140 likes | 609 Views
การข่าวและการรายงานข่าว TVB 2301. อ.สิริพร มี นะ นันทน์. หัวข้อการเรียนการสอน. ความหมายของข่าว คุณค่าของข่าว คุณลักษณะของข่าวที่ดี ข้อสังเกตการคัดเลือกข่าว. ความหมายของข่าว.
E N D
การข่าวและการรายงานข่าวTVB2301การข่าวและการรายงานข่าวTVB2301 อ.สิริพร มีนะนันทน์
หัวข้อการเรียนการสอน • ความหมายของข่าว • คุณค่าของข่าว • คุณลักษณะของข่าวที่ดี • ข้อสังเกตการคัดเลือกข่าว
ความหมายของข่าว • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า ข่าว คือคำบอกเล่าเรื่องราว ซึ่งโดยปกติมักเป็นเรื่องที่เกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ • พจนานุกรมฉบับมติชน ให้ความหมายว่า ข่าว คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วนำไปบอกเล่าหรือเผยแพร่ โดยมักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ น่าสนใจ • พจนานุกรมภาษาอังกฤษร่วมสมัยฉบับลองแมน (Longman Dictionary of Contemporary English, 2006) ให้ความหมายว่า ข่าวเป็นการรายงานเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์
ความหมายของข่าว • ชาร์ลส เอ.ดาน่า (Charles A. Dana) เจ้าของหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ซันในช่วง ค.ศ. 1869-1897 กล่าวว่า ข่าวหมายถึง เรื่องราวบางอย่างที่มีความน่าสนใจต่อคนกลุ่มใหญ่ ซึ่งเขาไม่เคยทราบมาก่อน • จอห์น บี โบการ์ท(John B. Bogart) หนึ่งในบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ซัน ได้ให้ความหมายของคำว่าข่าวที่ต่อมามีผู้นำมากล่าวถึงบ่อยที่สุดว่า “เมื่อสุนัขกัดคนไม่เป็นข่าว เพราะเป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่เมื่อคนกัดสุนัข นั่นคือข่าว” • สแตนเล่ย์วอล์คเกอร์ (Stanley Walker) บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์เดอะ นิวยอร์ก เฮอรัลด์ทรีบูน(The New York Herald Tribune) กล่าวว่า ข่าวคือ 3W’s ได้แก่ woman, wampum และ wrongdoing ซึ่งหมายถึงเรื่องราว 3 อย่างที่ข่าวมักเกี่ยวข้อง คือ เรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กส์ เงิน และอาชญากรรม
ความหมายของข่าว • พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช ให้ความหมายว่า ข่าว หมายถึง ความเป็นจริงสมบูรณ์ (Completely true) เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง รวมถึงข้อคิดเห็นด้วย ดังนั้น สิ่งที่ถูกบันทึกในเนื้อข่าวต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ไม่ว่าอีกกี่ปีข้างหน้า ข้อสำคัญ ข้อเท็จจริงจะเป็นเท็จหรือสมมติขึ้นเองหาได้ไม่ เรื่องราวเหล่านั้นบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อคนหมู่มากทั้งระดับท้องถิ่น หรือระดับประเทศ หรือมวลมนุษย์ในโลก • สิรีทิพย์ ขันสุวรรณ อธิบายว่า ข่าว คือรายงานเหตุการณ์หรือความคิดเห็น ซึ่งผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการในฐานะตัวแทนของสาธารณชนได้พิจารณาเลือกสรรแล้ว ด้วยความเชื่อมั่นว่า เหตุการณ์หรือความคิดเห็นดังกล่าวจะเป็นที่สนใจของผู้รับสารส่วนใหญ่หรือบางส่วน • ฉอ้านวุทฒิกรรมรักษา ให้ความหมายว่า ข่าวคือ รายงานข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็นจากบุคคลระดับต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญ (Significance) และเป็นที่น่าสนใจ (Interest) อันมีผลกระทบต่อคนหมู่มากในชุมชนหรือสังคม • มาลี บุญศิริพันธ์ ให้ความหมายข่าวว่า หมายถึง รายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ลำพังเหตุการณ์ไม่ใช่ข่าว แต่ข่าวจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่ได้มีการรายงานให้ผู้รับสารทราบสาระสำคัญของข่าว ต้องเป็นรายงานเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญ และน่าสนใจพอที่ประชาชนควรหรือต้องรับรู้เหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นตามหลักการประเมินคุณค่าของข่าว
การประเมินคุณค่าของข่าวการประเมินคุณค่าของข่าว • เมลวิน เมนเชอร์(Melvin Mencher) กล่าวถึงการประเมินคุณค่าของข่าวว่า ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่ผู้คนต้องการ เพื่อให้เป็นประโยชน์ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต แต่ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวจะทราบได้อย่างไรว่าเหตุการณ์ใดที่ไม่ปกติธรรมดา เหตุการณ์ใดที่ผู้คนควรทราบ สิ่งบ่งชี้นั้นก็คือคุณค่าของข่าวนั่นเอง • เจฟฟรี่ แฮร์ริส และเดวิด สปาร์ค(Jeffrey Harris and David Spark) ให้ความหมายของคุณค่าข่าว “คุณค่าข่าวชิ้นนั้นมีมากพอที่จะทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นตีพิมพ์มันลงไปในหน้าหนังสือพิมพ์” • สมหมาย ปาริจฉัตต์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส กล่าวว่า “คุณค่าของข่าว คือ ตราบเท่าที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน • ถาวร บุญปวัตน์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส กล่าวว่า “คุณค่าของข่าวหนังสือพิมพ์ไม่อาจให้คำจำกัดความได้โดยไม่แยกแยะ เพราะคุณค่าของข่าวย่อมขึ้นกับลักษณะของหนังสือพิมพ์แต่ละประเภทด้วย”
คุณค่าของข่าว 10 ประการ • ความรวดเร็วหรือทันเหตุการณ์ (timeliness or immediacy) เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วมีการนำเสนอหรือรายงานข่าวได้เร็วมากเท่าใด ข่าวนั้นก็จะยิ่งมีคุณค่าข้อนี้มากขึ้นเท่านั้น • ความใกล้ชิด (proximity or nearness) ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมักจะสนใจเรื่องที่ใกล้ตัวหรือมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับตัวเองโดยตรง ยิ่งเหตุการณ์ใดมีความใกล้ชิดกับผู้รับสารมากเพียงใด เหตุการณ์นั้นย่อมจะได้รับความสนใจจากผู้รับสารมากขึ้นเพียงนั้น • ความเด่นหรือความมีชื่อเสียง (prominence) ความเด่นในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะความเด่นของเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความเด่นของบุคคล สถานที่ หรือเวลาด้วย
คุณค่าของข่าว 10 ประการ • ผลกระทบ (impact or consequence) มนุษย์มักจะให้ความสนใจกับเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับตัวเอง • ความมีเงื่อนงำ (suspense) เหตุการณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงหรือคลี่คลายได้อย่างชัดเจนนั้น ย่อมทำให้คนทั่วไปเกิดความสงสัยใคร่รู้ในข้อเท็จจริงและอยากติดตามข่าวนั้นไปจนกว่าความจริงจะถูกเปิดเผยออกมา • ความผิดปกติหรือผิดธรรมชาติ (unusualness or oddity) มนุษย์นั้นมักจะให้ความสนใจในเรื่องที่ผิดปกติหรือแปลกประหลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เรื่องเหล่านี้มักจะเรียกความสนใจจากผู้รับสารเสมอ
คุณค่าของข่าว 10 ประการ • ความขัดแย้งหรือการแข่งขัน (conflict or combat) ความขัดแย้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไม่ลงรอยหรือเข้ากันไม่ได้ในเรื่องความคิด ความเชื่อ เป้าหมาย ผลประโยชน์ และวิถีชีวิต • ความสนใจของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปหรือความเร้าอารมณ์ (human interest or emotion) • เรื่องทางเพศหรือเรื่องอื้อฉาว (sex and scandals)รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญอันเกิดมาจากความแตกต่างทางเพศด้วย • ความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลง (progress and change) มนุษย์ย่อมมีความสนใจที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะหากสิ่งนั้นสามารถนำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ดีขึ้น
คุณค่าของข่าว • เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรหลักๆ 2 ประการ คือ • ความสำคัญ (Significance) • ความน่าสนใจ (Interesting) • ผลกระทบ (Impact) “ข่าวที่ดีที่สุด คือ ข่าวที่มีความสำคัญและความน่าสนใจมากที่สุดต่อผู้คนจำนวนมากที่สุด”
ข้อสังเกตการคัดเลือกข่าวข้อสังเกตการคัดเลือกข่าว • เวลาทำงาน • นโยบาย • การโฆษณา • การรับสินบน • สิทธิส่วนบุคคล • กฎหมาย (รองศาสตราจารย์ชวรัตน์ เชิดชัย, 2511)
คุณลักษณะของข่าวที่ดีคุณลักษณะของข่าวที่ดี • ความถูกต้อง (accuracy) • ความสมดุลและเที่ยงธรรม (balance and fairness) • ความเป็นภววิสัยหรือความเป็นกลาง (objectivity) • ความง่าย กะทัดรัด และชัดเจน (simplicity, conciseness and clearness) • ความทันต่อเหตุการณ์ (recentness)
QUIZ • จากความรู้ในหัวข้อ ข้อสังเกตการคัดเลือกข่าว นักศึกษาเห็นว่าข้อจำกัดในการนำเสนอข่าวข้อใดเป็นปัญหามากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย • เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น • ให้นักศึกษาเสนอแนะทางออกสำหรับข้อจำกัดในการนำเสนอข่าวแต่ละข้อ