340 likes | 667 Views
โครงการจัดทำแผนที่ฐานในการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ที่ดิน ( Reshape). หลักการและเหตุผล การจัดทำแผนที่ฐานเพื่อการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ที่ดิน.
E N D
โครงการจัดทำแผนที่ฐานในการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ที่ดิน (Reshape)
หลักการและเหตุผล การจัดทำแผนที่ฐานเพื่อการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ที่ดิน เมื่อวันที่30กรกฎาคม2548 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้ รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบในการจัดการให้ประเทศไทยมีแผนที่ประเทศ ที่แสดงขอบเขตที่ดินทุกประเภทที่ชัดเจน ไม่ทับซ้อน เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน ไม่ว่าเป็นที่ดินของรัฐหรือที่ดินเอกชน โดยใช้แผนที่ฐาน มาตราส่วน1:4000
ต่อมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม มติที่ประชุมเมื่อวันพุธที่3สิงหาคม2548 เวลา15.00 น. ห้องประชุมชั้น20 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.ให้กรมที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐในแผนที่ มาตราส่วน1:50000
2.มอบให้รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(นายสมชัย เพียรสถาพร)รับผิดชอบในการปรับปรุงแนวเขต(Reshape)พื้นที่ป่าไม้ทุกประเภท (คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่391/2548ลงวันที่20ตุลาคม พ.ศ.2548)
3.มอบให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายอันเนื่องมาจากการปรับแผนที่ดังกล่าว 4.มอบให้กรมพัฒนาที่ดิน รับผิดชอบ การจัดทำแผนการใช้ที่ดินของประเทศ
แต่งตั้งคณะทำงานช่วยปฏิบัติงานแต่งตั้งคณะทำงานช่วยปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้(Reshape)ป่าไม้(คำสั่งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงเขตพื้นที่(Reshape)ที่1/2548ลงวันที่2 พฤศจิกายน พ.ศ.2548) เดิม
แต่งตั้งคณะทำงานคณะที่1กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช(คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 14/2549 ลงวันที่ 19มกราคม พ.ศ. 2549) 14จังหวัด แต่งตั้งคณะทำงาน คณะที่2 กรมที่ดิน (คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 15/2549 ลงวันที่19มกราคม พ.ศ. 2549) 20จังหวัด แต่งตั้งคณะทำงาน คณะที่3สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 16/2549 ลงวันที่ 19มกราคม พ.ศ. 2549)15จังหวัด แต่งตั้งคณะทำงาน คณะที่4 กรมป่าไม้ (คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 17/2549 ลงวันที่ 19มกราคม พ.ศ. 2549) 19จังหวัด ใหม่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สระบุรี ลพบุรี และจังหวัดชัยนาท จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา แพร่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และจังหวัดน่าน จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ตาก แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี และจังหวัดพิจิตร จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย สกลนคร และจังหวัดนครพนม
คณะกรรมการ เพื่อปรับปรุงเขต พื้นที่ป่าไม้ (Reshape) ระดับจังหวัด คณะกรรมการ เพื่อปรับปรุงเขต พื้นที่ป่าไม้ (Reshape) ระดับจังหวัด คณะกรรมการ เพื่อปรับปรุงเขต พื้นที่ป่าไม้ (Reshape) ระดับจังหวัด คณะกรรมการ เพื่อปรับปรุงเขต พื้นที่ป่าไม้ (Reshape) ระดับจังหวัด ตามคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่13 / 2549ลงวันที่19 มกราคม พ.ศ.2549
หลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขต(Reshape)ที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกันหลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขต(Reshape)ที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกัน กรณีที่1ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าไม้ถาวรทับซ้อนกัน ให้ใช้ขอบเขตที่โตกว่าเป็นหลัก กรณีที่2ป่าสงวนแห่งชาติ และเขตปฏิรูปที่ดินทับซ้อนกัน ให้ยึดถือแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง กรณีที่3ป่าสงวนแห่งชาติ และนิคมสหกรณ์หรือนิคมสร้างตนเองที่มีกฎหมายบังคับแล้วทับซ้อนกัน ให้ใช้แนวเขตนิคมเป็นหลัก หากนิคมฯยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ ให้ยึดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ให้มีการตรวจสอบสภาพพื้นที่จริงด้วย
กรณีที่4ที่ราชพัสดุซึ่งมีขอบเขตชัดเจนแล้ว ทับซ้อนกับป่าสงวนแห่งชาติ ให้ใช้ขอบเขตที่ราชพัสดุเป็นหลัก กรณีที่5อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับซ้อนกับป่าสงวนแห่งชาติ ให้ใช้ขอบเขตที่โตกว่า
กรณีที่6อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน ในกรณีที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ประกาศก่อนกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้ส.ป.ก. ให้ใช้อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นหลัก กรณีอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ประกาศภายหลังการส่งมอบพื้นที่ให้ส.ป.ก. ให้ใช้เขตปฏิรูปที่ดิน โดยให้มีการตรวจสอบสภาพพื้นที่จริง ถ้ามีสภาพเป็นป่าอยู่ในหลักเกณฑ์กันออกจากเขตปฏิรูปที่ดิน ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้และส.ป.ก.พื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
กรณีที่7อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับซ้อนนิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ หรือที่ราชพัสดุให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกรณีที่3และ4 กรณีที่8สวนป่าของ อ.อ.ป. ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้ใช้ขอบเขตป่านั้นๆเป็นหลัก
นโยบายของ รมต. ทส.เมื่อวันที่24 มกราคม 2549 1.แนวเขตที่ดินของรัฐ จะต้องมีเพียงแนวเดียว 2.การลงที่หมายแผนที่จะต้องเกิดขึ้นโดยข้อตกลงร่วมกันของผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำเป็นข้อตกลงร่วมกันเพื่อความชัดเจน
3.ในขณะที่ภาพถ่ายทางอากาศของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ ตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ขอให้นำแผนที่ระวางมาตราส่วน1:4000ที่ถ่ายภาพในปีพ.ศ.2537 สำหรับใช้ในการออกโฉนดที่ดินของกรมที่ดิน เป็นฐานในการดำเนินงานไปพลางก่อน เพื่อทราบแนวเขตที่ดินที่มีการออกโฉนดที่ดินไปก่อนแล้ว และหากมีกรณีจำเป็นต้องการทราบถึงสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ป่า ก็ขอให้นำภาพถ่ายดาวเทียมgoogle earthมาประกอบการพิจารณาด้วย
4.แนวเขตที่ดินที่ได้มีการรับรองโดยผู้แทนหน่วยงานของรัฐ และถูกต้องตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นเหตุให้มีการออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินไปก่อน ให้ถือว่าเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง ให้คณะทำงานยึดถือเป็นแนวเขตในการปรับปรุงพื้นที่ป่าไม้ในครั้งนี้ได้ เว้นแต่ จะมีการออกเอกสารสิทธิเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้เป็นแปลงเดี่ยว ที่มีลักษณะโดยชัดเจนว่าเป็นการออกเอกสารสิทธิโดยไม่อิงกลุ่มที่ดินที่ออกให้ในคราวเดียวกัน ให้ปรับปรุงแนวเขตโดยให้ถือว่าที่ดินแปลงนั้นออกในเขตป่าไม้ ซึ่งจะต้องรอการพิสูจน์ทราบถึงความชอบด้วยกฎหมายเป็นการเฉพาะรายต่อไปในภายหน้า
5.การปรับปรุงแนวเขตดังกล่าว นอกจากอาศัยเกณฑ์ตาม 4.แล้ว ขอให้คณะทำงานพยายามยึดถือแนวเขตธรรมชาติ เช่น แนวแม่น้ำ ถนน ที่ปรากฏลวดลายบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสำหรับพื้นที่ทั่วไปที่ไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์
6.พื้นที่ใดที่มีการออกเอกสารสิทธิเป็น สปก.4-01และได้แจกให้แก่ประชาชนใช้เป็นที่ดินทำกิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินไปก่อนแล้ว แต่ปรากฏต่อมาในการปรับปรุงแนวเขตครั้งนี้ ว่า เป็นการดำเนินงานนอกเขตป่าเสื่อมโทรมที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้ส.ป.ก.ดำเนินงาน ขอให้ปรับปรุงแนวเขตป่าไม้ให้ครอบคลุมพื้นที่ ส.ป.ก.ดำเนินการดังกล่าวด้วย เว้นแต่เป็นพื้นที่ที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่1 มีนาคม 2537เพื่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนมิให้ต้องได้รับผลกระทบ หรือถูกรอนสิทธิ
7.สำหรับที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการรังวัดเพื่อเตรียมการออกหลักฐานเป็นสปก.4-01และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแล้วให้ถือว่าเป็นที่ดินตามความหมายของ 6. แต่ถ้าที่ดิน สปก.ยังไม่มีการดำเนินการถึงขั้นตอนที่กล่าวนี้ ขอให้หน่วยงาน ส.ป.ก.กันพื้นที่คืนให้กรมป่าไม้ เพื่อดำเนินการกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ต่อไป
8.ที่ดินแปลงใดที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือสปก.4-01และยังมีข้อพิพาทกับหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใดๆ คณะทำงานปรับปรุงแนวเขตไปตามหลักการปรกติ ไม่ต้องปรับแนวเขตอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่กรณีผู้ครอบครองรายนั้นๆ โดยให้ถือว่าการปรับปรุงเขตดังกล่าวไม่มีผลผูกพันกับกรณีพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินสำหรับที่ดินแปลงนั้น เนื่องจากยังไม่มีผลเป็นการยกเลิกเพิกถอนเขตที่ดินของรัฐตามที่มีก่อนปรับปรุงแนวเขต
9.ป่าชายเลน ถ้ามีการออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินไปก่อน หากเป็นการดำเนินงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ครอบครองย่อมได้สิทธิ หากไม่ชอบ รัฐย่อมมีอำนาจเพิกถอน เนื่องจากที่ดินป่าชายเลนมีมติคณะรัฐมนตรีสนับสนุนหลายมติ มีความซับซ้อนและเป็นปัญหาข้อกฎหมาย บางพื้นที่ซ้อนทับป่าสงวนแห่งชาติ บางแปลงไม่มีแผนที่ประกอบ จึงขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนำเสนอต่อคณะทำงาน เพื่อสรุปหลักเกณฑ์และกำหนดแนวทางดำเนินงานให้ถูกตามกฎหมายต่อไป
10.ขอให้กรมป่าไม้และ ส.ป.ก.สำรวจข้อมูลการออกเอกสารสิทธิ เช่น หนังสือแสดงสิทธิทำกิน(ส.ท.ก.)และสปก.4-01 ที่หน่วยงานได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ โดยให้จำแนกเป็นกลุ่มประเภทที่ดินที่ออกหลักฐานดังกล่าวให้แก่ราษฎร ว่า มีการจัดที่ดินของรัฐด้วยการจัดสรรสิทธิในที่ดินทำกิน เกินกว่า 10 ไร่20ไร่30 ไร่เป็นจำนวนกี่ราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาเชิงนโยบายในเรื่องการเจรจาต่อรอง การปรับลดพื้นที่การครอบครองสิทธิในที่ดิน หรือการบริหารจัดการให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรที่ยากจนรายใหม่ หรือการจัดให้มีการเช่าทำประโยชน์โดยการจ่ายค่าเช่าเป็นผลิตผลทางการเกษตรต่อไป
วิธีดำเนินการแบ่งเป็น2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 1.หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐ จัดทำแนวเขตที่รับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งมีหลายมาตราส่วน ทำให้เป็นมาตราส่วน1:50000 แล้วถ่ายทอดลงใน ระวางแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน1:50000 จัดส่งให้กรมที่ดิน 2.กรมที่ดินตรวจสอบข้อมูลแผนที่ ตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ทยอยส่งให้ 3.กรมที่ดินนำเข้าข้อมูลแผนที่ตาม2.สู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยการscan
4.ปรับแก้ข้อมูล(rectify) ที่ได้จากการscanให้ถูกต้องตามหลักการแผนที่ 5.ทำการอ่านค่าพิกัดแนวขอบเขตที่ดิน (digitize) ในแผนที่มาตราส่วน1:50000ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
6.ตรวจสอบความถูกต้องจากการอ่านค่าพิกัดแนวขอบเขตที่ดิน(digitize) หากพบว่ามีข้อผิดพลาดก็จะทำการปรับแก้ พร้อมทั้งต่อรูปแผนที่ให้ครบแต่ละชั้นของข้อมูลและบรรยายข้อมูลในแผนที่นั้น(attribute data) 7.ส่งข้อมูลตาม6.ให้แต่ละหน่วยงานตรวจสอบความถูกต้องของค่าพิกัดแนวเขตที่ดิน(digitize) อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 2 1.คณะทำงานจะต้องจัดเตรียมข้อมูลในเชิงลึก ของพื้นที่หรือแนวเขตที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ เช่น แนวเขต รูปแปลง การได้มา ปี พ.ศ.ที่ประกาศหลักฐานเอกสารต่างๆ เพื่อทำการReshapeบนแผนที่ มาตราส่วน1:50000ก่อน
2.นำแนวเขตReshapeที่ได้จาก 1.ถ่ายทอดลงบนแผนที่มาตราส่วน1:4000 แล้วพิจารณาปรับแนวReshapeดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขต(Reshape)ที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกันที่คณะกรรมการฯกำหนด จำนวน8 กรณี และตามนโยบายของ รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่24 มกราคม2549
3.แนวเขตReshapeที่ได้จาก2.รายงานให้คณะกรรมการฯที่มีรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(นายสมชัย เพียรสถาพร)เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณาประกอบด้วยระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน1:4000 และแผ่นทาบระวาง(overlay)มาตราส่วนเดียวกัน ซึ่งแสดงแนวReshapeของคณะทำงาน 4.จากนั้นประธานคณะกรรมการฯส่งให้คณะกรรมการเพื่อปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้(Reshape)ระดับจังหวัด ตรวจสอบในพื้นที่จริง(ground check)
5.คณะกรรมการฯระดับจังหวัดเมื่อตรวจสอบแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ 5.1หากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแนวReshapeของคณะทำงาน ให้คณะกรรมการฯระดับจังหวัด กำหนดแนวใหม่บนแผ่นทาบระวาง(overlay)ด้วยหมึกสีแดงขนาด0.2 ม.ม. ในลักษณะแนวเส้นตรงต่อเนื่องกัน พร้อมข้อมูลและเหตุผลประกอบในการกำหนดแนวใหม่ และให้ผู้แทนหน่วยงานที่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแนวดังกล่าว ลงนามรับรองบนแผ่นทาบระวางด้วย
5.2หากไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ของคณะทำงาน ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯระดับจังหวัดลงนามรับรองด้วยข้อความว่า”ระวางนี้ได้ตรวจแล้ว ไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง” 5.3กรณีมีข้อสงสัยให้ผู้แทนของคณะกรรมการฯระดับจังหวัด สอบถามจากหน่วยงานส่วนกลางที่สังกัดโดยตรง หรือติดต่อศูนย์ข้อมูลแผนที่ กรมที่ดินที่หมายเลข 0 25033365,0 2503 3367โทรสาร0 2503 3430E-mail:mapping@dol.go.th
6.คณะกรรมการฯระดับจังหวัด ทำการสรุปผลการตรวจสอบและปรับปรุงแนวเขตฯ ส่งให้ประธานคณะกรรมการฯ(นายสมชัย เพียรสถาพร) ภายใน15 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อมูลตาม4. ข้อมูลที่ต้องส่งคืนประกอบด้วยระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:4000 พร้อมแผ่นทาบระวาง(overlay)และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 7.ประธานคณะกรรมการฯ ส่งผลการตรวจสอบของคณะกรรมการฯระดับจังหวัด ให้คณะทำงานที่รับผิดชอบท้องที่ดำเนินการ พิจารณาดำเนินการโดยแยกเป็น2กรณี คือ
กรณีที่1ไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ให้คณะทำงานทำการรวบรวมอ่านค่าพิกัดฉากทุก200 เมตร หรือทุกๆจุดที่เปลี่ยนทิศทาง รายงานประธานคณะกรรมการฯเพื่อทราบ กรณีที่2มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ให้คณะทำงานรวบรวมสรุปผลการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแนวReshapeพร้อมความเห็น รายงายประธานคณะกรรมการฯเพื่อพิจารณาหาข้อยุติ เมื่อได้ข้อยุติแล้วให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีที่1
8.ประธานคณะกรรมการฯส่งผลการดำเนินการตาม 7. ให้ศูนย์ข้อมูลแผนที่ กรมที่ดิน ดำเนินการถ่ายทอดแนวReshape ลงในระวางแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน1:50000 ของกรมแผนที่ทหาร 9.ศูนย์ข้อมูลแผนที่ กรมที่ดิน ส่งมอบผลการดำเนินงานตาม8.ให้ประธานคณะกรรมการฯ 10.ประธานคณะกรรมการฯสรุปผลการปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้(Reshape)รายงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย อันเนื่องมาจากการปรับปรุงแผนที่ดังกล่าว