200 likes | 301 Views
Network Layer. โดย อาจารย์ นัณฑ์ศิ ตา ชูรัตน์. Network Layer.
E N D
Network Layer โดย อาจารย์นัณฑ์ศิตา ชูรัตน์
Network Layer ทำหน้าที่จัดเส้นทางของข้อมูล ที่อาจต้องเดินทางผ่านระบบเครือข่ายในหลาย Segment และเป็นผู้ตัดสินใจว่าเส้นทางใดควรเป็นเส้นทางที่จะส่งข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเครือข่าย ความสำคัญของการบริการ และปัจจัยอื่น ๆ NetworkLayer จะรับผิดชอบในส่วนของการกำหนด Address และการส่งข้อมูลแบบ “จากต้นถึงปลายทาง”(End-to-End)
Network layer หน้าที่กำหนดเส้นทางและสร้างความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ตัว ให้เชื่อมต่อถึงกันภายในเครือข่าย คือ router protocol ที่ใช้ในการเลือกเส้นทางและสนับสนุนการทำงานใน layer นี้ router จะทำงานและทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการเลือกเส้นทางให้กับเครือข่าย
NetworkLayer(Cont.) NetworkLayer จะเลือกเส้นทาง ในการสื่อสารข้อมูลที่สั้นที่สุดและใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด
การทำงานของ Router • Routerเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย (network) • Routerหน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
การจัดวางตำแหน่งของ Router การจัดวาง Routerที่เชื่อมต่อกันบน WANคือการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 % 80% คือ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน 20% คือ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายได้
Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
Routing Protocol :โปรโตคอลเลือกเส้นทาง หัวใจหลักของ Routerคือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ในการคำนวณและจัดหาเส้นทาง ที่ดีที่สุด ที่เร็วที่สุด ไปสู่ปลายทางในรูปแบบของ Software
ตัวอย่าง Routing Protocol • RIP (Routing Information Protocol) • OSPF (Open Shortest Path First) • IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary) • EIGRP (Enhanced Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary) • BGP (Border Gateway Protocol)
Packet ที่ใช้ใน Network layer มี 2 ประเภท Data Packet- ใช้ส่งผ่านข้อมูลของผู้ใช้ภายในเครือข่าย- Protocol ที่ใช้ในการเลือกเส้นทาง ได้แก่ IP และIPX Router Update Packet- ใช้ปรับปรุงเส้นทางการเชื่อมต่อของเครือข่าย- Protocol ที่ใช้ ได้แก่ RIP, EIGRP, OSPF - สร้างและบำรุงรักษาตารางเส้นทางใน router
Routing a Packet 1. router ได้รับ packet และหา IP address ปลายทาง2. ถ้า packet ไม่ได้ถูกกำหนดเส้นทาง router จะหาที่อยู่ปลายทางให้จากเส้นทางที่มีอยู่ในตาราง3. เมื่อพบจุดหมายปลายทาง packet จะถูกส่งไปที่เป้าหมายนั้น4. ที่ปลายทาง packet ก็คือ frame ที่ถูกส่งออกมาในเครือข่าย
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง แบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class)ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้ ระดับขั้นInterior Domain - Link Stateซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด - DistanceVector ซึ่งเป็น RoutingProtocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด ระดับขั้นExterior - เป็น โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่นำมาใช้เพื่อเชื่อมกลุ่มของ Routerจำนวนมากหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกันได้แก่ BGP
Distance Vector เราติ้งโปรโตคอลแบบ Distance Vector (เช่น RIP, IGRP) นั้น จะใช้ปัจจัยที่ว่า “คำนึงถึงระยะทาง” เป็นตัวกำหนดเส้นทางที่เราเตอร์เลือกที่จะส่งแพคเกตของข้อมูลออกไปในเน็ตเวิร์ก โปรโตคอลแบบ Distance Vector จะพิจารณานั้น มีดังต่อไปนี้ เราเตอร์จะเลือกเส้นทางที่ใช้เพื่อการเดินทางไปสู่ที่สั้นที่สุด โดยพิจารณาจาก Next Hop เราเตอร์ ว่า จำนวนเราเตอร์ที่จะไปถึงปลายทางนั้น มีอยู่กี่ตัว