1 / 50

ระบบสากลการจำแนกประเภท และการติดฉลากสารเคมี GHS Globally Harmonized System of

ระบบสากลการจำแนกประเภท และการติดฉลากสารเคมี GHS Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals การประชุมสัมมนาระดับชาติ เรื่อง GHS การพัฒนาศักยภาพขอประเทศไทยในการจัดการสารเคมีตามระบบสากล โดย นายพร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา บริษัท อีแพ็ค จำกัด

nituna
Download Presentation

ระบบสากลการจำแนกประเภท และการติดฉลากสารเคมี GHS Globally Harmonized System of

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสากลการจำแนกประเภทระบบสากลการจำแนกประเภท และการติดฉลากสารเคมี GHS Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals การประชุมสัมมนาระดับชาติ เรื่อง GHS การพัฒนาศักยภาพขอประเทศไทยในการจัดการสารเคมีตามระบบสากล โดย นายพร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา บริษัท อีแพ็ค จำกัด E-mail: phromphron@teric.net ณ โรงแรมมิราเคิล เซอร์ เจมส์ ลอดจ์ จังหวัดสระบุรี วันอังคารที่16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

  2. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก(Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals – GHS) 1. บทนำ GHS- เป็นระบบการจำแนกและการจัดทำสลากสารเคมีที่ผ่านการปรับประสานกันทั่วโลกมาแล้วโดยเป็นระบบที่เกิดขึ้นตามข้อกำหนดของสหประชาชาติซึ่งมีขอบข่ายของระบบ GHS ที่ครอบคลุมสารเคมีอันตรายทุกชนิดสารละลายเจือจาง (Dilute Solutions) และสารผสม (Mixture) ของสารเคมีแต่ไม่เกี่ยวข้องกับเภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) สารเติมแต่งในอาหาร (Food Additives) เครื่องสำอางและสารป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในอาหาร (Pesticide residues in food) ณจุดที่มีการนำสิ่งของดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจ (at the point of intentional intake) GHS for FDA

  3. ตัวอย่างจำนวนหัวข้อของ MSDS ในแต่ละประเทศ GHS for FDA

  4. ตัวอย่างการจำแนกความเป็นอันตรายในแต่ละประเทศตัวอย่างการจำแนกความเป็นอันตรายในแต่ละประเทศ GHS for FDA

  5. ตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ในแต่ละประเทศตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ในแต่ละประเทศ GHS for FDA

  6. รูปสัญลักษณ์ของ GHS (GHS pictogram) ! GHS for FDA

  7. What is the GHS? GHS for FDA

  8. สาร/สารผสม การจำแนกความเป็นอันตราย ความเป็นอันตรายทางกายภาพ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การสื่อสารความเป็นอันตรายไปยังกลุ่มเป้าหมาย ฉลาก เอกสารข้อมูลความปลอดภัย สาระสำคัญของระบบ GHS GHS for FDA

  9. วิธีการสื่อสารไปหากลุ่มเป้าหมายวิธีการสื่อสารไปหากลุ่มเป้าหมาย • การจัดทำเอกสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย (SDS - Safety Data Sheet)ตามการจำแนกความเป็นอันตรายทั้งทางกายภาพและความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งหมด 16 หัวข้อ • การจัดทำฉลาก (Labels) ของวัตถุอันตรายโดยจะต้องประกอบไปด้วยข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้ • ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product identifier) • ชื่อสารเคมี (Chemical Identify) • ชื่อผู้ผลิต (Supplier Identification) • ภาพจำลองแสดงถึงอันตราย (Symbols or Hazard pictograms) • คำสัญญาณ (Signal words) • ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statement) • ข้อสนเทศที่เป็นข้อควรระวัง (Precautionary Information) • ข้อสนเทศที่เป็นส่วนเสริมเพิ่มเติม (Supplemental information) GHS for FDA

  10. ปี พ.ศ. 2537 2538 2539 2540 2541 ปริมาณนำเข้า(ล้านตัน) 8.01 8.29 8.72 7.95* 7.57 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม • ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีมาจากประเทศต่างๆมากกว่า 20 ประเทศโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 8.1 ล้านตันในช่วงปี 2537 – 2541 โดยมีการนำเข้ามาใช้ในกิจการอุตสาหกรรมการเกษตรและการอุปโภคบริโภคคิดเป็นสัดส่วนโดยเฉลี่ยร้อยละ 60.4, 38.6, และ 1.0 ตามลำดับในพ.ศ. 2541 มีปริมาณการนำเข้าสารเคมีเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและการเกษตร 4.6 และ 2.9 ล้านตันในขณะที่มีการนำเข้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคเพียง 0.068 ล้านตัน • ตารางที่ 1ปริมาณการนำเข้าเคมีวัตถุปี 2537-2541 * ปี พ.ศ.2540 เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ที่มา : การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2540-2541 กระทรวงสาธารณสุข GHS for FDA

  11. ปริมาณนำเข้า(ล้านตัน) พ.ศ. อุตสาหกรรม การเกษตร อุปโภคบริโภค 2537 4.87 3.05 0.09 2538 5.02 3.19 0.08 2539 5.16 3.48 0.08 2540 4.82 3.03 0.10 2541 4.60 3.19 0.07 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตารางที่ 2ปริมาณการนำเข้าเคมีวัตถุด้านต่างๆตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 – 2541 ที่มา : การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2540-2541 กระทรวงสาธารณสุข GHS for FDA

  12. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตารางที่ 3 ปริมาณการนำเข้าเคมีวัตถุเพื่อการอุตสาหกรรม ปี 2541 รวม 4.6 ล้านตัน ที่มา : การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2540-2541 กระทรวงสาธารณสุข GHS for FDA

  13. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตารางที่ 4 สถิติปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย (มกราคม – ธันวาคมพ.ศ.2545 - 2546) เฉพาะที่มีหน่วย kg (กิโลกรัม) • ที่มา: http://www.chemtrack.org/Stat-Import.asp GHS for FDA

  14. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม • ตารางที่ 5 สรุปจำนวนรายการปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตรายตามบัญชีควบคุมพิกัดตอนที่ 25 – 30 จำแนกตามกฎหมายควบคุม • * ควบคุมตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย และ / หรือ พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ • ** รายการที่ไม่ซ้ำกัน • ที่มา: http://www.chemtrack.org/Stat-Import.asp GHS for FDA

  15. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม • 2.1 การควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในเบื้องต้นจะต้องทราบก่อนว่าสินค้านั้นนำมาใช้ในกิจการประเภทใด เช่นนำมาใช้ประโยชน์ในงานเกษตรกรรม เช่นเป็นปุ๋ย ยาฆ่าแมลงก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่นั่นคือกรมวิชาการเกษตรและกรมประมง หรือเป็นสินค้าที่นำมาใช้ในบ้านเรือน เช่นเป็นสินค้า อุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถ้าเป็นสินค้า ที่นำมา ใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนผสมในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานที่ดูแล ก็คือสำนักควบคุมวัตถุอันตราย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น กรมการอุตสาหกรรมทหาร กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน GHS for FDA

  16. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม การตรวจสอบในเบื้องต้น • หากไม่ทราบว่าสินค้าที่จะนำเข้ามาจะเป็นสินค้าอันตรายหรือวัตถุอันตรายหรือไม่ ให้ปฏิบัติดังนี้ • ก่อนจะนำเข้าสินค้าดังกล่าวให้สอบถามทางผู้ผลิตเสียก่อน โดยขอรายละเอียดของตัวสินค้าเช่นเอกสารข้อมูลด้านความปลอดภัยหรือ MSDS.(Material Safety Data Sheet) นำมาตรวจสอบก่อนกับ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ • หากตรวจสอบแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายหรือไม่ ให้ทำหนังสือ ขอหารือเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไปยังหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้อง ตามตารางที่ 2 • การทำหนังสือขอหารือฯให้สำเนาเอกสารประกอบการพิจารณาจำนวน 2 ชุด ( เอกสารแสดงส่วนผสมครบ 100 % และเอกสารคู่มือความปลอดภัย หรือ Material Safety Data Sheet) • เมื่อทราบแล้วว่าสินค้าดังกล่าว เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดแล้วให้ดำเนินการสอบถามถึงวิธีการ ขั้นตอน การดำเนินการต่างๆจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆต่อไป GHS for FDA

  17. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.1 เกณฑ์ที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใช้ในการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายในปัจจุบัน (ต่อ) พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แบ่งวัตถุอันตรายออกตามความจำเป็นแก่การควบคุมได้ 4 ชนิด (มาตรา 18 วรรคแรก) คือ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้อได้รับใบอนุญาต วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง การที่กฎหมายไทยแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิดดังกล่าวเป็นการแบ่งตามความจำเป็นในการควบคุมเพียงเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการบริหารเท่านั้น GHS for FDA

  18. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.1 เกณฑ์ที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใช้ในการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายในปัจจุบัน (ต่อ) - กฎระเบียบของไทยเกี่ยวกับการจัดทำฉลาก พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 - ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 “ฉลาก” หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับวัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ และหมายความรวมถึงเอกสาร หรือคู่มือประกอบการใช้วัตถุอันตรายด้วย - ในมาตรา 20(1) ให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเษกษา กำหนด....ฉลาก...หรือการอื่นใดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย เพื่อควบคุมป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายที่จะเกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงสนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศประกอบด้วย - ในการนี้ ตามความในมาตรา 20(2) รัฐมนตรีมีอำนาจ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (1) ในเรื่องฉลากนี้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่1 – 3 ต้องปฏิบัติตาม GHS for FDA

  19. พระราชบัญญัติ / ประกาศคณะปฏิวัติ พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (พ.ศ. 2530) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2515) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (พ.ศ. 2535) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับแรก (พ.ศ.2538) 1 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2543)2 ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2543)2 ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2544)3 (4ฉบับ) ประกาศกระทรวง (พ.ศ.2541) กำหนดชนิด ยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 (1 ฉบับ)4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2520) เรื่องความปลอดภัย ในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) (1 ฉบับ)5 ประกาศกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2534) เรื่องความปลอดภัย ในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) (1 ฉบับ)5 ประกาศ 4 กรมการอุตสาหกรรมทหาร หน่วยงานควบคุม 1 มีหน่วยงานควบคุม 4 หน่วยงาน คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมวิชาการ เกษตร กรมประมง และสำนักงานคณะ กรรมการอาหาร และยา 2 มีกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่รักษากฎหมายเพิ่มขึ้น * 3 มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานควบคุม ** 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงงาน * ตั้งแต่ตุลาคม 2545 กรมโยธาธิการ เปลี่ยนเป็น กรมธุรกิจพลังงาน สังกัดกระทรวงพลังงาน * * ตั้งแต่ตุลาคม 2545 สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เปลี่ยนเป็น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนภูมิที่ 1 พระราชบัญญัติ ประกาศเกี่ยวกับวัตถุอันตราย และหน่วยงานควบคุม GHS for FDA

  20. การเปรียบเทียบหัวข้อระหว่าง (M)SDS ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย และตามระบบ GHS (M)SDS ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย SDS ตามระบบ GHS 1.ข้อมูลทั่วไป 1.ชื่อสารเคมีและชื่อสารของผู้ผลิต 2.ส่วนผสม 2.ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย 3.คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี 3.ส่วนประกอบ/ข้อมูลของส่วนผสม 4.ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอันตราย 4.การปฐมพยาบาล 5.การปฐมพยาบาล 5.มาตรการในการดับเพลิง 6.การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้ 6.มาตรการจัดการเมื่อเกิดการหกรดหรือรั่วไหล 7.การปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหล 7.การใช้และการเก็บรักษา 8.การใช้และการจัดเก็บ 8.การควบคุมการสัมผัส/การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 9.ค่ามาตรฐานความปลอดภัย/ 9.คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การควบคุม/การป้องกันส่วนบุคคล GHS for FDA

  21. การเปรียบเทียบหัวข้อระหว่าง (M)SDS ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย และตามระบบ GHS • (M)SDS ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย SDS ตามระบบ GHS • 10.ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา 10.ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา • 11.ข้อมูลด้านพิษวิทยา 11.ข้อสนเทศด้านพิษวิทยา • 12.ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ 12.ข้อสนเทศด้านนิเวศวิทยา • 13.การกำจัด/ทำลาย 13.ข้อพิจารณาในการกำจัดหรือทำลาย • 14.ข้อมูลสำหรับการขนส่ง 14.ข้อสนเทศเกี่ยวกับการขนส่ง • 15.สัญลักษณ์หรือฉลาก 15.ข้อสนเทศด้านกฎระเบียบ • 16.ข้อมูลอื่นๆ 16.ข้อสนเทศอื่นๆ • จากการเปรียบเทียบข้างต้น สามารถสรุปได้ดังนี้ • หัวข้อของข้อมูลที่ต้องระบุไว้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายและตามระบบ GHS มีความเหมือนกันถึง 15 หัวข้อ (จากทั้งหมด 16 หัวข้อ) • หัวข้อที่แตกต่างกันมี 1 หัวข้อ คือหัวข้อที่ 15 ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ระบุเป็นสัญลักษณ์หรือฉลาก แต่ตามระบบ GHS จะเป็นข้อสนเทศด้านกฎระเบียบ (และตามมาตรฐาน ISO ซึ่งไทยใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ก็เป็นข้อสนเทศด้านกฎระเบียบ) • ในบรรดาหัวข้อที่เหมือนกัน 15 หัวข้อ มีหัวข้อที่จัดอยู่ในลำดับตรงกัน 7 หัวข้อ (เส้นแสดงลูกศรตรงกัน) ที่เหลืออีก 8 หัวข้อ มีการจัดลำดับที่สลับกัน (reversed) GHS for FDA

  22. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.1 เกณฑ์ที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใช้ในการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายในปัจจุบัน (ต่อ) • ในปัจจุบันผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่ได้มีการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย(MSDS)เอง แต่ปฏิบัติตามรายละเอียดโดยย่อดังนี้ • ในกรณีที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ต่างประเทศและผลิตสารเคมีชนิดเดียวกันก็ใช้ MSDS นั้นแปลเป็นภาษาไทยแล้วยื่นให้กับทางราชการ • ในกรณีที่นำเข้าก็ทำเหมือนกัน คือขอเอกสาร MSDS จากผู้ขายแล้วแปลเป็นภาไทยส่งให้กับทางราชการ • ในกรณีที่ผลิตแล้วขายในประเทศก็จะมีเอกสาร MSDS บ้างแต่ไม่ครบทุกหัวข้อ แต่ข้อมูลทางกายภาพค่อนข้างจะสมบูรณ์เพราะลูกค้าต้องการ • ในกรณีที่ส่งออกไปต่างประเทศก็มีการจัดทำเอกสาร MSDS บ้างโดยคัดลอกข้อมูลมาบางส่วนจากเอกสารต่างประเทศ หรือมีข้อมูลพื้นฐานจากบริษัทแม่ แต่ข้อมูลทางกายภาพค่อนข้างจะสมบูรณ์เพราะลูกค้าต้องการ • ในเรื่องของฉลากจะค่อนข้างหลากหลายไม่มีรูปแบบที่แน่นอนยกเว้นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและยาฆ่าแมลงที่กฎหมายเด่นชัดตาม FAO และ WHO GHS for FDA

  23. ตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทยตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทย GHS for FDA

  24. ตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทยตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทย GHS for FDA

  25. ตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทยตัวอย่างฉลากที่มีในประเทศไทย GHS for FDA

  26. Laundry Powder Detergent Label (Example: ‘Attack’) < Side1 > < Side2 > Usage instructions < Label based upon Household Goods Quality Labeling Law > Product name・Ingredients・Liquid・Use・ Net weight・Suggested usage quantity・ Usage warnings Emergency measures label in case of accident GHS for FDA

  27. Chlorine Bleach Label Household Goods Quality Labeling Law Pictograph warnings Industry Voluntary Standard Special warning label Warning label to avoid danger Emergency measures label in case of accident Intended use as bleach or detergent 『Product name / Kitchen bleach』 Appeal point Special warning label Chlorine bleach alkaline ingredient label →1% or more:『Sodium hydroxide(Alkaline) 』 GHS for FDA

  28. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.1 เกณฑ์ที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใช้ในการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายในปัจจุบัน (ต่อ) ปัจจุบันได้มีหลายองค์กรที่ได้ให้ความสนใจในการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยและฉลากที่ถูกต้อง โดยมีการจัดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทุกภาคส่วน อาทิเช่น • คณะกรรมการบริหาร Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบแห่งประเทศไทย • กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • สมาคมอารักขาพืชไทย เป็นต้น GHS for FDA

  29. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.2 ความแตกต่างของระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ใช้ในประเทศกับระบบ GHS จากการเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยและระบบ GHS ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกตามที่กล่าวข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ กฎหมายไทยจำแนกความเป็นอันตรายไว้อย่างกว้างๆโดยรวมทั้งอันตรายทางกายภาพและอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยกันในขณะที่ภายใต้ระบบ GHS มีการจำแนกทั้งสองส่วนไว้แยกจากกันส่วนหนึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบได้กับการมีอิฐบล็อคไว้เลือกใช้หลายบล็อคซึ่งมีข้อแนะนำให้ใช้ Building Block Approach ในการนำระบบ GHS ไปใช้คือเลือกใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสมไม่จำเป็นต้องนำ Full Range มาใช้ทั้งหมด เนื่องด้วยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยหลายส่วนอาทิเช่น ลูกจ้าง คนงาน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการขนส่ง ผู้บริโภค และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมี (emergency responders) นอกจากนั้นเพื่อให้ ผู้ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ยังสามารถนำข้อสนเทศไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร ด้านความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่อาชีวะอนามัย เป็นต้น GHS for FDA

  30. การเปรียบเทียบความเป็นอันตรายตามพ.ร.บ. วัตถุอันตรายกับระบบ GHS พ.ร.บ. วัตถุอันตรายการจำแนกตามระบบ GHS (1) วัตถุระเบิดได้วัตถุระเบิด (2) วัตถุไวไฟสารไวไฟทั้งที่เป็นก๊าซละอองลอย ของเหลวและของแข็ง (3) วัตถุออกซิไดซ์และสารออกซิไดซ์ทั้งที่เป็นก๊าซ วัตถุเปอร์ออกไซด์ของเหลวและของแข็ง สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (4) วัตถุมีพิษสารที่มีพิษเฉียบพลัน (5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรคสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งหมด (6) วัตถุกัมมันตรังสี (ไม่ได้กำหนด) (7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธ์ ทางพันธุกรรม GHS for FDA

  31. การเปรียบเทียบความเป็นอันตรายตามพ.ร.บ. วัตถุอันตรายกับระบบ GHS พ.ร.บ. วัตถุอันตรายการจำแนกตามระบบ GHS (8) วัตถุกัดกร่อนสารกัดกร่อนโลหะ กัดกร่อนผิวหนัง สารที่ทำให้นัยน์ตาเสียหายอย่างรุนแรง (9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองสารระคายเคืองผิวหนัง สารระคายเคืองตา (10) วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 10 ประเภท อันตรายแก่บุคคลสัตว์พืชก๊าซภายใต้ความดัน ทรัพย์หรือสิ่งแวดล้อมสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเอง สารไพโรโฟริคทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง สารที่เกิดความร้อนได้เอง สารซึ่งสัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ GHS for FDA

  32. ISO – MSDS FORMAT Product and company identification Composition/information on ingredients Hazards identification First – aid measures Fire – fighting measures Accidental release measures Handling and storage Exposure controls /personal protection Physical and chemical properties Stability and reactivity Toxicological information Ecological information Disposal considerations Transport information Regulatory information Other information GHS – SDS FORMAT Product and company information Hazards identification Composition/information on ingredients First aid measures Fire – fighting measures Accidental release measures Handling and storage Exposure controls / personal protection Physical and chemical properties Stability and reactivity Toxicological information Ecological information Disposal considerations Transport information Regulatory information Other information การเปรียบเทียบหัวข้อ (headings) ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยตามระบบ ISO และตามระบบ GHS GHS for FDA

  33. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม • 2.2 ความแตกต่างของระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ใช้ในประเทศกับระบบ GHS • ฉลากตามระบบ GHS ต้องมีสาระสำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกมีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานแล้ว ได้แก่ • ภาพจำลองแสดงถึงอันตราย (ภาพพิกโตแกรมรวมทั้งรูปลักษณ์) • คำสัญญาณ และ • ข้อความแสดงอันตราย ส่วนเรื่องที่สองเป็นเรื่องที่ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้หรือเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการปรับประสานเข้าหากัน ได้แก่ข้อสนเทศในเรื่องต่อไปนี้ คือ • ชื่อผลิตภัณฑ์ • ชื่อสารเคมี • ชื่อผู้ผลิต • ข้อสนเทศที่เป็นข้อควรระวัง และ • ข้อสนเทศที่เป็นส่วนเพิ่มเติม GHS for FDA

  34. 2. การสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์ในการนำ GHS ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม 2.2 ความแตกต่างของระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ใช้ในประเทศกับระบบ GHS ระบบ GHS ไม่ได้กำหนดรูปแบบ (Format / Layout) ที่ตายตัวในการจัดวางสาระสำคัญต่างๆลงบนฉลาก เพียงแต่กำหนดแนวทางไว้กว้างๆ ว่าสาระสำคัญที่เป็นมาตรฐาน 3 ประการควรอยู่ด้วยกันบนฉลาก ส่วนจะวางไว้อย่างไร รวมทั้งข้อสนเทศอื่นที่เหลือนอกนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่ายที่จะจัดวางตามที่เห็นเหมาะสม GHS for FDA

  35. ตัวอย่างฉลากตามระบบ GHS ! ชื่อผลิตภัณฑ์ : โอ้โหเด็ด ชื่อสารเคมี : 2,4-ดี ไอโซบิวทิล เอสเทอร์ (2,4-D isobutyl ester) ชื่อผู้ผลิต : บริษัท XXXX จำกัด 66 ถนนเทพารักษ์ อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ โทร xxxxxxxx โทรสาร xxxxxxxx อันตราย เป็นอันตรายได้หากสูดดมเข้าไป • ข้อควรระวัง: • ให้สวมหน้ากากและถุงมือขณะฉีดพ่น • ห้ามเก็บไว้ใกล้มือเด็ก • หากสัมผัสตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด • และรีบไปพบแพทย์ ข้อสนเทศส่วนเสริมเพิ่มเติม : ทะเบียนวัตถุอันตรายเลขที่ 2432/2548 GHS for FDA

  36. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี จากข้อมูลปีพ.ศ. 2547 ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าสถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรมสำคัญ รายจำพวกที่ 3 มีที่สำคัญดังต่อไปนี้ (จากจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 120,145 โรงงาน) หมวดอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี มีจำนวน 1,905 โรงงาน หมวดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม มีจำนวน 334 โรงงาน หมวดการพิมพ์ มีจำนวน 713 โรงงาน หมวดผลิตภัณฑ์พลาสติก มีจำนวน 3,684 โรงงาน หมวดสิ่งทอ มีจำนวน 2,346 โรงงาน หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ มีจำนวน 691 โรงงาน หมวดยางและผลิตภัณฑ์จากยาง มีจำนวน 1,449 โรงงาน เป็นต้น GHS for FDA

  37. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) และในระหว่างปีพ.ศ. 2545 -2546 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ทำการสำรวจโรงงานที่มีการใช้สารเคมีครอบคลุมโรงงาน 29 ประเภท รวมแล้วมีโรงงานที่ต้องสำรวจทั้งสิ้น 9,552 โรงงานแต่สามารถดำเนินการสำรวจได้ร้อยละ 77 คือ 7,348 โรงงาน ข้อมูลที่ได้คือ ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้และสารเคมีที่เก็บในโรงงาน จากนั้นนำข้อมูลสารเคมีที่ได้มาทำให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปสังเคราะห์ต่อได้โดยการหารหัสอ้างอิง หรือ CAS NUMBER ให้กับสารเคมีเท่าที่จะสามารถทำได้ ดังนั้น สารเคมีทั้งหมดที่ได้จึงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ มี CAS NUMBER และ ไม่มี CAS NUMBER จากนั้นนำข้อมูลเฉพาะส่วนที่มี CAS NUMBER มาจำแนกตามลักษณะอันตรายที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN Class) และนำเสนอปริมาณของสารเคมีใน UN Class ต่าง ๆ เป็นรายจังหวัดและอำเภอ ซึ่งในที่นี้จะแสดงเฉพาะกรุงเทพมหานคร จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ และ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีตัวเลขที่แสดงดังต่อไปนี้ กรุงเทพมหานครมีปริมาณการใช้ 7,971 ล้านตัน มีปริมาณการเก็บ 1,332 ล้านตัน จังหวัดระยองมีปริมาณการใช้ 73,479 ล้านตัน มีปริมาณการเก็บ 5,044 ล้านตัน จังหวัดสมุทรปราการมีปริมาณการใช้ 29,166 ล้านตัน มีปริมาณการเก็บ242 ล้านตัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีปริมาณการใช้ 4,044 ล้านตัน มีปริมาณการเก็บ 221 ล้านตัน GHS for FDA

  38. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) • 3.2 การจำแนกชนิดของสารเคมีและส่วนผสมของสารเคมี • สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งอาทิเช่น • - ข้อมูลการศึกษาจากผู้ผลิตหรือผู้ขายในต่างประเทศ โดยเฉพาะสารผสม • - ข้อมูลทางวิชาการที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายตามแบบฟอร์ม วอ./อก. 3 • - ข้อมูลจากการแหล่งข้อมูลจากเวบไซด์ทางวิชาการต่างๆ • - ข้อมูลทางวิชาการที่ใช้ในการนำเข้าวัตถุอันตรายตามแบบฟอร์ม วอ./อก. 6 • 3.3 การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีและฉลาก • - ได้ใช้เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS) จากผู้ผลิตหรือผู้ขายในต่างประเทศ ซึ่งใช้มาตรฐาน ISO 11014-1 (1994): Safety data sheet for chemical products – Part 1: Content and order of sections ซึ่งกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการรวิชาการ ISO/TC 47 Chemistry หรือ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปเลขที่ 67/548/EEC (2001/58/EC) • - ได้ใช้ฉลากตามกฎหมายในประเทศ ซึ่งก็ยังไม่สอดคล้องกับระบบ GHS GHS for FDA

  39. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.4 การพัฒนาความรู้และการฝึกอบรม 3.4.1 การฝึกอบรมภายใน ในส่วนของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีการจัดสัมมนาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำเอาหลักการของ Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ มาประยุกต์ใช้ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการบริหาร Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ แห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการจัดทำคู่มือการดำเนินการ 6 หัวข้อ กล่าวคือ 1. การสร้างความตระหนักต่อชุมชนและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Community Awareness and Emergency Response (CAER) Code) 2. กระบวนการที่ปลอดภัย (Process Safety Code) 3. สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (Employee Health and Safety Code) 4. มาตรการในการจัดจำหน่าย (Distribution code) 5. การป้องกันการเกิดมลพิษ (Pollution Prevention Code) 6. มาตรการในการดูแลผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship Code) GHS for FDA

  40. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.4.2 การร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ได้ทำการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยสำนักควบคุมวัตถุอันตราย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย METI, JETRO และ AOTS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีผู้ผ่านการสัมมนาและฝึกอบรมขั้นต้นประมาณ 500 คน มีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมขั้นกลางและขั้นสูงจำนวน 40 คน ผลจากการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในครั้งนี้ได้มีบุคลากรที่มีความเข้าใจและสามารถจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยและฉลากตามระบบ GHS ในระดับหนึ่ง แต่ก็คงต้องอาศัยประสพการณ์และความชำนาญอีกสักช่วงหนึ่งจึงจะสามารถเพิ่มบุคลากรดังกล่าวได้มากขึ้น ปัจจุบันได้มีการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมขั้นต้นเสร็จเรียบร้อยแล้วและซึ่งหลักสูตรดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นของ METI/JETRO/AOTS เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา GHS for FDA

  41. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.4.3 การพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อในขณะเดียวกันกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี โดยคณะกรรมการบริหาร Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ แห่งประเทศไทย ก็ได้ทำการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในการทำความเข้าใจภายในองค์กรเกี่ยวกับการนำเอาระบบ GHS มาใช้ในกิจการของสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในปลายปี พ.ศ. 2548 กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีได้แสดงเจตจำนงในการที่เข้าร่วมปฏิญญาที่ว่าด้วยการดูแลสารเคมีด้วยความรับผิดชอบของภาคอุตสาหกรรม (Global Charter) ที่เน้นไปในการยกมาตรฐานการดูแลผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship) ทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และตามกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 3.4.4 ศักยภาพในการปฏิบัติตามระบบ GHS ในส่วนของการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศหรือบริษัทที่มีบริษัทแม่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศจะพบว่าปัญหาในการจัดเตรียมเอกสารไม่ว่าจะเป็นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS) หรือว่าฉลาก ค่อนข้างที่จะน้อยเพราะข้อมูลทางวิชาการสามารถหาได้โดยง่าย ปัญหาที่จะพบมากก็คือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรณีที่ผลิตสารผสมขึ้นมาโดยกระบวนการของตัวเอง หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยตัวเองก็จะต้องจัดทำเอกสารทั้งหมดด้วยตนเอง ซึ่งต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถสูง GHS for FDA

  42. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.5 ปัจจัยที่จะช่วยให้สัมฤทธิ์ผล - การมีส่วนร่วมของเอกชนในการให้ความเห็นประเด็นต่างๆ - การบังคับใช้อย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากสารเดี่ยวก่อนให้เต็มรูปแบบแล้วจึงตามด้วยสารผสม - การฝึกอบรมผู้จัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) และฉลาก (Labelling) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม - การสนับสนุนให้เกิดการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม - การสนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม - การประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย GHS for FDA

  43. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.6 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของภาคอุตสาหกรรม 3.6.1 ฉลาก (Labelling) ต้นทุนของการจัดทำฉลากจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5 ถึง 3.0 ขึ้นอยู่กับขนาดของบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์หลากหลายขนาดย่อมมีต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น สี และ สารละลายต่างๆ แต่วิธีการทำฉลากจะมีทั้งระบบพิมพ์แบบอัตโนมัติเชื่อมโยงกับระบบคลังสินค้า (On line) และหรือ การสั่งทำล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน 3.6.2 เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) - ในกรณีที่มีเป็นสารเดี่ยวถ้าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาหรือมีบริษัทแม่อยู่ที่ต่างประเทศก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวได้เพียงแต่ต้นทุนในการแปลเป็นภาษาไทยเท่านั้น GHS for FDA

  44. 3. การศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และช่องว่าง ( Situation and Gap Analysis) 3.6 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของภาคอุตสาหกรรม 3.6.2 เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) (ต่อ) - ในกรณีที่เป็นสารผสมที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำการทดสอบทางกายภาพจากห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบตามมาตรฐาน OECD test guideline ซึ่งมีค่าการทดสอบประมาณ 30,000 – 35,000 บาท ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่นห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นต้น - การทดสอบทางพิษวิทยานอกจากจะต้องทำการทดสอบตามมาตรฐาน OECD test guideline แล้วจะต้องได้มาตรฐาน GLP ซึ่งจะต้องค่าใช้จ่ายในการตั้งห้องปฏิบัติการที่สูงมากแล้ว ค่าใช้จ่ายในการทดสอบค่อนข้างสูงและในปัจจุบันยังคงต้องอาศัยการส่งตัวอย่างไปทดสอบจากต่างประเทศอยู่ ส่วนการทดสอบทางพิษวิทยาพบว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างที่จะสูงมาก อาทิเช่น - การทดสอบ Acute Toxicity กับสัตว์น้ำ เช่นปลา มีค่าทดสอบสูงถึง 300,000 บาท - การทดสอบทาง Chronic Toxicity มีค่าทดสอบมากกว่า 3,000,000 บาท และใช้เวลานานมากกว่า 2 ปี - การทดสอบความเป็นสารก่อเกิดมะเร็ง มีค่าทดสอบมากกว่า 20,000,000 บาท GHS for FDA

  45. 4. บทสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ 4.1 กฎระเบียบที่ต้องแก้ไข 1.ในเรื่องการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อให้เป็นไปตามระบบ GHS ทั้งความเป็นอันตรายทางกายภาพและอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แต่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(1) แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดให้ระบบ GHS มาใช้ในการจำแนกสารเคมีและการจัดทำฉลากสารเคมีในประเทศไทย GHS for FDA

  46. 4. บทสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ 4.1 กฎระเบียบที่ต้องแก้ไข 2. ในการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบของไทยที่ยังขัดหรือแย้งกับการจัดทำฉลากตามระบบ GHS กล่าวคือ - ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 เรื่อง หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ซึ่งยังคงใช้ได้อยู่ ที่ขัดหรือแย้งกับระบบ GHS ก็คือ สัญลักษณ์และเครื่องหมายสำหรับฉลากที่ต้องปิดหรือพิมพ์ไว้บนภาชนะบรรจุเคมีภัณฑ์ ในรายการที่ 5 แนบท้ายประกาศฯไม่เป็นไปตามระบบ GHS 3. แก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในข้อ 2(7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2534 ซึ่งยังคงใช้ได้อยู่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่ขัดหรือแย้งกับระบบ GHS ก็คือ ฉลากตามข้อ 4 ของประกาศฯ ไม่เป็นไปตามระบบ GHS GHS for FDA

  47. 4. บทสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ 4.2 การฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย (target audiences) ซึ่งแบ่งตามขั้นตอนในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และตามสาขาที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้ (1) กลุ่มผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกและผู้ครอบครองสารเคมี ซึ่งอาจแบ่งย่อยไปได้อีกตามจุดประสงค์ในการใช้หรือตามหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล คือ สารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตร การประมง และการปศุสัตว์ สารเคมีที่ใช้ในทางสาธารณสุข และสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม (2) กลุ่มผู้ใช้สารเคมี ซึ่งอาจแบ่งย่อยเป็นกลุ่มผู้ใช้สารเคมีในภาคเกษตร (รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยอาชีพ) กลุ่มผู้ใช้สารเคมีในบ้านเรือนหรือกลุ่มผู้ใช้สินค้าบริโภค และกลุ่มผู้ใช้สารเคมีในภาคอุตสาหกรรม อันได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีเป็นวัตถุดิบในการผลิต GHS for FDA

  48. 4. บทสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ 4.2 การฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย (target audiences)(ต่อ) ซึ่งแบ่งตามขั้นตอนในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และตามสาขาที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้ (3) กลุ่มลูกจ้างคนงานในโรงงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายหรือที่มีสารเคมีอันตรายเข้ามาเกี่ยวข้องในสถานที่ทำงานของคนงาน (workplace) (4) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารเคมีอันตรายภายในประเทศ (5) กลุ่มผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมี (emergency responders) (6) กลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล (แพทย์ พยาบาล) ผู้ที่จะให้การปฐมพยาบาล และการบำบัดรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี (7) กลุ่มสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาในสาขาวิชาเคมีหรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเคมี GHS for FDA

  49. What is risk-based labeling option? Liquid detergent product containing > 0.1% ethanol & 10% surfactants洗浄剤 From R.Sedlak, SDA Based on hazard and likelihood of injury Hazard-based system Danger • May damage fertility or the unborn child • Cause eye irritation Warning Cause eye irritation GHS for FDA JSDA 2005.8.31

  50. Endpoints Decision process Labeling Acute Endpoints Hazard Classification Yes No No Hazard placed on label Hazard Not on label Yes Likelihood that injury would occur during normal use, misuse, or accident No Yes Chronic Endpoints Hazard Classification with risk-based labeling option GHS for FDA JSDA 2005.8.31 From R.Sedlak, SDA

More Related