140 likes | 541 Views
Topic 11 เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน. ความหมายของเงินเฟ้อ. เงินเฟ้อ : ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำเป็นว่าราคา สินค้าทุกชนิดต้องสูงขึ้นในเวลาที่เกิดเงินเฟ้อ อาจมีสินค้าบางชนิดราคา
E N D
Topic 11เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน
ความหมายของเงินเฟ้อ เงินเฟ้อ: ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำเป็นว่าราคา สินค้าทุกชนิดต้องสูงขึ้นในเวลาที่เกิดเงินเฟ้อ อาจมีสินค้าบางชนิดราคา ราคาลดลงได้และบางชนิดราคาสูงขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่อพิจารณาราคทั้งหมดแล้วโดยเฉลี่ยมีราคาสูงขึ้น เราดูเงินเฟ้อได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index: CPI) ดัชนีราคา: ตัวเลขที่แสดงระดับราคาของปีได้ปีหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระดับราคาของปีฐาน โดยให้ระดับราคาของปีฐานเทียบเท่ากับ 100
ความหมายของเงินเฟ้อ (continued) • อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคที่คำนวณออกมาในรูปร้อยละ แสดถึงอัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) Inflation rate t = (CPIt – CPIt-1/ CPIt-1 )*100 Inflation rate 2007 = (CPI2007 – CPI2006/ CPI2006 )*100
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ 2.1 เงินเฟ้อด้านอุปสงค์ เป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น (AD)ในขณะที่อุปทานรวมของสินค้าและบริการไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ เงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์เรียกว่า Demand - Pull Inflation AD เพิ่มขึ้น เนื่องจาก - ส่วนประกอบของAD เพิ่มขึ้น คือ C , I , G , หรือ X เพิ่มขึ้น - ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Money Supply:MS) เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ (continued) How commercial bank create money supply? • Decrease interest rate (r) • Bank policy eg. expand credit line, adjust collateral Economy MS Increase: C, I, G, (X-M) through multipliers Bank Decrease r Price increase
การวิเคราะห์เงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์จากกราฟการวิเคราะห์เงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์จากกราฟ AS P E’ D F AD2 P’ AD2 P AD1 E AD1 Q 0 Yf Ya Qf รายได้ระดับที่จ้างงานเต็มที่ (P*Q,fixed) ผลผลิตสูงสุดที่มีการจ้างงานเต็มที่
2.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากสาเหตุด้านอุปทาน เป็นเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตจะต้องเสนอขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านอุปทานเรียกว่า Cost - Push Inflation • ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจาก 1. ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น (while productivity constant) • ราคาเชื้อเพลิงและวัตถุดิบสูงขึ้น • การเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรของผู้ผลิต • ต้นทุนของเงินทุน (Cost of fund) เพิ่มขึ้น : high interest rate
การวิเคราะห์เงินเฟ้อทางด้านอุปทานการวิเคราะห์เงินเฟ้อทางด้านอุปทาน P AS E’ P’ P E AD 0 Q Q’ Qf ผลการผลิตสูงสุดที่ระดับการจ้างงานเต็มที่
ผลกระทบของเงินเฟ้อ 1. อำนาจการซื้อลดลง 2. การออมและการลงทุนลดลง (High consumption in the current period) 3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น • บุคคลที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ เจ้าของกิจการ ผู้ผลิต นักเก็งกำไร ลูกหนี้ • บุคคลที่เสียประโยชน์ ผู้ที่มีรายได้ประจำ เจ้าหนี้ 4. การส่งออกของประเทศลดลง การนำเข้าเพิ่มขึ้น
การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ การแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะทำได้โดยลดอุปสงค์รวม (AD) ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง • นโยบายการคลัง: เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี และการใช้จ่าย ของรัฐบาล เมื่อเกิดเงินเฟ้อรัฐบาลควรมีงบประมาณเกินดุล • นโยบายการเงิน: เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เมื่อเกิดเงินเฟ้อธนาคารควรลดการปล่อยสินเชื่อ
เงินฝืด (Deflation) : ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากอุปสงค์มีน้อยกว่าปริมาณสินค้าทำให้สินค้าเหลือ ราคาสินค้าลดลง การผลิตลดลง การจ้างงานลดลง รายได้ลดลง • ผลของเงินฝืด : อำนาจซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น • ผู้ที่ได้ประโยชน์ : เจ้าหนี้ , ผู้มีรายได้ประจำ • ผู้ที่เสียประโยชน์ : ผู้ที่มีรายได้จากกำไร , ลูกหนี้ • การแก้ปัญหาเงินฝืด : ใช้นโยบายการเงิน การคลัง เพื่อกระตุ้นให้ อุปสงค์รวมสูงขึ้น
การว่างงาน (Unemployment) : ภาวะการณ์ที่บุคคลซึ่งอยู่ในวัยทำงาน (from 13 years) มีความสามารถที่จะทำงานและสมัครใจที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ จึงทำให้ไม่มีงานทำ เราถือว่าบุคคลเหล่านี้ว่างงานโดยไม่สมัครใจ(Involuntary Unemployment) • ประเภทของการว่างงาน 1. การว่างงานโดยเปิดเผย (in survey period): temporary, seasonal 2. การว่างงานแอบแฝง หรือ การทำงานต่ำกว่าระดับ
ผลกระทบของการว่างงาน 1. การใช้ประโยชน์จากแรงงานไม่เต็มที่ 2. การออมและการลงทุนของประเทศลดลง 3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น 4. การคลังของรัฐบาลแย่ลง (T ลด, G เพิ่ม) • การแก้ใขปัญหาการว่างงาน แก้ปัญหาตามประเภทของการว่างงาน