีการเพิ่มขึ้นของ permeability ของผนังหลอดเลือด เกิดการรั่วของพลาสม่า ทำให้ปริมาตรเลือดลดลงเกิด hypovolaemia ซึ่งจะทำให้อาการช็อค และอาจเสียชีวิตได้ 4. มีตับโต(hepatomegaly) จะคล่ำได้ในวันที่ 3-4 ของโรค แต่ไม่พบ jaudice 5. มีเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia) เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด(coagulopathy) ทำให้เกิดการแข็งตัวในหลอดเลือด(Dessiminated Intravascular Coaglulation,DIC)
อาการและอาการแสดงการเกิด(Signs and symptoms) ในการติดเชื้อไวรัสแดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80-90%) จะไม่แสดงอาการ ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออก ซึ้งมีอาการสำคัญแบ่งแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ 1. ระยะไข้ 2. ระยะช็อค 3.ระยะพักฟื้น
อาการและอาการแสดงการเกิด(Signs and symptoms) 1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชัก เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน
อาการและอาการแสดงการเกิด(Signs and symptoms) 2. ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง
อาการและอาการแสดงการเกิด(Signs and symptoms) 3.ระยะพักฟื้น อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
การดูแลรักษา (Treatment) ให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ให้สารน้ำทดแทนส่วนที่รั่วออกจากเลือด ไม่มียารักษาจำเพาะ ความพยายามในการรักษาที่ผ่านมา คือ • ให้ human convalescentserum ที่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อ • ให้ α-interferon • ให้ยาต้านไวรัส ribavirin พบว่าได้ผลบ้างในการป้องกันหลังสัมผัสแต่ไม่ผลในการรักษาเมื่อมีอาการ เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบเป็น randomized clinical control จึงสรุปผลได้ไม่ชัดเจน
การป้องกัน (Protection) 1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะบริเวณรอบๆบ้านอย่าให้มีน้ำขังในภาชนะ และแหล่งนี้ต่างๆ 2. ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดในเวลากลางวัน 3. กำจัดยุงลาย โดยการแจ้งไปยังกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ใช้สารเคมีฉีดฆ่ายุง โดยใช้เครื่องพ่นชนิดฝอยละเอียดพ่นยาพวกมาลาไธออน หรือซูมิไธออนเป็นหมอก 2 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกัน 10 วัน 4. ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกัน ขณะนี้กาลังพัฒนาวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีสาเหตุจากไวรัสเดงกีได้ทุกชนิดแล้ว
การประเมินภาวะสุขภาพ การซักประวัติ • ประวัติของการมีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในชุมชน จากอาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง พบจุดเลือดออก บิดามารดาแสดงสีหน้าท่าทางบอกถึงความกลัวและวิตกกังวลสูง กลัวลูกเป็นอันตรายถึงชีวิต
การประเมินภาวะสุขภาพ(ต่อ)การประเมินภาวะสุขภาพ(ต่อ) การตรวจร่างกายตามระบบ • เช่น ผิวหนังร้อน เลือดออกตามผิวหนัง หรือเหงื่อออก เป็นต้น ไม่พบเยื่อจมูกบวมแดง คอไม่แดง ทอนซิลไม่โต ชีพจรเบาเร็ว วัดความดันโลหิตได้ต่ำกว่าปกติ หรือวัดไม่ได้ พบตับโตกดเจ็บ เป็นต้น
การประเมินภาวะสุขภาพ(ต่อ)การประเมินภาวะสุขภาพ(ต่อ) การตรวจทางห้องปฎิบัติการ • ทำ Tourniquet test • ส่งตรวจClinical blood count (CBC) • platelet count และ Hematocrit (Hct) • การตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกี จากการตรวจหาแอนติบอดี หรือการแยกเชื้อไวรัสด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น • การถ่ายภาพรังสีทรวงอก กรณีสงสัยว่ามีน้ำในช่องยื่อหุ้มปอด เป็นต้น
วิธีทำTourniquet test หมายถึง การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดที่มีขนาด cuffพอเหมาะกับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วยครอบคลุมประมาณ 2 ใน 3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ที่กึ่งกลางระหว่าง systolicและ diastolic pressure รัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นจึงคลายความดัน รอ 1 นาที หลังคลายความดันจึงอ่านผลการทดสอบ ถ้าตรวจพบจุดเลือดออกเท่ากับหรือมากกว่า10 จุดต่อตารางนิ้ว ถือว่าให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ทั้งรายที่ให้ผลบวกและรายที่มีน้อยกว่า 10 จุด • ในการทำ Tourniquet test ถ้าให้ผลบวกมีโอกาสติดเชื้อเดงกี 63% • ติดตามอาการ ทำ Tourniquet test ซ้ำถ้ายังได้ผลลบ และส่งตรวจ CBC ซ้ำ เพื่อดู WBC
การทำ Clinical blood count (CBC) • การทำ CBC จำเป็นในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกและไข้เดงกี และที่สำคัญที่สุดคือผลของการตรวจจะช่วยบอกระยะวิกฤตของโรค ซึ่งต้องใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย • ถ้าตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ตามปกติ มีอาเจียน หรือปวดท้องควรพิจารณารับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ หรือให้การรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงที่พบตามลำดับระเมื่อใกล้ระยะ หรือเข้าสู่ระยะะวิกฤตของโรค คือ WBC ≤ 5,000 เซล/ลบ.มม. ร่วมกับมี Lymphocyte และ atypical lymphocyte, เกล็ดเลือด ≤ 100,000 เซล/ ลบ.มม. • Hematocrit (Hct)เพิ่มขึ้นจากเดิม 10-20%
อุบัติการณ์ และการระบาดของโรค • โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศ มาเป็นเวลาเกือบ 45 ปี มีรายงานการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ.2501 มีผู้ป่วย 2,158 คน • อัตราป่วย 8.87 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 300 คน ซึ่งอัตราตายคิดเป็นร้อยละ 13.9 ปี • ปี พ.ศ. 2544 มีผู้ป่วย 139,225 คน เป็นอัตราป่วย 222. 5 ต่อประชากรแสนคน อัตราตาย 236 คน คิดเป็นร้อยละ 0.17 ( ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจิ์ , 2,545) • ปี พ.ศ. 2549 มีผู้ป่วย12,471 คน คิดเป็นอัตราป่วย 19.98ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 15 คน โดยพบว่าภาคกลางมีผุ้ป่วยมากที่สุด จำนวน 5,619 คน เสียชีวิต5 คน
อุบัติการณ์ และการระบาดของโรค(ต่อ) • รายงานผู้ป่วยเด็กสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ที่ 1มกราคม ถึง 30มิถุนายน 2550 รวม21,251 คน อัตราป่วย 33.82ต่อประชากรแสนคน มากกว่าสัปดาห์เดียวกันของปี 2549 จำนวน5,640คน คิดเป็นร้อยละ 36.13 และมีการระบาดทั่วทุกภาค โดยเฉพาะภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค , 2550 )
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุน ข้อวินิจฉัยการพยาบาล: ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสแดงกี เป้าหมายการพยาบาล : ผู้ป่วยไข้ลดลง หรืออุณหภูมิกายปกติ เกณฑ์ประเมินผล : อุณหภูมิกายลดลง หรือไม่เกิน37.5องศาเซลเซียส ข้อมูลสนับสนุน • ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสแดงกี • ผู้ป่วยมีอุณภูมิกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส • ผู้ป่วยมีภาวะไข้สูงลอยอยู่มากกว่า 2 วัน
กิจกรรมการพยาบาล 1. เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น 2. ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ตามแผนการรักษา ซึ่งมักเป็นพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมง 3. พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ โดยดื่มครั้งละน้อยๆตามที่ผู้ป่วยชอบ เช่น น้ำผลไม้เย็นๆ น้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) การดื่มน้ำผลไม้เย็นๆ จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุน ข้อวินิจฉัยการพยาบาล :ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เนื่องจากหลอดเลือดเปราะแตกง่าย และมีเกล็ดเลือดต่ำ เป้าหมายการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่เกิด/ปลอดภัยจากการเกิดภาวะเลือดออกในร่างกาย ข้อสนับสนุน : 1. ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เกณฑ์ประเมินผล 1. ไม่มีอาการและอาการแสดงของการมีเลือดออกในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ เลือดกำเดาไหล ระดับความรู้สึกตัวลดลง ซึม หรือชัก พบจุดเลือดออกตามผิวหนัง เป็นต้น 2. สัญญาณชีพปกติตามวัย 3. ค่าเกล็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย 4. ค่าฮีมาโตคริทอยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย :
กิจกรรมการพยาบาล 1. ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ป้องกันการเกิดกระทบกระแทกร่างกาย ซึ่งจะทาให้เกิดภาวะเลือดออกได้ 2. ดูแลทำความสะอาดภายในช่องปากด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อไม่ให้มีเลือดออกในช่องปาก 3. ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกาจนเกิดแผลและเลือดออก 4. หลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่ทำให้เลือดออก เช่น เจาะเลือด หรือ การแทงหลอดเลือดดำบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น ดังนั้นควรดูแลผู้ป่วยขณะแทงหลอดเลือดดำอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของเข็ม รวมทั้งแนะนำบิดามารดาให้มีส่วนร่วมในการดูแลบุตรขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เช่น ควรขยับหรือเลื่อนแขนขาบริเวณที่แทงเข็มด้วยความระมัดระวัง เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล (ต่อ) 5. ป้องกันอุบัติเหตุจากการตกเตียง โดยยกที่กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง เมื่อเสร็จกิจกรรมการพยาบาลและไม่ได้อยู่กับผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำบิดามารดาให้ระมัดระวังและยกที่กั้นเตียงขึ้นสูงทุกครั้งเมื่อไม่ได้อยู่กับบุตร เป็นต้น 6. บันทึกสัญญาณชีพ เช่น ชีพจร ความดันโลหิต ทุก 2-4 ชั่วโมงเพื่อติดตามประเมินการมีเลือดออกในร่างกาย 7. ติดตามผลการตรวจค่าฮีมาโตคริท และเกล็ดเลือดเป็นระยะ เพื่อประเมินแนวโน้มการมีเลือดออกในร่างกาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อมูลสนับสนุน • ข้อวินิจฉัยการพยาบาล :ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมา และหรือมีเลือดออก • เป้าหมายการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่เกิด/ปลอดภัยจากภาวะช็อก • เกณฑ์ประเมินผล : ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะช็อก • ข้อสนับสนุน • มีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย • ชีพจรเบาเร็ว • ความดันโลหิตต่ำลง pulse pressure แคบ และหรือวัดความดันโลหิตไม่ได้
กิจกรรมการพยาบาล • 1. ดูแลสารน้ำทางหลอดเลือดให้เป็นไปตามแผนการรักษา จนกว่าผู้ป่วยจะพ้นภาวะวิกฤต รวมทั้งติดตามการเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ เพื่อดูความเพียงพอของปริมาณน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น • 2. หลีกเลี่ยงหรือห้ามการทำหัตถการที่ทำให้เลือดออก เช่น การเจาะเลือด หรือการแทงหลอดเลือดดำ การแปรงฟันควรใช้แปรงสีฟันนุ่มๆเพราะระยะนี้ผู้ป่วยจะมีภาวะเลือดออกง่าย • 3. การดูแลใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในภาวะวิกฤต ดังนี้ • บันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง ในระยะวิกฤต และอาจจำเป็นต้องบันทึกทุก 15-30 นาที ถ้ามีภาวะช็อกอย่างรุนแรงมาก จนกว่าผู้ป่วยจะพ้นภาวะวิกฤต และมีอาการคงที่
กิจกรรมการพยาบาล (ต่อ) • กรณีผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ เนื่องจากอยู่ในภาวะช็อก ต้องดูแลให้ออกซิเจน ตามแผนการรักษาร่วมทั้งการอธิบายให้บิดามารดาและญาติเข้าใจถึงแผนการรักษาเพื่อคลายความวิตกกังวล • บันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินระบบการไหลเวียนของเลือด และปริมาณน้ำทางหลอดเลือดดำที่ได้รับ ปกติจำนวนปัสสาวะต้องไม่น้อยกว่า 1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง • 4. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะช็อก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
กิจกรรมการพยาบาล (ต่อ) 5. ติดตามประเมินอาการแสดงของการมีเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด/ถ่ายอุจจาระดำ เลือดกำเดาไหล รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ 6. ติดตามประเมินค่าวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง ค่าอิเล็กโทรลัยท์ในเลือด และค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดแดง เพื่อประเมินความสมดุลของกรด ด่าง และอิเล็คโทรลัยท์ในร่างกาย รวมทั้งประเมินภาวะพร่องออกซิเจนขณะมีอาการช็อก ตามลำดับ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัย: พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก (มหัศจรรย์กระบอกไม้ไผ่ช่วยคนไทยห่างไกลไข้เลือดออก) กรณีศึกษาบ้านท่าแพและบ้านหัวเห่วพัฒนา อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้าน เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไขเลือดออกของประชาชนบ้าน เพื่อศึกษาเจตคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชน บ้าน เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่ วนบุคคลกับ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เจตคติในการ ป้องกันโรคไข้เลือดออก กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก
ขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่สร้างจากไม้ไผ่ที่เป็นวัตถุดิบที่มีในชุมชน เพื่อเป็นภาชนะในการเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อปล่อยในโอ่งน้าหลังคาเรือนประชาชนในเขตรับผิดชอบ แทนการเลี้ยงในบ่อประเภทอื่นๆ ใช้การปล่อยปลากินลูกน้ายุงลายแทนการการใส่สารเคมี ก็จะส่งผลดีต่อประชาชนที่สามารถพึ่งตนเองได้ ถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่มีการจัดการสุขภาพ ประชาชนปลอดโรคไข้เลือดออกในปี 2554 ที่ผ่านมา ประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้านตื่นตัวและให้ความสาคัญมากเพราะสามารถที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนพึ่งชุมชน ประชาชนปลอดสารเคมีจากการใส่ทรายกาจัดลูกน้ายุงลายที่ผ่านมา การปฏิบัติเช่นนี้ก็ยังคงมีการดาเนินต่ออย่างต่อเนื่องและพยายามที่จะผลักดันนาไปใช้ในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลโขงเจียมในปี 2555 และ ปีต่อๆไป ซึ่งนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา หมู่บ้านในเขตตำบลควนโพธิ์อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ปกครองของผู้ป่วยไข้เลือดออก เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข และชาวบ้านในชุมชนทั้งสองแห่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม และการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้าตามระเบียบวิธีวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความหมายของข้อมูล จัดหมวดหมู่ และสรุปเนื้อหาแต่ละประเด็น
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนทั้งสองพื้นที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ประชาชนในพื้นที่ที่มีการระบาดไม่ค่อยให้ความสำคัญในการกำจัดยุงลาย และยังพบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด โดยมองว่าการป้องกันและควบคุมโรคเป็นหน้าที่ของหน่วยราชการ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและอาสาสมัครสาธารณสุข มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน เพราะเป็นผู้ที่ประชาชนให้ความเคารพ เกรงใจ และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
สมาชิกในกลุ่ม • นางสาวดาริกา โซะดาแล รหัสนักศึกษา 54113147 • นางสาวธันย์ชนก ศรีประวรรณ์ รหัสนักศึกษา 54113659 • นางสาวปณิตา อินธิสาร รหัสนักศึกษา 54114582 • นางสาวผกามาศ วุฒิพงศ์ รหัสนักศึกษา 54115209 • นางสาวสุบัยด๊ะ ยาเเดง รหัสนักศึกษา 54119524 • นางสาวอรณี พิมสุคะ รหัสนักศึกษา 54120456 • นางสาวฮาซาน่า ชอบงาม รหัสนักศึกษา 54121397 • นางสาวกอแก้ว ดาประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 54140165
สมาชิกในกลุ่ม (ต่อ) • 9. นางสาววรรณทิพย์ พึ่งสมศักดิ์ รหัสนักศึกษา 54142286 • 10. นางสาวปรางทิพย์ สุขเกษม รหัสนักศึกษา 54146204 • 11. นางสาวสุรัยดา สะอาดธำรง รหัสนักศึกษา 54146683 • 12. นางสาวขวัญฤดี ด่านสืบสกุล รหัสนักศึกษา 54146808 • 13. นางสาวธิราวรรณ ตังตกาญจนารหัสนักศึกษา54146816 • 14. นางสาวกษมา หะยีสาเเละรหัสนักศึกษา 54146840 • 15. นางสาวนัสรินยาร์ ยูโซะรหัสนักศึกษา54146857 • 16. นางสาวสุดา มะเเน รหัสนักศึกษา 54146873 • 17. นางสาวพนิดา ทองสายลวดรหัสนักศึกษา 54161542 • 18. นางสาวสินาภรณ์ สังฆมณีรหัสนักศึกษา54162532