1.11k likes | 4.28k Views
การเรียนรู้แบบร่วมมือ COOPERATIVE LEARNING. โดย รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ INSTRUCTIONAL MODELS OF COOPERATIVE LEARNING. ทฤษฎีหลัก / หลักการ / แนวคิด
E N D
การเรียนรู้แบบร่วมมือCOOPERATIVE LEARNING โดย รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือINSTRUCTIONAL MODELS OF COOPERATIVE LEARNING • ทฤษฎีหลัก / หลักการ / แนวคิด • ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือของ Johnson & Johnson 5 ประการ คือ (1) หลักการพึ่งพากันทางบวก (positive interdependence) (2) การปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด (face to face interaction) (3) การใช้ทักษะทางสังคม (social skills) (4) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing) และ (5) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (individual accountability) • วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนช่วยเหลือกันและกัน ในการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้จากผู้อื่น สามารถเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ที่ดี รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา และอื่นๆ
รูปแบบต่าง ๆ ของการเรียนแบบร่วมมือ JIGSAW ( I และ II ) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มโดยคละความสามารถ เก่ง – กลาง - อ่อน • กลุ่ม Home Group ศึกษาเนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้ • JIGSAW I ผู้เรียนจะได้เนื้อหา / ข้อมูลต่างกัน • JIGSAW II ผู้เรียนจะได้เนื้อหา / ข้อมูลเหมือนกัน • สมาชิกใน Home Group แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็น Expert Group ในเรื่องนั้น และอภิปรายทำความเข้าใจเรื่องนั้น ตามประเด็นที่ครูมอบให้ • สมาชิก Expert Group กลับ Home Group และสอนสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้สมาชิก Home Group ฟัง • ทดสอบทุกคนในกลุ่ม นำคะแนนของทุกคนมารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มคะแนนสูงสุดได้รางวัล
STUDENT TEAMS – ACHIEVEMENT DIVISION(STAD) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ เก่ง – กลาง - อ่อน • กลุ่ม Home Group ศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน • ทุกคนทำแบบทดสอบ final และนำคะแนนไปหา improvement score คะแนนพื้นฐาน: ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลาย ๆ ครั้งที่นักเรียนแต่ละคนทำได้ คะแนนที่ได้ : นำคะแนนทดสอบครั้งสุดท้าย (final) – คะแนนพื้นฐาน คะแนนปรับปรุง : ถ้าคะแนนที่ได้ -11 ขึ้นไป ได้ 0 (improvement points) -1-10 ได้ 10 +01-10 ได้ 20 +11 ขึ้นไปได้ 30 • นำ improvement points ของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม
TEAM – ASSISTED INDIVIDUALIZATION(TAI) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ เก่ง – กลาง – อ่อน • กลุ่ม Home Group ศึกษาสาระร่วมกัน • ผู้เรียนใน Home Group จับคู่กันทำแบบฝึกหัด • ถ้าทำได้ 75% ขึ้นไป ไปทดสอบ final ได้ • ถ้ายังทำไม่ถึง 75% ทำแบบฝึกหัดซ่อมจนกระทั่งได้ แล้วจึงไป final • ทดสอบรายบุคคล • นำคะแนนรายบุคคลมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม
LEARNING TOGETHER(LT) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ เก่ง – กลาง – อ่อน • กลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดยแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ช่วยกลุ่มในการเรียนรู้ เช่น สมาชิกคนที่ 1 : อ่านคำสั่ง 2 : หาคำตอบ 3 : หาคำตอบ 4 : ตรวจคำตอบ • กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกัน ส่งคำตอบเป็นผลงานกลุ่ม • คะแนนผลงานกลุ่มได้เท่าไร สมาชิกทุกคนได้เท่ากัน
GROUP INVESTIGATION(GI) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ เก่ง – กลาง – อ่อน • กลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย - แบ่งเนื้อหาสาระเป็นหัวข้อย่อยๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาคำตอบมาให้กลุ่ม - ให้ผู้เรียนอ่อนเลือกหัวข้อก่อน • แต่ละคนนำคำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายสรุป • เสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน
TEAMS – GAMES – TOURNAMENTS(TGT) • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ เก่ง – กลาง - อ่อน • กลุ่ม Home Group ศึกษาเนื้อหาร่วมกัน • กลุ่ม Home Group ส่งสมาชิกไปแข่งขันกับกลุ่มอื่น โดยจัดกลุ่มแข่งขันเป็นกลุ่มละ 4 คน ให้เป็นกลุ่มตามความสามารถ การแข่งขัน : แข่งขันตอบคำถาม 10 คำถาม • เริ่มคนแรกจับคำถาม – อ่านคำถามให้กลุ่มฟัง • เวียนซ้ายให้คนแรกตอบก่อน แล้วให้คนที่ 2 – 3 ตอบ • เมื่อตอบครบแล้ว เปิดคำตอบ • ให้คะแนน ผู้ตอบถูกคนแรกได้ 2 คะแนน ผู้ตอบถูกคนต่อไปได้ 1 คะแนน ผู้ตอบผิดได้ 0 คะแนน • คนที่ 2 จับคำถามที่ 2 และเล่นเหมือนคนแรกต่อๆ ไปจนหมดคำถาม • ทุกคนรวมคะแนนของตนเอง ผู้ได้คะแนนสูงอันดับ 1 ได้ Bonus 10 คะแนน 2 ได้ Bonus 8 คะแนน 3 ได้ Bonus 5 คะแนน 4 ได้ Bonus 4 คะแนน • สมาชิกกลุ่มแข่งขันเสร็จ กลับ Home Group และรวมคะแนนที่แต่ละคนได้เป็นคะแนนของกลุ่ม
TGT Variation การแข่งขัน • ผู้แข่งขันคนที่ 1 อ่านคำถาม แล้วตอบคำถามใครไม่เห็นด้วย ให้วางบัตรของตนเอง (รอบแรก ถ้ายังไม่มีบัตรให้ติดไว้ก่อน) เป็นการท้าทายแล้วให้ตอบใหม่ • คนต่อไปก็ทำเช่นกัน ถ้าเห็นด้วยไม่ต้องวางบัตรสนับสนุนในใจ • ถ้าผู้ทำตอบผิด ต้องเสียบัตรแก่ผู้อ่าน - ตอบคำถาม • ถ้าผู้อ่าน – ตอบคำถามผิด ต้องเสียบัตรให้แก่ผู้ท้าที่ตอบถูก • ผู้ท้าอื่นๆ ที่ตอบผิด ต้องให้บัตรแก่ผู้ท้าที่ตอบถูก • ถ้าตอบผิดทุกคน ทุกคนต้องคืนบัตรไว้กองกลาง • คิดคะแนนตามตารางโบนัส สำหรับผู้เล่น 4 คน / 3 คน / 2 คน • ผู้แข่งขันกลับ Home Group แล้วนำคะแนนโบนัสของแต่ละคนใส่ลงในตาราง Team Summary Sheet เป็นคะแนนกลุ่ม
CO-OP LEARNING TECHNIQUES • THINK-PAIR-SHARE : คิด-จับคู่ –แลกเปลี่ยน • FORMULATE-SHARE-LISTEN-CREATE: คิดหาคำตอบเป็นรายบุคคล เล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนรับฟัง อภิปรายหาคำตอบร่วมกัน • SAY AND SWITCH คนที่1 แสดงความคิดเห็น คนที่2 รับฟัง แล้วตอบสนองต่อความคิดเห็นของ คนที่1 ต่อไปจึงแสดงความคิดเห็นของตน คนที่1 รับฟัง แล้วตอบสนองต่อความคิดเห็นของ คนที่2 ต่อไปจึงแสดงความคิดเห็นของตน
CO-OP LEARNING TECHNIQUES (ต่อ) • ROUND TABLE คนที่1 เริ่มเขียนให้ข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นในกระดาษ แล้วส่งให้ คนที่2 ด้านซ้ายมือ คนที่2 เขียนต่อจากคนที่ 1 ใช้ปากกาสีอื่น แล้วส่งต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน • ROUND ROBIN เหมือนกับ ROUND TABLE แต่ใช้การพูดแทนการเขียน คนที่ 1 นำเสนอข้อมูล/ ความคิดเห็น ด้วยวาจา แก่ คนที่ 2 ซึ่งอยู่ถัดไป คนที่ 2 แสดงความเห็น/ ให้ข้อมูล ต่อจากคนที่ 1 แต่คนที่ 3 ซึ่งอยู่ถัดไป ทำต่อกันไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน หรือ เมื่อเห็นว่า ได้ข้อมูลเพียงพอ
CO-OP LEARNING TECHNIQUES (ต่อ) • CORNERS • ครูกำหนดประเด็นอภิปรายที่แตกต่างกันในหัวข้อเรื่องเดียวกัน ติดไว้ที่มุมต่างๆ ความเหมาะสม โดยอาจมีคำถามเสริมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น • ผู้เรียนเลือกเข้ามุมอภิปรายที่ตนสนใจ • ผู้เรียนจับคู่อภิปราย และร่วมกันตอบคำถามเสริม ซึ่งครูจัดไว้ให้ตามมุม • ครูสุ่มสมาชิกจากมุมต่างๆ มารายงานผล • GRAFFITI • แบ่งกลุ่มย่อย • สมาชิกกลุ่มย่อยได้รับกระดาษ และปากกาเมจิก • ครูให้คำถามที่แตกต่างกันแต่ละกลุ่ม • สมาชิกกลุ่มย่อยช่วยกันเขียนคำตอบ แล้วส่งกระดาษคำตอบให้กลุ่มอื่นทำต่อ เวียนไปจนครบทุกกลุ่ม
CO-OP LEARNING TECHNIQUES (ต่อ) • JIGSAW • COOPERATIVE GROUP (HOME GROUP) แจกงานและสื่ออุปกรณ์ • EXPERT GROUP ศึกษา • COOPERATIVE GROUP (HOME GROUP) สอนและตรวจสอบ • FISH BOWL • จัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงกลม 2 วงซ้อน จำนวนสมาชิกเท่ากัน • ให้คนวงนอกจับคู่สังเกตคนวงใน • ให้วงในอภิปรายแสดงความคิดเห็น คนวงนอก สังเกตและบันทึก ความคิดเห็นและพฤติกรรมของคู่ที่ตนสังเกต • เมื่อวงในอภิปรายเสร็จ ให้เปลี่ยนที่ให้คนวงนอกเข้ามานั่งแทน • คนวงนอกที่เข้ามาเป็นคนวงใน ให้ข้อสังเกตและแสดงความคิดเห็นต่อการอภิปรายของคนที่ตนสังเกต • ต่อไป กลุ่มวงในอภิปราย โดยกลุ่มวงนอกสังเกต • เมื่อกลุ่มวงในอภิปรายเสร็จ กลุ่มวงนอกรายงานผลการสังเกต และแสดงความคิดเห็น
การจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้แบบร่วมมือ(CO – OPERATIVE LEARNING) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการเรียนรู้ • จัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลัก 5 ประการ • บูรณาการการสอน และฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ • ใช้รูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ • ใช้เทคนิคกลุ่ม • เป็นการเรียนรู้ในกลุ่มย่อยที่มีลักษณะ • พึ่งพาอาศัยกัน (Positive Interdependence) • มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด (Face to face Promotive Interaction) • มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Individual Accountability) • มีการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม (Small group Skills) • มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) • ทักษะการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ • ความสัมพันธ์ที่ดี การพึ่งพาอาศัยกัน การเห็นประโยชน์ส่วนร่วม • ทักษะทางสังคม - การสื่อสาร -การปฏิสัมพันธ์ -การแก้ปัญหา • ทักษะการเรียนรู้ -การแสวงหาความรู้ -การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -การใช้กระบวนการทางปัญญา • คุณลักษณะ • ผลสัมฤทธิ์ (ผลงาน) • JIGSAW • T.A.I • LT. • TGT • STAD • CIRC • Co–op Co–op • Complex Instruction • Round Robin • Round Table • Rally Robin • Numbered • Think–Pair–Share • Fish Bowl • มีแรงจูงใจ • ใฝ่รู้ ใฝ่สัมฤทธิ์ • ใจกว้าง • มีเหตุผล • เอื้อเฟื้อ • เสียสละ • ช่วยเหลือ • ช่างคิด