1.15k likes | 3.97k Views
เทคนิคการแยก Separation Techniques. โดย ดร. พุทธรักษา วรานุศุภากุล. ทำไมต้องแยก. การตรวจวัดบางเทคนิคที่มีความจำเพาะกับสารชนิดหนึ่ง อาจถูกรบกวนจากสารอื่นๆ (Interference) หรือเมทริกซ์ (Matrix) ทำให้ได้สัญญาณมากไปหรือน้อยไป จึงต้องแยกสารรบกวนออกจากระบบ
E N D
เทคนิคการแยกSeparation Techniques โดย ดร. พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ทำไมต้องแยก • การตรวจวัดบางเทคนิคที่มีความจำเพาะกับสารชนิดหนึ่ง อาจถูกรบกวนจากสารอื่นๆ (Interference) หรือเมทริกซ์ (Matrix) ทำให้ได้สัญญาณมากไปหรือน้อยไป จึงต้องแยกสารรบกวนออกจากระบบ • การตรวจวัดบางเทคนิคให้สัญญาณได้กับสารหลายชนิดเหมือนๆ กัน ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าสัญญาณใดเป็นของสารที่สนใจ และสารที่ไม่ต้องการอาจทำให้เข้าใจผิดได้ จึงต้องแยกให้สารแต่ละชนิดได้รับการตรวจวัดไม่พร้อมกัน (Chromatography) พุทธรักษา วรานุศุภากุล
เป้าหมายของการแยก เป้าหมายของการแยกอาจแตกต่างกันในแต่ละงาน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ • แยกเพื่อเก็บองค์ประกอบ (Preparative separation) • แยกเพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Analytical separation) • วิเคราะห์ทางปริมาณที่ถูกต้อง โดยการลดหรือกำจัดสิ่งรบกวนในของผสมที่ซับซ้อน • วิเคราะห์เอกลักษณ์ โดยการจำแนก หรือบ่งชี้องค์ประกอบนั้นๆ ด้วยเทคนิคการตรวจวัดทางโครงสร้าง เช่น แมสสเปกโตรเมทรี พุทธรักษา วรานุศุภากุล
A แยกอย่างสมบูรณ์ B ของผสมABCD D C หลักการแยก การแยกสามารถทำได้ 2 แบบ คือ • แยกอย่างสมบูรณ์ • แยกบางส่วน แยกของผสมจนได้เป็นองค์ประกอบเดี่ยวๆ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ของผสม ABCD แยกบางส่วน A ของผสม BCD หลักการแยก การแยกสามารถทำได้ 2 แบบ คือ • แยกอย่างสมบูรณ์ • แยกบางส่วน แยกสารออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หรือแยกสารเดี่ยวออกมาจากของผสม พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ปัจจัยในการเลือกวิธีแยกปัจจัยในการเลือกวิธีแยก • เป้าหมายของการแยก • สารที่จะแยก • มีความหลากหลายของสารในของผสม เช่น มวลโมเลกุล ความสามารถในการกลายเป็นไอ (volatility) เป็นต้น • กลไกในการแยก • อาศัยกระบวนการสมดุล (equilibrium process) • อาศัยความแตกต่างของอัตราเร็ว (rate process) • อาศัยขนาดของอนุภาค (particle separation) พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตัวอย่างเทคนิคการแยก พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การแยกโดยการตกตะกอน (Separation by Precipitation)
หลักการแยกโดยการตกตะกอนหลักการแยกโดยการตกตะกอน • อาศัยความแตกต่างของการละลาย: พิจารณาจากค่าคงที่ของการละลาย, Ksp (Solubility Product Constant) • ควบคุมความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกิดตะกอน: พิจารณาจากค่าผลคูณของไอออน, Qsp (Ion Product) Qsp > Kspเกิดตะกอน Qsp = Kspสารละลายอิ่มตัว Qsp < Kspตะกอนไม่เกิด พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ทบทวน Kspกับ Qsp ถ้าทำการผสมสารละลาย 5.00 mL ของ 0.015 M Ca(NO3)2 กับสารละลาย 20.00 mL ของ 0.050 M Na2SO4 จะเกิดตะกอนของ CaSO4หรือไม่ Ca2+ (aq) + SO42- (aq) CaSO4 (s) จากหนังสืออ้างอิง Ksp ของ CaSO4 = [Ca2+][SO42-] = 2.4 x 10-5 ในสารละลายผสม Ion product, Qsp = [Ca2+][SO42-] = [3.0x10-3 M] [0.040 M] = 1.2x10-4 Qsp > Kspเกิดตะกอน พุทธรักษา วรานุศุภากุล
P A B การแยกโดยการตกตะกอน • สามารถแยก A ออกจาก B โดยการตกตะกอนด้วย P ก็ต่อเมื่อค่า Kspของ AP และ BP มีความแตกต่างกันมาก และควบคุมความเข้มข้นของ P ให้ A ตกตะกอนแต่ B ไม่ตกตะกอน A (aq) + P (aq) AP (s) B (aq) + P (aq) BP (s) สามารถแยก A ออกจาก B ได้เมื่อ Ksp (AP) << Ksp (BP) Qsp (AP) > Ksp(AP) Qsp (BP) < Ksp (BP) AP ตกตะกอนก่อน BP เกิดตะกอน AP ไม่เกิดตะกอน BP พุทธรักษา วรานุศุภากุล
สารที่ทำให้เกิดตะกอน • มีความจำเพาะเจาะจง (Specificity) • มีความสามารถในการคัดเลือก (Selectivity) เช่น • ตกตะกอนด้วยไฮดรอกไซด์ (OH-) โดยการควบคุมความเป็นกรด-เบส (pH) • ตกตะกอนด้วยซัลไฟด์ (S2-), คลอไรด์ (Cl-), ซัลเฟต (SO42-) • ตกตะกอนด้วยสารอินทรีย์ • ตกตะกอนด้วยไฟฟ้า • ตกตะกอนด้วยเกลือ (Salting out) • ตกตะกอนด้วยการเติมตัวคอลเลคเตอร์ (Collector) • สำหรับการแยกสารปริมาณน้อย พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตัวอย่างการแยกด้วยการควบคุม pH • 0.1 M Fe3+และ 0.1 M Mg2+สามารถแยกจากกันได้ด้วยการควบคุม [OH-] • Kspของ Fe(OH)3 = [Fe3+][OH-]3 = 2 x 10–39 • Kspของ Mg(OH)2 = [Mg2+][OH-]2 = 7.1 x 10–12 • จากค่า KspFe3+จะตกตะกอนก่อน Mg2+ แยก Fe3+ออกจาก Mg2+ได้โดยการควบคุม [OH-] ให้ไม่เกิน [OH-]maxที่ทำให้ Mg2+ตกตะกอนและไม่น้อยกว่า [OH-]min ที่ทำให้เหลือ Fe3+ 1 ppt(ถือว่าน้อยมาก) สมมติให้เหลือ ≤ 1 ppt ของ 0.10 M Fe3+ ในสารละลาย [Fe3+]left ≤ (1/1000) x 0.10 ≤ 1.0 x 10-4 M Ksp = [Fe3+][OH-]3 = 2 x 10–39 2 x 10-39 = 1.0 x 10-4 x [OH-]3 [OH-]min = 3 x 10-12pHmin = 2.5 Mg(OH)2จะเริ่มตกตะกอนเมื่อ Ksp = [Mg2+][OH-]2 = 7.1 x 10–12 7.1 x 10-12 = 0.1 [OH-]2 [OH-]max = 8 x 10-6 M pHmax = 8.9 ต้องรักษา [OH-] ให้อยู่ระหว่าง 3 x 10-12และ 8 x 10-6 M หรือ pH 2.5 - 8.9 พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตกตะกอนโดยการควบคุมความเป็นกรด-เบสตกตะกอนโดยการควบคุมความเป็นกรด-เบส พุทธรักษา วรานุศุภากุล
H2S(aq) + H2O(l)HS-(aq) + H3O+(aq) ;Ka1= 9.6 x10-8 HS-(aq) + H2O(l)S2-(aq) + H3O+(aq) ;Ka2= 1.3 x10-14 MS(s) M2+ + S2- [M2+] [S2-] = Ksp การแยกด้วยการตกตะกอนซัลไฟด์ (S2-) • แคทไอออนส่วนใหญ่ ยกเว้นไอออนโลหะหมู่ I สามารถเกิดตะกอนซัลไฟด์ที่มีค่า Kspตั้งแต่ 10-10ถึง 10-90 • โดยส่วนใหญ่มักนำมาแยกไอออนโลหะที่มีประจุ 2+ซึ่งจะใช้ [S2-] ระหว่าง 0.1 ถึง 8 x 10-22 M `โดย[S2-] สามารถควบคุมโดยควบคุม pH ของสารละลาย • หลักการแยกเหมือนกับการตกตะกอนโดยการควบคุมความเป็นกรด-เบสและจากค่า Kaของ H2S และค่า Kspของ MS ได้ความสัมพันธ์ดังนี้ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตัวอย่าง • แยก Cd2+และ Tl+ด้วย H2S จากสารละลายผสม 0.1 M ของแต่ละไอออน CdS (s) Cd2+ + S2- ; [Cd2+] [S2-] = 1 x 10-27 Tl2S (s) 2 Tl+ + S2- ; [Tl+]2 [S2-] = 6 x 10-22 • เนื่องจาก CdS มีค่า Kspต่ำกว่าจะตกตะกอนก่อน ดังนั้นต้องทำการควบคุมให้ [S2-] มากพอที่ตกตะกอน CdS แต่ต่ำกว่าค่าที่จะทำให้ Tl2S ตกตะกอน • คำนวณ [S2-] ที่จะทำให้ CdS ตกตะกอนได้หมด • คำนวณ [S2-] ที่จะทำให้ Tl2S เริ่มตกตะกอน • คำนวณช่วง [H3O+] ที่ทำให้ได้ [S2-] สำหรับการแยกไอออนคู่นี้ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตกตะกอนด้วยสารที่ทำให้เกิดตะกอนอื่นๆตกตะกอนด้วยสารที่ทำให้เกิดตะกอนอื่นๆ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การแยกโดยการตกตะกอนในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ • การตรวจสอบเชิงคุณภาพว่ามีไอออนใดบ้างอยู่ในสารละลายทำได้โดยการแยกไอออนออกเป็นกลุ่มโดยการเลือกตกตะกอนกับรีเอเจนต์ต่างๆ แล้วจึงนำตะกอนในแต่ละกลุ่มไปทดสอบต่อด้วยหลักการเดียวกันจนได้เป็นไอออนเดี่ยว แล้วจึงทำการทดสอบยืนยันด้วยรีเอเจนต์เฉพาะ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การวิเคราะห์แคทไอออน การวิเคราะห์แคทไอออนสามารถแยกออกเป็นกลุ่มๆ ได้ ดังนี้ • กลุ่ม I: แคทไอออนที่เกิดตะกอนกับ Cl- • Ag+ Pb2+ Hg+ • กลุ่ม II: แคทไอออนที่เกิดตะกอนกับ H2S ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 กลุ่ม • กลุ่ม IIก: Pb2+ Hg2+ Bi3+ Cu2+ Cd2+ • กลุ่ม IIข: As3+ Sb3+ Sn4+ • กลุ่ม III: แคทไอออนที่เกิดตะกอนกับ (NH4)2S ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 กลุ่ม • กลุ่ม IIข: Fe3+ Al3+ Cr3+ Mn4+ (ตะกอนไฮดรอกไซด์) • กลุ่ม IIก: Mn2+ Ni2+ Co2+ Zn2+ • กลุ่ม IV: แคทไอออนที่เกิดตะกอนคาร์บอเนต • Ca2+ Ba2+ Sr2+ • กลุ่ม V: แคทไอออนที่ไม่เกิดตะกอน • NH4+ Na+ K+ Mg2+ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
แผนผังการวิเคราะห์แคทไอออนโดยการแยกออกเป็นกลุ่มๆ ด้วยรีเอเจนต์ต่างๆ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การแยกโดยการสกัดSeparation by Extraction
การสกัด (Extraction) • การสกัดเป็นการดึงเอาสารที่ต้องการมาอยู่ในตัวสกัดโดยจะขึ้นกับสมดุลของการกระจายตัวของตัวถูกละลายระหว่างเฟส 2 เฟสที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน • เทคนิคการสกัดที่ใช้ในปัจจุบันอาจแบ่งตามเฟสของตัวสกัดได้เป็น • การสกัดด้วยวัฏภาคของเหลว (Liquid-Liquid Extraction, LLE) • การสกัดด้วยวัฏภาคของแข็ง (Solid-Phase Extraction, SPE) พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Aorg Aaq ค่าคงที่สมดุลของการกระจายตัว, Kd • เมื่อเกิดสมดุลของการกระจายตัวของตัวถูกละลายระหว่างเฟส 2 เฟสที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เฟสน้ำ (aq) และเฟสตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว (org) ค่าคงที่สมดุลของการกระจายตัว (Kd) จะเท่ากับอัตราส่วนของตัวถูกละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (org) ต่อในน้ำ ค่าคงที่สมดุลของการกระจายตัว พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Aorg Aaq การสกัดด้วยวัฏภาคของเหลว • การสกัดด้วยวัฏภาคของเหลว (Liquid-Liquid Phase Extraction) - แยกสารที่ต้องการจากสารละลายด้วยเฟสของเหลว • สมดุลของการกระจายตัวของตัวถูกละลายระหว่างเฟสของเหลว 2 ชนิดที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันส่วนใหญ่ได้แก่น้ำ (aq) และตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว (org) พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Aorg Aaq ค่าคงที่สมดุลของการกระจายตัว, Kd • สารที่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์จะมีการกระจายตัวอยู่ที่ชั้น organic มากกว่าชั้นน้ำ และในทางตรงกันข้ามสำหรับสารที่ละลายในน้ำได้ดี • สำหรับการสกัดสารจากน้ำด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ ค่า Kdของสารที่ชอบละลายในตัวทำละลายอินทรีย์จะสูงกว่าสารที่ชอบละลายในน้ำ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย • ขั้นตอนการสกัดด้วยตัวทำละลาย (Liquid-Liquid Extraction หรือ LLE) เขย่าเพื่อเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายของสารจากสารละลายสู่ตัวทำละลายอินทรีย์ ตั้งไว้ให้เฟสของเหลวทั้ง 2 เฟสแยกออกจากกัน เติมตัวทำละลายในสารละลายที่ต้องการสกัด พุทธรักษา วรานุศุภากุล
30 อนุภาค 100 mL org = 2 (Kd) 100 mL aq 300 อนุภาค 100 mL org = 2 (Kd) 100 mL aq ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลาย • สมมติ A มีค่า Kd = 2 • การกระจายตัวระหว่างสารละลายที่มีความเข้มข้นเริ่มต้นไม่เท่ากัน แต่ใช้อัตราส่วนของสารละลายต่อตัวทำละลายอินทรีย์เท่ากัน จะได้อัตราส่วนการกระจายตัวของสารระหว่างสารละลายกับตัวทำละลายอินทรีย์เท่ากัน ถ้ามี A 30 อนุภาค ถ้ามี A 300 อนุภาค พุทธรักษา วรานุศุภากุล
300 อนุภาค = 2 (Kd) 200 mL org 100 mL aq 300 อนุภาค 100 mL org = 2 (Kd) 100 mL aq ปริมาตรตัวทำละลายอินทรีย์ • ถ้าเพิ่มปริมาตรตัวทำละลายอินทรีย์ (org) เป็น 2 เท่า • ถ้าเพิ่มปริมาตรตัวทำละลาย (org) จะสามารถสกัดสารได้มากขึ้น 100 mL สกัดได้ 200 อนุภาค ขณะที่ 200 mL สกัดได้ 240 อนุภาค พุทธรักษา วรานุศุภากุล
สกัด A ได้ 200 อนุภาค สกัดครั้งที่ 1 เหลือ A อยู่ 100 อนุภาค (นำไปสกัดครั้งที่ 2) สกัดครั้งที่ 2 100 อนุภาค สกัด A ได้ 67 อนุภาค 100 mL org = 2 (Kd) 300 อนุภาค 100 mL aq เหลือ A อยู่ 33 อนุภาค 100 mL org = 2 (Kd) 100 mL aq จำนวนครั้งของการสกัด • ถ้าสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (org) 100 mL 2 ครั้ง (ปริมาตรรวม 200 mL) รวม 2 ครั้ง สกัด A ได้ 200 + 67 = 267 อนุภาค พุทธรักษา วรานุศุภากุล
100 mL x 2 100 mL org 200 mL org สกัด A ได้ 200 + 67 =267 อนุภาค 100 mL aq 100 mL aq 300 อนุภาค 300 อนุภาค 100 mL org 100 mL aq 100 อนุภาค 200 mL x 1 กับ 100 mL x 2 200 mL x 1 สกัด A ได้ 240 อนุภาค สกัดโดยการแบ่งปริมาตรตัวทำละลายสกัดหลายๆครั้งจะสกัดสารได้มากกว่าการสกัดเพียงครั้งเดียวด้วยตัวทำละลายที่มีปริมาตรรวมเท่ากัน พุทธรักษา วรานุศุภากุล
จำนวนครั้งของการสกัด • เมื่อทำการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาตรเดิมหลายๆ ครั้ง สามารถคำนวณหาปริมาณสารที่เหลือในสารละลายหลังจากการสกัดได้ดังนี้ [A]i = ความเข้มข้นของสาร A ที่เหลืออยู่ในสารละลาย (aq phase) หลังการสกัด i ครั้ง i = จำนวนครั้งของการสกัด Vaq = ปริมาตรของสารละลายที่นำมาสกัด (aq) Vorg= ปริมาตรของตัวทำละลายอินทรีย์ที่ใช้ในการสกัดแต่ละครั้ง [A]o = ความเข้มข้นของสาร A ในตัวทำละลายอินทรีย์ (org phase) หลังการสกัด i ครั้ง ในสารละลายเริ่มต้น พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตัวอย่างการสกัดด้วยปริมาตรและจำนวนครั้งต่างกันตัวอย่างการสกัดด้วยปริมาตรและจำนวนครั้งต่างกัน • K of I2 ระหว่างตัวทำละลายอินทรีย์และน้ำ = 85 หา [I2] ในชั้นน้ำหลังจากการสกัดสารละลาย 50.0 mL ของ 1.00 x 10-3 M I2 ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ a) 50.0 mL, b) 2 x 25.0 mL, c) 5 x 10.0 mL จะเห็นว่า การสกัดด้วยตัวทำละลายทีละน้อยๆ แต่หลายครั้ง จะเหลือสารอยู่ในสารละลายน้อยกว่า (หรือสารจะถูกสกัดมาอยู่ที่ตัวทำละลายอินทรีย์มากกว่า) การสกัดด้วยตัวทำละลายครั้งละมากๆ แต่น้อยครั้ง พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ประสิทธิภาพของการสกัดประสิทธิภาพของการสกัด • ประสิทธิภาพของการสกัด (E)หรือ Recovery (R) = Phase ratio; Vorg/Vaq สัดส่วนของสารที่ถูกสกัด (E) หลังการสกัด n ครั้ง พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสกัดด้วยตัวทำละลาย-LLEการสกัดด้วยตัวทำละลาย-LLE • นิยมใช้สกัดสาร non - semi volatile organic compounds ตัวอย่างน้ำ • การเลือกตัวทำละลายที่จะมาสกัดใช้หลักการ like dissolves like • ปริมาณสารที่ถูกสกัดขึ้นกับ KD และ • สกัดโดยการแบ่งปริมาตรตัวทำละลายสกัดหลายๆครั้งจะสกัดสารได้มากกว่าการสกัดเพียงครั้งเดียวด้วยตัวทำละลายที่มีปริมาตรรวมเท่ากัน • ประสิทธิภาพการสกัด (Recovery) ไม่ขึ้นกับความเข้มข้นตั้งต้นของสารในสารละลายตัวอย่าง พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ข้อด้อยของเทคนิค LLE • ใช้เวลานานในการทำการสกัดหลายๆ ครั้ง • มักจะสกัดได้ไม่สมบูรณ์ • ใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาณมาก ส่งผลให้ต้องมีการทิ้งและกำจัดตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาณมาก นอกจากนี้ตัวทำละลายอินทรีย์บางชนิดมีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม • เกิดอีมัลชันที่สลายตัวยาก • ใช้เครื่องแก้วที่ยุ่งยาก และต้องออกแรงในการปฏิบัติการ • ความเข้มข้นที่สกัดได้มีความเข้มข้นต่ำ ต้องมีขั้นตอนการเพิ่มความเข้มข้น • ทำระบบอัตโนมัติได้ยาก • ราคาค่อนข้างสูง พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การปรับสมบัติตัวทำละลายการปรับสมบัติตัวทำละลาย • กระบวนการที่มีผลต่อสมดุลจะมีผลต่อสมบัติการคัดเลือก (Selectivity) ของการสกัดได้แก่ • การปรับ pH • Ion pair • Chelating agent • Salting out นำผลกระทบนี้มาใช้ประโยชน์ในการแยกสารโดยการสกัด เพิ่ม KD ในเฟสตัวทำละลายอินทรีย์ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
สารอินทรีย์ที่เป็นกรด-เบสสารอินทรีย์ที่เป็นกรด-เบส • สารอินทรีย์ที่เป็นกรด-เบส เช่น กรดคาร์บอกซิลิก, ฟีนอล และ เอมีน สามารถแตกตัวเป็นไอออน ซึ่งละลายน้ำได้ดี ทำให้สามารถสกัดได้ดีด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ Benzoic acid Chloroaniline Tributylmine Phenol พุทธรักษา วรานุศุภากุล
ตัวอย่างการเลือกสกัดโดยการปรับสมบัติสารละลายตัวอย่างการเลือกสกัดโดยการปรับสมบัติสารละลาย • Benzoic acid มีหมู่ที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ ในขณะที่ Naphthalene ไม่สามารถแตกตัวได้ • การสกัดแยกสารผสม benzoic acid กับ naphthalene ด้วย dichloromethane (CH2Cl2) ทำได้โดยการปรับสารละลายให้เป็นเบสด้วย 5% NaOH หรือ NaHCO3อิ่มตัว เพื่อให้ benzoic acid แตกตัวและไม่ถูกสกัดเข้าไปในชั้นตัวทำละลายอินทรีย์ (CH2Cl2) 5% NaOH หรือ Sat. NaHCO3 พุทธรักษา วรานุศุภากุล
แยกสารผสม benzoic acid กับ p-methoxyphenol • สกัดด้วย dichloromethane (CH2Cl2) • ทั้ง benzoic acid และ p-methoxyphenol ทำปฏิกิริยากับ NaOH ซึ่งเป็นเบสแก่ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ • ใช้เบสอ่อน NaHCO3โดยทำให้สารละลายมี pH> pKa ของ benzoic acid และ < pKa ของ p-methoxyphenol ประมาณ 2 หน่วย (ช่วง pH ~ 6-8) benzoic acid จะแตกตัวหมดละลายได้ดีในน้ำ ขณะที่ p-methoxyphenol จะไม่แตกตัวและละลายได้ดีใน CH2Cl2 pKa = 4.2 pKa ~ 10 พุทธรักษา วรานุศุภากุล
แยกสารผสม p-chloroaniline กับ benzoic acid • สกัดด้วย dichloromethane (CH2Cl2) • p-chloroaniline เป็นเบสอ่อน แต่ benzoic acid เป็นกรดอ่อน • ถ้าทำให้สารละลายเป็นกรด p-chloroaniline จะแตกตัวได้ ขณะที่ benzoic acid จะไม่แตกตัว(ปรับให้ pH < pKa 2 หน่วย ~ 2) ทำให้มีแค่ benzoic acid ถูกสกัดมาอยู่ที่ชั้น CH2Cl2 • ใช้ 5%HCl พุทธรักษา วรานุศุภากุล
NH3+ NH2 + H2O + H3O+ เพิ่มประสิทธิภาพการสกัด amine จากตัวอย่างน้ำ • ปรับสารละลายด้วยบัฟเฟอร์ให้มี pH อย่างน้อย 1.5 หน่วย สูงกว่า pKa ของ Aniline, Aniline จะอยู่ในรูปที่ไม่แตกตัวและสามารถสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ได้ดีขึ้น เพิ่ม ลด pKa = 4.6 สมดุลปรับ เติมเบส/คุม pH ด้วยบัฟเฟอร์ (pH 6.1) pH > pKa 1.5 หน่วย พุทธรักษา วรานุศุภากุล
อีมัลชัน (Emulsion) กับ การสกัด • อีมัลชันคือการเกิดหยดของตัวทำละลายอินทรีย์เล็กๆ ลอยอยู่ในเฟสน้ำ • เป็นที่ที่เกิดการเคลื่อนย้ายมวล (mass transfer) • เกิดจากการเขย่าอย่างรุนแรงเพื่อให้เฟส 2 เฟส สามารถเข้าไปหากันได้อย่างทั่วถึง ทำให้การสกัดมีประสิทธิภาพสูงสุด • อีมัลชันต้องสลายก่อนที่จะเก็บส่วนสกัด • อีมัลชันอาจสลายตัวได้ยาก ช้า หรือไม่สมบูรณ์ ในตัวอย่างที่มีสารลดแรงตึงผิว หรือสารพวกไขมัน พุทธรักษา วรานุศุภากุล
อีมัลชัน (Emulsion) กับ การสกัด เกิด Emulsion ไม่สามารถแยกส่วนสกัดได้ สามารถแยกส่วนสกัดได้ หลังสลาย Emulsion พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสลายอีมัลชัน การสลาย emulsion สามารถทำได้หลายวิธี • เพิ่ม-ลดการละลายของสารในชั้นน้ำและชั้นตัวทำละลายอินทรีย์ • เติมเกลือเล็กน้อยลงในชั้นน้ำ • เติมตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ เล็กน้อย • นำภาชนะไปทำให้ร้อนและปล่อยให้เย็น • กรองผ่าน glass wool หรือกระดาษกรอง • เซนตริฟิวจ์ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
2HQ(org) + M2+(aq)MQ2(org) + 2H+(aq) 2HQ MQ2 Organic phase Aqueous phase 2HQ 2H+ + 2Q- + M2+ MQ2 Q = 8-hydroxyquinoline การสกัดสารอนินทรีย์ • การแยกไอออนโลหะ โดยการเกิดสารเชิงซ้อนกับคีเลตอินทรีย์ • ไอออนโลหะบางชนิดสามารถเกิดปฏิกิริยากับตีเลตอินทรีย์ได้สารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่มีประจุ ซึ่งสามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ สมดุลรวม พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสกัดสารอนินทรีย์ สมดุลรวม 2HQ (org) + M2+ (aq)MQ2 (org) + 2H+ (aq) [HQ]org มีปริมาณมากๆ เมื่อเทียบกับ [M2+]aq พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสกัดสารอนินทรีย์ • สัดส่วนความเข้มข้นของสารประกอบโลหะเชิงซ้อนและโลหะไอออนระหว่างทั้ง 2 เฟส จะเป็นสัดส่วนผกผันกับ [H+]2aq • K ของโลหะแต่ละชนิดมีค่าต่างกัน ทำให้สามารถทำการคัดเลือกแยกไอออนโลหะชนิดหนึ่งออกจากไอออนโลหะอีกชนิดหนึ่งได้ โดยการควบคุมสภาวะกรด-เบสด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
การสกัดด้วยตัวทำละลายอย่างต่อเนื่องการสกัดด้วยตัวทำละลายอย่างต่อเนื่อง • การสกัดด้วยตัวทำละลายอย่างต่อเนื่อง (Continuous LLE)จะใช้กับการสกัดที่ • แยกสารที่มีค่า Kd ต่ำๆ • อัตราเร็วในการสกัดช้า • ตัวอย่างมีปริมาณมาก ต้องทำการสกัดหลายๆ ครั้ง • การสกัด: เป็นการควบแน่น วนกลับของตัวทำละลายอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง หยดตัวทำละลายที่เกิดจากการควบแน่นจะหยดผ่านเข้าไปในเฟสของตัวอย่างน้ำ พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Continuous LLE กรณีตัวทำละลายอินทรีย์เบากว่าน้ำ ตัวทำละลายอินทรีย์ (solvent) ที่ควบแน่นจะถูกปล่อยทางด้านล่างของชั้นน้ำ (solute solution) ที่ต้องการสกัด เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์เบากว่าน้ำ ดังนั้นจะลอยผ่านชั้นน้ำมารวมตัวกันด้านบนและไหลมารวมในขวดก้นกลม กรณีตัวทำละลายอินทรีย์หนักกว่าน้ำ ตัวทำละลายอินทรีย์ (solvent) ที่ควบแน่นจะถูกปล่อยทางด้านบนของชั้นน้ำ (solute solution) ที่ต้องการสกัด เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์หนักกว่าน้ำ ดังนั้นจึงไหลผ่านชั้นน้ำมารวมกันที่ด้านล่าง และไหลตามท่อไปรวมที่ขวดก้นกลม G. LeBlanc, LC-GC, 19(11), 1120-1130 (2001) พุทธรักษา วรานุศุภากุล