1.05k likes | 1.24k Views
การจัดทำดัชนีรวม (Composite Index) วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม. ดัชนีรวม (Composite Index)
E N D
การจัดทำดัชนีรวม (Composite Index) • วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม
ดัชนีรวม (Composite Index) ค่าตัวเลขเดียวที่ได้จากการนำเอาค่าของตัวชี้วัดหลาย ๆ ตัวมาผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยกระบวนการที่เป็นมาตรฐานสำหรับใช้เป็นมาตรวัดทางสถิติเพื่อชี้สถานการณ์ในภาพรวม ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การใช้ดัชนีรวมก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้สาธารณชนได้รับทราบ
แนวทางการจัดทำดัชนีรวมแนวทางการจัดทำดัชนีรวม • การจัดทำดัชนี ที่มีมาตรฐานเทียบเคียงเป็นผลที่คาดหวังว่าควรจะเป็น โดยอาจเทียบเคียงกับค่าเป้าหมายจากแผนยุทธศาสตร์ หรือเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล หลักการคือปรับค่าผลที่คาดหวังให้เท่ากับ 100 จากนั้นจึงปรับค่าที่เป็นจริงของตัวชี้วัดย่อยที่จะนำมาสร้างดัชนี ให้มีค่าตามสัดส่วนกับ 100 • การจัดทำดัชนี โดยกำหนดปีฐานให้กับตัวชี้วัด โดยมีค่าเป็น 100 ปีต่อมาจากปีฐานจะมีค่าเทียบเคียงกับปีฐาน กล่าวได้ว่าเป็นการพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของดัชนี จากนั้นจึงนำค่าแนวโน้มของดัชนีย่อยทุกตัวมาผนวกกันเป็นดัชนีรวม
วัตถุประสงค์ของการจัดทำดัชนีรวมวัดการพัฒนาอุตสาหกรรมวัตถุประสงค์ของการจัดทำดัชนีรวมวัดการพัฒนาอุตสาหกรรม • เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัด/ตัวชี้วัดในระดับภาพรวมและรายสาขาอุตสาหกรรมที่มีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถเห็นถึงผลการประเมินและผลการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนขึ้น • เพื่อนำผลจากการพัฒนาดัชนีชี้วัด/ตัวชี้วัด มาใช้ประเมินผลการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในภาพรวม และรายสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย • เพื่อผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำดัชนีชี้วัด/ตัวชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและรายสาขาอุตสาหกรรมไปสู่การปฏิบัติ
- ศึกษาและเปรียบเทียบตัวชี้วัดด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ - รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงระบบตัวชี้วัดให้ถูกต้องและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมมากที่สุด - จัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตในระดับภาพรวม ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา - คัดเลือกตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของแต่ละอุตสาหกรรมรายสาขาที่กำหนดไว้ • - นำตัวชี้วัดในระดับภาพรวม มาสร้างดัชนีรวม (composite Index) • - นำตัวชี้วัดของแต่ละอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ มาสร้างดัชนีรวมของแต่ละสาขาอุตสาหกรรม • ดัชนีรวม (Composite Index) ในระดับภาพรวมของอุตสาหกรรม • ดัชนีรวม (Composite Index) รายอุตสาหกรรม 18 สาขาอุตสาหกรรม กรอบแนวคิดการจัดทำ Composite Index วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม
การคัดเลือกตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดทำดัชนีรวมการคัดเลือกตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดทำดัชนีรวม จากการทบทวนตัวชี้วัด ได้ตัวชี้วัดจำนวน 22 ตัวชี้วัด ซึ่งจำแนกออกตามมิติของการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้ตัวชี้วัดที่นำมาสร้างดัชนีรวมมีความครอบคลุมในมุมมองของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรอบด้านขึ้น
ตัวชี้วัดในมิติด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (5 ตัว) ตัวชี้วัดในมิติด้านเสถียรภาพ (5 ตัว) • การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D Investment) • การเพิ่มขึ้นของจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตร (Patent Application Growth) • การเพิ่มขึ้นของการผ่านการรับรองมาตรฐานสากล (Growth of Standard Certification) • ความสามารถในการเจาะตลาดใหม่ (New Market Penetration) • ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ (Logistics Cost) • ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) • ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) • ผลิตภาพวัตถุดิบ (Material Productivity) • ความเข้มข้นในการใช้พลังงาน (Energy Intensity)
ตัวชี้วัดในมิติด้านความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัว (5 ตัว) • สัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศต่อต้นทุนในการผลิต (Local Content) • การขยายตัวของสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Growth of Manufacturing GDP origination by SMEs) • ระดับความเปิดของอุตสาหกรรม (Industrial Trade Dependency) • อัตราส่วนเงินลงทุนโดยตรงในประเทศ/ต่างประเทศ (DDI/FDI Ratio) • การกระจุกตัวของตลาดส่งออก (Export Market Concentration)
ตัวชี้วัดในมิติด้านความยั่งยืน (8 ตัว) จากตัวชี้วัดในระดับภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมรวม 22 ตัวชี้วัด นำมาคัดเลือกให้เป็นตัวชี้วัดให้กับรายสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ 18 อุตสาหกรรม โดยเลือกตามความสำคัญและความสามารถในการได้ข้อมูล ซึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีอยู่ 10-12 ตัวชี้วัด • การใช้พลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน (New and renewable Energy) • การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Emission) • ปริมาณกากของเสียอันตรายจากโรงงาน (Industrial Hazardous Waste) • ผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม (Violation of Environmental Legal) • สัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในระบบประกันสังคมต่อแรงงานทั้งหมด (Labor in Social Security System) • แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานต่อจำนวนแรงงานทั้งหมด (Labor Education) • การขยายตัวของการจ้างงาน (Growth of Employment) • การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Accident to labor)
การสร้างตัวชี้วัด • ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) ประมวลจากแบบ รง.9 สศอ. • ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) มูลค่า GDP ของภาคอุตสาหกรรม/ปริมาณแรงงานภาคอุตสาหกรรม • ผลิตภาพวัตถุดิบ (Material Productivity) มูลค่าการผลิตของภาคอุตสาหกรรม/มูลค่าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต (ข้อมูลจากแบบ รง.9) • ความเข้มข้นในการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอุตสาหกรรมการผลิต (ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) (ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทดแทน) / มูลค่า GDP ของภาคอุตสาหกรรม • การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D Investment) มูลค่าการลงทุนใน R&D ในภาคอุตสาหกรรม/มูลค่าการผลิตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม คูณด้วย 100 (ข้อมูลจากแบบ รง.9)
การเพิ่มขึ้นของจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรการเพิ่มขึ้นของจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตร • การเพิ่มขึ้นของการยื่นขอสิทธิบัตรในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมของปีปัจจุบันเทียบกับปีที่แล้ว คูณด้วย 100 (ข้อมูลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์) • การเพิ่มขึ้นของจำนวนการได้รับรองมาตรฐานสากล • การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐานสากล ISO 9000 และ 14001 ของปีปัจจุบันเทียบกับปีที่แล้ว คูณด้วย 100 (ข้อมูลจาก สมอ.) • ความสามารถในการเจาะตลาดใหม่ • การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดที่เป็นเป้าหมายใหม่ของปีปัจจุบัน เทียบกับปีที่แล้ว คูณด้วย 100 [ตลาดใหม่ หมายถึงตลาดอาเซียน] (ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารมนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์)
ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ (Logistics Cost) • ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม/มูลค่าผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม คูณด้วย 100 (ข้อมูลจาก รง.9) • การใช้วัตถุดิบในประเทศ (Local content) • มูลค่าการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ/ต้นทุนการผลิตทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรม คูณด้วย 100 (ข้อมูลจาก รง.9) • การขยายตัวของมูลค่า GDP ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • มูลค่า GDP ของผู้ประกอบการ SMEs ปีปัจจุบันเทียบกับปีที่ผ่านมาคูณด้วย 100 (สสว.) • 12.อัตราส่วนเงินลงทุนโดยตรงในประเทศต่อต่างประเทศ • .DDI : . FDI (ข้อมูลจาก BOI) • DDI+FDI DDI+FDI • 13.ระดับความเปิดของอุตสาหกรรม • มูลค่า Import + มูลค่า Export / GDP คูณด้วย 100
การกระจุกตัวของตลาดส่งออก (Export Market Concentration) • มูลค่าการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไปยังตลาดส่งออกรอง/มูลค่าการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด คูณด้วย 100 (ตลาดรองหมายถึงประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่ไม่ได้มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 10 ประเทศ) • แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม • จำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระบบประกันสังคม (ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน) / จำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด คูณด้วย 100 • แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน • จำนวนแรงงานที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (เกณฑ์มาตรฐาน= สูงกว่าชั้นมัธยม 3) / จำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด คูณด้วย 100 (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) • 17. การขยายตัวของการจ้างงาน • ปริมาณการจ้างงานในปีปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากปีที่ผ่านมา/ปริมาณการจ้างงานในปีที่ผ่านมา คูณด้วย 100
การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน • จำนวนแรงงานที่เคยได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรม(ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม)/จำนวนแรงงานทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรม คูณด้วย 100 • การใช้พลังงานใหม่และหมุนเวียน • ปริมาณพลังงานใหม่และหมุนเวียนที่ใช้ทั้งหมดในอุตสาหกรรมการผลิต (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) / ปริมาณพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในอุตสาหกรรมการผลิต (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) คูณด้วย 100 • (ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน) • การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรม (ข้อมูจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน) / GDP ของภาคอุตสาหกรรมคูณด้วย 100
จำนวนโรงงานที่ทำผิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม • จำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ทำผิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม/จำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมด คูณด้วย 100 (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม) • กากของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม • ปริมาณพลังงานใหม่และหมุนเวียนที่ใช้ทั้งหมดในอุตสาหกรรมการผลิต (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) /ปริมาณพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในอุตสาหกรรมการผลิต (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) คูณด้วย 100 • (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมหรือจากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย กองควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ผลการประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลการประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม
ผลการประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวม จากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม จากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ได้ทบทวนแล้ว ใน 4 มิติ มีทั้งสิ้น 22 ตัวชี้วัด นำมาแสดงข้อมูลเพื่อการประเมินภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม ตัวอย่าง ตารางแสดงอัตราการขยายตัวของผลิตภาพการผลิตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550–2553 • ที่มา:ข้อมูลระดับผลิตภาพโดยรวม ได้จากรายงานผลิตภาพและผลประกอบการอุตสาหกรรม ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
แผนภาพแสดงผลิตภาพการผลิตโดยรวม (TFP) ของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550-2552
ตัวอย่าง ตารางแสดงผลิตภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิต พ.ศ. 2550-2553 ที่มา: มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมการผลิต ได้จากบัญชีรายได้ประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ โดยใช้ข้อมูล ณ ราคาคงที่ ของการคำนวณด้านรายได้ (Income Approach) จำนวนแรงงานแรงงานทั้งหมด ได้จากสถิติภาวะการทำงานของประชากรภาคอุตสาหกรรมการผลิต สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนภาพแสดงผลิตภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิต พ.ศ. 2550-2553
ผลการประเมินการพัฒนารายสาขาอุตสาหกรรมจากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลการประเมินการพัฒนารายสาขาอุตสาหกรรมจากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรม จากตัวชี้วัดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ได้ทบทวนแล้ว มีทั้งสิ้น 10-12 ตัวชี้วัด นำมาแสดงข้อมูลเพื่อการประเมินภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม ตัวอย่าง ตารางแสดงอัตราการขยายตัวการส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปยังตลาดใหม่ พ.ศ. 2550–2552 • ที่มา: ข้อมูลการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน ได้จากกระทรวงพาณิชย์ • หมายเหตุ: ในที่นี้ ตลาดใหม่หมายถึง กลุ่มตลาดอาเซียน 9 ประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคิดค่าเฉลี่ยของมูลค่าในแต่ละปี
ตารางแสดงการขยายตัวการส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปยังตลาดใหม่ พ.ศ.2550–2552 • ที่มา: มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน ได้จากกระทรวงพาณิชย์ • หมายเหตุ: ในที่นี้ ตลาดใหม่หมายถึง กลุ่มตลาดอาเซียน 9 ประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคิดค่าเฉลี่ยของมูลค่าในแต่ละปี
แผนภาพแสดงอัตราการขยายตัวการส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปยังตลาดใหม่ พ.ศ. 2550–2552
ตารางแสดงระดับการเปิดของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล พ.ศ. 2550–2552 • ที่มา: การนำเข้าและส่งออก จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ • มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมการผลิต จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ โดยใช้ข้อมูล ณ ราคาคงที่
แผนภาพแสดงระดับการเปิดของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล พ.ศ. 2550–2552
การสร้างดัชนีรวมจากตัวชี้วัดการสร้างดัชนีรวมจากตัวชี้วัด • ตัวชี้วัด 22 ตัวจะใช้ในการจัดทำ Composite Index โดยจำแนกอกตามมิติการพัฒนาอุตสาหกรรม 4 มิติ และรวมทุกมิติ ทำให้ดัชนีรวมวัดการพัฒนาอุตสาหกรรม มีจำนวน 5 ดัชนี • Composite Index วัดการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 18 อุตสาหกรรม ไม่มีการจำแนกรายมิติเนื่องจากตัวชี้วัดมีจำนวนน้อย ทำให้ดัชนีรวมวัดการพัฒนารายสาขาอุตสาหกรรม มีจำนวน 18 ดัชนี ตามจำนวนอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ • ดัชนีรวมวัดการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่สร้างขึ้นเป็นดัชนีแนวโน้มที่ใช้ดูระดับการพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป โดยใช้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน โดยปกติปีฐานจะใช้ปีที่มีระดับการพัฒนาที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ สำหรับการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดให้ปี 2550 เป็นปีฐาน เพื่อวัดผลการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องในปีต่อไป โดยทดลองทำ 3 ปี คือ ปี 2550-2552
การสร้างดัชนีรวมวัดการพัฒนาอุตสาหกรรม ระดับภาพรวม ให้ความสำคัญต่อมิติการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างเท่าเทียมกัน จึงมีค่าเท่ากับ 0.25 ในแต่ละมิติ • การสร้างดัชนีรวมการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ไม่มีการจำแนกรายมิติ เนื่องจากตัวชี้วัดมีจำนวนน้อยกว่า • กรณีดัชนีรวมของอุตสาหกรรมในระดับภาพรวม ในที่นี้ Composite Index=0.25 [(PE1+PE2+PE3+PE4)/4]+ 0.25 [(CA1+CA2+CA3+CA4+CA5)/5] + 0.25 (St1+St2+St3+St4+St5)/5] + 0.25(Su1+Su2+Su3+Su4+Su5+Su6+Su7+Su8)/8] • กรณีดัชนีรวมรายสาขาอุตสาหกรรม ในที่นี้ Composite Index= (I1+I2+I3+..........+In) * 1/n
การสร้างดัชนีเพื่อการวัดการพัฒนาการสร้างดัชนีเพื่อการวัดการพัฒนา ในภาพรวมของภาคอุตสาหกรรม
มิติที่ 1 การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Production Efficiency) • 1. ดัชนีผลิตภาพการผลิตโดยรวม • 2. ดัชนีผลิตภาพแรงงาน
3. ดัชนีผลิตภาพวัตถุดิบ • 4. ดัชนีความเข้มข้นในการใช้พลังงาน (Energy Intensity)
มิติที่ 2 ความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัว (Competitiveness and Adaptability) 5. ดัชนีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D Investment) 6. ดัชนีการเพิ่มขึ้นของจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตร (Patent Application Growth)
7. ดัชนีการเพิ่มขึ้นของจำนวนการได้รับการรับรองมาตรฐานสากล 8. ดัชนีความสามารถในการเจาะตลาดใหม่
9. ดัชนีค่าใช้จ่ายทางด้านโลจิสติกส์
มิติที่ 3 ด้านเสถียรภาพ (Stability) 10. ดัชนีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศต่อต้นทุนในการผลิตทั้งหมด (Local content)
11. ดัชนีอัตราการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ SMEs 12. ดัชนีสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงในประเทศต่อต่างประเทศ
13. ดัชนีระดับความเปิดของอุตสาหกรรม 14. ดัชนีการกระจุกตัวของตลาดส่งออก
มิติที่ 4ด้านความยั่งยืน (Sustainability) 15. ตัวชี้วัดการใช้พลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน 16. ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
17. ตัวชี้วัดปริมาณกากของเสียอันตรายจากโรงงาน 18. ตัวชี้วัดผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม