1 / 28

Banking For Agriculture

Banking For Agriculture. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์. ผู้จัดทำ นางสาวณฐาพร กำชัย 4345524429 นางสาวปภาวี พิพัฒนลักษณ์ 4345552029 นางสาวปวีณา ยี่วิชัย 4345557129. ประวัติการก่อตั้ง. พ.ศ. 2490 รัฐบาลได้ตั้ง ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ขึ้น

Download Presentation

Banking For Agriculture

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Banking For Agriculture ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

  2. ผู้จัดทำ นางสาวณฐาพร กำชัย 4345524429 นางสาวปภาวี พิพัฒนลักษณ์4345552029 นางสาวปวีณา ยี่วิชัย 4345557129

  3. ประวัติการก่อตั้ง พ.ศ. 2490 รัฐบาลได้ตั้ง ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ขึ้น พ.ศ. 2509 รัฐบาลจึงได้ พิจารณาจัดตั้ง ธนาคารขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่แทนคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) โดยให้เป็นสถาบันระดับชาติ มีฐานะเป็น รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อ ให้แก่เกษตรกร อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านเกษตรกรโดย ตรง และสถาบันเกษตรกร

  4. วัตถุประสงค์ มุ่งให้ ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริม อาชีพการเกษตร หรือการดำเนินงาน ของ เกษตรกร กลุ่ม เกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์การเกษตร สามารถ ประกอบอาชีพอย่างอื่น ที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร เพื่อเพิ่ม รายได้ ให้แก่ ครอบครัวเกษตรกร รวมทั้งให้ บริการรับ ฝากเงิน เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอีกด้วย

  5. วิสัยทัศน์ ธ.ก.ส. จะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทชั้นนำในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่กับการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการดูแลสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

  6. บริการของธกส.บริการด้านสินเชื่อบริการด้านเงินฝากและบริการต่อเนื่องบริการด้านการเงิน และการธนาคาร

  7. บริการด้านสินเชื่อ1. ด้านสินเชื่อเกษตรกรรายคนเป็นการให้เงินกู้แก่เกษตรกรรายคนโดยตรงซึ่งเกษตรกรผู้จะขอกู้เงินจากธ.ก.ส.ได้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของธ.ก.ส. ก่อนโดยแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานพัฒนาธุรกิจของธ.ก.ส. ประจำสาขาหรือหน่วยอำเภอที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่เกษตรกรผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่พนักงานของธ.ก.ส. จะให้ความช่วยเหลือและแนะนำวิธีการต่างๆในการขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของธ.ก.ส.

  8. คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นลูกค้าคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นลูกค้า • เกษตรกรผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของธ.ก.ส. จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ • 1.    เป็นเกษตรกรตามข้อบังคับของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) • 2.    .ต้องบรรลุนิติภาวะ • 3.    มีสัญชาติไทย • 4.    มีความชำนาญหรือได้รับการฝึกอบรมในการเกษตรมาแล้วพอสมควร • 5.    มีถิ่นที่อยู่และประกอบอาชีพการเกษตรส่วนใหญ่ในท้องที่ดำเนินงานของสาขาซึ่งตนขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าประจำมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า1ปี

  9. 6.    เป็นผู้ก่อให้เกิดผลิตผลการเกษตรเพื่อขายในปีหนึ่งๆเป็นมูลค่าพอสมควรหรือมีลู่ทางจะปรับปรุงการเกษตรให้มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ • 7.    เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพมีชื่อเสียงดีและรู้จักประหยัด • 8.    ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ • 9.    ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 10. ไม่เคยถูกให้ออกจากการเป็นลูกค้าประจำสาขาและปัจจุบันไม่ได้เป็นผู้กู้เงินของสหกรณ์การเกษตรกลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันใดๆที่ดำเนินธุรกิจทางด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตร

  10. ประเภทเงินกู้ เงินกู้ระยะสั้นเพื่อการผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรสำหรับฤดูกาลผลิตหนึ่ง เงินกู้ระหว่างรอการขายผลิตผล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างรอการขายผลผลิตเพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บ ผลิตผลไว้รอราคาได้โดยไม่จำเป็นต้องขายในช่วงที่ผลิตผลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและราคาตกต่ำ เงินกู้ระยะปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินการเกษตรซึ่งมีอายุใช้งานได้เกินกว่า 1 ปี เงินกู้เครดิตเงินสด เป็นเงินกู้ระยะสั้นเพื่อการผลิตอย่างหนึ่งเกษตรกรลูกค้าทำสัญญาเงินกู้ในเครดิตเงินสดไว้เพียง ครั้งเดียวก็สามารถเบิกรับเงินกู้ได้หลายครั้งภายในวงเงินกู้ที่กำหนดและภายในระยะเวลาแห่งสัญญา กู้ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี

  11. เงินกู้ระยะยาวเพื่อชำระหนี้สินเดิมเงินกู้ระยะยาวเพื่อชำระหนี้สินเดิม เพื่อนำไปชำระหนี้สินเดิมหรือเพื่อนำไปไถ่ถอนหรือซื้อคืนที่ดินการเกษตรซึ่งเดิมเคยเป็นของตนหรือคู่สมรสหรือบุตรหรือเป็นของบิดาหรือมารดา เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตร เพื่อเป็นค่าลงทุนในสินทรัพย์ประจำทางการเกษตรหรือเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหรือวางรูปแบบการผลิตขึ้นใหม่ซึ่งมีการลงทุนสูงและต้องใช้เวลานาน เงินกู้สำหรับการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและ/หรือเป็นค่าลงทุนสำหรับดำเนินงานในการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรซึ่งเป็นการนำเอาผลิตผลการเกษตรของเกษตรกรเองหรือจัดหาจากแหล่งอื่นมาแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายรวมถึงการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการบริการด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตรด้วยเงินกู้ประเภทนี้จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ -เงินกู้เพื่อการผลิตเป็นเงินกู้ระยะสั้น -เงินกู้เพื่อการลงทุนเป็นเงินกู้ระยะยาว

  12. หลักประกันเงินกู้การให้เงินกู้ตามประเภทดังกล่าวข้างต้นจะต้องมีหลักประกันเงินกู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้หลักประกันเงินกู้การให้เงินกู้ตามประเภทดังกล่าวข้างต้นจะต้องมีหลักประกันเงินกู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.    ลูกค้าในกลุ่มเดียวกันผูกพันตนรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมกันค้ำประกันการชำระหนี้ต่อธ.ก.ส. 2.    มีลูกค้าประจำสาขาหรือบุคคลอื่นซึ่งธ.ก.ส. พิจารณาเห็นสมควรเป็นผู้ค้ำประกันอย่างน้อย2คน 3.    มีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่นจำนองเป็นประกันโดยอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีราคาประเมินไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินกู้ 4.    มีหลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือเงินฝากในธ.ก.ส. เป็นประกัน

  13. 2.ด้านสินเชื่อรายสถาบันการเกษตรการให้บริการสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรคือการให้เงินกู้แก่สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้สถาบันดังกล่าวนำไปดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ของสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันทั้งนี้ธ.ก.ส. ขยายการให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้นสามารถขยายธุรกิจได้กว้างขวางกว่าเดิมนอกจากนี้ธ.ก.ส. ยังสนับสนุนและร่วมพัฒนาสถาบันเกษตรกรตามหลักสหกรณ์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

  14. 3.ด้านสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นการให้กู้เงินแก่ผู้เป็นเกษตรกรเพื่อนำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นการทำนาการทำไร่การเลี้ยงสัตว์การประมงการทำนาเกลือฯลฯเป็นต้นแบ่งเป็น1) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 18 เดือน2) เพื่อเป็นค่าลงทุนในทรัพย์สินและวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 20 ปี

  15. 4. ด้านสินเชื่อนอกภาคการเกษตร เป็นการให้กู้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นเกษตรกรหรือบุคคลในครอบครัวในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตธุรกิจพาณิชยกรรมและธุรกิจบริการ โดยมีวัตถุประสงค์คือ • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการหรือธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในชนบท • เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการตลาดการผลิตการจัดการการเงินและอื่นๆแก่ผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและครบวงจร • เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงาน

  16. 5. ด้านสินเชื่อวิสาหกิจชุมชน • เป็นการให้กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรในลักษณะรวมกลุ่มโดยมีวัตถุประสงค์คือ • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการหรือธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งเป็นเกษตรกร • เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการตลาดการจัดการการเงินและอื่นๆแก่กลุ่มผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและครบวงจร • เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงาน

  17. 6. ด้านสินเชื่ออื่นๆเช่น- โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย- โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ- โครงการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ที่โรงงานน้ำตาลเป็นผู้สั่งจ่าย- โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาความรู้ในประเทศ- โครงการส่งเกษตรกรไปฝึกอบรมยังประเทศอิสราเอล- โครงการสินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล

  18. ทุนดำเนินงานและอัตราส่วนของทุนดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ณ วันสิ้นปีบัญชี 2541 - 2545

  19. NPLsธ.ก.ส. ประมาณ 8 %ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปประมาณเกือบ 50 %

  20. ธนาคารสีเขียวธ.ก.ส. ได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะดำเนินโครงการธนาคารสีเขียวขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ธ.ก.ส.ได้ดำเนินการจัดจ้างคณะที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ผลักดันให้ธ.ก.ส. มีการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นธนาคารสีเขียวภายในระยะเวลา 5 ปีและได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการดังนี้

  21. - คณะกรรมการบริหารโครงการธนาคารสีเขียวทำหน้าที่ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานตามโครงการให้มีประสิทธิภาพ- คณะกรรมการบริหารโครงการสินเชื่อเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ดูแลและบริหารด้านการจัดสรรเงินทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม-คณะทำงานโครงการธนาคารสีเขียวทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานและผลักดันการทำงานด้านสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) และการนำมาตรฐานสากล (ISO) มาถือใช้ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

  22. จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ขึ้นในหมู่พนักงานของธนาคารเพื่อปลุกจิตสำนึกให้พนักงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมกับสินเชื่อการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยธนาคารได้คัดเลือกพนักงานของธนาคารเกษตรกรลูกค้าและเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกว่า 300 คนเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาอย่างเข้มข้นเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการขั้นต่อไป

  23. สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ป็นบริการที่ธ.ก.ส.มอบให้กับผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นผู้กู้และผู้ฝากเงินเป็นกรณีพิเศษในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ธ.ก.ส. สนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานซึ่งมีความมั่นคงและเชื่อถือได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ • สงเคราะห์ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก • สร้างหลักประกันให้แก่ครอบครัวของสมาชิกผู้เสียชีวิ • ทำบุญร่วมกันและอุทิศส่วนกุศลให้แก่สมาชิกผู้ล่วงลับ

  24. สถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบทจำเนียรสาระนาค (สจส.) เป็นสถาบันที่มูลนิธิอาจารย์จำเนียรสาระนาค (ผู้ที่มีคุณูปการและเป็นผู้จัดการคนแรกของธ.ก.ส.) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2537 โดยอยู่ภายใต้ความช่วยเหลือของธ.ก.ส. วัตถุประสงค์เพื่อ • -ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาสินเชื่อการเกษตรและชนบทรวมถึงเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง • -จัดดูงานและฝึกอบรมให้แก่ชาวต่างประเทศที่สนใจสินเชื่อการเกษตรของธ.ก.ส. • -ให้คำปรึกษาแนะนำด้านวิชาการสินเชื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบททั้งภายในและต่างประเทศ - ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อการพัฒนาสินเชื่อการเกษตรชนบทและสังคม

  25. โครงการสนับสนุนด้านสังคม ( SSP )โครงการสนับสนุนด้านสังคมเป็นกลไกการให้ความช่วยเหลือแก่ธกส.เพื่อพัฒนาและดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของการบริการทางการเงินตามรูปแบบที่เหมาะสมและช่วยสนับสนุนงานส่งเสริมการบริการของธ.ก.ส.ในภูมิภาคต่างๆ • โครงการสนับสนุนด้านสังคมดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ใน แผนงานประจำปีซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆและงบประมาณโครงการในแต่ละปีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางแผนไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อผลลัพธ์สำคัญ 5 ด้านคือ

  26. 1. การให้บริการการเงินขนาดเล็กได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นด้วยการดำเนินการให้บริการการเงินขนาดเล็กในรูปแบบที่เหมาะสมโดยสถาบันการเงินขนาดเล็ก2. ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้นจากธ.ก.ส.3. ความสามารถชำระคืนสินเชื่อของลูกค้าดีขึ้นสำหรับหนี้ที่ปรับโครงสร้างเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3 ของการดำเนินงานโครงการ4. สมาชิกครอบครัวภาคการเกษตรและผู้ประกอบการขนาดเล็กมีความสามารถมากขึ้นในการช่วยหารายได้ให้ครอบครัวและการออมสำหรับครอบครัว5. บทเรียนและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโครงการได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานและผนวกไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติของธ.ก.ส.โครงการสนับสนุนด้านสังคมดำเนินงานใน 6 จังหวัดนำร่องในประเทศไทยซึ่งได้แก่ขอนแก่นมุกดาหารพะเยาอุทัยธานีกระบี่และสุราษฎร์ธานี

  27. จุดแข็งของ ธกส.1.เกษตรกรสามารถขอกู้เงินจากธกส.ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ทั้งนี้โดยใช้บุคคลค้ำประกัน หรือทำหนังสือรับรองผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันระหว่างผู้กู้2.มีประสิทธิภาพในการลดปัญหา asymetric information เนื่องจากการปล่อยเงินกู้จะคำนึงถึงแผนการผลิต และความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร และจะให้กู้เงินเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรหรือเกี่ยวเนื่องในการเกษตรเท่านั้น3.เจ้าหน้าที่สินเชื่อ Specialization จากการที่ปล่อยสินเชื่อเฉพาะด้านเกษตรอย่างเดียว4.อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยคิดตามระดับลูกค้า5.การบริการอย่างเข้าถึงพื้นที่ รวมทั้งมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

  28. จุดอ่อนของ ธกส.เนื่องจากเป็นองค์กรที่อยู่ในรูปของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในด้านการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ดังนั้นส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรจะค่อนข้างมีความล่าช้า เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินของเอกชนทั่วไป

More Related