140 likes | 484 Views
หลักสูตร eLearning สำหรับ มทรก. 6-24 เม.ย.09. Needs Analysis & Planning eLearning Design eLearning Development eLearning Implementation & Delivery eLearning Evaluation Singapore Polytechnic International Pte Ltd
E N D
หลักสูตรeLearningสำหรับ มทรก.6-24 เม.ย.09 Needs Analysis& Planning eLearning Design eLearning Development eLearning Implementation & Delivery eLearning Evaluation Singapore Polytechnic International Pte Ltd (Wholly-owned subsidiary of Singapore Polytechnic) 500 Dover Road, Singapore139651
การออกแบบeLearning(eLearning Design) • UCD = User Centered Design • LCD = Learner Centered Design • Virtual
หลักของUCD มีดังนี้ • การทำบทเรียนonlineไม่ควรจะใช้รูปแบบเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ คือไม่ควรยกมาทั้งหมด เพราะจะไม่น่าสนใจและมีข้อความมากเกินไป • การออกแบบหน้าจอที่ดี ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงคือ ผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร ชอบแบบไหน ควรจะมีจุดโฟกัสที่น่าสนใจ
หลักของUCD • การใช้ภาพหรือเสียง ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ หรือรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน เช่น เมื่อคลิกแล้วได้ยินเสียง หรือภาพมีการเปลี่ยนแปลง หรือถ้ามีเพลงประกอบ ก็สามารถเลือกที่จะฟังหรือปิดเสียงได้ • การใช้กราฟฟิกหรือข้อความจำนวนมาก ต้องคำนึงถึงเวลาที่จะต้องใช้ไปในการโหลดด้วย
สิ่งที่ควรจะมีลักษณะความคงเส้นคงวา(Consistency ) • สิ่งที่นำเสนอ ควรใช้ลักษณะที่เหมือนกันหมดจะดีกว่าการใช้หลายแบบสลับกันไป เช่น งานนำเสนอpowerpoint • การเลือกใช้สีที่เหมาะสม ไม่ควรใช้สีตรงกันข้าม • ปุ่ม สัญลักษณ์ กราฟฟิก และลักษณะการให้ข้อมูล ต้องเหมาะสม • รูปแบบของ information • วิธีใช้งานของปุ่มต่างๆ ควรเป็นรูปแบบเดียวกัน • การตอบสนองต่อผู้ใช้ ควรเป็นไปในทำนองเดียวกัน
การเลือกใช้ปุ่มแสดงทิศทาง เมื่อใช้แล้ว ผู้ใช้จะต้องรู้ว่า • ตัวเองอยู่ที่ไหน • มาจากที่ไหน • สามารถจะไปที่ไหนได้ • ซึ่ง 3 คำถามนี้ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ หมายความว่าถ้าผู้ใช้เปิดหน้าต่างต่อไป เรื่อยๆผู้ใช้สามารถกลับไปยังจุดเริ่มต้นได้
การออกแบบปุ่ม • การออกแบบปุ่ม ควรจะออกแบบให้สื่อออกมาว่า มันคืออะไร จะใช้ปุ่มนี้เพื่อทำอะไร คำและปุ่มที่เลือกใช้ต้องมีความสอดคล้องกัน • หลีกเลี่ยงการใช้ปุ่มที่ไม่สื่อความหมายหรือต้องเดาว่าคืออะไร • ควรผสมคำและภาพเข้าไปในปุ่มนั้นเพื่อช่วยให้สื่อความหมายมากขึ้น • ใช้กราฟฟิกที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน • สำหรับการเลือกปุ่มใดๆ ควรแสดงเนื้อหาเป็นตอนๆ ไม่มากเกินไป
Visual clarity • การให้ข้อมูลเบื้องต้นต้องชัดเจน ใช้ง่าย ไม่กำกวมและอ่านง่าย • ขนาดตัวอักษรเหมาะสม อ่านง่าย อาจใช้ตัวใหญ่ผสมกับตัวเล็กบ้างจะอ่านง่ายกว่า • การเลือกใช้สีควรใช้สีที่ตัดกัน ไม่ควรใช้สีตรงกันข้ามของวงล้อสี เพราะอาจมีผลต่อสุขภาพของผู้ที่เข้ามาใช้
การให้ข้อมูลย้อนกลับ(Informative feedback) • ให้ข้อมูลชัดเจนว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหน เขาทำ อะไรอยู่ ทำแล้วรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและรู้ ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป • เครื่องมือง่ายต่อการใช้ • เห็นชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลง เมื่ออยู่ใน ระหว่างการใช้งาน
การนำไปใช้กับการศึกษาการนำไปใช้กับการศึกษา • ให้ข้อมูลในส่วนของเนื้อหารายวิชาชัดเจน • มีการใช้ metaphorคือการทำให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนอยู่ในสถานที่จริง เช่น คลิกเพื่อจุดไฟแล้ว มีภาพไฟปรากฏขึ้นมา • ต้องนำเสนอรายวิชาในลักษณะที่แปลกใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์และใช้งานได้จริง • จำเป็นหรือเหมาะกับผู้เรียน
Learner Centered Design • คือการออกแบบศูนย์การเรียนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหารายวิชาและสามารถจัดการกับความรู้นั้นๆได้ โดยในส่วนของผู้สอนจะมีการทำต้นแบบ(prototype)ซึ่งต้นแบบนี้ ก็จะมีการทำ scriptและstoryboard
MUVEMulti - user virtual environment • คือ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างสิ่งแวด- ล้อมที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ เหมือนเข้าไปอยู่ในโลกสมมุติ โดยอาจจะมีลักษณะเป็น 2มิติหรือ 3 มิติ
การใช้โลกสมมุติ (virtual) • ช่วยทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เราสามารถสร้างสถานการณ์จำลองทางวิทยาศาสตร์แล้วให้นักศึกษาเข้าไปค้นหา หรือเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยให้นักศึกษาเข้าถึงบทเรียนมากขึ้น เช่น การใช้ video ซึ่งสามารถโหลดมาจาก www.youtube.comได้หรือการสอนโดยใช้ voicethread(www.voicethread.com) โดยเราสามารถใส่ข้อมูลที่เป็น word documentหรือภาพ
การใช้โลกสมมุติ(virtual) • หรือ video ได้พร้อมทั้งบันทึกเสียงพูด โดยผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนและแสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัยต่างๆ ได้ • หรือการใช้ blog (www.blogger.com)เพื่อเป็นช่องทางในการที่จะแชร์ข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้อ่าน • ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่จะใช้ในการออกแบบต้นแบบรายวิชาที่เราต้องการ ยังมีโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์อีกมากที่สามารถใช้ได้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม