580 likes | 2.11k Views
ทฤษฎี การประเมิน ( EVALUATION THEORY ). อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส ( ค.ด. การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปรัชญาการประเมิน ( Philosophy of Evaluation). อภิปรัชญา ( metaphysics) ความจริงคืออะไร
E N D
ทฤษฎี การประเมิน (EVALUATION THEORY) อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรัชญาการประเมิน (Philosophy of Evaluation) • อภิปรัชญา (metaphysics) ความจริงคืออะไร • ลัทธิจิตนิยม สสารเป็นเพียงการแสดงออกของจิตโดยไม่มีความเป็นจริงของตนเอง เพราะต้องอาศัยความจริงของจิต • ลัทธิสสารนิยม ความจริงเป็นสสารที่สามารถแตะต้องสัมผัสได้ • ลัทธิทวิยม ความจริงประกอบด้วยทั้งจิตและสสาร จิตเป็นผู้สร้างสสารให้มีความเป็นจริงในตนเอง หรือจิตเป็นตัวควบคุมสสารได้โดยรู้กฎเกณฑ์ของสสาร • ญาณปรัชญา (Epistemology) เราเข้าถึงความจริงได้อย่างไร • ลัทธิอัตนัยนิยม ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล • ลัทธิปรนัยนิยม ขึ้นอยู่กับเครื่องมือมาตรฐาน www.themegallery.com
วิธีการเข้าถึงความจริงวิธีการเข้าถึงความจริง • วิธีวิทยาศาสตร์ • Aristotle, Francis Bacon, Charles Darwin, John Dewey ใช้ Sciencetific Method • วิธีเรขาคณิต (วิธีเหตุผล) • Rene Descartes ใช้ Axioms ข้อความที่เป็นจริงไปพิสูจน์ความจริงอื่นๆ • วิธีประสบการณ์ • John Locke, David Hume กลุ่มประสบการณ์นิยม อาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ • วิธีหยั่งรู้ • Immanuel Kant การฝึกฝนของแต่ละบุคคล ได้ “อัชณัตติกญาณนิยม (intuitionism)” • วิธีปฏิบัติ • Pierce, John Dewey, Schiller กลุ่มปฏิบัตินิยม ประสิทธิภาพของการปฏิบัติเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงความจริง www.themegallery.com
ทำไมต้องประเมิน • การประเมินถือว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมที่สอดคล้องกับแนวทางของประชาธิปไตย เป้าหมายของการประเมิน • กลุ่มประโยชน์นิยม (Utilitarianism) การสร้างประโยชน์สุขแก่สังคม เป้าหมายสำคัญคือ เสนอสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ทำการประเมินด้วยตนเอง แต่ให้เป็นดุลยพินิจของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ นักประเมินในกลุ่มนี้ เช่น Tyler (1950) Provus (1971) Stufflebeamและคณะ (1971) Stake (1975) Patton (1980, 1987) • กลุ่มพหุนิยม (Pluralism) มีประโยชน์มากกว่า 1 อย่าง เช่น เพื่อเป็นกลไกการติดตาม ควบคุม ดูแลการดำเนินงานต่างๆ เชื่อว่านักประเมินคือ ผู้เชี่ยวชาญที่อุดมด้วยความรู้และประสบการณ์ เป้าหมายจึงเป็นการ ตัดสินคุณค่า ของสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่ทำการประเมินเสร็จสิ้นลง นักประเมินในกลุ่มนี้ เช่น Scriven (1967) Stake (1967) Eisner (1975, 1979) , Gubaและ Lincoln (1981) www.themegallery.com
ประเมินอย่างไร • อัตนัยนิยม (Subjectivism) • วิธีการเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Approach) อยู่บนหลักการของวิธีดำเนินการที่ยืดหยุ่น รวบรวมข้อมูลรอบด้านตามสภาพธรรมชาติและใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์ในการสรุปผล ตัวอย่างนักประเมิน เช่น Stake, Eisner, Guba และ Lincoln, Patton เป็นต้น • ปรนัยนิยม (Objectivism) • วิธีการเชิงระบบ (Systematic Approach) มีการวางแผนการดำเนินการอย่างแน่ชัด ใช้เครื่องมือมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล พยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้มากที่สุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลตามเกณฑ์มาตรฐานที่ประกาศไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างนักประเมิน เช่น Tyler, Cronbach, Rossi, Freeman, Wright, Levin เป็นต้น www.themegallery.com
นิยามการประเมิน 1. การประเมิน = การวัด ถ้าใช้เทคนิคการวัดที่ดีย่อมจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการประเมินที่ถูกต้อง (Thorndike and Hagen, 1969) 2. การประเมิน = การวิจัยประยุกต์ การประเมินเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ต้องใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบ เครื่องมือ และการวิเคราะห์ (Rossi, 1972, 1982) ใช้หลักการวิจัยมาใช้เป็นหลักในงานประเมิน 3. การประเมิน = การตรวจสอบความสอดคล้อง การประเมินความสำเร็จจากความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โครงการ 8 ปี ของ Tyler (1932-1940) www.themegallery.com
นิยามการประเมิน 4. การประเมิน = การช่วยตัดสินใจ กระบวนการเสนอสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ตัวอย่างแนวคิด เช่น Cronbach (1963) Alkin(1969) Stufflebeam และคณะ (1971) ข้อจำกัดขาดความชัดเจนของเป้าหมายการประเมิน 5. การประเมิน = การบรรยายอย่างลุ่มลึก การบรรยายสิ่งที่มุ่งประเมินอย่างลึกซึ้งรอบด้าน ผู้มีบทบาทด้านนี้คือ Stake (1967) ใช้การศึกษาเฉพาะกรณี (case study) 6. การประเมิน = การตัดสินคุณค่า เป้าหมายของการประเมินอยู่ที่การตัดสินคุณค่า ผู้มีบทบาทด้านนี้คือ Scriven (1967) Guba and Lincoln (1981) ผู้ประเมินมีความรู้ เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ www.themegallery.com
“ Evaluation is not to prove but to improve.” (Stufflebeam , 1983)
ความหมายของทฤษฎีการประเมินความหมายของทฤษฎีการประเมิน • ทฤษฎี (Theory) หมายถึง สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2551) • ทฤษฎี เป็นข้อความนัยทั่วไปที่แสดงระบบความสัมพันธ์ระหว่างหลักการหรือมโนทัศน์ที่สามารถใช้ทำความเข้าใจ บรรยาย อธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์เฉพาะต่าง ๆ ได้อย่างสมเหตุสมผล(ศิริชัย กาญจนวาสี,2552)
การประเมิน (Evaluation)เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งทางสังคม(social process) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (objective)หลักอยู่ที่การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมาย (goal) ของการพัฒนาคุณค่าและอำนาจของสถาบัน/องค์กรและสังคมโดยส่วนรวม การประเมินผล = การวัด + การตัดสินคุณค่า (Evaluation) (Measurement) + (Judgment)
ทฤษฎีการประเมิน (Evaluation Theory )เป็นข้อความนัยทั่วไปที่เป็นระบบความพันธ์ของสาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในกระบวนการทางสังคม (social process) มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินอย่างสมเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน
ยุคพัฒนาสู่วิชาชีพการเป็นวิชาชีพยุคพัฒนาสู่วิชาชีพการเป็นวิชาชีพ Guba และ Lincoln (1989)เสนอการจัดยุคของการประเมินดังนี้ 1) ยุคการประเมินที่เน้นกระบวนการวัด (Measurement - Oriented) 2) ยุคการประเมินที่เน้นการบรรยายความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (Objective - Oriented) 3) ยุคการประเมินที่เน้นการตัดสิน (Judgment - Oriented) และ 4) ยุคการประเมินที่เน้นการเจรจาต่อรอง (Negotiation - Oriented) ในยุคที่ 4 การประเมินเป็นกระบวนการสนองตอบต่อข้อเรียกร้อง / ความวิตกห่วงใยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการสร้างการรับรู้ความจริงร่วมกัน และสร้างการยอมรับผลการประเมินที่พิจารณาคุณค่าหลายด้านร่วมกัน ผู้ประเมินจึงมีบทบาทเป็นผู้นำในการอำนวยความสะดวกและประสานการเจรจาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งการเตรียมประเด็นการเจรจา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์การจัดทำรายงานแบบกรณีศึกษาที่ผู้เกี่ยวข้องสร้างผลการประเมินร่วมกัน
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน Assessment เป็นการเสนอสารสนเทศ และเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ตัดสินคุณค่าเอง ซึ่งมักเกี่ยวกับความดีงามประโยชน์ อันเป็นการตัดสินครั้งสุดท้ายในทางปฏิบัติ ถ้าเกณฑ์ไม่ชัดเจนจะใช้ Assessment มากกว่า Evaluation Evaluation คือเป็นกระบวนการตัดสิน คุณค่าสิ่งต่าง อย่างระมัดระวัง เป็นกระบวนการนำสิ่งที่จะประเมินไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานกำหนดเป็นการพิจารณาหลักฐานในสถานการณ์ที่กำหนดเพื่อกำหนดคุณค่าอย่างมีมาตรฐาน แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม หรือรายบุคคลเป็นกระบวนการรวบรวม และเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจที่ดีสำหรับทางเลือกที่เป็นไปได้ หลายทาง(Alternatives) Appraisal คือการประเมินตัดสินคุณค่าของโครงการว่าการอนุมัติให้ดำเนินการ หรือทุนสนับสนุน หรือไม่ เพียงใด
ตัวบ่งชี้ หรือ ตัวชี้วัด (indicators) ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้สภาวะสิ่งที่ประเมิน เป็นตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ และมาตรฐานกำหนด โดยมีเกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ (criteria) หมายถึง ระดับที่ถือว่าเป็นคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ถือว่า เป็นความสำเร็จของการดำเนินงานเกณฑ์จึงเป็นตัวตัดสินคุณภาพของการปฏิบัติหรือผลที่ได้รับ เกณฑ์อาจได้มาจากมาตรฐานทางวิชาชีพมาตรฐานจำแนกเกณฑ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่มถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ ต้องพยายามหาโครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อนโดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม
เกณฑ์ (criteria) หมายถึง ระดับที่ถือว่าเป็นคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ถือว่า เป็นความสำเร็จของการดำเนินงานเกณฑ์จึงเป็นตัวตัดสินคุณภาพของการปฏิบัติหรือผลที่ได้รับ เกณฑ์อาจได้มาจากมาตรฐานทางวิชาชีพมาตรฐานจำแนกเกณฑ์ออกเป็นประเภท คือ 1.1 เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่มถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ ต้องพยายามหาโครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และ 1.2 เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อนโดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม โมเดลหรือแบบจำลอง (Model) หมายถึง แบบแผนหรือแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงทฤษฎีที่เป็นนามธรรมสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
ประเภทของ “รูปแบบ” หรือ “โมเดล” • โมเดลเชิงบรรยาย เป็นการนำเสนอโดยใช้คำบรรยายระบุถึงแนวคิด หลักการ หรือตัวแปร และมีคำอธิบายถึงปรากฏการณ์ด้วยคำบรรยายความสัมพันธ์ระหว่าง แนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • โมเดลเชิงรูปภาพ เป็นการนำเสนอโดยใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์จำลอง แสดงถึง แนวคิด หลักการหรือตัวแปร และลากเส้นโยงความสัมพันธ์ระหว่าง แนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • 3) โมเดลเชิงคณิตศาสตร์ เป็นการนำเสนอโดยใช้สัญลักษณ์แทนแนวคิด หลักการ หรือตัวแปร และใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • ศิริชัย กาญจนวาสี(2552)
มาตรฐาน (standard) หมายถึง คุณลักษณะหรือระดับที่ถือเป็นคุณภาพ, ความสำเร็จหรือความเหมาะสมอันเป็นที่ยอมรับกันทางวิชาชีพโดยทั่วไปเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพ
เปรียบเทียบจุดเหมือน-จุดต่างของการวิจัยและการประเมินเปรียบเทียบจุดเหมือน-จุดต่างของการวิจัยและการประเมิน
ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน(A Theory of Evaluation Models)
ทวิมิติของรูปแบบการประเมิน มิติวัตถุประสงค์ : Decision – oriented V.S. Value oriented Approaches มิติวิธีการ : Systematic V.S. Naturalistic Approaches Text Text Goal Based ประเมิน : ทำไม ? ประเมิน : อย่างไร Goal Free
1.มิติวัตถุประสงค์ 1.1 การประเมินเน้นการตัดสินใจ (Decision – oriented Evaluation) เป็นการประเมินที่เน้นการเสนอสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางการบริหารซึ่งบทบาทสำคัญของนักประเมินคือ การตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารโดยขึ้นอยู่กับผู้บริหารในการกำหนกบริบทของการตัดสินใจและเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีส่วนในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหาร เพราะจะทำให้เสียความเป็นกลางในการประเมิน
1.2 การประเมินเน้นการตัดสินคุณค่า (Value – oriented Evaluation)เป็นการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมิน โดยบทบาทของนักประเมินคือ การตัดสินคุณค่า ถ้านักประเมินไม่ได้มีส่วนในกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์และนักประเมินต้องตัดสินคุณค่าที่แท้จริงทั้งหมดไม่เพียงแต่คุณค่าของผลที่คาดหวังไว้เท่านั้นแต่จะต้องครอบคลุมถึงคุณค่าของผลที่มิได้คาดหวังด้วย
ทวิมิติของรูปแบบการประเมินทวิมิติของรูปแบบการประเมิน I. มิติ วัตถุประสงค์ของการประเมิน(Objective) เน้นการตัดสินใจ(Decision-oriented) เน้นการตัดสินคุณค่า(Value-oriented) II. มิติ วิธีการประเมิน(Methods) 1.วิธีเชิงระบบ(Systematic Approach) 1.ปรนัยนิยม(Objectivism) 1.วิธีเชิงระบบ(Systematic Approach) • Goal-based App.(Tyler,1950) • Experimental App.(Cronbach,1963,1980,1982) • System analysis(Ministry of DefenceUSA,1965) • PERT(Cook,1966) • CSE(Alkin,1969,1971) • RFWA(Rossi;Freeman;Wright,1979) • Cost-related Analysis(Levin,1983) • Discrepancy App.(Provus,1971) • CIPP(Stufflebeam et.al., 1971) • Consumer-oriented App.(Scriven,1967) • Goal-free App.(Scriven,1973) • Training App.(Kirkpatrick,1978) • Judicial App.(Owens,1973; Wolf,1979) • Theory-based App.(Chen;Bickman,1990;Rogers,2000 ) • Value-added App.(Sander;Horn,1994; Webster,1995) • Accreditation App. 1.วิธีเชิงธรรมชาติ(Systematic Approach) 1.วิธีเชิงธรรมชาติ(Systematic Approach) 2.อัตนัยนิยม(Subjectivism) • Responsive App(Stake,1967,1975,1978) • Transactional App.(Rippey,1973) • Democratic App.(McDonald,1975) • Illuminative App.(Parlett; Hamilton,1976) • Creative App.(Patton,1981) • Stakeholder-based App(Bryk,1983). • UFA(Patton,1978,1986) • Criticism App.(Eisner,1975,1979) • Effective App.(Cuba;Lincoln, 1981) • Constructivist App.(Lincoln;Cuba,1985,1989) • Empowerment App.(Fetterman,1994) • Authentic App.(Cradler,1991; Koretz,, Barron,1996,1998)
ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์(A Theory of EvaluationUtilization)
ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ ที่สำคัญได้แก่ Alkin et al. (1988); Weiss (1998); Patton (2008); รูปแบบ(Model)การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ • การใช้เชิงแนวคิด (Conceptual Use) • การใช้ในเชิงตรวจสอบยืนยัน (Legitimate Use) • การใช้ในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Use) • การใช้ในเชิงปฏิบัติการ (Instrumental Use) • (ศิริชัย กาญจนวาสี ,2552)
ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน การใช้ผลการประเมิน และผลกระทบของการประเมิน กระบวนการประเมิน (Evaluation Process) ผลกระทบของการประเมิน (Impact of Evaluation ) กลยุทธ์การเผยแพร่ (Dissemination Strategies) การใช้ผลการประเมิน (Evaluation Utilization) • การวางแผนและเจรจาเพื่อกำหนดคำถามการประเมิน/วิธีการประเมิน • การดำเนินงาน สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานเพื่อเผยแพร่และนำไปใช้ • การเปลี่ยนแปลง • วัฒนธรรมองค์การ • โครงสร้างองค์การ • ระเบียบ ข้อบังคับ • วิธีดำเนินงาน • พฤติกรรมของสมาชิก • ระบุความต้องการใช้สารสนเทศ • สร้างการมีส่วนร่วมในการประเมิน • เน้นการเผยแพร่ที่สนองความต้องการ • มีเทคนิคการสื่อสาร • ระยะแรก(ระดับความคิด) • การใช้ในเชิงความคิด • ระยะต่อมา(ระดับปฏิบัติการ) • การใช้ในเชิงตรวจสอบยืนยัน • การใช้ในเชิงสัญลักษณ์ • การใช้ในเชิงปฏิบัติ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมิน ลักษณะของการประเมิน • กระบวนการประเมิน • ตรงประเด็น • มีคุณภาพข้อค้นพบสนองความต้องการ • กลยุทธ์การเผยแพร่ • ผู้ประเมิน • ความน่าเชื่อถือ • ทักษะการสื่อสาร การใช้ผลการประเมิน (Evaluation Utilization) ลักษณะบริบทของการประเมิน • สิ่งแวดล้อม • การเมือง • เศรษฐกิจ • ลักษณะการตัดสินใจ • ผู้เกี่ยวข้อง • ทัศนคติต่อการประเมิน • ความผูกพัน • ความต้องการใช้สารสนเทศ
เส้นทางการใช้ผลการประเมินและผลกระทบของการประเมินเส้นทางการใช้ผลการประเมินและผลกระทบของการประเมิน นำไปใช้เชิงแนวคิด (Conceptual Use) นำไปใช้ เชิงปฏิบัติการ (Instrumental Use) ผลกระทบ ของการประเมิน (Impact of Evaluation ) ผลการประเมิน จุดประกายความคิดของผู้เกี่ยวข้อง (Enlightenment) เกิดการดำเนินการปฏิบัติการ (Action) • การเปลี่ยนแปลง(Change) • วัฒนธรรมองค์การ • โครงสร้างองค์การ • ระเบียบ ข้อบังคับ • วิธีดำเนินงาน • พฤติกรรมของสมาชิก
ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน การใช้ผลการประเมิน และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การประเมิน การเรียนรู้การประเมิน การใช้ผลการประเมิน
รูปแบบการประเมินของ Michael Scriven จุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อการตัดสินคุณค่า ตัวอย่าง การนำแนวคิดของสคริฟเว่น มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการเรียนการสอน เช่น 1. ศึกษาจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการเรียนการสอน 2. พิจารณาความสำคัญของจุดมุ่งหมายที่จะประเมิน 3. กำหนดเกณฑ์ในการประเมินจุดมุ่งหมายแต่ละข้อ 4. สร้างแบบทดสอบให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการจะประเมิน 5. ตรวจสอบจุดมุ่งหมาย เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน
Theory Drivenการประเมินแบบทฤษฎีแรงขับ(Chen ) • นำเสนอแนวคิดของการประเมินที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับแนวคิดของScrivenเพราะ Chen เห็นว่าการประเมินที่ดีนอกจากสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องสามารถอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไมตัวแทรกแซง (intervention) ที่กำหนดขึ้นสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ การรู้ปัจจัยเชิงสาเหตุหรือกลไกการทำงาน (mechanism)
ทฤษฎีการประเมินงานประเมิน(A Theory of Meta-Evaluation)
Meta-Evaluation (การประเมินอภิมาน หรือการประเมินซ้อนการประเมิน) นงลักษณ์ วิรัชชัย ( 2550 :อ้างถึงใน สมศ., 2550) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง กระบวนการที่มีระบบซึ่งประกอบด้วยการกำหนดข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากผลลการประเมินงานประเมิน/นักประเมิน เพื่ออธิบายให้คุณค่า และตัดสินคุณค่าว่างานประเมิน/นักประเมินมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเกณฑ์(Criteria) และมาตรฐาน(Standard)ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร มีจุดอ่อน/จุดแข็งในการดำเนินงาน อย่างไร รวมทั้งการสังเคราะห์ผลการประเมิน/นักประเมินและการใช้ผลการประเมินในการพัฒนาคุณภาพการประเมิน/นักประเมิน