1 / 18

การประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Economic Valuation)

การประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Economic Valuation). 22 กุมภาพันธ์ 2552 ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ. ลักษณะสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม. สินค้าและบริการทางสิ่งแวดล้อมเป็นถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีตลาด จึงไม่ทราบมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งแวดล้อม

Download Presentation

การประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Economic Valuation)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Economic Valuation) 22 กุมภาพันธ์ 2552 ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ ศศิธร สุวรรณเทพ

  2. ลักษณะสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อมลักษณะสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม • สินค้าและบริการทางสิ่งแวดล้อมเป็นถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีตลาด • จึงไม่ทราบมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งแวดล้อม • มีลักษณะเป็นสินค้าที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าใช้ประโยชน์ และไม่สามารถกีดกันผู้อื่นได้ • ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจะวางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาในการตัดสินใจ ศศิธร สุวรรณเทพ

  3. ค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อมค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อม • นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำนักลอนดอน ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม • แนวคิด “ค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมด”(Total Economic Value: TEV) ศศิธร สุวรรณเทพ

  4. ค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมด (Total Economic Valuation: TEV) ค่าสำหรับการไม่ใช้สอย (Non use value) ค่าสำหรับการใช้สอย (Use Value) ค่าใช้สอยโดยตรง (Direct use value) ค่าใช้สอยในอนาคต (Optional use value) ค่าใช้สอยโดยอ้อม (Indirect use value) คุณค่าคงอยู่ (Existence values) คุณค่าที่เป็นมรดก (Bequest value) ศศิธร สุวรรณเทพ

  5. ค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อมค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อม • ค่าใช้สอยโดยตรง: ค่าที่เกิดจากการทำธุรกิจหรือเกิดจากผลผลิตโดยตรง เช่น รายได้จากการทำป่าไม้ รายได้จากการขายปลา เป็นต้น • ค่าใช้สอยโดยอ้อม: ผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดจากการมีทรัพยากรดังกล่าว เช่น ป่าไม้ให้ผลประโยชน์ทางอ้อมคือ การพักผ่อน ศศิธร สุวรรณเทพ

  6. ค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อมค่าทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อม • ค่าใช้สอยสำหรับอนาคต: เป็นการคงประโยชน์เอาไว้เพื่อใช้ในอนาคต ไม่ใช่เพื่อประโยชน์เชิงธุรกิจ แต่เป็นเพื่ออนุรักษ์ • คุณค่าคงอยู่: เป็นการมองคุณค่าของการดำรงอยู่ของธรรมชาติ เป็นการเคารพสิทธิของสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ เพื่อให้ระบบนิเวศยังดำรงอยู่ • คุณค่าที่เป็นมรดก: เป็นการมองคุณค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไว้เพื่อลูกหลานในอนาคต เพื่อเป็นมรดกให้แก่ชนในอนาคต ศศิธร สุวรรณเทพ

  7. เทคนิคที่ใช้ในการประเมินค่าสิ่งแวดล้อมเทคนิคที่ใช้ในการประเมินค่าสิ่งแวดล้อม หลักในการประเมินค่าสิ่งแวดล้อมจะพิจารณาจาก • Revealed Preference Methods เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของปัจเจกชน โดยสังเกตจากพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร และนำมาสัมพันธ์กับคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลข้างเคียงผลที่เปิดเผยออกมาจะแสดงถึงความชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ศศิธร สุวรรณเทพ

  8. เทคนิคที่ใช้ในการประเมินค่าสิ่งแวดล้อมเทคนิคที่ใช้ในการประเมินค่าสิ่งแวดล้อม • Expressed Preference Methods: เป็นการสอบถามบุคคลโดยตรง ว่ามีความชอบมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยให้แสดงออกมาอย่างเปิดเผยว่า สิ่งแวดล้อมนั้นๆมีค่ามากน้อยแค่ไหนสำหรับเขา และเขาเต็มใจจะจ่ายมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้สิ่งแวดล้อมนั้นคงอยู่ ศศิธร สุวรรณเทพ

  9. หลักการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมหลักการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม • การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) • การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact Analysis) • การวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม (Regulatory Impact Analysis: RIA) • การวิเคราะห์ประสิทธิผล (Cost-effective Analysis) ศศิธร สุวรรณเทพ

  10. หลักการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมหลักการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม • การประเมินความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Damage Assessment) • การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ (Cost Benefit Analysis) • การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ศศิธร สุวรรณเทพ

  11. การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) • การพิจารณาว่า นโยบายหรือโครงการที่นำเสนอมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งนำเสนอทางออกที่จะแก้ปัญหา ศศิธร สุวรรณเทพ

  12. การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact Analysis) • เป็นการมองว่า การตัดสินใจบางอย่าง เช่น การออกกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร เพราะบางครั้งนโยบายที่เข้มงวดอาจทำเศรษฐกิจ หยุดชะงัก เช่น สหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบันใน Kyoto Protocol เพราะเกรงว่าจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ศศิธร สุวรรณเทพ

  13. การวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม (Regulatory Impact Analysis: RIA) • เป็นการพิจารณามาตรการที่ควบคุมที่จะนำมาใช้ ก่อให้เกิดต้นทุน หรือผลประโยชน์อย่างไร เช่น ถ้ารัฐบาลต้องการนำเสนอให้ยกเลิกการใช้ CFC รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่า การใช้สารทดแทนตัวใหม่จะเพิ่มต้นทุนการผลิตหรือไม่ และประโยชน์ที่ได้รับจากการลดการใช้สาร CFC คืออะไร ศศิธร สุวรรณเทพ

  14. การวิเคราะห์ประสิทธิผล (Cost-effective Analysis) • การวิเคราะห์วิธีนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราต้องการบรรลุเป้าหมายในการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อม เราจะมีแนวทางกี่แบบ แบบใดที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด เช่น ถ้าเราต้องการลดการปล่อย Greenhouse gas เราสามารถทำได้หลายวิธีเช่น • การกำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ • การใช้พลังงานทางเลือก ศศิธร สุวรรณเทพ

  15. การประเมินความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Damage Assessment) • การประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามค่าที่ประเมินได้ เช่น การปล่อยน้ำเสียลงทะเลสาบ ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ทะเลสาบได้ ไม่สามารถพักผ่อนหย่อนใจ หรือประกอบอาชีพได้ ผู้ปล่อยน้ำเสียต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว โดยตั้งอยู่บนฐานของการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม ศศิธร สุวรรณเทพ

  16. การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์(Cost Benefit Analysis) • เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจของรัฐบาล โดยการนำผลประโยชน์ที่เกิดจากการออกนโยบาย มาเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว เช่น การสร้างเขื่อน กลุ่มผู้สนับสนุนจะพูดถึงเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดจากเขื่อน (ประโยชน์จากการผลิตกระแสไฟฟ้า ประโยชน์ด้านการชลประทาน เป็นต้น) ผู้คัดค้านจะกล่าวเฉพาะต้นทุน (การสูญเสียผืนป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น) ศศิธร สุวรรณเทพ

  17. การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) • เนื่องจากเราไม่ทราบแน่นอนว่าจะเกิดอะไรบ้างในอนาคต ทั้งในแง่ของต้นทุน และผลประโยชน์ สิ่งที่เรามีคือข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นผู้ทำนโยบายต้องพยายามที่จะหาแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะครอบคลุมการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) และการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อให้โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดหรือเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้น ถ้าหากเรามีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนสูงมาก เราควรยึดหลักหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Aversion) ศศิธร สุวรรณเทพ

  18. สรุป • ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้วางนโยบายจำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารครบถ้วน เพื่อที่จะสามารถนำมาประกอบพิจารณาทางเลือกนโยบาย โดยใช้หลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวข้างต้น เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ศศิธร สุวรรณเทพ

More Related