300 likes | 808 Views
ระบบต่อไร้ท่อ (Endocrine gland). ต่อมไร้ท่อ คือ. ระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine System) ต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Gland) หมายถึงต่อมไม่มีท่อ สิ่งที่หลั่งจากต่อมเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรงไม่ต้องผ่านท่อ
E N D
ต่อมไร้ท่อ คือ ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland)หมายถึงต่อมไม่มีท่อ สิ่งที่หลั่งจากต่อมเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรงไม่ต้องผ่านท่อ ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน (Hormones) ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของ อวัยวะเป้าหมาย(Target Organ)ผลของมันอาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งก็ได้
ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ • ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) เป็นต่อมไร้ท่ออยู่เหนือสมอง อยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา มีขนาดเท่ากับเม็ดข้าวมีสีแดงปนน้ำตาล ในตอนกลางวันจะสร้างเซโรโตนิน กระตุ้นให้เราลุกตื่นขึ้น พอตกกลางคืนก็สร้าง เมลาโตนิน ให้เรารู้สึกง่วงนอน จึงเปรียบเสมือนนาฬิกาชีวภาพ *** นอกจาก เมลาโทนิน ยังทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ให้โตเร็วเกินไปในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์
ต่อมใต้สมอง(Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโพทาลามัส แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง และต่อมใต้สมองส่วนหลัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เองแต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด *** ต่อมใต้สมองเป็นหัวใจของต่อมไร้ท่อ เพราะควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมอื่อนๆ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า 1. โกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) มีหน้าที่สำคุญในการควบคุมการเจริญเติบโตทั่ว ไปของร่างกาย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โซมาโตโทรฟิน (Somatotrophin) หากมีมากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายสูงผิดปกติหรือสภาพร่างยักษ์ (Gigantism) หากขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระหรือสภาพแคระ (Dwarfism) หากในวัยผู้ใหญ่ GH จะทำให้มีอาการ ผอม แห้ง หรือ Simmond’s Disease ถ้าหาก GH มาก ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดูกตามแขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้มยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ น้วเท้า เรียกลักษณะดังนี้ว่า Acromegaly
2.โกนาโดโทรฟิน (gonadotrophin) ประกอบด้วย ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (FSH)และ ลูทิไนซิงฮอร์โมน (LH) - FSH ชาย : สร้างอสุจิ หญิง : สร้างไข่ ขณะที่ไข่เจริญจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) - LH ชาย : สร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) หญิง : จะกระตุ้นการตกไข่และเกิดคอร์ปัสลูเทียม คอร์ปัสลูเทียมจะสร้าง ฮอร์โมนชื่อ Progesterone Progesterone เป็นฮอร์โมนเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
3.โพรแลกทิน (Prolactin) กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนม เพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด 4.อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (Adrenocorticotrophin) ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ 5.ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (Thyroid Stimulating Hormone) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนเป็นปกติ **ถ้ากระตุ้นมากจะทำให้เป็นโรค คอพอก 6.เอนดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ช่วยเพิ่มความตื่นตัวมีชีวิตชีวาและมีความสุข 7.MSH (Melanocyte Stimulation Hormone)ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสี เมลานิน ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจาย ของเมลานิน ในเมลาโนไซท์ ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลังฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง 1.วาโซเพรสซิน (Vasopressin) ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับน้ำของท่อหน่วยไตและกระตุ้นให้หลอดเลือดอาร์เตอรีหดตัว **แพทย์ใช้ฉีดหลังจากการผ่าตัด 2.ออกซิโทซิน (Oxytocin) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่มดลูกบีบตัว จึงเป็นฮอร์โมนที่แพทย์ฉีดเพือช่วยในการคลอกลูกของมารดาที่มีฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ฮอร์โมนชนิดนี้ยังกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบๆ ต่อมน้ำนมให้หดตัวเพื่อขับน้ำนมออกมาเลี้ยงลูกอ่อน
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)ของคนจัดว่าเป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ต่อมหนึ่งอยู่ติดกับบริเวณกล่องเสียงมีลักษณะเป็นพู 2 พู และมีเนื้อเยื่อของต่อมพาราไทรอยด์ติดอยู่ทางด้านหลังข้างละ 2 ต่อม ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนชื่อว่า ไทรอกซิน (Thyroxin) ซึ่งมีไอโดดีนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยและพบว่าแหล่งที่สร้างไทรอกซินในต่อมไทรรอยด์คือ กลุ่มเซลล์จำนวนมาก แต่ละกลุ่มเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ที่มีความหนาแน่นเพียงชั้นเดียวและมีช่องตรงกลาง เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (Thyroid Follicle)ทำหน้าที่สร้างไทรอกซินแล้วปล่อยเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด
ต่อมไทรอยด์ของคนบางคนสร้างไทรอกซินได้น้อยกว่าคนปกติและพบว่าการที่ร่างกายผลิตไทรอกซินได้น้อยจะแสดงผลในผู่ป่วยที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน ต่อมไทรอยด์ของคนบางคนสร้างไทรอกซินได้น้อยกว่าคนปกติและพบว่าการที่ร่างกายผลิตไทรอกซินได้น้อยจะแสดงผลในผู่ป่วยที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน วัยเด็ก : ขาดฮอร์โมนชนิดนีเจะมีผลต่อการพัฒนาการของร่างกายและ สมองด้อยลง ทำให้ร่างกายแคระ แขนสั้น ขาสั้น การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติและปัญญาอ่อน กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า เครทินิซึม (Cretinism) ภาพ ก. วัยผู้ใหญ่ : ขาดฮอร์โมนไทรอกซินจะทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ทนความหนาวไม่ได้ กล้ามเนื่ออ่อนแรง มีอาการซึม เฉื่อยชาและความจำเสื่อม กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า มิกซีดีมา (Myxedema)ภาพ ข.
สำหรับโรคคอพอกที่เกิดจากการขาดไอโอดีน ทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างไทรอกซินได้จะมีอาการเหมือนมิกซีดีมาแต่มีลักษณะคอโตด้วย เนื่องจากเมื่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง TSHมากระตุ้นต่อมไทรอยด์มากเกินไป โดยที่ต่อมนี้ไม่สามารถสร้างไทรอกซินออกไปยับยั้งการหลั่ง TSHจากต่อมใต้สมองได้ จะทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายขนาดผิดปกติ โรคคอพอกอีกชนิดหนึ่งคือ โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic Goiter) เนื่องจากต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ผู้เป็นโรคนี้คอจะไม่โตมากนักแต่บากคนอาจมีอาการตาโปนด้วย
แคลซิโทนิน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างจากต่อมไทรอยด์ แต่สร้างจากกลุ่มเซลล์ที่มีต้นกำเนิดต่างจากไทรอยด์ฟอลลิเคิลเรียกเซลล์เหล่านี้ว่า เซลล์ซี (C-cell) ฮอร์โมนนี้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน D
ต่อมพาราไทรอยด์ : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) คือ พาราทอร์โมน (Para hormone) ต่อมนี้มีความสำคัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเม่านั้น ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดให้คงที่ ถ้าต่อมนี้สร้างพาราทอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้การดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไตและการสลายแคลเซียมจากกระดูกน้อยลง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและชักกระตูก การบีบของหัวใจอ่อนลง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนมากเกินไปจะมีการสลายแคลเซียมจากฟันและกระดูกมายังกระแสเลือด ทำให้แคลเซียมในเลือดสูง กระดูกบาง ฟันผุและหักง่าย
ตับอ่อน ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้ 1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ 2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
ความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนของตับอ่อนที่พบบ่อยคือการเป็นโรคเบาหวานจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ อาการของคนที่เป็นโรคนี้ทั่วไปคือ ปัสสาวะมากและบ่อยครั้ง ทำให้กระหายน้ำมากผิดปกติ น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เซื่องซึม เมื่อยล้า มองภาพไม่ชัดและติดเชื้อง่าย อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานดังกล่าวเกิดจากเซลล์ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประสิทธิภาพของตับในการเก็บกลูโคสไว้ในรูปไกลโคเจนลดลงทำให้หลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงมากเป็นเวลานานจนร่างกายต้องกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ เบาหวานแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบแรก เกิดจากตับอ่อนไม่สามรถสร้างอินซูลินได้ 2. แบบที่สอง สาเหตุมาจากตับอ่อนของผู้ป่วยสร้าง อินซูลินได้ปกติแต่รับอินซูลินผิดปกติ อินซูลินจึง ทำงานไม่ได้
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ต่อมหมวกไต แบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมหมวกไตส่วนนอก(Adrenal Cortex) และต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal Medulla)
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก 1) กลูโคคอร์ติคอย (Glucocorticids) ทำหน้าที่หลักในการควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างของฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ คอร์ติซอล (Cortisol) มีหน้าที่สำคุญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดอะมิโนและกรดไขมันเป็นคาร์โบไฮเดรตและสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน การมีกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป ทำให้เกิดอาการ คูชชิง (Cushing’s Syndrome) ผู้ป่วยมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ลิพิดและโปรตีน ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากสลายโปรตีนและลิพิดตามบริเวณแขนขา ขณะที่มีการสะสมลิพิดบริเวณแกนกลางของลำตัว ทำให้หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ บริเวณคอมีหนอก
2) นิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoids)มีหน้าที่ควบคุมดุลดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ แอลโดสเทอโรนซึ่งควบคุมการทำงานของไตในการดูดกลับน้ำและโซเดียมเข้าสู่หลอดเลือดและขับโพแทสเซียมออกจากท่หน่วยไตให้สมดุลกับความต้องการของร่างกาย 3) ฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone) ในภาวะปกติฮอร์โมนเพศที่สร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอกมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศที่สร้างจากอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตามถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเพศมากเกินปกติ โดยเด็กจะแสดงอาการเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น ถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็นโรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) ร่างกายจะไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน ต่อมหมวกไตส่วนในสร้างฮอร์โมนได้ 2 ชนิด ได้แก่ อะดรีนาลีน (Adrenaline) และ นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ ออกฤทธิ์เหมือนกัน มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง 1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogenในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด 2)Noradrenline hormone หรือ Norepinephrine hormoneกระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalinแต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
อวัยวะเพศ ได้แก่ อัณฑะ(Testis) และรังไข่ (Ovary) เพศชาย : ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำ หน้าที่หลายอย่างคือ 1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์ 2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น 3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์ 4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย เพศหญิง : ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen)และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone)ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต
ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกไม่ได้รับการผสมจากอสุจิ คอร์ปัสลูเทียมจะเปลี่ยนแปลงและหยุดสร้างโพรเจสเทอโรน ทำให้ผนังมดลูกสลายตัวถูกขับออกจากมดลูกเรียกว่า ประจำเดือน (Menstruation) Progesterone // Estrogen จะสูงหลังตกไข่ FSH // Estrogen // LH จะสูงก่อนตกไข่
รก : หลังจากเอมบริโอฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว เซลล์ของรก (Placenta) จะเริ่มหลั่งฮอร์โมนชื่อ ฮิวแมนคิริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotrophin ; HCG) เพื่อกระตุ้นคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ให้เจริญต่อไปและสร้างโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึ้น ***HCGใช้ตรวจการตั้งครรภ์ • ไทมัส(Thymus) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นพู มีตำแหน่งอยู่ระหว่างกระดูกอกกับหลิดเลือดใหญ่ผ่านหัวใจ มีหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวคือลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที กการแบ่งเซลล์หรือพัฒนาการของลิมโพไซต์ชนิดที่อาศัยไทโมซิน (Thymosin) ดังนั้นไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างถูมิคุ้มกันของร่างกาย • กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก : ฮอร์โมนที่พบในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมี 3 ชนิด คือ 1) แกสตริน (Gastrin) สร้างจากกระเพาะอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งเอมไซม์และ กรดไฮโดรคลอลิก 2) ซีครีทิน (Secretin) สร้างจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ขณะอาหารที่มีความเป็นกรดจากกระเพาะอาหารผ่านเข้าไป ซีครีทินจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต 3) คอลีซิสโตไคนิน (Cholecystokinin) สร้างจากดูโอดีนัม กระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดีและตับอ่อนให้หลั่งเอมไซม์