1 / 48

Chapter 2: Forms of State and Forms of Government

Chapter 2: Forms of State and Forms of Government. What is the State : Definition & Nature Sovereignty State , Nation and Country Functions of State : Social Order, Making & Balance of Conflict Perception on State : Positive and Negative Type of State : Unitary State & Compound State

Download Presentation

Chapter 2: Forms of State and Forms of Government

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 2: Forms of State and Forms of Government • What is the State : Definition & Nature • Sovereignty • State , Nation and Country • Functions of State : Social Order, Making & Balance of Conflict • Perception on State :Positive and Negative • Type of State :Unitary State & Compound State • Forms of Government : Democracy & Dictatorship

  2. What is the State Definition & Nature Aristotle: กล่าวว่า รัฐเป็นสังคมสูงสุด โดยได้รวบรวมเอาสังคมทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุความดีงามขั้นสูงสุด อริสโตเติลเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถจะประสบความสุขและความสมบูรณ์สุดยอดได้หากปราศจากรัฐ Harold Lasswell & Abraham Kaplan: ให้ความหมายของรัฐว่าคือ กลุ่มคนที่รวมกันเป็นระเบียบและอาศัยในอาณาเขตร่วมกัน และมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดในอาณาเขตนั้น Max Weber รัฐคือองค์กรที่มีอำนาจผูกขาดในการใช้กำลังหรือความรุนแรง เราจะเห็นได้ว่ามีเฉพาะรัฐเท่านั้นที่สามารถบังคับกองกำลังทหารและตำรวจ และอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการบังคับไม่ให้มีอำนาจอื่นใดสามารถใช้กองกำลังดังกล่าว

  3. What is the State Definition & Nature ในที่นี้สรุปรวบยอดได้ว่า รัฐคือชุมชนทางการเมืองที่ร่วมกันสร้างโดยประชาชน ที่มีดินแดนชัดเจนแน่นอน ประชาชนเหล่านี้ได้สร้างรัฐบาลเดียวกันขึ้นมา เพื่อให้พ้นจากการควบคุมของรัฐบาลภายนอก โดยภายในชุมชนดังกล่าวนี้รัฐบาลจะมีอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ก็ได้เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ใช้อย่างทั่วถึง

  4. รัฐชาติ (Nation State ) สนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Peace of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เกิดรัฐชาติ/รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ขึ้นในยุโรปตะวันตกเป็นครั้งแรก รัฐแบบนี้เป็นรัฐในจินตนาการของนักปรัชญาการเมืองยุคใหม่เช่น Niccolò Machiavelli(1469-1527), Jean Bodin (1530-1596) และ Thomas Hobbes (1588-1679) รัฐยุคนี้จะให้ความสำคัญกับการสร้างรัฐ (State Building) โดยเน้นพื้นที่/เขตแดนที่แน่นอน และการสร้างชาติ (Nation Building) ซึ่งเป็นเรื่องของเชื้อชาติและชาติพันธุ์ (Race &Ethnicity) ซึ่งรัฐสมัยใหม่จะมีแกนกลางอยู่ที่ อำนาจอธิปไตย “Sovereignty”

  5. ประชากร (Population) ประชากรที่มีที่อยู่อาศัยมีแหล่งทำมาหากินภายในขอบเขตดินแดนที่มีอาณาเขตที่ชัดเจน จำนวนของประชากรไม่ได้เป็นอุปสรรค ประชากรอาจจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ

  6. ดินแดน (Territory) ดินแดนที่แน่นอน (เส้นเขตแดน) พื้นดิน พื้นที่อากาศเหนือพื้นดิน และส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเล อำนาจอธิปไตยของรัฐ ขนาดพื้นที่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นรัฐ

  7. รัฐบาล (Government) องค์การและผู้แทนขององค์การที่ดำเนินงานของรัฐ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นไปตามหลักแห่งเจตนารมณ์ของสาธารณะชน (General Will)

  8. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เป็นที่รวมอำนาจของผู้ปกครองหรือรัฐบาลได้ใช้เพื่อการบริหารและปกครองประเทศ

  9. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) เอกราชคือความอิสระปราศจากความ ควบคุมจากอำนาจอื่นๆที่เหนือกว่า ตนภายใต้หลักประกันว่าไม่มีรัฐ ใดมีอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่น นั้นคือ หลักความเท่าเทียมกันของรัฐ อำนาจสูงสุดทางกฎหมายที่ มีอำนาจเหนือประชาชนทุก คน

  10. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในแง่ของการใช้อำนาจอธิปไตย เราจะสามารถแบ่งแยกประเภทของอำนาจอธิปไตยได้ดังนี้ 1. อำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย (legal sovereignty) 2. อำนาจอธิปไตยทางการเมือง (Political sovereignty) 3. อำนาจอธิปไตยตามพฤตินัย (de facto sovereignty) ในการเมืองภายในประเทศ ในการเมืองระหว่างประเทศ 4. อำนาจอธิปไตยตามนิตินัย (de jure sovereignty) 5. อำนาจอธิปไตยภายนอก (external sovereignty)

  11. ลักษณะสำคัญพื้นฐานของอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) 1. ความเด็ดขาด (Absoluteness) 2. ทั่วไปหรือมีลักษณะครอบคลุมทั่วไป (Comprehensiveness) 3. มีลักษณะถาวร (Permanence) 4. การแบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) * แต่ก็สามารถแยกการใช้อำนาจได้

  12. รัฐแต่ละรัฐต่างก็มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอย่างมากรัฐแต่ละรัฐต่างก็มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอย่างมาก • ในกระแสโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ปลายศต. 20 - ต้นศต. 21 “รัฐได้สูญเสียอำนาจอธิปไตยไปไม่มากก็น้อย” -ชัยอนันต์ สมุทรวานิช . โลกานุวัตรกับอนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์, 2537. -____________. จากรัฐชาติสู่รัฐตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2544. -ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. รัฐ-ชาติกับ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่. กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2549.

  13. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ • รัฐเกิดมาได้อย่างไร ? • รัฐเกิดมาพร้อมกับการเกิดของอารยธรรมของมนุษย์หรือไม่ ? • รัฐเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของระบบการปกครองของมนุษย์หรือไม่ ? • รัฐกำเนิดมาจากพระเจ้า • แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคมว่า มนุษย์มีเจตนาร่วมกันในการก่อตั้งรัฐ • ทฤษฎีวิวัฒนาการ มองรัฐมีการเติบโตเหมือนสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รัฐเกิดจากครอบครัว • รัฐเกิดจากอำนาจหรือการบังคับ สมมติฐาน

  14. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (divine theory) • ทฤษฎีกำเนิดรัฐที่เก่าแก่ที่สุด โดยอธิบายว่ารัฐเกิดจากการดลบันดาลจากพระ เจ้า • ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีนี้ 1. รัฐเป็นการดลบันดาลมาจากเจตนารมณ์ของพระเจ้า 2. มนุษย์ไม่ได้เป็นปัจจัยของการสร้างรัฐเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ 3. ผู้ปกครองเป็นตัวแทนของพระเจ้า ประชาชนต้องเชื่อฟังโดยไม่มีคำถาม

  15. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract) • แนวคิดอำนาจอธิปไตยทั้งปวงเป็นของประชาชน (popular sovereignty) • ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า รัฐมีต้นกำเนิดมาจากประชาชน โดยผ่านการทำสัญญาประชาคม (social contract) ที่บุคคลแต่ละคนได้ลงความเห็นไว้ด้วยกัน • ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีนี้ 1. รัฐเกิดมาจากมนุษย์ มนุษย์คือผู้สร้างรัฐ*สาเหตุที่ทำไมมนุษย์ต้องการสร้างรัฐ 2. มนุษย์มีเจตนาที่แน่นอนในการสร้างรัฐ 3. วัตถุประสงค์ของรัฐจึงเป็นไปเพื่อประชาชน* ความแตกต่างของคู่สัญญา • ทฤษฎีนี้เป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่สนับสนุนความสัมพันธ์แบบปัจเจกบุคคล

  16. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ ทฤษฎีแสนยานุภาพหรือทฤษฎีพลกำลัง (force theory) • ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีต้นกำเนิดมาจากการยึดครองและบังคับ ด้วยเหตุนี้ รัฐคือความอยุติธรรม ความชั่วร้าย ผู้ที่เข้มแข็งกว่าก็จะข่มเหง ผู้ที่อ่อนแอ กว่า และสร้างกฎเกณฑ์จำกัดสิทธิเสรีภาพ เช่น พรรคนาซีในเยอรมัน

  17. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ ทฤษฎีธรรมชาติ (Natural theory) • เชื่อว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง โดย อริสโตเติล ได้อธิบายว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง (political animal) ผู้ซึ่งจะสามารถสร้างความสำเร็จก็โดยการมีชีวิติอยู่ในรัฐเท่านั้น • ดังนั้น การเมืองของมนุษย์จึงเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะมนุษย์กับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้

  18. ทฤษฎีกำเนิดรัฐ ทฤษฎีวิวัฒนาการ (evolution theory) • เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาของมนุษย์โดยแบ่งออกเป็นระดับเริ่มต้นจนถึงระดับสูงสุดได้แก่ - เครือญาติ (family) -ชนเผ่า (tribe) -นครรัฐ (city-state) -จักรวรรดิ (empire) -ระบบศักดินา (feudalism) -รัฐชาติ (nation-state) -รัฐโลก (world state)

  19. รัฐ ประเทศ ชาติ จะเน้นไปที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมืองหมายความว่า ประชาชนอยู่ภายใต้ระบบการเมืองและอธิปไตยเดียวกัน รวมทั้งการมีเอกราชเต็มที่ รัฐจะมีสถานะของตนเองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะการที่จะเป็นรัฐๆ หนึ่งขึ้นมาได้จะต้องได้รับการยอมรับจากรัฐอื่นๆ รัฐ (State)

  20. ประเทศ (Country) เน้นหนักไปในด้านดินแดนดังนั้นประเทศจึงเป็นแหล่งรวมของชาติ และก่อให้เกิดรัฐขึ้น ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างรัฐกับประเทศที่เห็นชัดก็คือไต้หวัน ซึ่งเมื่อดูองค์ประกอบต่างๆ แล้วไต้หวันมีประชากร ดินแดน และรัฐบาล แต่ขาดอำนาจอธิปไตยภายนอกซึ่งก็คือ การยอมรับจากรัฐอื่น

  21. จะเน้นไปที่ความผูกพันกันทางวัฒนธรรม ความผูกพันกันในทางเชื้อชาติ (race) หรือสายเลือด เผ่าพันธุ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา หรือการยึดหลักประเพณีร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ชาติจึงไม่สูญสลายไปง่ายๆ ดังเช่นความเป็นรัฐ เช่น รัฐมอญ ชาติ (Nation)

  22. Functions of State : Social Order, Making & Balance of Conflict 1.การรักษาความเป็นระเบียบของสังคม (หมายถึงความเป็นระเบียบ ภายในประเทศ รวมทั้งรัฐมีหน้าที่ปกป้องตัวรัฐเองให้พ้นจากการคุกคาม จากรัฐอื่นด้วยเช่นกัน) 2.รัฐยังเป็น Balance of Conflict เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆของ สังคม

  23. Perceptive on State : Positive and Negative -มองรัฐในด้านบวกPositive view เช่น Machiavelli, Weber , Hobbes มองว่ารัฐคือผู้สร้างความเป็นระเบียบเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ (Law) ให้สังคม หากไม่มีรัฐแล้ว ทัศนะแบบนี้มองว่าจะเกิดสภาพอนาธิปไตย (Anarchy) -ส่วนอีกฝ่ายมองรัฐในแง่ลบNegative viewอย่างกรณีของ Karl Marx เป็นต้น โดย Marx เห็นว่ารัฐเป็นเครื่องมือของผู้กดขี่หรือผู้ได้เปรียบ ด้วยเหตุนี้ต้องสลายรัฐและให้เหลือแต่สังคม(Society without state )

  24. Perceptive on State : Positive and Negative -รวมทั้งนักคิดสาย สัจนิยม (Realism)อย่าง Hans J. Morgenthauมอง ว่ารัฐเป็นผู้มีหน้าที่สร้างผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย 1.บูรณาภาพแห่งดินแดนและวัฒนธรรม: รัฐจะต้องรักษาดินแดนและ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของรัฐ ของประชาชน 2.รัฐต้องมุ่งสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.รัฐต้องเผยแพร่เกียรติภูมิแห่งชาติโดยขึ้นอยู่กับรัฐ

  25. Type of State :Unitary State & Compound State รัฐเดี่ยว (UnitaryState) คือรัฐใดก็ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีรัฐบาลเพียง ระดับเดียวในการใช้อำนาจอธิปไตย

  26. Type of State :Unitary State & Compound State รัฐรวม (Confederation State) คือรัฐที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ให้อำนาจอธิปไตยสามารถแยกการใช้อำนาจ ในรูปของรัฐบาล 2 ระดับคือ รัฐบาลกลางและ รัฐบาลท้องถิ่น

  27. Confederation State (รัฐรวม ) รัฐแบบสมาพันธรัฐ (Confederation state) เป็นการรวมตัวกันตั้งแต่ 2 มลรัฐขึ้นไป แต่มีลักษณะการรวมตัวที่แบบ หลวม ๆ และห่าง ๆ กันในแต่ละรัฐที่มารวมตัวกันยังมีอธิปไตยแบบสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันในรูปแบบนี้จะเป็นการรวมตัวในรูปแบบของกลุ่มมากกว่า เช่น EU ASEAN เป็นต้น รัฐแบบสหพันธรัฐ (Federal state) เป็นการรวมกันมากกว่า 2 รัฐบาลขึ้นไป โดยมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลของแต่ละรัฐ เรียกว่า รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลาง

  28. สาเหตุที่ทำให้เกิดรัฐทั้ง 2 แบบ

  29. ระบอบ ( Regime) และระบบ (System) • ประเทศ A มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย • ประเทศ A ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบระบบประธานาธิบดี • ประเทศ B ปกครองระบอบเผด็จการ แบบระบบเบ็ดเสร็จนิยม • ประเทศ C ปกครองระบบประชาธิปไตย • ประเทศ C ปกครองระบอบประธานาธิบดี

  30. Forms of Government • ระบอบประชาธิปไตย (DemocracyRegime) 1.ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) 2.ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) 3.ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) • ระบอบเผด็จการ (DictatorshipRegime) 1.ระบบเผด็จการแบบอำนาจนิยม (Authoritarianism) 2.ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)

  31. ระบอบ (Regime) / รูปแบบการปกครอง ระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา (parliamentary system) ระบบเผด็จการแบบอำนาจนิยม (authoritarianism) ระบบประธานาธิบดี (presidential system) ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี (semi parliamentary semi presidential system)

  32. Forms of Government • ระบอบประชาธิปไตย(DemocracyRegime) • พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม • ประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) • เข้าสู่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สมัชชา = สภานิติบัญญัติ • หลัก Majority rule • หลักว่าด้วยความเสมอภาคและเสรีภาพ (Principles of individual equality and freedom )

  33. Forms of Government • ลักษณะของระบอบประชาธิปไตย • การเลือกตั้งเสรี (Free election)+ลงมติถอดถอนคณะผู้บริหาร • หลักการเสียงข้างมากปกครองและเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย (Majority rule and minority right) • พรรคการเมือง • กลุ่มผลประโยชน์ • สื่อมวลชน Abraham Lincoln การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน (Government of the people, by the people and for the people)

  34. ระบอบประชาธิปไตย 1. ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) หลักการปกครองในระบบรัฐสภา • ตำแหน่งประมุขของประเทศแยกออกจากตำแหน่งบริหาร • ตัวแทนของประชาชนทำหน้าที่นิติบัญญัติ • คณะรัฐบาลมาจากรัฐสภา • การคงอยู่ของรัฐบาลขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของรัฐสภา

  35. สภาเดียว ระบบรัฐสภา สภาคู่ การปกครองในรูปแบบรัฐสภา เลือกรัฐบาล ตุลาการ นิติบัญญัติ ส.ว./ส.ส. บริหาร การยุบสภา การลาออก ประชาชน สภาสูง (วุฒิสภา) สภาล่าง (ส.ส.)

  36. ระบบรัฐสภา

  37. ระบอบประชาธิปไตย 2. ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) หลักการปกครองในระบบประธานาธิบดี • มีการแบ่งแยกอำนาจ • ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นบุคคลเดียวกัน • ฝ่ายบริหารเป็นอิสระต่อการควบคุมต่อรัฐสภา และรัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล • รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี • หลักการคานอำนาจ (Balance of power) • วุฒิสภามีอำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร • ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบต่อรัฐสภา

  38. ระบบประธานาธิบดี การแบ่งแยกอำนาจ Separation of Powers การใช้สิทธิ Veto ตุลาการ นิติบัญญัติ ส.ว./ส.ส. บริหาร ประธานาธิบดี Check and balance ชี้ขาดกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การ Impeachment นำไปสู่การถอดถอนโดยวุฒิสภา รมต. ประชาชน ประชาชน

  39. ระบบประธานาธิบดี

  40. ระบอบประชาธิปไตย 3. ระบบกึ่งรัฐสภาหรือกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) หลักการปกครองในระบบกึ่งรัฐสภาหรือกึ่งประธานาธิบดี • ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาด เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี • รัฐสภามีอำนาจนิติบัญญัติและบริหารบางส่วน • นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและประธานาธิบดี

  41. ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี การแบ่งแยกอำนาจ Separation of Powers ตุลาการ นิติบัญญัติ ส.ว./ส.ส. บริหาร ประธานาธิบดี รับผิดชอบ / เข้าประชุมสภา นายกรัฐมนตรี • ตรวจสอบการทำงาน ครม. • เปิดกระทู้ถาม ครม. • อธิปรายนายกได้ • ปลดนายกได้ รมต. ประชาชน ประชาชน

  42. รูปแบบการปกครองแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีรูปแบบการปกครองแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี

  43. ระบอบเผด็จการ (DictatorshipRegime) ลักษณะที่สำคัญของระบบเผด็จการ • บุคคลหรือคณะบุคคลครองอำนาจสูงสุด • ผู้ปกครองไม่มีข้อผูกมัดตามกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน • ผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมรัฐบาลถูกจัดตั้งขึ้นด้วยการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังหรือ • กลยุทธ์ทางการเมืองและใช้กำลังเพื่อรักษาอำนาจ • เสรีภาพของประชาชนถูกจำกัด โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การชุมนุม และสื่อที่เป็นภัยคุกคามต่อรัฐ *ในบางครั้งระบบเผด็จการก็มีการเลือกตั้งแต่เป็นการเลือกตั้งที่ใช้กำลังเข้าบังคับ

  44. ระบอบเผด็จการแบบอำนาจนิยม (authoritarianism) • การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย • ไม่ต้องการผู้ที่ไม่เห็นด้วย • ใช้กำลังข่มขู่ • โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนสนับสนุน • ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

  45. ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) • ควบคุมอุดมการณ์ทางการเมือง • มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว • ใช้ความรุนแรงและควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ • ควบคุมระบบความคิด ความเชื่อ • ใช้เทคโนโลยีเพื่อการควบคุม

  46. หนังสืออ้างอิง1.สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. หลักรัฐศาสตร์และการบริหารหน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2535.2.อานนท์ อาภาภิรม. รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,2528 3.บรรพต วีระสัยและสุขุม นวลสกุล. แนวคำบรรยายรัฐศาสตร์ทั่วไป. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,ม.ป.ป.4.ราม โชติคุต. เอกสารประกอบการสอนวิชา GOV127101 ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ Introduction to Political Science.5.ชัยอนันต์ สมุทรวานิช.โลกานุวัตรกับอนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์, 2537.6.__________________.จากรัฐชาติสู่รัฐตลาด.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2544.7.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.รัฐ-ชาติกับ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่. กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2549.8.Susan Strange. The retreat of the state The diffusion of power in the world economy. Cambridge University Press, 1996, Lesson 1 : The declining authority of state, Lesson 2 : Patterns of power, Page1-30.วีดีทัศน์ ภาพยนตร์เรื่อง Brave Heart วีรบุรุษหัวใจมหากาฬ

More Related