1 / 17

อินเตอร์เน็ต (Internet)

อินเตอร์เน็ต (Internet). ความหมาย. อินเทอร์เน็ต ( Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)

Download Presentation

อินเตอร์เน็ต (Internet)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อินเตอร์เน็ต (Internet)

  2. ความหมาย อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

  3. ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET(Advanced ResearchProjects Agency NETwork)ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

  4. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร

  5. จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า “เครือข่ายไทยสาร”

  6. การแทนชื่อและที่อยู่ของคอมพิวเตอร์การแทนชื่อและที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ URL ในแถบ Address bar URL ในแถบ Address bar จะแทนที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมาจากการแทนชื่อและที่อยู่ให้แก่คอมพิวเตอร์ด้วยมาตรฐานการสื่อสารเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

  7. IP Address และ Domain name การติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมอยู่ จะต้องมีหมายเลขเครื่องเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เหมือนกับทุกคนที่ต้องมีชื่อและนามสกุลให้คนอื่นเรียก ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ หมายเลขเครื่องดังกล่าวเรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address)เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เป็นตัวเลข 4 ชุด ที่มีจุดคั่น ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 เช่น 192.168.100.55

  8. IP Address และ Domain name แต่เนื่องจากหมายเลขไอพีจำได้ยาก จึงมีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ระบบชื่อโดเมนเนม(DNS: Domain Name System) เช่น www.acr.ac.th จะแทนค่าได้ว่า acr คือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์,ac คือชื่อโดเมนย่อย,th คือรหัสประเทศ IP Address แต่ละเครื่อง

  9. Domain Name แทนประเภทขององค์กร

  10. Domain Name ชื่อย่อของประเทศ

  11. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้

  12. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย

  13. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

  14. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com,yahoo.com,bing.com ฯลฯ เป็นต้น

  15. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต (Chat)จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์ แต่แตกต่างกันที่เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้วิธีการพิมพ์ข้อความตอบโต้กัน หรือพูดคุยผ่านไมโครโฟนและลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์

  16. บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ-ขายสินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากมายใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกิจ และให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจ และเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก

More Related