1 / 20

ENE 206 MATLAB Laboratory

ENE 206 MATLAB Laboratory. Lab 1: การใช้ฟังก์ชันและกราฟสำหรับแก้ปัญหาทางวิศวกรรม. การใช้ฟังก์ชันและกราฟสำหรับแก้ปัญหาทางวิศวกรรม. MATLAB มีฟังก์ชันช่วยในการคำนวณต่าง ๆ ตลอดจนฟังก์ชันช่วยในการสร้างกราฟเพื่อแสดงฟังก์ชันคณิตศาสตร์ทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ

oke
Download Presentation

ENE 206 MATLAB Laboratory

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ENE 206 MATLAB Laboratory Lab 1: การใช้ฟังก์ชันและกราฟสำหรับแก้ปัญหาทางวิศวกรรม

  2. การใช้ฟังก์ชันและกราฟสำหรับแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการใช้ฟังก์ชันและกราฟสำหรับแก้ปัญหาทางวิศวกรรม • MATLAB มีฟังก์ชันช่วยในการคำนวณต่าง ๆ ตลอดจนฟังก์ชันช่วยในการสร้างกราฟเพื่อแสดงฟังก์ชันคณิตศาสตร์ทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ • ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการใช้งานฟังก์ชันเกี่ยวกับกราฟ และฟังก์ชันช่วยคำนวณเพื่อใช้แก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้า เช่นวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

  3. การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วย MATLAB • การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบไม่เชิงเส้น (Non-linear)นั้นโดยทั่ว ๆ ไปสามารถกระทำได้ 2 วิธี • การวิเคราะห์แบบประมาณ (approximate analysis) • เป็นการวิเคราะห์โดยประมาณอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบไม่เชิงเส้นด้วยความสัมพันธ์เชิงเส้นแบบง่าย ๆ เพื่อลดความซับซ้อนในการคำนวณและสามารถคำนวณด้วยมือได้ • การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองทฤษฏี (theoretical analysis) • เป็นการวิเคราะห์ด้วยการหาความสัมพันธ์ของปริมาณทางไฟฟ้าทางทฤษฏีของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน และกระแสไฟฟ้า • ความสัมพันธ์ดังกล่าวมักได้จากการผลทดลองจริง โดยจะมีการหาความสัมพันธ์ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ • ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น แต่จะมีความซับซ้อนกว่าการวิเคราะห์แบบประมาณ

  4. การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยแบบจำลองทฤษฏีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยแบบจำลองทฤษฏี • การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยกราฟเส้นโหลด (Load line analysis) • เป็นวิธีที่นำมาใช้กับวงจรไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไม่เชิงเส้น เนื่องจากสามารถอธิบายอย่างง่าย ๆ ด้วยกราฟได้ • หลักการการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าได้วยกราฟเส้นโหลดมีดังนี้ • หาความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และแรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ไม่เชิงเส้นนั้น • ใช้กฏของเคอร์ชอฟ (Kerchhoff)สร้างสมการความสัมพันธ์ของกระแส และแรงดันของวงจรที่กำลังวิเคราะห์ • คำตอบของกระแส หรือแรงดันของอุปกรณ์ไม่เชิงเส้นที่กำลังวิเคราะห์คือ จุดตัดระหว่างกราฟทั้งสอง

  5. การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยกราฟเส้นโหลดการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยกราฟเส้นโหลด • ตัวอย่างที่นำอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่เชิงเส้นมาใช้ในวงจรไฟฟ้าเพื่อวิเคราะห์อย่างง่าย คือวงจรไดโอด • จุดตัดของ characteristic equation และ load line จะเป็นจุดสงบ (Q-point) ของวงจร ซึ่งเป็นจุดกำหนดค่า กระแสและแรงดันของวงจร

  6. การใช้ MATLAB สำหรับการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยกราฟเส้นโหลด • การใช้ MATLAB สร้างกราฟที่ได้จากการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า • การใช้ฟังก์ชันช่วยคำนวณของ MATLAB หาจุดตัดกราฟ

  7. ตัวอย่างการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าตัวอย่างการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า จากรูปข้างบนแสดงระบบวงจรไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าคงที่ 15 Volts ที่มีความต้านทานภายใน R1 เท่ากับ 30 Ωเข้ากับโหลด แหล่งจ่ายให้กระแสกับโหลดโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันของโหลดดังนี้ จงหาค่ากระแสที่แหล่งจ่ายจะต้องจ่ายให้กับโหลด ตลอดจนแรงดันที่ตกคร่อมโหลดในวงจร V2

  8. การแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้าด้วยวิธีกราฟเส้นโหลดการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้าด้วยวิธีกราฟเส้นโหลด • ความสัมพันธ์ของกระแสและแรงดันของโหลดจากที่โจทย์กำหนดให้ ทำให้เราจำเป็นต้องทราบค่าของกระแส หรือแรงดันค่าใดค่าหนึ่ง ในการที่จะคำนวณหาค่าทางไฟฟ้าที่เหลือตามที่โจทย์ต้องการ • แนวทางการแก้ปัญหาข้อนี้แบ่งออกเป็น • การสร้างความสัมพันธ์ของกระแส และแรงดันจากวงจรไฟฟ้าที่กำหนดเป็นกราฟเส้นโหลด (load line) • การหาคำตอบของค่ากระแส และแรงดันจากความสัมพันธ์ที่ได้จากโจทย์ และกราฟเส้นโหลด ด้วย MATLAB

  9. สมการเส้นโหลด ด้วยการใช้กฏของเคอร์ชอฟกับรูปวงจรที่โจทย์กำหนด จะได้ จัดรูปสมการใหม่ได้ เป็นสมการเส้นตรงที่ได้จากวงจร หรือที่เรียกว่า กราฟเส้นโหลด (load line)ซึ่งเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของกระแส และแรงดันของโหลดในวงจรเช่นเดียวกัน i1

  10. การใช้ MATLAB วิเคราะห์ด้วยกราฟ • ดังนั้น เราจะได้ว่าค่าของกระแส และแรงดันที่ของวงจรต้องสอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และแรงดันที่ได้ทั้งสองสมการ • เนื่องจากสมการความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และแรงดันของโหลดจากโจทย์มีความสัมพันธ์แบบไม่เชิงเส้น (เอ็กโพเนนเชียล) จึงไม่เป็นการง่ายที่จะแก้สมการทั้งสองด้วยการคำนวณมือ • อย่างไรก็ดี เราสามารถหาคำตอบของสมการทั้งสอง จากการวาดกราฟ และหาจุดตัดระหว่างกราฟทั้งสอง

  11. การใช้ MATLAB วิเคราะห์ด้วยกราฟ • MATLAB สามารถแสดงกราฟทั้งสองสมการลงบนแกนร่วมกันโดยอาศัยคำสั่ง plot • โดยค่าของแกนนอนจะเป็นค่าแรงดัน ซึ่งกำหนดเป็นเวคเตอร์ที่มีค่าจาก 0 ถึง 15 V • ค่าของแกนตั้งจะเป็นค่ากระแส ซึ่งกำหนดเป็นเวคเตอร์ที่มีขนาดตามเวคเตอร์แรงดัน และมีจำนวนเวคเตอร์ 2 ชุด เนื่องจากเป็นค่ากระแสของสมการกราฟเส้นโหลด และค่ากระแสของโหลดจากโจทย์

  12. การใช้ MATLAB วิเคราะห์ด้วยกราฟ • จากรูปแสดงกราฟทั้งสองสมการที่แสดงบนแกนร่วมกัน จะได้ว่าจุดตัดแกนมีค่ากระแสอ่านได้เท่ากับ 0.25 A และแรงดัน V2เท่ากับ 7.5 V โดยประมาณ • ในการหาค่าที่แม่นยำมากขึ้น สามารถกระทำได้โดย การใช้ MATLAB เพื่อหาจุดตัดจากการแก้ สมการทั้งสองด้วยการคำนวณ

  13. การใช้ฟังก์ชันช่วยคำนวณของ MATLAB หาจุดตัดกราฟ • MATLAB มีฟังก์ชันช่วยคำนวณ เพื่อหาจุดตัดแกนนอน (จุดที่ฟังก์ชันมีค่าเท่ากับศูนย์) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาจุดตัดกราฟ กับการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายนี้ได้ • ฟังก์ชัน roots คำนวณจุดตัดแกนนอนของฟังก์ชันโพลิโนเมียลเท่านั้น • ฟังก์ชัน fzeroสามารถคำนวณจุดตัดแกนนอนของฟังก์ชันตัวแปรเดียวใด ๆ • รูปแบบการใช้งานของ fzero fzero(‘function’, x0) • function เป็น string ของชื่อฟังก์ชันที่ต้องการหาจุดตัดแกนนอน • x0 เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับฟังก์ชัน fzeroในการค้นหาจุดตัดแกนนอนที่ใกล้ที่สุด

  14. ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน fzero สมมติให้เราต้องการหาค่า x ที่ทำให้ฟังก์ชัน มีค่าเป็นศูนย์ โดยใช้ฟังก์ชัน fzero ดังนั้นเราอาจให้ฟังก์ชัน fzeroหาจุดที่ทำให้ฟังก์ชันดังกล่าวเป็นศูนย์ โดยให้ค่าเริ่มต้นของการค้นหา x0 เป็น -0.5 ได้ดังนี้ x = fzero(‘x + 2*exp(-x) – 3’, -0.5) ซึ่งจะได้คำตอบเป็น x = -0.5831

  15. ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน fzero ในกรณีที่ฟังก์ชันที่เราต้องการหาค่าศูนย์มีความซับซ้อนมากขึ้น การพิมพ์ฟังก์ชันเป็นอินพุต ของฟังก์ชัน fzeroอาจไม่เหมาะสม เรามักใช้การกำหนดฟังก์ชันเป็นไฟล์แยกต่างแทน ดังนี้ function y = f1(x) y = x + 2*exp(-x) – 3; แล้วใช้ชื่อฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเป็นอินพุตของฟังก์ชัน fzero x = fzero(‘f1’, -0.5) ซึ่งจะได้คำตอบเช่นเดียวกันกับตัวอย่างในหน้าที่แล้ว

  16. ข้อพึงระวังของการใช้ฟังก์ชัน fzero ปัญหาหนึ่งในการใช้ฟังก์ชัน fzero ที่พบบ่อย ๆ คือการกำหนดจุดเริ่มต้น x0 ของการหาค่าศูนย์ของฟังก์ชัน ดังนั้นเราจึงควรจะใช้การวาดกราฟเข้าช่วยในการกำหนดจุดเริ่มต้น โดยพิจารณาจากกราฟของฟังก์ชัน จะเห็นได้ว่ามีจุดตัดศูนย์อยู่ 2 จุด ดังนั้น หากต้องการหาจุดตัดศูนย์ ณ บริเวณ x = 3 ให้ใช้ x = fzero(‘f1’, 3) ซึ่งจะได้คำตอบเป็น x = 2.8887

  17. การใช้ฟังก์ชันช่วยคำนวณของ MATLAB หาจุดตัดกราฟ • ในการที่จะใช้ฟังก์ชัน fzero ช่วยในการวิเคราะห์หาคำตอบของวงจรไฟฟ้าที่กำหนดให้มา เราจำเป็นต้องจัดการรวมสมการทั้งสองให้เป็นสมการตัวแปรเดียว ดังนี้ • ดังนั้น เราจึงสร้างฟังก์ชันตัวแปรเดียวทางด้านขวามือ สำหรับเป็นฟังก์ชันที่ใช้ใน fzeroโดยอาจให้จุดเริ่มต้น x0เท่ากับศูนย์ เพื่อหาคำตอบค่าแรงดัน v2และคำนวณค่ากระแส i1ของโหลดต่อไปได้

  18. แบบฝึกหัด จากคำอธิบายดังกล่าว จงสร้าง MATLAB script เพื่อหาคำตอบของค่ากระแส และแรงดันที่โหลดต้องใช้ด้วย • การวิเคราะห์ด้วยกราฟ โดยให้แสดงคำตอบโดยประมาณจากการอ่านค่าจุดตัดของกราฟทั้งสอง • การวิเคราะห์ด้วยฟังก์ชันช่วยคำนวณ โดยให้แสดงคำตอบจากการคำนวณดัวยฟังก์ชันช่วยคำนวณ เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยกราฟ

  19. ENE 206 MATLAB Laboratory Lab 2: การใช้ MATLAB สำหรับการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์

  20. การใช้ MATLAB สำหรับการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์

More Related